กรมชลฯ หาวิธีปล่อยน้ำจากฝั่งตะวันตกหันมาปล่อยลงแม่น้ำเจ้าพระยาแทน เนื่องจากแม่น้ำท่าจีนระบายน้ำได้ช้าเนื่องจากมีแนวคดเคี้ยวเยอะและลำน้ำที่มีขนาดเล็กจึงทำให้การระบายน้ำไม่สะดวก ส่วนชาวบ้านฟ้องร้องกรมชลฯ ที่ทำให้น้ำท่วมผลผลิต อธิบดีระบุเป็นสิทธิแต่ละบุคคล ซึ่งจะต้องพิสูจน์ต่อไปว่าท่วมโดยธรรมชาติหรือไม่
นายสามารถ โชคคณาพิทักษ์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยสถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาวันนี้ (7 พ.ย.) ว่า เมื่อเวลา 06.00 น. มีปริมาณน้ำไหลผ่านแม่น้ำเจ้าพระยา ที่อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 2,657 ลบ.ม.ต่อวินาที ลดลงจากวันก่อน 87 ลบ.ม.ต่อวินาที ที่เขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท ปริมาณน้ำไหลผ่านลดลง 70 ลบ.ม.ต่อวินาที อยู่ที่ 2,730 ลบ.ม.ต่อวินาที สำหรับเขื่อนพระรามหก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ยังคงปิดการระบายน้ำจากแม่น้ำป่าสักลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงน้ำทะเลหนุนสูงถึงประมาณวันที่ 10 พ.ย.นี้ ส่วนที่อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีปริมาณน้ำไหลผ่านมาถึงกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 6 ลบ.ม.ต่อวินาที เป็น 2,999 ลบ.ม.ต่อวินาที คาดการณ์ระดับน้ำสูงสุดที่สะพานพุทธ อยู่ที่ 2.16 ม.ในเวลา 07.45 น.
อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวด้วยว่า ในวันนี้จะลงพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อหาแนวทางระบายน้ำจากทุ่งฝั่งตะวันตก โดยเฉพาะพื้นที่ด้านแม่น้ำท่าจีน เช่น แถบอำเภอบางเลน อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ให้ระบายมาลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยามากขึ้น เนื่องจากแม่น้ำท่าจีนมีความคดเคี้ยวระบายน้ำลงทะเลได้ช้ากว่าแม่น้ำเจ้าพระยา โดยจะระบายผ่านคลองสายหลักตามแนวขวางที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำท่าจีนและแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่แล้ว เช่น คลองเจ้าเจ็ด คลองพระยาบรรลือ คลองพระพิมล คลองมหาสวัสดิ์
“แม่น้ำท่าจีนคดเคี้ยวเป็นกระเพาะหมูทำให้น้ำระบายได้ช้า แต่ที่แม่น้ำเจ้าพระยาได้สร้างคลองลัดโพธิ์แล้ว ทำให้ระบายได้ดีกว่า อีกทั้งความจุยังมากกว่าด้วย ขณะนี้ก็ระดมเครื่องสูบน้ำเครื่องผลักดันน้ำเข้าไปช่วยระบายน้ำลงแม่น้ำท่าจีนเต็มที่ แต่ช่วงนี้ต้องหยุดการระบายวันละ 2-3 ชั่วโมงที่น้ำทะเลหนุนให้ระดับน้ำในแม่น้ำสูงกว่าน้ำในคลอง แต่ส่วนทางเจ้าพระยายังรับน้ำได้เต็มที่ และหากพื้นที่ใดที่น้ำไม่ไหลออกไปเต็มที่ก็อาจพิจารณาเจาะถนน หรือคันกั้นน้ำ หรือคันนาต่อไป” อธิบดีกรมชลประทานกล่าว
ส่วนกรณีที่จะมีชาวบ้านฟ้องร้องกรมชลฯ ที่ทำให้น้ำท่วมผลิตผลการเกษตรเสียหายนั้น อธิบดีกรมชลฯ ระบุว่า ถือเป็นสิทธิของแต่ละคนที่จะทำได้ และจะต้องพิสูจน์สาเหตุน้ำท่วมที่แท้จริง ว่าเกิดจากการผันน้ำเข้าไป หรือเกิดจากอุทกภัยตามธรรมชาติ ซึ่งทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบในส่วนนี้อยู่แล้ว
ด้านกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ คาดการณ์สภาวะระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา หน้าบริเวณกองบัญชาการกองทัพเรือ ประจำวันที่ 8 พฤศจิกายน 2549 น้ำขึ้นเต็มที่เวลา 09.50 น. สูงกว่าระดับทะเลปานกลาง 2.25 เมตร และเวลา 18.28 น. สูงกว่าระดับทะเลปานกลาง 2.00 เมตร น้ำลงเต็มที่เวลา 03.15 น. สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 0.95 เมตร และเวลา 14.03 น. สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 1.83 เมตร ส่วนระดับน้ำบริเวณป้อมพระจุลจอมเกล้า น้ำขึ้นเต็มที่เวลา 08.00 น. สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 1.88 เมตร และเวลา 16.59 น. สูงกว่าระดับทะเลปานกลาง 1.47 เมตร น้ำลงเต็มที่เวลา 01.02 น. ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 1.36 เมตร และเวลา 13.26 น. ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 0.80 เมตร
นายสามารถ โชคคณาพิทักษ์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยสถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาวันนี้ (7 พ.ย.) ว่า เมื่อเวลา 06.00 น. มีปริมาณน้ำไหลผ่านแม่น้ำเจ้าพระยา ที่อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 2,657 ลบ.ม.ต่อวินาที ลดลงจากวันก่อน 87 ลบ.ม.ต่อวินาที ที่เขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท ปริมาณน้ำไหลผ่านลดลง 70 ลบ.ม.ต่อวินาที อยู่ที่ 2,730 ลบ.ม.ต่อวินาที สำหรับเขื่อนพระรามหก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ยังคงปิดการระบายน้ำจากแม่น้ำป่าสักลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงน้ำทะเลหนุนสูงถึงประมาณวันที่ 10 พ.ย.นี้ ส่วนที่อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีปริมาณน้ำไหลผ่านมาถึงกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 6 ลบ.ม.ต่อวินาที เป็น 2,999 ลบ.ม.ต่อวินาที คาดการณ์ระดับน้ำสูงสุดที่สะพานพุทธ อยู่ที่ 2.16 ม.ในเวลา 07.45 น.
อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวด้วยว่า ในวันนี้จะลงพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อหาแนวทางระบายน้ำจากทุ่งฝั่งตะวันตก โดยเฉพาะพื้นที่ด้านแม่น้ำท่าจีน เช่น แถบอำเภอบางเลน อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ให้ระบายมาลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยามากขึ้น เนื่องจากแม่น้ำท่าจีนมีความคดเคี้ยวระบายน้ำลงทะเลได้ช้ากว่าแม่น้ำเจ้าพระยา โดยจะระบายผ่านคลองสายหลักตามแนวขวางที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำท่าจีนและแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่แล้ว เช่น คลองเจ้าเจ็ด คลองพระยาบรรลือ คลองพระพิมล คลองมหาสวัสดิ์
“แม่น้ำท่าจีนคดเคี้ยวเป็นกระเพาะหมูทำให้น้ำระบายได้ช้า แต่ที่แม่น้ำเจ้าพระยาได้สร้างคลองลัดโพธิ์แล้ว ทำให้ระบายได้ดีกว่า อีกทั้งความจุยังมากกว่าด้วย ขณะนี้ก็ระดมเครื่องสูบน้ำเครื่องผลักดันน้ำเข้าไปช่วยระบายน้ำลงแม่น้ำท่าจีนเต็มที่ แต่ช่วงนี้ต้องหยุดการระบายวันละ 2-3 ชั่วโมงที่น้ำทะเลหนุนให้ระดับน้ำในแม่น้ำสูงกว่าน้ำในคลอง แต่ส่วนทางเจ้าพระยายังรับน้ำได้เต็มที่ และหากพื้นที่ใดที่น้ำไม่ไหลออกไปเต็มที่ก็อาจพิจารณาเจาะถนน หรือคันกั้นน้ำ หรือคันนาต่อไป” อธิบดีกรมชลประทานกล่าว
ส่วนกรณีที่จะมีชาวบ้านฟ้องร้องกรมชลฯ ที่ทำให้น้ำท่วมผลิตผลการเกษตรเสียหายนั้น อธิบดีกรมชลฯ ระบุว่า ถือเป็นสิทธิของแต่ละคนที่จะทำได้ และจะต้องพิสูจน์สาเหตุน้ำท่วมที่แท้จริง ว่าเกิดจากการผันน้ำเข้าไป หรือเกิดจากอุทกภัยตามธรรมชาติ ซึ่งทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบในส่วนนี้อยู่แล้ว
ด้านกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ คาดการณ์สภาวะระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา หน้าบริเวณกองบัญชาการกองทัพเรือ ประจำวันที่ 8 พฤศจิกายน 2549 น้ำขึ้นเต็มที่เวลา 09.50 น. สูงกว่าระดับทะเลปานกลาง 2.25 เมตร และเวลา 18.28 น. สูงกว่าระดับทะเลปานกลาง 2.00 เมตร น้ำลงเต็มที่เวลา 03.15 น. สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 0.95 เมตร และเวลา 14.03 น. สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 1.83 เมตร ส่วนระดับน้ำบริเวณป้อมพระจุลจอมเกล้า น้ำขึ้นเต็มที่เวลา 08.00 น. สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 1.88 เมตร และเวลา 16.59 น. สูงกว่าระดับทะเลปานกลาง 1.47 เมตร น้ำลงเต็มที่เวลา 01.02 น. ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 1.36 เมตร และเวลา 13.26 น. ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 0.80 เมตร