บลจ.บัวหลวงผนึกแบงก์แม่ เปิดบริการเสริม "LTF – RMF"เพิ่มช่องทางลงทุนผ่านอินเทอร์เน็ต ด้วยบริการ"บัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง" อำนวยความสะดวกให้ลูกค้าสามารถซื้อ ขาย สับเปลี่ยนกองทุน ได้สะดวกรวดเร็วขึ้น ล่าสุดเปิดขาย "บัวหลวงธนรัฐ 26/08 " เริ่มไอพีโอวันนี้ ถึง 28 ตุลาคมนี้

นายวศิน วัฒนวรกิจกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายการตลาด บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด (บลจ.บัวหลวง) เปิดเผยว่า บริษัทได้ร่วมมือกับธนาคารกรุงเทพ ซึ่งเป็นแบงก์แม่ เปิดพัฒนาระบบงานบริการ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุนและลูกค้าทั่วไปให้สามารถทำการซื้อ ขาย สับเปลี่ยน พร้อมทั้งรับโอนกองทุนเพิ่มเติม อันเป็นงานพัฒนาการให้บริการที่มอบความสะดวกรวดเร็วในด้านการลงทุนในกองทุนรวมให้กับลูกค้าที่ใช้บริการอินเตอร์เน็ต บัวหลวงไอแบงก์กิ้ง
สำหรับบริการดังกล่าวที่เปิดใช้ในครั้งนี้ ได้แก่ การรับคำสั่งซื้อ ขาย สับเปลี่ยน ทางระบบอินเตอร์เน็ต ผ่านบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง ของธนาคารกรุงเทพ สำหรับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ที่บริหารจัดการโดย บลจ.บัวหลวง รวมทั้งสิ้น 7 กองทุนที่มีอยู่ก่อนหน้านี้ และนอกจากนี้บริษัทเตรียมออกกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพเพิ่มขึ้นอีกในเร็วๆ นี้
ทั้งนี้ ระบบดังกล่าวยังสามารถรับคำสั่งซื้อ ด้วยวิธีหักบัญชีเงินฝาก จากบัญชีธนาคารกรุงเทพได้ทุกวัน ตามที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้กำหนดไว้ จากเดิมที่ระบบนี้สามารถรับคำสั่งซื้อได้เฉพาะวันที่ 1 และหรือ 16 ของแต่ละเดือน นอกจากนี้ระบบที่พัฒนาล่าสุดทำให้ บลจ.บัวหลวง สามารถรับคำสั่งสับเปลี่ยน กองทุนแอลทีเอฟ จากบริษัทจัดการอื่น เข้ามายังกองทุนรวมบัวหลวงหุ้นระยะยาว และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว 75/25 ที่บริหารจัดการโดย บลจ.บัวหลวง ได้อีกด้วย ทั้งนี้ ระบบดังกล่าวเปิดให้บริการแล้วตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
ส่วนของขั้นตอนการสมัครใช้บริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้งนั้นสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยตนเอง ที่สาขาธนาคารกรุงเทพ ทั่วประเทศที่สะดวกใกล้บ้านหรือที่ทำงาน (ยกเว้นสาขาแม็กโคร) เพียงนำหลักฐานการสมัคร ได้แก่ บัตรประชาชน หรือหนังสือเดินทาง (กรณีเป็นชาวต่างชาติ) สมุดบัญชีเงินฝากของธนาคารกรุงเทพ และสมุดบัญชีแสดงสิทธิในหน่วยลงทุนกองทุน RMF หรือ LTF ของ บลจ.บัวหลวง ที่มีเลขที่ผู้ถือหน่วยลงทุนขึ้นต้นด้วย 889
“ปัจจุบัน บริการกองทุนเปิดผ่านบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง อำนวยความสะดวกตลอด 24 ชม.สำหรับผู้ที่ต้องการลงทุนในกองทุนเปิดทั่วไปประเภทต่างๆ ที่ไม่ใช่กองทุนลดหย่อนภาษี ก็สามารถลงทะเบียนใช้บริการส่งคำสั่งซื้อ คำสั่งขาย หรือคำสั่งสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนผ่านบัวหลวง ไอแบงก์กิ้งได้เช่นเดียวกัน สำหรับกองทุนเปิดที่ให้บริการซื้อ ขาย หรือสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน ได้แก่ กองทุนเปิดบัวหลวงธนทวี กองทุนเปิดบัวแก้ว กองทุนเปิดบัวแก้ว2 กองทุนเปิดบัวแก้วปันผล กองทุนเปิดทรัพย์บัวหลวง กองทุนเปิดบัวหลวงธนคม กองทุนเปิดบัวหลวงโครงสร้างพื้นฐาน กองทุนเปิดบัวหลวงทศพล กองทุนเปิดบีเฟล็กซ์ และกองทุนเปิดบีแอ็คทีฟ นอกจากนี้ ท่านยังสามารถตรวจสอบยอดหน่วยลงทุนคงเหลือสำหรับกองทุนในกลุ่มบัวหลวงธนรัฐ บัวหลวงธนสาร และบัวหลวงธนสารพลัสได้อีกด้วย” นายวศิน กล่าว
นายวศิน กล่าวว่า จากปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้เงินตราต่างประเทศมีความผันผวนมาก ดังนั้น นักลงทุนที่จะไปลงทุนต่างประเทศยังคงมีความวิตกกังวล และขาดความเชื่อมั่น ต่อการลงทุนในต่างประเทศ และมองว่ายังไม่ปลอดภัยเท่าที่ควร
ล่าสุด บริษัทได้เปิดขายกองทุนรวมบัวหลวงธนรัฐ 26/08 (B26/08) ในระหว่างวันที่ 21 – 28 ตุลาคม 2551 โดยกองทุนดังกล่าวมีอายุโครงการประมาณ 10 – 12 เดือน และมีขนาดโครงการทั้งสิ้น 3,000 ล้านบาท เน้นลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ เช่น ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยหรือพันธบัตร เป็นหลัก
นอกจากนี้ สำหรับกองทุนรวมบัวหลวงธนรัฐ 24/08 (B24/08) และ กองทุนรวมบัวหลวงธนรัฐ 25/08 (B25/08 ) ที่เปิดขายไปเมื่อวันที่ 3 - 13 ตุลาคม 2551 ที่ผ่านมา สามารถระดมทุนรวมกันทั้งสองกองทุนกว่า 4,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่าได้รับการตอบรับจากนักลงทุนเป็นอย่างดี ซึ่งนักลงทุนที่เข้ามาลงทุนส่วนใหญ่ มีทั้งนักลงทุนรายเก่าที่ยังให้ความไว้วางใจบลจ. บัวหลวง อยู่ นอกจากนี้แล้วบริษัทยังได้ลูกค้ารายใหม่ที่เข้ามาลงทุนกับ บลจ. บัวหลวง เพิ่มขึ้นด้วย
นายวศิน วัฒนวรกิจกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายการตลาด บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด (บลจ.บัวหลวง) เปิดเผยว่า บริษัทได้ร่วมมือกับธนาคารกรุงเทพ ซึ่งเป็นแบงก์แม่ เปิดพัฒนาระบบงานบริการ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุนและลูกค้าทั่วไปให้สามารถทำการซื้อ ขาย สับเปลี่ยน พร้อมทั้งรับโอนกองทุนเพิ่มเติม อันเป็นงานพัฒนาการให้บริการที่มอบความสะดวกรวดเร็วในด้านการลงทุนในกองทุนรวมให้กับลูกค้าที่ใช้บริการอินเตอร์เน็ต บัวหลวงไอแบงก์กิ้ง
สำหรับบริการดังกล่าวที่เปิดใช้ในครั้งนี้ ได้แก่ การรับคำสั่งซื้อ ขาย สับเปลี่ยน ทางระบบอินเตอร์เน็ต ผ่านบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง ของธนาคารกรุงเทพ สำหรับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ที่บริหารจัดการโดย บลจ.บัวหลวง รวมทั้งสิ้น 7 กองทุนที่มีอยู่ก่อนหน้านี้ และนอกจากนี้บริษัทเตรียมออกกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพเพิ่มขึ้นอีกในเร็วๆ นี้
ทั้งนี้ ระบบดังกล่าวยังสามารถรับคำสั่งซื้อ ด้วยวิธีหักบัญชีเงินฝาก จากบัญชีธนาคารกรุงเทพได้ทุกวัน ตามที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้กำหนดไว้ จากเดิมที่ระบบนี้สามารถรับคำสั่งซื้อได้เฉพาะวันที่ 1 และหรือ 16 ของแต่ละเดือน นอกจากนี้ระบบที่พัฒนาล่าสุดทำให้ บลจ.บัวหลวง สามารถรับคำสั่งสับเปลี่ยน กองทุนแอลทีเอฟ จากบริษัทจัดการอื่น เข้ามายังกองทุนรวมบัวหลวงหุ้นระยะยาว และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว 75/25 ที่บริหารจัดการโดย บลจ.บัวหลวง ได้อีกด้วย ทั้งนี้ ระบบดังกล่าวเปิดให้บริการแล้วตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
ส่วนของขั้นตอนการสมัครใช้บริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้งนั้นสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยตนเอง ที่สาขาธนาคารกรุงเทพ ทั่วประเทศที่สะดวกใกล้บ้านหรือที่ทำงาน (ยกเว้นสาขาแม็กโคร) เพียงนำหลักฐานการสมัคร ได้แก่ บัตรประชาชน หรือหนังสือเดินทาง (กรณีเป็นชาวต่างชาติ) สมุดบัญชีเงินฝากของธนาคารกรุงเทพ และสมุดบัญชีแสดงสิทธิในหน่วยลงทุนกองทุน RMF หรือ LTF ของ บลจ.บัวหลวง ที่มีเลขที่ผู้ถือหน่วยลงทุนขึ้นต้นด้วย 889
“ปัจจุบัน บริการกองทุนเปิดผ่านบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง อำนวยความสะดวกตลอด 24 ชม.สำหรับผู้ที่ต้องการลงทุนในกองทุนเปิดทั่วไปประเภทต่างๆ ที่ไม่ใช่กองทุนลดหย่อนภาษี ก็สามารถลงทะเบียนใช้บริการส่งคำสั่งซื้อ คำสั่งขาย หรือคำสั่งสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนผ่านบัวหลวง ไอแบงก์กิ้งได้เช่นเดียวกัน สำหรับกองทุนเปิดที่ให้บริการซื้อ ขาย หรือสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน ได้แก่ กองทุนเปิดบัวหลวงธนทวี กองทุนเปิดบัวแก้ว กองทุนเปิดบัวแก้ว2 กองทุนเปิดบัวแก้วปันผล กองทุนเปิดทรัพย์บัวหลวง กองทุนเปิดบัวหลวงธนคม กองทุนเปิดบัวหลวงโครงสร้างพื้นฐาน กองทุนเปิดบัวหลวงทศพล กองทุนเปิดบีเฟล็กซ์ และกองทุนเปิดบีแอ็คทีฟ นอกจากนี้ ท่านยังสามารถตรวจสอบยอดหน่วยลงทุนคงเหลือสำหรับกองทุนในกลุ่มบัวหลวงธนรัฐ บัวหลวงธนสาร และบัวหลวงธนสารพลัสได้อีกด้วย” นายวศิน กล่าว
นายวศิน กล่าวว่า จากปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้เงินตราต่างประเทศมีความผันผวนมาก ดังนั้น นักลงทุนที่จะไปลงทุนต่างประเทศยังคงมีความวิตกกังวล และขาดความเชื่อมั่น ต่อการลงทุนในต่างประเทศ และมองว่ายังไม่ปลอดภัยเท่าที่ควร
ล่าสุด บริษัทได้เปิดขายกองทุนรวมบัวหลวงธนรัฐ 26/08 (B26/08) ในระหว่างวันที่ 21 – 28 ตุลาคม 2551 โดยกองทุนดังกล่าวมีอายุโครงการประมาณ 10 – 12 เดือน และมีขนาดโครงการทั้งสิ้น 3,000 ล้านบาท เน้นลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ เช่น ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยหรือพันธบัตร เป็นหลัก
นอกจากนี้ สำหรับกองทุนรวมบัวหลวงธนรัฐ 24/08 (B24/08) และ กองทุนรวมบัวหลวงธนรัฐ 25/08 (B25/08 ) ที่เปิดขายไปเมื่อวันที่ 3 - 13 ตุลาคม 2551 ที่ผ่านมา สามารถระดมทุนรวมกันทั้งสองกองทุนกว่า 4,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่าได้รับการตอบรับจากนักลงทุนเป็นอย่างดี ซึ่งนักลงทุนที่เข้ามาลงทุนส่วนใหญ่ มีทั้งนักลงทุนรายเก่าที่ยังให้ความไว้วางใจบลจ. บัวหลวง อยู่ นอกจากนี้แล้วบริษัทยังได้ลูกค้ารายใหม่ที่เข้ามาลงทุนกับ บลจ. บัวหลวง เพิ่มขึ้นด้วย