ปรากฏการณ์หนึ่งที่น่าจับตามองยิ่งในปัจจุบันก็คือ มหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน ต่างแตกหน่อขยายสาขา เปิดวิทยาเขต อยู่กลางเมืองกรุงหรือห้างสรรพสินค้า รวมไปถึงหัวเมือง จังหวัดใหญ่กันมากขึ้น และมักจะใช้กลยุทธ์สาขาใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการกับตลาดแรงงานมาเป็นจุดขาย แถมยังเปิดรับนักศึกษาจำนวนไม่อั้น โดยมหาวิทยาลัยเหล่านี้ต่างก็ให้เหตุผลว่าเพื่ออำนวยความสะดวกและเปิดโอกาสแก่ผู้สนใจศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
ทว่า เวลานี้เริ่มมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ นี่คือ “ธุรกิจการศึกษา” เนื่องจากผู้เรียนต้องควักกระเป๋าจ่ายค่าเทอมในราคาสูงลิบลิว
ผศ.ดร.วันชัย ศิริชนะ อธิการบดีม.แม่ฟ้าหลวง (มฟล.) และในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า มองได้ 2 ด้าน ด้านแรก เป็นการขยายโอกาสที่ทำให้คนเข้าถึงการศึกษาในสาขาต่างๆ ที่ต้องการศึกษาได้ง่ายขึ้น เรียกว่านำชั้นเรียนมาใกล้ตัว และทำให้คนซึ่งไม่มีเวลาศึกษาในวันปกติเข้าชั้นเรียนได้ โดยมาเรียนวันเสาร์-อาทิตย์ ตรงนี้ถือว่าเป็นเรื่องดีในการยกระดับคุณภาพของประชาชน แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ คุณภาพที่ได้รับกับความเป็นธรรมในเรื่องราคา เพราะคุณภาพเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ลงทุนหวังว่าจะได้รับการศึกษาที่ดี เพื่อเป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพต่อไปในอนาคต
“ระบบการศึกษาเวลานี้ มีอยู่ 3 อย่าง หนึ่ง-ราคาแพงและคุณภาพดี สอง-ราคาแพงแต่คุณภาพไม่สมราคา ตรงนี้ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้ตัดสินว่าควรเลือกซื้อสินค้าในระดับใด และสาม-ของถูก แต่คุณภาพ มีดีบ้าง ไม่ดีบ้าง คละกันไป เพราะฉะนั้น ตรงนี้ขึ้นอยู่กับว่าผู้เรียนจะตัดสินใจเองว่าควรเรียนประเภทไหน”
ด้านที่สอง ในแง่ของผู้ประกอบการหรือมหาวิทยาลัย ไม่ควรละทิ้งอุดมการณ์ของอุดมศึกษา นั่นคือ พัฒนาคนให้มีคุณภาพ ไม่ว่าจะเก็บถูกแพง เป้าหมายสำคัญ ทำให้คนมีคุณภาพ ไม่อย่างนั้นจะเข้าข่ายซื้อขายปริญญา ซึ่งเป็นเรื่องไม่ถูกต้องและเป็นการทำงานสังคมโดยรวม
ผศ.ดร.วันชัย กล่าวอีกว่า การเปิดหลักสูตรกับรับนักศึกษาเป็นสิทธิเสรีภาพของแต่ละสถาบัน ทปอ.คงไปกำหนดกฎเกณฑ์ว่าควรเปิดสาขานี้ ควรรับนักศึกษาจำนวนเท่านี้ ไม่ได้ แต่สิ่งหนึ่งที่อยากฝากไปยังมหาวิทยาลัยทุกแห่ง การที่มหาวิทยาลัยจะเปิดสาขาใดนั้น ขอให้คำนึงถึงตลาดแรงงาน พร้อมทั้งตระหนักว่าสามารถผลิตบัณฑิตในสาขานั้นได้จริงรึเปล่า
“มหาวิทยาลัยควรมีการสำรวจแรงงานว่า ขณะนี้ตลาดต้องการแรงงานด้านไหน และก่อนยื่นขอเปิดหลักสูตรมายังสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ควรดูว่าพร้อมแค่ไหน มีอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขานั้นรึเปล่า อุปกรณ์การเรียนการสอนพร้อมไหม ไม่ใช่เห็นว่าตลาดแรงงานต้องการก็เปิด โดยไม่ได้คำนึงถึงความพร้อม อีกอย่างหนึ่งควรมีการยืดหยุ่นในการเปิดหลักสูตร ถ้าหากดูแล้วว่าหลักสูตรนี้ล้าสมัย บัณฑิตล้นตลาด ก็ควรรับนักศึกษาให้น้อยลง เพื่อแก้ปัญหาบัณฑิตตกงาน”
ผศ.ดร.วันชัยยอมรับว่าปัจจุบันมีอาจารย์จำนวนไม่น้อยเดินสายสอนหลายแห่ง นอกจากนี้ยังพบว่ามหาวิทยาลัยนำชื่อมาใส่ไว้เพื่อขอเปิดหลักสูตร แต่ถึงเวลาสอนอาจารย์ท่านนั้นไม่ได้มาสอนลูกศิษย์เลย หรือมาสอนเพียงครั้งสองครั้งเท่านั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องนัก เพราะฉะนั้น สกอ.คงต้องหามาตรการควบคุม
ทั้งนี้ เหตุที่อาจารย์ตระเวนสอนหลายมหาวิทยาลัยนั้น ก่อนอื่นคงต้องยอมรับกันว่าขณะนี้บ้านเรายังขาดอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางจำนวนมาก อย่างไรก็ดี อนาคต สกอ.มีมาตรการคุมอาจารย์เดินสายสอน ถ้าหากมหาวิทยาลัยขอเปิดหลักสูตร ต้องระบุชื่ออาจารย์ผู้สอน จากนั้น สกอ.จะมีทีมตรวจสอบว่าสอนจริงรึเปล่า รวมถึงเช็คว่าอาจารย์ท่านนี้สอนอยู่กี่แห่ง
“ไม่ว่าจะมีระบบตรวจสอบดีแค่ไหน สู้ทำสถาบันให้มีจิตสำนึกด้านคุณภาพให้ได้ ไม่อย่างนั้นก็จะเหมือนโปลิสต์จับขโมย มีกฎหมายเข้มงวดแค่ไหน เขาก็หาทางเลี่ยงจนได้”
ผศ.ดร.วันชัย กล่าวว่า เวลานี้ตนมีสิ่งที่วิตกกังวลมากกว่าอาจารย์เดินสาย นั่นก็คือ สำนึกความเป็นอาจารย์ โดยเฉพาะอาจารย์รุ่นใหม่ที่เข้าสู่ระบบอุดมศึกษา ขาดความสำนึกแห่งความเป็นครูคุณภาพ ที่จะทำให้ลูกศิษย์มีความเฉลียวฉลาด ความเก่งกาจมากขึ้น มีน้ำใจเอื้ออาทรต่อลูกศิษย์ ความรู้สึกมีส่วนร่วมในการพัฒนาลูกศิษย์ ตรงนี้ผมมองว่ามันหายไป อาจารย์มักจะมุ่งเน้นการสอนกับการวิจัย ซึ่งเป็นเรื่องส่วนตัว และการสอนยังมีปัญหาอยู่มาก เนื่องจากเพิ่งจบใหม่ประสบการในการสอนยังไม่เข้มแข็ง ควรเร่งรัดพัฒนาการสอนให้แก่อาจารย์จบใหม่
“มีอาจารย์บางคนได้ทุนการศึกษา พอใช้ทุนครบก็ลาออกทันที หรือบางคนไม่ทันครบเวลาใช้ทุน พบมากในมหาวิทยาลัยต่างจังหวัด อาจารย์มักจะอ้างว่าไม่มีงานไซด์ไลน์ทำ ก็เลยต้องหาทางเข้ามาสอนในกรุงเทพฯ เพื่อให้มีงานไซด์ไลน์ ซึ่งสำนึกของความรับผิดชอบของอาจารย์รุ่นใหม่มันเกี่ยวโยงกับอนาคตของประเทศ ถ้าหากอาจารย์หลายคนคิดอย่างนี้ผมมองว่าเสียหายเยอะ”ผศ.ดร.วันชัย กล่าวทิ้งท้าย
ทว่า เวลานี้เริ่มมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ นี่คือ “ธุรกิจการศึกษา” เนื่องจากผู้เรียนต้องควักกระเป๋าจ่ายค่าเทอมในราคาสูงลิบลิว
ผศ.ดร.วันชัย ศิริชนะ อธิการบดีม.แม่ฟ้าหลวง (มฟล.) และในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า มองได้ 2 ด้าน ด้านแรก เป็นการขยายโอกาสที่ทำให้คนเข้าถึงการศึกษาในสาขาต่างๆ ที่ต้องการศึกษาได้ง่ายขึ้น เรียกว่านำชั้นเรียนมาใกล้ตัว และทำให้คนซึ่งไม่มีเวลาศึกษาในวันปกติเข้าชั้นเรียนได้ โดยมาเรียนวันเสาร์-อาทิตย์ ตรงนี้ถือว่าเป็นเรื่องดีในการยกระดับคุณภาพของประชาชน แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ คุณภาพที่ได้รับกับความเป็นธรรมในเรื่องราคา เพราะคุณภาพเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ลงทุนหวังว่าจะได้รับการศึกษาที่ดี เพื่อเป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพต่อไปในอนาคต
“ระบบการศึกษาเวลานี้ มีอยู่ 3 อย่าง หนึ่ง-ราคาแพงและคุณภาพดี สอง-ราคาแพงแต่คุณภาพไม่สมราคา ตรงนี้ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้ตัดสินว่าควรเลือกซื้อสินค้าในระดับใด และสาม-ของถูก แต่คุณภาพ มีดีบ้าง ไม่ดีบ้าง คละกันไป เพราะฉะนั้น ตรงนี้ขึ้นอยู่กับว่าผู้เรียนจะตัดสินใจเองว่าควรเรียนประเภทไหน”
ด้านที่สอง ในแง่ของผู้ประกอบการหรือมหาวิทยาลัย ไม่ควรละทิ้งอุดมการณ์ของอุดมศึกษา นั่นคือ พัฒนาคนให้มีคุณภาพ ไม่ว่าจะเก็บถูกแพง เป้าหมายสำคัญ ทำให้คนมีคุณภาพ ไม่อย่างนั้นจะเข้าข่ายซื้อขายปริญญา ซึ่งเป็นเรื่องไม่ถูกต้องและเป็นการทำงานสังคมโดยรวม
ผศ.ดร.วันชัย กล่าวอีกว่า การเปิดหลักสูตรกับรับนักศึกษาเป็นสิทธิเสรีภาพของแต่ละสถาบัน ทปอ.คงไปกำหนดกฎเกณฑ์ว่าควรเปิดสาขานี้ ควรรับนักศึกษาจำนวนเท่านี้ ไม่ได้ แต่สิ่งหนึ่งที่อยากฝากไปยังมหาวิทยาลัยทุกแห่ง การที่มหาวิทยาลัยจะเปิดสาขาใดนั้น ขอให้คำนึงถึงตลาดแรงงาน พร้อมทั้งตระหนักว่าสามารถผลิตบัณฑิตในสาขานั้นได้จริงรึเปล่า
“มหาวิทยาลัยควรมีการสำรวจแรงงานว่า ขณะนี้ตลาดต้องการแรงงานด้านไหน และก่อนยื่นขอเปิดหลักสูตรมายังสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ควรดูว่าพร้อมแค่ไหน มีอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขานั้นรึเปล่า อุปกรณ์การเรียนการสอนพร้อมไหม ไม่ใช่เห็นว่าตลาดแรงงานต้องการก็เปิด โดยไม่ได้คำนึงถึงความพร้อม อีกอย่างหนึ่งควรมีการยืดหยุ่นในการเปิดหลักสูตร ถ้าหากดูแล้วว่าหลักสูตรนี้ล้าสมัย บัณฑิตล้นตลาด ก็ควรรับนักศึกษาให้น้อยลง เพื่อแก้ปัญหาบัณฑิตตกงาน”
ผศ.ดร.วันชัยยอมรับว่าปัจจุบันมีอาจารย์จำนวนไม่น้อยเดินสายสอนหลายแห่ง นอกจากนี้ยังพบว่ามหาวิทยาลัยนำชื่อมาใส่ไว้เพื่อขอเปิดหลักสูตร แต่ถึงเวลาสอนอาจารย์ท่านนั้นไม่ได้มาสอนลูกศิษย์เลย หรือมาสอนเพียงครั้งสองครั้งเท่านั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องนัก เพราะฉะนั้น สกอ.คงต้องหามาตรการควบคุม
ทั้งนี้ เหตุที่อาจารย์ตระเวนสอนหลายมหาวิทยาลัยนั้น ก่อนอื่นคงต้องยอมรับกันว่าขณะนี้บ้านเรายังขาดอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางจำนวนมาก อย่างไรก็ดี อนาคต สกอ.มีมาตรการคุมอาจารย์เดินสายสอน ถ้าหากมหาวิทยาลัยขอเปิดหลักสูตร ต้องระบุชื่ออาจารย์ผู้สอน จากนั้น สกอ.จะมีทีมตรวจสอบว่าสอนจริงรึเปล่า รวมถึงเช็คว่าอาจารย์ท่านนี้สอนอยู่กี่แห่ง
“ไม่ว่าจะมีระบบตรวจสอบดีแค่ไหน สู้ทำสถาบันให้มีจิตสำนึกด้านคุณภาพให้ได้ ไม่อย่างนั้นก็จะเหมือนโปลิสต์จับขโมย มีกฎหมายเข้มงวดแค่ไหน เขาก็หาทางเลี่ยงจนได้”
ผศ.ดร.วันชัย กล่าวว่า เวลานี้ตนมีสิ่งที่วิตกกังวลมากกว่าอาจารย์เดินสาย นั่นก็คือ สำนึกความเป็นอาจารย์ โดยเฉพาะอาจารย์รุ่นใหม่ที่เข้าสู่ระบบอุดมศึกษา ขาดความสำนึกแห่งความเป็นครูคุณภาพ ที่จะทำให้ลูกศิษย์มีความเฉลียวฉลาด ความเก่งกาจมากขึ้น มีน้ำใจเอื้ออาทรต่อลูกศิษย์ ความรู้สึกมีส่วนร่วมในการพัฒนาลูกศิษย์ ตรงนี้ผมมองว่ามันหายไป อาจารย์มักจะมุ่งเน้นการสอนกับการวิจัย ซึ่งเป็นเรื่องส่วนตัว และการสอนยังมีปัญหาอยู่มาก เนื่องจากเพิ่งจบใหม่ประสบการในการสอนยังไม่เข้มแข็ง ควรเร่งรัดพัฒนาการสอนให้แก่อาจารย์จบใหม่
“มีอาจารย์บางคนได้ทุนการศึกษา พอใช้ทุนครบก็ลาออกทันที หรือบางคนไม่ทันครบเวลาใช้ทุน พบมากในมหาวิทยาลัยต่างจังหวัด อาจารย์มักจะอ้างว่าไม่มีงานไซด์ไลน์ทำ ก็เลยต้องหาทางเข้ามาสอนในกรุงเทพฯ เพื่อให้มีงานไซด์ไลน์ ซึ่งสำนึกของความรับผิดชอบของอาจารย์รุ่นใหม่มันเกี่ยวโยงกับอนาคตของประเทศ ถ้าหากอาจารย์หลายคนคิดอย่างนี้ผมมองว่าเสียหายเยอะ”ผศ.ดร.วันชัย กล่าวทิ้งท้าย