“วิจิตร” ประกาศ 7 กฎเหล็กสางปัญหาแปะเจี๊ยะ เตรียมแจง ผอ.โรงเรียนยอดนิยม 362 แห่ง 18 ก.พ.นี้ ลั่นใครแหยมมาฝากเด็กถือว่ามีความผิด เคลียร์ตัวเองโปร่งใสไม่รับฝาก ด้าน “กษมา” ห้ามโรงเรียนในสังกัดรับบริจาคช่วงรับสมัครนักเรียนยาวไปถึงวันมอบตัว
ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวว่า ได้ลงนามประกาศ ศธ.เรื่อง นโยบายและมาตรการรับนักเรียนนักศึกษา พ.ศ.2550 แล้วเมื่อวันที่ 14 ก.พ.ที่ผ่านมา โดยมีเนื้อหาสำคัญ 7 ข้อ ดังนี้
1. ศธ.ไม่สนับสนุนให้สถานศึกษารับบริจาคเงิน จากผู้ปกครอง นักเรียนนักศึกษา ในช่วงระยะเวลาที่มีการรับนักเรียนนักศึกษาเข้า ศึกษาในสถานศึกษา ไม่ว่าในรูปแบบใดๆ 2. ไม่สนับสนุนให้องค์กรอื่นใด เช่น สมาคมครูและผู้ปกครอง สมาคมศิษย์เก่าของสถานศึกษาคณะกรรมการสถานศึกษา รับเงินบริจาค หรือมีส่วนในการรับเงินบริจาค
3.การเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียม ค่าบริการในการจัดการ ศึกษาเป็นการพิเศษ หรือค่าใช้จ่ายใดๆ ในการจัดการศึกษาเพิ่มเติม ให้พิจารณาถึงความเหมาะสม ประโยชน์ที่จะได้รับ และมีความจำเป็นอย่างแท้จริงเท่านั้น และเพื่อมิให้เป็นภาระแก่ผู้ปกครองมากเกินไป ห้ามมิให้สถานศึกษาเรียกเก็บเงินดังกล่าวในช่วงระยะเวลาที่สถานศึกษาเปิดรับนักเรียนนักศึกษา 4.ให้ผู้บริหารสถานศึกษาถือเป็นหน้าที่ในการดูแล เอาใจใส่ให้เด็กและเยาวชนที่อยู่ในเขตพื้นที่การศึกษา หรือประสงค์จะเข้ารับการ ศึกษาแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ เป็นเด็กด้อยโอกาสหรือประสบปัญหา ได้รับโอกาสเข้า ศึกษาในสถานศึกษาในสัดส่วนที่เหมาะสม ทั้งนี้ สถานศึกษาต้องไม่เป็นผู้ตัดโอกาสของเด็กและเยาวชนเหล่านั้น
5.ให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการตรวจสอบและติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานในการรับ นักเรียนนักศึกษา แล้วรายงานหัวหน้าส่วนราชการจนถึง รมว.ศธ.ภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่การรับนักเรียนนักศึกษาสิ้นสุดลง 6.ในกรณีที่สถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าวข้างต้น และเป็นเหตุให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้ปกครอง หรือเกิดความเสียหายแก่ราชการ หรือไม่อาจดำเนินการให้นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการบรรลุผล ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัย กรณีขัดขืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา และไม่ถือปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาล และแบบธรรมเนียมของทางราชการต่อไป และ 7.หากผู้ปกครองหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับความเดือดร้อนเสียหาย หรือพบเห็นว่า มีการฝ่าฝืนนโยบายและมาตรการในการรับนักเรียนดังกล่าว ให้ร้องเรียน หรือแจ้งต่อผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ หรือหัวหน้าส่วนราชการโดยตรง เพื่อเยียวยาแก้ไขหรือให้ ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนหรือเสียหายโดยเร็ว
ทั้งนี้ ในวันที่ 18 ก.พ.ซึ่งจะมีการประชุมผู้บริหารโรงเรียนยอดนิยมกว่า 362 แห่งที่ โรงแรมเอส.ดี.อเวนิว จะอธิบายมาตรการนี้อย่างเป็นทางการอีกครั้ง
“ที่ผ่านมา ช่วงฤดูกาลรับนักเรียน ผู้บริหารหลายท่านหนีไปต่างประเทศ ปิดโทรศัพท์ หนีการรับฝากเด็ก เนื่องจากเกรงกลัวอิทธิพลจากนักการเมือง พอมีประกาศกระทรวงฯ จะปกป้องผู้บริหารไปในตัว และไม่ต้องเกรงกลัวอะไร สามารถอ้างประกาศดังกล่าว ซึ่งใครก็ตามที่เป็นผู้ใหญ่ในกระทรวงคิดจะฝากเด็กก็มีความผิด คนฝากก็ผิดด้วย ทำให้ไม่กล้าไปฝากหรือไปใช้อิทธิพล ถ้ามีคนฝ่าฝืนจะต้องมีมาตรการลงโทษอย่างชัดเจน และหวังว่าระบบแปะเจี๊ยะจะหมดไปในที่สุด”
ศ.ดร.วิจิตร กล่าวด้วยว่า ขณะนี้แม้แต่คนเองก็มีคนมาฝากเด็กเหมือนกัน แต่ก็ได้ปฏิเสธไปเรียบร้อยแล้ว หรือเมื่อเร็วๆ นี้ มีเด็กที่ไม่ได้จ่ายเงินสมัครสอบการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง (เอเน็ต) ประมาณ 1 เดือน จะขอจ่ายย้อนหลัง ก็ตอบกลับไปว่าทำไม่ได้ ถึงจะเป็นรัฐมนตรีก็ช่วยไม่ได้ เพราะมีระเบียบต้องทำตามระเบียบ
ด้านคุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า สพฐ.ให้โรงเรียนในสังกัดงดรับบริจาคประมาณ 2 สัปดาห์ เริ่มกลางเดือน ก.พ.นี้ ก่อนที่จะเริ่มรับสมัครนักเรียน และจนกว่าจะพ้นวันมอบตัวนักเรียน หลังจากนั้น จึงจะอนุญาตให้โรงเรียนรับบริจาคเงินได้ตามปกติ
ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวว่า ได้ลงนามประกาศ ศธ.เรื่อง นโยบายและมาตรการรับนักเรียนนักศึกษา พ.ศ.2550 แล้วเมื่อวันที่ 14 ก.พ.ที่ผ่านมา โดยมีเนื้อหาสำคัญ 7 ข้อ ดังนี้
1. ศธ.ไม่สนับสนุนให้สถานศึกษารับบริจาคเงิน จากผู้ปกครอง นักเรียนนักศึกษา ในช่วงระยะเวลาที่มีการรับนักเรียนนักศึกษาเข้า ศึกษาในสถานศึกษา ไม่ว่าในรูปแบบใดๆ 2. ไม่สนับสนุนให้องค์กรอื่นใด เช่น สมาคมครูและผู้ปกครอง สมาคมศิษย์เก่าของสถานศึกษาคณะกรรมการสถานศึกษา รับเงินบริจาค หรือมีส่วนในการรับเงินบริจาค
3.การเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียม ค่าบริการในการจัดการ ศึกษาเป็นการพิเศษ หรือค่าใช้จ่ายใดๆ ในการจัดการศึกษาเพิ่มเติม ให้พิจารณาถึงความเหมาะสม ประโยชน์ที่จะได้รับ และมีความจำเป็นอย่างแท้จริงเท่านั้น และเพื่อมิให้เป็นภาระแก่ผู้ปกครองมากเกินไป ห้ามมิให้สถานศึกษาเรียกเก็บเงินดังกล่าวในช่วงระยะเวลาที่สถานศึกษาเปิดรับนักเรียนนักศึกษา 4.ให้ผู้บริหารสถานศึกษาถือเป็นหน้าที่ในการดูแล เอาใจใส่ให้เด็กและเยาวชนที่อยู่ในเขตพื้นที่การศึกษา หรือประสงค์จะเข้ารับการ ศึกษาแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ เป็นเด็กด้อยโอกาสหรือประสบปัญหา ได้รับโอกาสเข้า ศึกษาในสถานศึกษาในสัดส่วนที่เหมาะสม ทั้งนี้ สถานศึกษาต้องไม่เป็นผู้ตัดโอกาสของเด็กและเยาวชนเหล่านั้น
5.ให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการตรวจสอบและติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานในการรับ นักเรียนนักศึกษา แล้วรายงานหัวหน้าส่วนราชการจนถึง รมว.ศธ.ภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่การรับนักเรียนนักศึกษาสิ้นสุดลง 6.ในกรณีที่สถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าวข้างต้น และเป็นเหตุให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้ปกครอง หรือเกิดความเสียหายแก่ราชการ หรือไม่อาจดำเนินการให้นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการบรรลุผล ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัย กรณีขัดขืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา และไม่ถือปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาล และแบบธรรมเนียมของทางราชการต่อไป และ 7.หากผู้ปกครองหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับความเดือดร้อนเสียหาย หรือพบเห็นว่า มีการฝ่าฝืนนโยบายและมาตรการในการรับนักเรียนดังกล่าว ให้ร้องเรียน หรือแจ้งต่อผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ หรือหัวหน้าส่วนราชการโดยตรง เพื่อเยียวยาแก้ไขหรือให้ ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนหรือเสียหายโดยเร็ว
ทั้งนี้ ในวันที่ 18 ก.พ.ซึ่งจะมีการประชุมผู้บริหารโรงเรียนยอดนิยมกว่า 362 แห่งที่ โรงแรมเอส.ดี.อเวนิว จะอธิบายมาตรการนี้อย่างเป็นทางการอีกครั้ง
“ที่ผ่านมา ช่วงฤดูกาลรับนักเรียน ผู้บริหารหลายท่านหนีไปต่างประเทศ ปิดโทรศัพท์ หนีการรับฝากเด็ก เนื่องจากเกรงกลัวอิทธิพลจากนักการเมือง พอมีประกาศกระทรวงฯ จะปกป้องผู้บริหารไปในตัว และไม่ต้องเกรงกลัวอะไร สามารถอ้างประกาศดังกล่าว ซึ่งใครก็ตามที่เป็นผู้ใหญ่ในกระทรวงคิดจะฝากเด็กก็มีความผิด คนฝากก็ผิดด้วย ทำให้ไม่กล้าไปฝากหรือไปใช้อิทธิพล ถ้ามีคนฝ่าฝืนจะต้องมีมาตรการลงโทษอย่างชัดเจน และหวังว่าระบบแปะเจี๊ยะจะหมดไปในที่สุด”
ศ.ดร.วิจิตร กล่าวด้วยว่า ขณะนี้แม้แต่คนเองก็มีคนมาฝากเด็กเหมือนกัน แต่ก็ได้ปฏิเสธไปเรียบร้อยแล้ว หรือเมื่อเร็วๆ นี้ มีเด็กที่ไม่ได้จ่ายเงินสมัครสอบการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง (เอเน็ต) ประมาณ 1 เดือน จะขอจ่ายย้อนหลัง ก็ตอบกลับไปว่าทำไม่ได้ ถึงจะเป็นรัฐมนตรีก็ช่วยไม่ได้ เพราะมีระเบียบต้องทำตามระเบียบ
ด้านคุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า สพฐ.ให้โรงเรียนในสังกัดงดรับบริจาคประมาณ 2 สัปดาห์ เริ่มกลางเดือน ก.พ.นี้ ก่อนที่จะเริ่มรับสมัครนักเรียน และจนกว่าจะพ้นวันมอบตัวนักเรียน หลังจากนั้น จึงจะอนุญาตให้โรงเรียนรับบริจาคเงินได้ตามปกติ