รายงานพิเศษชุด “บริษัทยา : มาเฟียข้ามชาติ” โดยทีมข่าวคุณภาพชีวิต ความยาว 2 ตอนจบ
ตอนจบ
ด้วยความที่อุตสาหกรรมยา เป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับ “ชีวิต” และ “ความเป็นความตาย” ของมนุษย์ทั่วโลก ดังนั้น ยาจึงเป็นปัจจัย 4 ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ที่ทุกคนไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และนำไปสู่ความเป็นธุรกิจที่ทำกำไรให้กับบริษัทผู้ผลิตสูงกว่าอุตสาหกรรมทั้งหมดที่มีอยู่ในโลกนี้
ที่น่าเศร้าใจ คือ กำไรที่บริษัทยาได้รับนั้นเป็นกำไรที่เกินความพอดี และไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการช่วยชีวิตมนุษย์เลยแต่น้อย ยิ่งกับผู้ป่วยเอดส์ซึ่งไม่มีทางรักษาให้หายขาดด้วยแล้ว ยิ่งสะท้อนภาพความเห็นแก่ได้ของบริษัทยาได้เป็นอย่างดี
**กำไรที่มากเกินพอดี
กรรณิการ์ จิตติเวชกุล แกนนำการรณรงค์เพื่อการเข้าถึงการรักษา องค์กรหมอไร้พรมแดนไทย-เบลเยียม ให้ข้อมูลว่า อุตสาหกรรมยานั้นถือเป็นธุรกิจที่ทำ “กำไร” ได้สูงสุดเมื่อเทียบกับธุรกิจอื่นๆ ที่มีในโลกนี้ โดยมีสัดส่วนกำไรที่สูงถึง 18% ของยอดรายได้เลยทีเดียว ซึ่งแม้ขณะที่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหรือซบเซา บริษัทยาก็ยังมียอดกำไรลดลงเล็กน้อย คืออยู่ในระดับที่สูงถึง 17% ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า บริษัทยาจะร่ำรวยและมีอิทธิพลมากน้อยเพียงใด
“เราเข้าใจว่าทำธุรกิจต้องมีกำไร แต่กำไรของบริษัทยาเป็นกำไรที่ต้องบอกว่า น่าเกลียดและเกินความพอดี ไม่มีอุตสาหกรรมใดมีกำไรมากมายขนาดนี้อีกแล้ว คือคุณทำมาหากินกับสินค้าที่เกี่ยวข้องกับความตายของมนุษย์ คุณก็ต้องมีคุณธรรมอยู่ในใจบ้าง ไม่ใช่ยึดกำไรเป็นใหญ่ที่สุด เวลาเราวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้ เสียงที่ตอบกลับมาก็คือ บริษัทต้องใช้เงินในการทำวิจัยค่อนข้างเยอะ ซึ่งไม่เป็นความจริง”
“เพราะเมื่อวิเคราะห์ลงไป เราจะเห็นว่าบริษัทยาใช้เงินในการวิจัยเพียงแค่ 13% เท่านั้น แถมงานวิจัยส่วนใหญ่ที่นำมาใช้ผลิตยาก็ไม่ได้ทำเอง คนที่ทำเป็นมหาวิทยาลัยหรือสถาบันวิจัยแห่งชาติต่างๆ อีกต่างหาก ซึ่งจริงๆ แล้วเม็ดเงินที่บริษัทยาใช้เยอะที่สุดจะเป็นเม็ดเงินที่ใช้ในการโฆษณาและทำการตลาดที่สูงถึง 33%”
กรรณิการ์ยกตัวอย่างให้เห็นชัดว่า ในปี 2548 ที่ผ่านมา บริษัทยาอันดับ 1 อย่างไฟเซอร์ ฟันกำไรไปสูงถึง 15.8% ของรายได้ 51,298 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่ใช้จ่ายงบประมาณด้านการตลาดไปถึง 33.1% ของรายได้ แต่จ่ายเงินเพื่อเป็นการวิจัยและพัฒนายาจริงๆ เพียง 14.5% เท่านั้น
ด้าน Merk&Co. ปี 2548 ฟันกำไรเหนาะๆ 21% ของรายได้ 22,012 ล้านเหรียญสหรัฐ ใช้งบด้านโฆษณาและมาร์เกตติ้งสูงถึง 32.5% แต่ใช้เงินค่าวิจัยไปแค่ครึ่งของการโฆษณา คือเพียง 17.5% ของรายได้ทั้งหมดเท่านั้น ซึ่งทางแอ็บบอตฯก็ไม่แพ้กัน โดยในปีเดียวกัน แอ็บบอตฯ ฟันกำไรถึง 15.1% ของรายได้ทั้งหมด 22,338 ล้านเหรียญสหรัฐ ใช้เงินค่าการตลาดและโฆษณาไปถึง 24.6% แต่ใช้งบวิจัยและพัฒนาไปเพียง 8.2% เท่านั้น
ที่น่าสนใจยิ่งก็คือ มิสเตอร์ไมลส์ ไวท์ (Miles White) ซีอีโอวัย 51 ปีของแอ็บบอตฯ ได้รับค่าตอบแทนในปีพ.ศ.2548 เป็นเงินทั้งสิ้น 22.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากการกุมบังเหียนกิจการยาและเครื่องมือแพทย์ ซึ่งจากรายงานของแอ็บบอตฯ เอง ระบุว่าไวท์ยังได้รับรางวัลพิเศษอีก 4 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายใต้แผนสร้างแรงจูงใจ สำหรับความเป็นผู้นำบริษัทที่เข้มแข็งเมื่อเปรียบเทียบกับซีอีโออื่นๆ และนอกจากนี้ ไวท์ยังได้รับสมทบอีกกว่า 8 แสนดอลลาร์เป็นค่าประกันภายใต้แผนเกษียณอายุและค่าใช้เครื่องบินของบริษัทอีกด้วย
อีกหนึ่งตัวอย่างที่สามารถสะท้อนถึงสภาพความเป็นจริงในธุรกิจนี้ก็คือ การตั้งราคาขายที่คิดกำไรเกินพอดี
กรรณิการ์อธิบายว่า ปกติแล้วยาคาเลตต้าของบริษัท แอ็บบอต แลบอราตอรีส จำกัด ผู้ป่วยต้องมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 11,580 บาทต่อคนต่อเดือน แต่ยาตัวเดียวกันที่ประเทศไทยกำลังไปทำความตกลงจัดซื้อรวมร่วมกับมูลนิธิคลินตันซึ่งสั่งมาจากอินเดีย ยอดค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยจะลดเหลือเพียงแค่ 2,050 บาทต่อคนต่อเดือนเท่านั้น
ดังนั้น ทั้งหลายทั้งปวงจึงสามารถสรุปได้ว่า สิ่งที่ธุรกิจยาพร่ำบ่นอยู่เสมอว่า “เราทำเพื่อประชาชน ยาแพงเพราะเราต้องลงทุนวิจัยมาก” ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด
**เปิดโปงเหลี่ยม-ลูกเล่นบริษัทยา
รศ.ดร.ภก.วิทยา กุลสมบูรณ์ อาจารย์ประจำหน่วยปฏิบัติการวิจัยเภสัชศาสตร์สังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องกลุ่มยาที่มีการนำเข้ามากที่สุดของไทยว่า ในขณะนี้เป็นยาในกลุ่มยาลดไขมัน โดยที่แนวโน้มตลาดในไทยและในต่างประเทศเป็นไปในทิศทางเดียวกันคือ มีการใช้ยาลดไขมันและยาปฏิชีวนะเป็นอันดับต้นๆ ขณะที่ยาต้านไวรัสเอสไอวีตามมาทีหลัง และยามะเร็งก็เป็นอีกกลุ่มที่กำลังจะแซงหน้าขึ้นมา
อย่างไรก็ตาม เหตุและปัจจัยที่มีการนำเข้ายาไม่ได้มีสาเหตุเนื่องมากจากโรคร้ายที่คนเราต้องเผชิญเพียงอย่างเดียว แต่ยังขึ้นอยู่กับข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับตัวยาต่างๆ และกำลังเงินที่จะสามารถจ่ายได้ รวมถึงระบบประกันสุขภาพของประเทศนั้นๆ ด้วย
สำหรับประเทศไทยมีระบบประกันสุขภาพ 3 ระบบใหญ่ คือ ระบบประกันสังคมที่มีการร่วมจ่ายระหว่างประชาชนกับภาคอุตสาหกรรม ที่ถือว่าการใช้จ่ายยาอยู่ในระดับกลางๆ ระบบสวัสดิการข้าราชการที่ให้การรักษาคนจำนวนหนึ่งที่มีจำนวนน้อยเพียง 4-5 ล้านคน แต่ใช้จ่ายเงินสูงเพราะมีงบประมาณอยู่ 4,500 ล้านบาท และยังสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ในภายหลังเป็นลักษณะปลายเปิด และระบบประกันสุขภาพทั่วหน้าที่มีประชาชนที่ต้องดูแลในโครงการฯ มากกว่า 45 ล้านคน แต่มีงบประมาณ 7-8 หมื่นล้านบาท
แน่นอนว่า ระบบเหล่านี้ทำให้การจ่ายยาในการรักษาโรคมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับว่าอยู่ในระบบไหน เช่น คนที่มีอาการปวดเข่า หากมีสิทธิการรักษาพยาบาลข้าราชการก็จะได้ยาที่มีราคาแพงกว่าการจ่ายเงินเองหรือในระบบประกันสุขภาพ ถึงแม้ว่ายาที่แพงกว่าไม่ได้หมายถึงมีคุณภาพดีกว่า แต่ที่แย่ยิ่งกว่าคือ อาจมีการจ่ายยาที่เกินความจำเป็น
ส่วนปัญหาในแง่การตลาด ที่มีการส่งเสริมการขายอย่างดุเดือด ในตลาดยาของไทย บริษัทยาข้ามชาติก็มีเทคนิคหลีกเลี่ยงกฎเกณฑ์ต่างๆ อย่างแหวกแนว หลากหลาย ซึ่งอาจมีมากกว่าในต่างประเทศเสียอีก โดยมีงานวิจัยศึกษาในประเทศไทยหลายๆ ชิ้นที่พิสูจน์ได้เป็นอย่างดี เช่น งานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ระบุชัดเจนว่า ทฤษฎีการตีซี้ของตัวแทนผู้ขายยาที่ใช้ความสามารถในการขายยาโดยให้บริการผู้มีอำนาจในการซื้อหายาทุกอย่างๆ ใช้ความสนิทสนมดูแลแม้กระทั่งครอบครัว รวมไปถึงการเป็นผู้ให้การสนับสนุนในการประชุมวิชาการทางการแพทย์ การเรียนต่อต่างประเทศ เหล่านี้กลายเป็นสิ่งล่อตา ยวนใจได้เป็นอย่างดี ในขณะที่บางคนอาจมองว่านี่เป็น “สินบนน้ำใจ”
“จริงๆ แล้วตัวอย่างการเลี้ยงดูปูเสื่อในสมัยก่อนก็มีให้เห็นจากบริษัทยาในประเทศ แต่เมื่อเกิดปัญหาการทุจริตยาจึงมีการระแวดระวังตัวมากขึ้น ในกรณีของบริษัทยาข้ามชาติจึงมีการตอบแทนผลประโยชน์ที่ลึกลับซับซ้อนยิ่งขึ้น กลายเป็นจุดอ่อนที่ทำให้ยามีราคาแพง และมีการสั่งยาที่ไม่เหมาะสมที่ทำให้ค่าใช้จ่ายยิ่งเพิ่มสูงขึ้น”
รศ.ดร.ภก.วิทยา บอกด้วยว่า การตลาดที่บริษัทยานำมาใช้มีหลายรูปแบบทั้งที่เป็นหลังเกณฑ์และไม่มีหลักเกณฑ์ อย่างเช่น วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกที่มีการประชาสัมพันธ์ให้ฉีดกันมากๆ ก็ไปกระตุ้นการตัดสินใจว่าดีอย่างนั้นอย่างนี้ มีการต่อรองกับแพทย์ ขณะที่ประชาชนเองก็ไม่เข้าใจว่า จริงๆ แล้วมีความเหมาะสม ควรหรือไม่ควรในการฉีดป้องกัน
** “HIV” ไวรัสที่คงอยู่เหนือการสังหาร
เป็นที่ปรากฏชัดแล้วว่า “ไวรัสเอชไอวี” และ “โรคเอดส์” เป็นปัญหาที่ทุกฝ่ายยังแก้ให้ตกมิได้ แม้ว่านักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องทั้งหลายจะค้นคว้า วิจัย ทดลอง มากแค่ไหน ก็ยังไม่สามารถผลิตวัคซีนฆ่าไวรัสดังกล่าวได้ ดังนั้น ความหวังเดียวในการต่อลมหายใจของผู้ติดเชื้อที่มีอยู่ทั่วโลก ซึ่งในจำนวนมีผู้ติดเชื้อชาวไทยราว 8 แสนคนนั้น ยังคงฝากเอาไว้ที่ “ยาต้านไวรัส” แต่เพียงอย่างเดียว
นิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ให้ข้อมูลว่า ขณะนี้ไทยมีผู้ป่วยเอดส์ที่มีเชื้อเอชไอวีอยู่ในร่างกายประมาณ 500,000 ตน ในจำนวนนี้มี CD4 ต่ำกว่า 200 และต้องใช้ยาต้านไวรัส 150,000 คน และได้รับยาต้านแล้วประมาณ 110,000 คน อีก 50,000 คนยังเข้าไปถึงยาต้าน และคนที่ได้รับยาไปแล้วมีสิทธิจะดื้อยาและจำเป็นต้องเปลี่ยนยาในอนาคตอันใกล้อย่างน้อยประมาณ 10% คือประมาณ 10,000 คน ที่จะต้องจ่ายเงินซื้อยาต้านตัวใหม่เพื่อยืดลมหายใจของตัวเองออกไป
ปัญหาที่เกิดขึ้นตามมา คือ ยาตัวที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้ในระยะที่สองภายหลังการดื้อยาต้านไวรัสพื้นฐานนั้น เป็นยาที่วิจัยและพัฒนาขึ้นในระยะหลัง และส่วนใหญ่บริษัทยาผู้ผลิตก็ได้ขึ้นทะเบียนสิทธิบัตรยาเอาไว้ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ “อะลูเวีย” ของบริษัท แอ็บบอต แลบอราตอรีส ที่ทำให้ผู้ป่วยเอดส์ซึ่งจำเป็นต้องใช้ยาดังกล่าว จำเป็นต้องจ่ายค่ายาเป็นเงินประมาณกว่า 10,000 บาทต่อเดือน ทำให้ผู้ป่วยบางส่วนยังไม่สามารถเข้าถึงการรักษาได้ ดังนั้น รัฐบาลไทยตัดสินใจประกาศใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา หรือซีแอล
สารี อ๋องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท แอ็บบอต แลบอราตอรีส แห่งนี้ว่า เป็นหนึ่งในบริษัทผลิตยาที่ใหญ่และทรงอิทธิพลที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และเป็นบริษัทที่ผลิตยาต้านไวรัสรายใหญ่ ที่ค่อนข้างได้รับผลกระทบมากจากการทำซีแอลของประเทศไทยจนกระทั่งมีการเคลื่อนไหวขอถอนการขึ้นทะเบียนยาสำคัญหลายรายการ อาทิ ยาโรคไต ยาหลอดเลือด ยาโรคหัวใจ ยาต้านไวรัสเอชไอวี ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นยาสำคัญทั้งสิ้น
“แน่นอนว่า แอ็บบอตต้องเสียประโยชน์จำนวนมหาศาลจากการทำซีแอลของประเทศไทย แต่การทำซีแอลนี้ทางเราก็ไม่ได้ทำเพื่อประโยชน์ทางการค้าหรือธุรกิจแต่อย่างใด หากแต่ทำเพื่อให้ผู้ป่วยเอดส์ได้เข้าถึงการรักษา ซึ่งไม่ผิดทั้งในแง่กฎหมายในประเทศและระเบียบขององค์การการค้าโลก แต่สิ่งที่แอ็บบอตทำนั้น บอกได้เลยว่าเป็นการกระทำที่น่ารังเกียจและไร้ศีลธรรมยิ่ง”
สารี เล่าต่ออีกว่า การกระทำที่ทางบริษัทดังกล่าวถอนทะเบียนยาสำคัญหลายรายการนั้น เสมือนหนึ่งว่าแอ็บบอตใช้ผู้ป่วยเป็นตัวประกัน บีบให้รัฐบาลไทยยกเลิกซีแอล เพื่อให้ทางบริษัทได้ประโยชน์จากเม็ดเงินของผู้ป่วยที่ต้องซื้อยาเหมือนเดิม
ทั้งนี้ ผู้จัดการมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภคได้ให้ข้อสังเกตถึงความเชื่อมโยงระหว่างแอ็บบอต ที่ออกมาปฎิเสธชนิดหัวชนฝนว่าไม่ได้เป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังการจัดอันดับประเทศไทยในครั้งนี้ ว่า บริษัท แอ็บบอต แลบอราตอรีส นี้ เป็นหนึ่งในสมาชิกของพรีม่า (สมาคมผู้ค้ายาและเวชภัณฑ์โลก) หรือพีพีเอ (PPA) เดิม ซึ่งเป็นองค์กรสากลด้านการค้ายาและเวชภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่มีอิทธิพลกว้างขวางทั้งในวงการยาด้วยกันหรือแม้กระทั่งในวงการการเมือง และโดยส่วนตัวเชื่อว่าการที่แอ็บบอตฯเป็นภาคีของพรีม่า และการออกมาเพิ่มระดับความน่าจับตามองของไทยโดยสหรัฐฯ ในช่วงนี้พอดีนั้น น่าจะมีส่วนที่เกี่ยวข้องกัน
ตอนจบ
ด้วยความที่อุตสาหกรรมยา เป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับ “ชีวิต” และ “ความเป็นความตาย” ของมนุษย์ทั่วโลก ดังนั้น ยาจึงเป็นปัจจัย 4 ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ที่ทุกคนไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และนำไปสู่ความเป็นธุรกิจที่ทำกำไรให้กับบริษัทผู้ผลิตสูงกว่าอุตสาหกรรมทั้งหมดที่มีอยู่ในโลกนี้
ที่น่าเศร้าใจ คือ กำไรที่บริษัทยาได้รับนั้นเป็นกำไรที่เกินความพอดี และไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการช่วยชีวิตมนุษย์เลยแต่น้อย ยิ่งกับผู้ป่วยเอดส์ซึ่งไม่มีทางรักษาให้หายขาดด้วยแล้ว ยิ่งสะท้อนภาพความเห็นแก่ได้ของบริษัทยาได้เป็นอย่างดี
**กำไรที่มากเกินพอดี
กรรณิการ์ จิตติเวชกุล แกนนำการรณรงค์เพื่อการเข้าถึงการรักษา องค์กรหมอไร้พรมแดนไทย-เบลเยียม ให้ข้อมูลว่า อุตสาหกรรมยานั้นถือเป็นธุรกิจที่ทำ “กำไร” ได้สูงสุดเมื่อเทียบกับธุรกิจอื่นๆ ที่มีในโลกนี้ โดยมีสัดส่วนกำไรที่สูงถึง 18% ของยอดรายได้เลยทีเดียว ซึ่งแม้ขณะที่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหรือซบเซา บริษัทยาก็ยังมียอดกำไรลดลงเล็กน้อย คืออยู่ในระดับที่สูงถึง 17% ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า บริษัทยาจะร่ำรวยและมีอิทธิพลมากน้อยเพียงใด
“เราเข้าใจว่าทำธุรกิจต้องมีกำไร แต่กำไรของบริษัทยาเป็นกำไรที่ต้องบอกว่า น่าเกลียดและเกินความพอดี ไม่มีอุตสาหกรรมใดมีกำไรมากมายขนาดนี้อีกแล้ว คือคุณทำมาหากินกับสินค้าที่เกี่ยวข้องกับความตายของมนุษย์ คุณก็ต้องมีคุณธรรมอยู่ในใจบ้าง ไม่ใช่ยึดกำไรเป็นใหญ่ที่สุด เวลาเราวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้ เสียงที่ตอบกลับมาก็คือ บริษัทต้องใช้เงินในการทำวิจัยค่อนข้างเยอะ ซึ่งไม่เป็นความจริง”
“เพราะเมื่อวิเคราะห์ลงไป เราจะเห็นว่าบริษัทยาใช้เงินในการวิจัยเพียงแค่ 13% เท่านั้น แถมงานวิจัยส่วนใหญ่ที่นำมาใช้ผลิตยาก็ไม่ได้ทำเอง คนที่ทำเป็นมหาวิทยาลัยหรือสถาบันวิจัยแห่งชาติต่างๆ อีกต่างหาก ซึ่งจริงๆ แล้วเม็ดเงินที่บริษัทยาใช้เยอะที่สุดจะเป็นเม็ดเงินที่ใช้ในการโฆษณาและทำการตลาดที่สูงถึง 33%”
กรรณิการ์ยกตัวอย่างให้เห็นชัดว่า ในปี 2548 ที่ผ่านมา บริษัทยาอันดับ 1 อย่างไฟเซอร์ ฟันกำไรไปสูงถึง 15.8% ของรายได้ 51,298 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่ใช้จ่ายงบประมาณด้านการตลาดไปถึง 33.1% ของรายได้ แต่จ่ายเงินเพื่อเป็นการวิจัยและพัฒนายาจริงๆ เพียง 14.5% เท่านั้น
ด้าน Merk&Co. ปี 2548 ฟันกำไรเหนาะๆ 21% ของรายได้ 22,012 ล้านเหรียญสหรัฐ ใช้งบด้านโฆษณาและมาร์เกตติ้งสูงถึง 32.5% แต่ใช้เงินค่าวิจัยไปแค่ครึ่งของการโฆษณา คือเพียง 17.5% ของรายได้ทั้งหมดเท่านั้น ซึ่งทางแอ็บบอตฯก็ไม่แพ้กัน โดยในปีเดียวกัน แอ็บบอตฯ ฟันกำไรถึง 15.1% ของรายได้ทั้งหมด 22,338 ล้านเหรียญสหรัฐ ใช้เงินค่าการตลาดและโฆษณาไปถึง 24.6% แต่ใช้งบวิจัยและพัฒนาไปเพียง 8.2% เท่านั้น
ที่น่าสนใจยิ่งก็คือ มิสเตอร์ไมลส์ ไวท์ (Miles White) ซีอีโอวัย 51 ปีของแอ็บบอตฯ ได้รับค่าตอบแทนในปีพ.ศ.2548 เป็นเงินทั้งสิ้น 22.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากการกุมบังเหียนกิจการยาและเครื่องมือแพทย์ ซึ่งจากรายงานของแอ็บบอตฯ เอง ระบุว่าไวท์ยังได้รับรางวัลพิเศษอีก 4 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายใต้แผนสร้างแรงจูงใจ สำหรับความเป็นผู้นำบริษัทที่เข้มแข็งเมื่อเปรียบเทียบกับซีอีโออื่นๆ และนอกจากนี้ ไวท์ยังได้รับสมทบอีกกว่า 8 แสนดอลลาร์เป็นค่าประกันภายใต้แผนเกษียณอายุและค่าใช้เครื่องบินของบริษัทอีกด้วย
อีกหนึ่งตัวอย่างที่สามารถสะท้อนถึงสภาพความเป็นจริงในธุรกิจนี้ก็คือ การตั้งราคาขายที่คิดกำไรเกินพอดี
กรรณิการ์อธิบายว่า ปกติแล้วยาคาเลตต้าของบริษัท แอ็บบอต แลบอราตอรีส จำกัด ผู้ป่วยต้องมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 11,580 บาทต่อคนต่อเดือน แต่ยาตัวเดียวกันที่ประเทศไทยกำลังไปทำความตกลงจัดซื้อรวมร่วมกับมูลนิธิคลินตันซึ่งสั่งมาจากอินเดีย ยอดค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยจะลดเหลือเพียงแค่ 2,050 บาทต่อคนต่อเดือนเท่านั้น
ดังนั้น ทั้งหลายทั้งปวงจึงสามารถสรุปได้ว่า สิ่งที่ธุรกิจยาพร่ำบ่นอยู่เสมอว่า “เราทำเพื่อประชาชน ยาแพงเพราะเราต้องลงทุนวิจัยมาก” ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด
**เปิดโปงเหลี่ยม-ลูกเล่นบริษัทยา
รศ.ดร.ภก.วิทยา กุลสมบูรณ์ อาจารย์ประจำหน่วยปฏิบัติการวิจัยเภสัชศาสตร์สังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องกลุ่มยาที่มีการนำเข้ามากที่สุดของไทยว่า ในขณะนี้เป็นยาในกลุ่มยาลดไขมัน โดยที่แนวโน้มตลาดในไทยและในต่างประเทศเป็นไปในทิศทางเดียวกันคือ มีการใช้ยาลดไขมันและยาปฏิชีวนะเป็นอันดับต้นๆ ขณะที่ยาต้านไวรัสเอสไอวีตามมาทีหลัง และยามะเร็งก็เป็นอีกกลุ่มที่กำลังจะแซงหน้าขึ้นมา
อย่างไรก็ตาม เหตุและปัจจัยที่มีการนำเข้ายาไม่ได้มีสาเหตุเนื่องมากจากโรคร้ายที่คนเราต้องเผชิญเพียงอย่างเดียว แต่ยังขึ้นอยู่กับข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับตัวยาต่างๆ และกำลังเงินที่จะสามารถจ่ายได้ รวมถึงระบบประกันสุขภาพของประเทศนั้นๆ ด้วย
สำหรับประเทศไทยมีระบบประกันสุขภาพ 3 ระบบใหญ่ คือ ระบบประกันสังคมที่มีการร่วมจ่ายระหว่างประชาชนกับภาคอุตสาหกรรม ที่ถือว่าการใช้จ่ายยาอยู่ในระดับกลางๆ ระบบสวัสดิการข้าราชการที่ให้การรักษาคนจำนวนหนึ่งที่มีจำนวนน้อยเพียง 4-5 ล้านคน แต่ใช้จ่ายเงินสูงเพราะมีงบประมาณอยู่ 4,500 ล้านบาท และยังสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ในภายหลังเป็นลักษณะปลายเปิด และระบบประกันสุขภาพทั่วหน้าที่มีประชาชนที่ต้องดูแลในโครงการฯ มากกว่า 45 ล้านคน แต่มีงบประมาณ 7-8 หมื่นล้านบาท
แน่นอนว่า ระบบเหล่านี้ทำให้การจ่ายยาในการรักษาโรคมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับว่าอยู่ในระบบไหน เช่น คนที่มีอาการปวดเข่า หากมีสิทธิการรักษาพยาบาลข้าราชการก็จะได้ยาที่มีราคาแพงกว่าการจ่ายเงินเองหรือในระบบประกันสุขภาพ ถึงแม้ว่ายาที่แพงกว่าไม่ได้หมายถึงมีคุณภาพดีกว่า แต่ที่แย่ยิ่งกว่าคือ อาจมีการจ่ายยาที่เกินความจำเป็น
ส่วนปัญหาในแง่การตลาด ที่มีการส่งเสริมการขายอย่างดุเดือด ในตลาดยาของไทย บริษัทยาข้ามชาติก็มีเทคนิคหลีกเลี่ยงกฎเกณฑ์ต่างๆ อย่างแหวกแนว หลากหลาย ซึ่งอาจมีมากกว่าในต่างประเทศเสียอีก โดยมีงานวิจัยศึกษาในประเทศไทยหลายๆ ชิ้นที่พิสูจน์ได้เป็นอย่างดี เช่น งานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ระบุชัดเจนว่า ทฤษฎีการตีซี้ของตัวแทนผู้ขายยาที่ใช้ความสามารถในการขายยาโดยให้บริการผู้มีอำนาจในการซื้อหายาทุกอย่างๆ ใช้ความสนิทสนมดูแลแม้กระทั่งครอบครัว รวมไปถึงการเป็นผู้ให้การสนับสนุนในการประชุมวิชาการทางการแพทย์ การเรียนต่อต่างประเทศ เหล่านี้กลายเป็นสิ่งล่อตา ยวนใจได้เป็นอย่างดี ในขณะที่บางคนอาจมองว่านี่เป็น “สินบนน้ำใจ”
“จริงๆ แล้วตัวอย่างการเลี้ยงดูปูเสื่อในสมัยก่อนก็มีให้เห็นจากบริษัทยาในประเทศ แต่เมื่อเกิดปัญหาการทุจริตยาจึงมีการระแวดระวังตัวมากขึ้น ในกรณีของบริษัทยาข้ามชาติจึงมีการตอบแทนผลประโยชน์ที่ลึกลับซับซ้อนยิ่งขึ้น กลายเป็นจุดอ่อนที่ทำให้ยามีราคาแพง และมีการสั่งยาที่ไม่เหมาะสมที่ทำให้ค่าใช้จ่ายยิ่งเพิ่มสูงขึ้น”
รศ.ดร.ภก.วิทยา บอกด้วยว่า การตลาดที่บริษัทยานำมาใช้มีหลายรูปแบบทั้งที่เป็นหลังเกณฑ์และไม่มีหลักเกณฑ์ อย่างเช่น วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกที่มีการประชาสัมพันธ์ให้ฉีดกันมากๆ ก็ไปกระตุ้นการตัดสินใจว่าดีอย่างนั้นอย่างนี้ มีการต่อรองกับแพทย์ ขณะที่ประชาชนเองก็ไม่เข้าใจว่า จริงๆ แล้วมีความเหมาะสม ควรหรือไม่ควรในการฉีดป้องกัน
** “HIV” ไวรัสที่คงอยู่เหนือการสังหาร
เป็นที่ปรากฏชัดแล้วว่า “ไวรัสเอชไอวี” และ “โรคเอดส์” เป็นปัญหาที่ทุกฝ่ายยังแก้ให้ตกมิได้ แม้ว่านักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องทั้งหลายจะค้นคว้า วิจัย ทดลอง มากแค่ไหน ก็ยังไม่สามารถผลิตวัคซีนฆ่าไวรัสดังกล่าวได้ ดังนั้น ความหวังเดียวในการต่อลมหายใจของผู้ติดเชื้อที่มีอยู่ทั่วโลก ซึ่งในจำนวนมีผู้ติดเชื้อชาวไทยราว 8 แสนคนนั้น ยังคงฝากเอาไว้ที่ “ยาต้านไวรัส” แต่เพียงอย่างเดียว
นิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ให้ข้อมูลว่า ขณะนี้ไทยมีผู้ป่วยเอดส์ที่มีเชื้อเอชไอวีอยู่ในร่างกายประมาณ 500,000 ตน ในจำนวนนี้มี CD4 ต่ำกว่า 200 และต้องใช้ยาต้านไวรัส 150,000 คน และได้รับยาต้านแล้วประมาณ 110,000 คน อีก 50,000 คนยังเข้าไปถึงยาต้าน และคนที่ได้รับยาไปแล้วมีสิทธิจะดื้อยาและจำเป็นต้องเปลี่ยนยาในอนาคตอันใกล้อย่างน้อยประมาณ 10% คือประมาณ 10,000 คน ที่จะต้องจ่ายเงินซื้อยาต้านตัวใหม่เพื่อยืดลมหายใจของตัวเองออกไป
ปัญหาที่เกิดขึ้นตามมา คือ ยาตัวที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้ในระยะที่สองภายหลังการดื้อยาต้านไวรัสพื้นฐานนั้น เป็นยาที่วิจัยและพัฒนาขึ้นในระยะหลัง และส่วนใหญ่บริษัทยาผู้ผลิตก็ได้ขึ้นทะเบียนสิทธิบัตรยาเอาไว้ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ “อะลูเวีย” ของบริษัท แอ็บบอต แลบอราตอรีส ที่ทำให้ผู้ป่วยเอดส์ซึ่งจำเป็นต้องใช้ยาดังกล่าว จำเป็นต้องจ่ายค่ายาเป็นเงินประมาณกว่า 10,000 บาทต่อเดือน ทำให้ผู้ป่วยบางส่วนยังไม่สามารถเข้าถึงการรักษาได้ ดังนั้น รัฐบาลไทยตัดสินใจประกาศใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา หรือซีแอล
สารี อ๋องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท แอ็บบอต แลบอราตอรีส แห่งนี้ว่า เป็นหนึ่งในบริษัทผลิตยาที่ใหญ่และทรงอิทธิพลที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และเป็นบริษัทที่ผลิตยาต้านไวรัสรายใหญ่ ที่ค่อนข้างได้รับผลกระทบมากจากการทำซีแอลของประเทศไทยจนกระทั่งมีการเคลื่อนไหวขอถอนการขึ้นทะเบียนยาสำคัญหลายรายการ อาทิ ยาโรคไต ยาหลอดเลือด ยาโรคหัวใจ ยาต้านไวรัสเอชไอวี ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นยาสำคัญทั้งสิ้น
“แน่นอนว่า แอ็บบอตต้องเสียประโยชน์จำนวนมหาศาลจากการทำซีแอลของประเทศไทย แต่การทำซีแอลนี้ทางเราก็ไม่ได้ทำเพื่อประโยชน์ทางการค้าหรือธุรกิจแต่อย่างใด หากแต่ทำเพื่อให้ผู้ป่วยเอดส์ได้เข้าถึงการรักษา ซึ่งไม่ผิดทั้งในแง่กฎหมายในประเทศและระเบียบขององค์การการค้าโลก แต่สิ่งที่แอ็บบอตทำนั้น บอกได้เลยว่าเป็นการกระทำที่น่ารังเกียจและไร้ศีลธรรมยิ่ง”
สารี เล่าต่ออีกว่า การกระทำที่ทางบริษัทดังกล่าวถอนทะเบียนยาสำคัญหลายรายการนั้น เสมือนหนึ่งว่าแอ็บบอตใช้ผู้ป่วยเป็นตัวประกัน บีบให้รัฐบาลไทยยกเลิกซีแอล เพื่อให้ทางบริษัทได้ประโยชน์จากเม็ดเงินของผู้ป่วยที่ต้องซื้อยาเหมือนเดิม
ทั้งนี้ ผู้จัดการมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภคได้ให้ข้อสังเกตถึงความเชื่อมโยงระหว่างแอ็บบอต ที่ออกมาปฎิเสธชนิดหัวชนฝนว่าไม่ได้เป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังการจัดอันดับประเทศไทยในครั้งนี้ ว่า บริษัท แอ็บบอต แลบอราตอรีส นี้ เป็นหนึ่งในสมาชิกของพรีม่า (สมาคมผู้ค้ายาและเวชภัณฑ์โลก) หรือพีพีเอ (PPA) เดิม ซึ่งเป็นองค์กรสากลด้านการค้ายาและเวชภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่มีอิทธิพลกว้างขวางทั้งในวงการยาด้วยกันหรือแม้กระทั่งในวงการการเมือง และโดยส่วนตัวเชื่อว่าการที่แอ็บบอตฯเป็นภาคีของพรีม่า และการออกมาเพิ่มระดับความน่าจับตามองของไทยโดยสหรัฐฯ ในช่วงนี้พอดีนั้น น่าจะมีส่วนที่เกี่ยวข้องกัน