xs
xsm
sm
md
lg

เผยพระมหากรุณาธิคุณ "เจ้าฟ้าจุฬาภรณฯ" ทรงพัฒนายารักษามะเร็งเพื่อคนไทย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



นายสมภพ พอดี นิสิตเก่าจุฬาฯ เผยพระมหากรุณาธิคุณ "เจ้าฟ้าจุฬาภรณฯ" ทรงพัฒนายารักษามะเร็งเพื่อคนไทย ยันการวิจัย พัฒนา ยารักษาโรคใหม่ขึ้นมามันทั้งแพงและใช้เวลายาวนาน ย้ำผมขอเรียกพระองค์ว่า เจ้าหญิงของคนไทย

วันนี้ (20 ก.ค.) เพจ "Sompob Pordi" ของนายสมภพ พอดี นิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศิษย์เก่าปริญญาโท คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์ระบุข้อความว่า “ยารักษามะเร็ง พวกเราที่ต้องกินยาฝรั่งเป็นประจำ ต้องรู้ว่ามันแพง บางอย่างแพงมากๆ แล้วคนไหนที่เปลี่ยนจากยาฝรั่งต้นตำรับที่เรียกว่า innovator (อิน-โน-เว-เตอร์) เป็นยาตัวเดียวกันที่หมดความคุ้มครองของสิทธิบัตรแล้วที่เรียกว่า generic (เจ-เนอ-ริก) ที่ผลิตในประเทศ หรือประเทศเพื่อนบ้าน ก็จะรู้ด้วยว่าราคาถูกลงเยอะมาก ถูกลงอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง บางอย่างราคาแค่ 10% เท่านั้นเอง

ที่ราคาต่างกันราวฟ้ากับเหวเป็นเพราะว่า การวิจัย พัฒนา ยารักษาโรคใหม่ขึ้นมา มันทั้งแพงและใช้เวลายาวนาน เรามาดูกันว่า แพงแค่ไหน นานแค่ไหน

การพัฒนายารักษาโรคใหม่ๆ เป็นกระบวนการที่ซับซ้อน และต้องผ่านขั้นตอนการวิจัยและทดสอบที่เข้มงวดหลายขั้นตอน เพื่อให้มั่นใจในประสิทธิภาพและความปลอดภัยก่อนที่จะนำไปใช้กับผู้ป่วยได้จริง ดังนี้

1. การค้นพบและพัฒนา (Discovery and Development) - ระยะเวลา: 2-4 ปี

ศึกษาค้นคว้าโรค สาเหตุและกลไกของโลก หาสารออกฤทธิ์ที่มีเป็นแสนๆ ชนิดที่มีศักยภาพใช้ในการรักษาโรค

2. การวิจัยพรีคลินิก (Preclinical Research) - ระยะเวลา: 1-2 ปี

ทดสอบตัวยาที่เลือกไว้ว่ามีผลลัพธ์ที่ต้องการ ประสิทธิภาพ และเป็นพิษ ทั้งในหลอดทดลองมาจนเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ สัตว์ทดลอง เพื่อยืนยันประสิทธิภาพและความปลอดภัย

รวบรวมข้อมูลเพื่อยื่นขออนุญาตทำการวิจัยทางคลินิกต่อหน่วยงานกำกับดูแล เช่น อย. (FDA ในสหรัฐอเมริกา)

3. การวิจัยทางคลินิก (Clinical Research) - การทดสอบในมนุษย์ ระยะเวลา: 6-7 ปี โดยเพิ่มจำนวนขึ้นทีละขั้นจนแน่ใจว่าปลอดภัย และรูัว่าผลข้างเคียงทั้งหมดคืออะไร

4. การยื่นขอขึ้นทะเบียนและอนุมัติ (Regulatory Review and Approval) - ระยะเวลา: 1-2 ปี

5. การเฝ้าระวังหลังการวางตลาด (Post-Market Safety Monitoring)

โดยเฉลี่ยแล้ว กระบวนการพัฒนายาใหม่ตั้งแต่ต้นจนถึงการได้รับอนุมัติให้ขายได้ ใช้เวลาประมาณ 10-15 ปี ในบางกรณีอาจนานกว่านั้นถึง 20 ปี

ส่วนเรื่องของต้นทุน จากการศึกษาล่าสุด ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการพัฒนายาใหม่ 1 ขนาน (รวมถึงต้นทุนของยาที่ล้มเหลวในกระบวนการ) อยู่ระหว่าง 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ถึง 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 35,000 ล้านบาท ถึง 91,000 ล้านบาท) หรือสูงกว่านั้นในยาบางชนิด โดยเฉพาะยารักษาโรคมะเร็งที่จะต้องไม่เป็นพิษต่อผู้ป่วย อย่างเช่น

ยารักษามะเร็งไขสันหลังชื่อ Carvykit ของบริษัท Janssen Biotech ที่ราคาต่อการเข้ารักษาหนึ่งครั้งอยู่ที่ประมาณ 20 ล้านบาท และจะต้องได้รับการรักษาหลายครั้งจึงจะมีโอกาสหาย

ด้วยเหตุนี้ ในโลกตะวันตก ผู้ป่วยโรคร้ายแรงจำนวนไม่น้อยจึงไม่ได้รับการรักษาหรือเลือกที่จะไม่รักษา เพราะราคายาที่นั่นแพงสุดๆ ใครไม่มีประกันสุขภาพ ก็หมดโอกาสรักษาตัว แต่ถ้ารักษาก็จะสิ้นเนื้อประดาตัว

แต่ไม่ใช่ที่บ้านของเรา เมืองไทยของเรา

เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา องค์การอาหารและยา หรือ อย.ได้ขึ้นทะเบียนยารักษามะเร็ง 2 ขนาน ชื่อ Herdara และ Imcranib 100 ที่สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์และราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โดย สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี

จากตรงนี้ไป ผมขอเรียกพระองค์ว่า เจ้าหญิงของคนไทย ในโพสต์นี้

คนไทยเป็นมะเร็งมากขึ้นเพราะอายุขัยเฉลี่ยยาวนานขึ้น ควบคู่ไปกับสิ่งแวดล้อมและอาหารที่มีสารก่อมะเร็งปนเปื้อนมากขึ้นๆ แต่คนจำนวนมากไม่สามารถเข้าถึงยารักษามะเร็งราคาแพง

เจ้าหญิงของเราจึงมีพระกรุณาธิคุณให้หน่วยงานของพระองค์วิจัยพัฒนายาทั้ง 2 ขนานจากยาต้นตำรับ (Innovator) ที่ถูกพิสูจน์จากการใช้งานจริงแล้วว่าใช้ได้ผลและมีประสิทธิภาพดี เพื่อให้ได้ยาที่ราคาถูกลง คนไทยทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ โดยใช้เวลานานนับปีๆ และทรัพยากรทุกอย่างที่พระองค์ทรงสนับสนุน ส่งเสริม และจัดหาให้

ยา Herdara เป็นยารักษามะเร็งเต้านม ถูกพัฒนามาจากยา Herceptin ที่ราคาสูงถึง 45,000 บาทต่อหนึ่งไวอัล และการรักษาแต่ละคอร์สต้องใช้ยาหลายไวอัล แม้ว่ายังไม่มีการประกาศราคา แต่เจ้าหญิงของคนไทยทรงมุ่งมั่นที่จะทำให้ยาของพระองค์ราคาถูกกว่ายาต้นแบบมาก

ยา Imcranib 100 ที่ใช้รักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง พัฒนาจากยาต้นตำรับ Gleevec ที่มีราคาสูงถึงเม็ดละหลายพันบาท โดยยาของเจ้าหญิงของเราจะมีราคาถูกกว่า 10 เท่าคือเม็ดละร้อยกว่าบาทเป็นอย่างสูง

ยาทั้งสองนี้จะถูกผลิตที่โรงงานผลิตยาของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ที่จังหวัดชลบุรี เพื่อคนไทย พสกนิกรไทยต่อไป

เจ้าหญิงของคนไทยเราทรงศึกษาวิชาการสายวิทยาศาสตร์ถึงขั้นสูงสุด ทรงพระเมตตา ทรงงานด้านสาธารณสุขอย่างหนักเพื่อคนไทยของพระองค์มาตลอดโดยไม่คำนึงถึงสุขภาพของพระองค์เอง เช่นเดียวกับ ในหลวงรัชกาลที่เก้า พ่อของพระองค์ และสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ปู่ของพระองค์

ขอพระองค์ทรงพระเจริญ เป็นขวัญเป็นมงคลให้กับคนไทยชั่วกาลนานด้วยเทอญ


กำลังโหลดความคิดเห็น