บลจ.บัวหลวงประเดิมบริการ "บัวหลวงไอแบงก์กิ้ง" กระตุ้นยอด "กองทุนเปิดบัวหลวงธนทวี" ตั้งเป้าทั้งปีนี้ ดันเงินลงทุนขยับเพิ่มขึ้นเป็น 6-7 หมื่นล้านบาทจาก 3.4 หมื่นล้านบาทในปัจจุบัน ระบุกองทุนนี้น่าจะเป็นแหล่งพักเงินที่ดีของลูกค้า ในช่วงที่การลงทุนในตลาดหุ้นไทยผันผวนอยู่ในขณะนี้
นายวศิน รัตนกรกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายการตลาด บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บัวหลวง จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทได้ออกเคมเปญกระตุ้นการทำธุรกรรมผ่านบริการบัวหลวงไอแบงก์กิ้ง เพื่อให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการมากขึ้น ควบคู่กับการกระตุ้นการลงทุนในกองทุนรวมไปด้วย ซึ่งแคมเปญในครั้งนี้ บริษัทใช้กองทุนเปิดบัวหลวงธนทวีเป็นตัวกระตุ้น โดยลูกค้าที่ใช้บริการบัวหลวงไอแบงก์กิ้งในการทำธุรกรรมของกองทุนเปิดธนทวีครบ 4 ครั้งขึ้นไป ภายในวันที่ 15 ม.ค. - 31 มี.ค. 2551 หรือสมัครใช้บริการซื้อหน่วยลงทุนแบบถัวเฉลี่ยภายในวันที่ 15 ม.ค. - 31 มี.ค. 2551 และธนาคารหักเงินจากบัญชีเงินฝากเพื่อชำระค่าซื้อหน่วยลงทุนได้ครบ 4 ครั้งขึ้นไปจะได้รับนาฬิกา 4 มิติ คนละ 1 เครื่อง
นอกจากนี้ บริษัทจะประชาสัมพันธ์ผ่านสาขาของธนาคารกรุงเทพ เพื่อให้ลูกค้าได้ทราบว่า สามารถซื้อขายกองทุนรวมผ่านบริการดังกล่าวได้แล้ว ทั้งนี้ บริการบัวหลวงไอแบงก์กิ้งเอง ให้บริการหลักๆ ในด้านการซื้อขายหน่วยลงทุน สับเปลี่ยนหน่วยลงทุน และดูการเปลี่ยนแปลงของหน่วยลงทุนที่ลูกค้าลงทุนอยู่
สำหรับสาเหตุที่ใช้กองทุนเปิดบัวหลวงธนทวีเป็นตัวกระตุ้น เนื่องจากเรามองว่าเป็นกองทุนที่เข้่าใจง่าย ความเสี่ยงต่ำ สามารถซื้อขายได้ทุกวันและลูกค้าทุกระดับสามารถเข้ามาลงทุนได้ ประกอบกับในปีนี้เอง บริษัทตั้งเป้าขยายขนาดของกองทุนดังกล่าวให้เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 30,000 ล้านบาท เป็น 60,000-70,000 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวมประมาณ 34,000 ล้านบาทในปัจจุบัน ซึ่งเรามองว่ากองทุนเปิดบัวหลวงธนทวี น่าจะเป็นตัวเลือกหนึ่งในการใช้เป็นแหล่งพักเงินของลูกค้า โดยเฉพาะในช่วงที่การลงทุนในตลาดหุ้นไทยค่อนข้างผันผวนอยู่ในขณะนี้
ทั้งนี้ ในปีที่ผ่านมา ลูกค้าให้ความสนใจลงทุนในกองทุนเปิดบัวหลวงธนทวีจนทำให้มีจำนวนเงินลงทุนเพิ่มขึ้นพอสมควร โดยในช่วงต้นปีมีเงินลงทุนประมาณ 2 หมื่นล้านบาทก่อนจะขยับขึ้นมาอยู่ที่ 3.4 หมื่นล้านบาทในช่วงปลายปี
นายวศินกล่าวว่า หลังจากเปิดใช้บริการบัวหลวงไอแบงก์กิ้งไปเมื่อปลายปีที่ผ่านมา มีลูกค้าให้ความสนใจและเข้ามาใช้บริการเพิ่มขึ้นพอสมควร แต่ยังไม่ใช่การทำธุรกรรมทั้งหมด อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าในระยะยาวลูกค้าจะเข้ามาทำธุรกรรมผ่านบริการดังกล่าวเพิ่มขึ้น เพราะในช่วงที่เราไม่มีบริการประเภทนี้ ลูกค้าก็สอบถามเข้ามาเป็นจำนวนมาก
สำหรับกองทุนเปิดบัวหลวงธนทวี มีนโยบายลงทุนในระยะสั้นและระยะปานกลางในตราสารหนี้ที่มีสภาพคล่องอาุยเฉลี่ยประมาณ 1 ปี โดยจะลงทุนในตราสารหนี้ที่ออกหรือค้ำประกันโดยรัฐบาลและตราสารหนี้ภาคเอกชน ที่มีความมั่นคง ซึ่งเน้นการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในตัวตราสารหรือผู้ออกตราสาร ซึ่งมีอันดับความน่าเชื่อถือตั้งแต่ A- ขึ้นไป ทั้งนี้ กองทุนจะไม่ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง
โดยผลการดำเนินงานของกองทุน สิ้นสุด ณ วันที่ 28 ธันวาคม 2550 ให้ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปีอยู่ที่ 3.45% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน (ค่าเฉลี่ยของ ThaiBMA Government Bond Index และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 1 ปี วงเงิน 1 ล้านบาทเฉลี่ยของธ.กรุงเทพ ธ.กสิกรไทย และธ.ไทยพาณิชย์) ที่ให้ผลตอบแทน 5.26% ส่วนผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือนอยู่ที่ 2.73% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน 0.81% และผลตอบแทนย้อนหลัง 6 เดือนอยู่ที่ 2.74% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน 1.36% ขณะที่ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่จัดตั้งกองทุนอยู่ที่ 3.52% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน 3.62%
ทั้งนี้ สัดส่วนการลงทุน (% ของ NAV) ประกอบด้วย เงินฝาก/ตั๋วสัญญาใช้เงิน 34.57% ตั๋วเงินคลัง 1.63% พันธบัตรรัฐบาล/ธปท. 17.91% หุ้นกู้รัฐวิสาหกิจและบริษัทเอกชน 14.17% ตั๋วแลกเงิน 30.48% และอื่นๆ 1.24%
นายวศิน รัตนกรกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายการตลาด บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บัวหลวง จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทได้ออกเคมเปญกระตุ้นการทำธุรกรรมผ่านบริการบัวหลวงไอแบงก์กิ้ง เพื่อให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการมากขึ้น ควบคู่กับการกระตุ้นการลงทุนในกองทุนรวมไปด้วย ซึ่งแคมเปญในครั้งนี้ บริษัทใช้กองทุนเปิดบัวหลวงธนทวีเป็นตัวกระตุ้น โดยลูกค้าที่ใช้บริการบัวหลวงไอแบงก์กิ้งในการทำธุรกรรมของกองทุนเปิดธนทวีครบ 4 ครั้งขึ้นไป ภายในวันที่ 15 ม.ค. - 31 มี.ค. 2551 หรือสมัครใช้บริการซื้อหน่วยลงทุนแบบถัวเฉลี่ยภายในวันที่ 15 ม.ค. - 31 มี.ค. 2551 และธนาคารหักเงินจากบัญชีเงินฝากเพื่อชำระค่าซื้อหน่วยลงทุนได้ครบ 4 ครั้งขึ้นไปจะได้รับนาฬิกา 4 มิติ คนละ 1 เครื่อง
นอกจากนี้ บริษัทจะประชาสัมพันธ์ผ่านสาขาของธนาคารกรุงเทพ เพื่อให้ลูกค้าได้ทราบว่า สามารถซื้อขายกองทุนรวมผ่านบริการดังกล่าวได้แล้ว ทั้งนี้ บริการบัวหลวงไอแบงก์กิ้งเอง ให้บริการหลักๆ ในด้านการซื้อขายหน่วยลงทุน สับเปลี่ยนหน่วยลงทุน และดูการเปลี่ยนแปลงของหน่วยลงทุนที่ลูกค้าลงทุนอยู่
สำหรับสาเหตุที่ใช้กองทุนเปิดบัวหลวงธนทวีเป็นตัวกระตุ้น เนื่องจากเรามองว่าเป็นกองทุนที่เข้่าใจง่าย ความเสี่ยงต่ำ สามารถซื้อขายได้ทุกวันและลูกค้าทุกระดับสามารถเข้ามาลงทุนได้ ประกอบกับในปีนี้เอง บริษัทตั้งเป้าขยายขนาดของกองทุนดังกล่าวให้เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 30,000 ล้านบาท เป็น 60,000-70,000 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวมประมาณ 34,000 ล้านบาทในปัจจุบัน ซึ่งเรามองว่ากองทุนเปิดบัวหลวงธนทวี น่าจะเป็นตัวเลือกหนึ่งในการใช้เป็นแหล่งพักเงินของลูกค้า โดยเฉพาะในช่วงที่การลงทุนในตลาดหุ้นไทยค่อนข้างผันผวนอยู่ในขณะนี้
ทั้งนี้ ในปีที่ผ่านมา ลูกค้าให้ความสนใจลงทุนในกองทุนเปิดบัวหลวงธนทวีจนทำให้มีจำนวนเงินลงทุนเพิ่มขึ้นพอสมควร โดยในช่วงต้นปีมีเงินลงทุนประมาณ 2 หมื่นล้านบาทก่อนจะขยับขึ้นมาอยู่ที่ 3.4 หมื่นล้านบาทในช่วงปลายปี
นายวศินกล่าวว่า หลังจากเปิดใช้บริการบัวหลวงไอแบงก์กิ้งไปเมื่อปลายปีที่ผ่านมา มีลูกค้าให้ความสนใจและเข้ามาใช้บริการเพิ่มขึ้นพอสมควร แต่ยังไม่ใช่การทำธุรกรรมทั้งหมด อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าในระยะยาวลูกค้าจะเข้ามาทำธุรกรรมผ่านบริการดังกล่าวเพิ่มขึ้น เพราะในช่วงที่เราไม่มีบริการประเภทนี้ ลูกค้าก็สอบถามเข้ามาเป็นจำนวนมาก
สำหรับกองทุนเปิดบัวหลวงธนทวี มีนโยบายลงทุนในระยะสั้นและระยะปานกลางในตราสารหนี้ที่มีสภาพคล่องอาุยเฉลี่ยประมาณ 1 ปี โดยจะลงทุนในตราสารหนี้ที่ออกหรือค้ำประกันโดยรัฐบาลและตราสารหนี้ภาคเอกชน ที่มีความมั่นคง ซึ่งเน้นการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในตัวตราสารหรือผู้ออกตราสาร ซึ่งมีอันดับความน่าเชื่อถือตั้งแต่ A- ขึ้นไป ทั้งนี้ กองทุนจะไม่ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง
โดยผลการดำเนินงานของกองทุน สิ้นสุด ณ วันที่ 28 ธันวาคม 2550 ให้ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปีอยู่ที่ 3.45% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน (ค่าเฉลี่ยของ ThaiBMA Government Bond Index และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 1 ปี วงเงิน 1 ล้านบาทเฉลี่ยของธ.กรุงเทพ ธ.กสิกรไทย และธ.ไทยพาณิชย์) ที่ให้ผลตอบแทน 5.26% ส่วนผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือนอยู่ที่ 2.73% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน 0.81% และผลตอบแทนย้อนหลัง 6 เดือนอยู่ที่ 2.74% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน 1.36% ขณะที่ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่จัดตั้งกองทุนอยู่ที่ 3.52% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน 3.62%
ทั้งนี้ สัดส่วนการลงทุน (% ของ NAV) ประกอบด้วย เงินฝาก/ตั๋วสัญญาใช้เงิน 34.57% ตั๋วเงินคลัง 1.63% พันธบัตรรัฐบาล/ธปท. 17.91% หุ้นกู้รัฐวิสาหกิจและบริษัทเอกชน 14.17% ตั๋วแลกเงิน 30.48% และอื่นๆ 1.24%