กรมชลประทานสั่งการให้โครงการชลประทานที่ดูแลรับผิดชอบอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ ที่มีปริมาตรน้ำมากกว่าร้อยละ 80 ของความจุ เริ่มพร่องน้ำ พร้อมติดตามสถานการณ์และวางแผนบริหารจัดการน้ำรองรับปริมาณน้ำฝนที่อาจจะเกิดจากพายุซิมารอน (Cimaron) พร้อมระบุอาจทำให้สถานการณ์น้ำท่วมในภาคกลางหนักมากยิ่งขึ้น
นายสามารถ โชคคณาพิทักษ์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางกรมชลฯ ได้สั่งการให้โครงการชลประทานที่ดูแลรับผิดชอบอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ ที่มีปริมาตรน้ำมากกว่าร้อยละ 80 ของความจุ อาทิ เขื่อนห้วยหลวง เขื่อนน้ำอูน เขื่อนลำปาว เขื่อนลำพระเพลิง เขื่อนมูลบน เขื่อนลำแซะ เริ่มพร่องน้ำและติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด พร้อมวางแผนบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำ ทั้งนี้ เพื่อเตรียมการรองรับปริมาณน้ำฝนที่อาจจะเกิดจากพายุซิมารอนที่กำลังก่อตัวอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณประเทศฟิลิปปินส์ โดยมีการคาดการณ์ว่าจะเคลื่อนตัวผ่านประเทศฟิลิปปินส์ในทางทิศตะวันตกมาอยู่ใกล้ฝั่งเวียดนามประมาณวันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 ซึ่งอาจมีผลกระทบกับประเทศไทยได้ในระยะต่อไป
นายสามารถ กล่าวอีกว่า หากพายุดังกล่าวเข้าประเทศไทยและเคลื่อนตัวไปทางภาคเหนืออาจจะส่งผลให้ปริมาณน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ เช่น เขื่อนภูมิพล จ.ตาก และเขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ ซึ่งมีน้ำเต็มอยู่แล้ว อาจจะต้องมีการเร่งระบายน้ำออกจากเขื่อนภายใน 2-3 วันนี้ ซึ่งอาจจะทำให้พื้นที่ภาคกลางที่ประสบอุทกภัยอยู่แล้วจะรุนแรงมากขึ้น อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปช่วงนี้พายุมักจะเคลื่อนไปทางภาคใต้ของไทย แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่จะเคลื่อนตัวเข้าภาคกลาง
อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวอีกว่า ในวันพรุ่งนี้ (29 ต.ค.) เวลา 09.00 น. กรมชลฯ ได้เชิญประชุมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนของกรมชลประทานและหน่วยงานอื่น ๆ อาทิ กรมอุตุนิยมวิทยา สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร เพื่อประเมินสถานการณ์และวางแผนบริหารจัดการน้ำ รองรับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดผลกระทบกับประเทศไทย ณ ห้องประชุมศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน ถนนสามเสน
ด้านนายศุภฤกษ์ ตันศรีรัตนวงศ์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวว่า ยังไม่สามารถระบุชัดเจนได้ว่า พายุซิมารอนที่กำลังก่อตัวอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณประเทศฟิลิปปินส์ มีความแรงขนาดไหน คงต้องใช้เวลาอีกหลายวัน ประมาณวันที่ 30-31 ตุลาคมนี้ หลังจากเข้าฟิลิปปินส์แล้ว กรมฯ จะคาดการณ์ได้ว่าจะเข้าประเทศไทยในทิศทางใด และช่วงเวลาใด อย่างไรก็ตาม กรมฯ จะติดตามการเคลื่อนตัวของพายุดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง และจะแจ้งให้ทราบต่อไป
นายสามารถ โชคคณาพิทักษ์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางกรมชลฯ ได้สั่งการให้โครงการชลประทานที่ดูแลรับผิดชอบอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ ที่มีปริมาตรน้ำมากกว่าร้อยละ 80 ของความจุ อาทิ เขื่อนห้วยหลวง เขื่อนน้ำอูน เขื่อนลำปาว เขื่อนลำพระเพลิง เขื่อนมูลบน เขื่อนลำแซะ เริ่มพร่องน้ำและติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด พร้อมวางแผนบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำ ทั้งนี้ เพื่อเตรียมการรองรับปริมาณน้ำฝนที่อาจจะเกิดจากพายุซิมารอนที่กำลังก่อตัวอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณประเทศฟิลิปปินส์ โดยมีการคาดการณ์ว่าจะเคลื่อนตัวผ่านประเทศฟิลิปปินส์ในทางทิศตะวันตกมาอยู่ใกล้ฝั่งเวียดนามประมาณวันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 ซึ่งอาจมีผลกระทบกับประเทศไทยได้ในระยะต่อไป
นายสามารถ กล่าวอีกว่า หากพายุดังกล่าวเข้าประเทศไทยและเคลื่อนตัวไปทางภาคเหนืออาจจะส่งผลให้ปริมาณน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ เช่น เขื่อนภูมิพล จ.ตาก และเขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ ซึ่งมีน้ำเต็มอยู่แล้ว อาจจะต้องมีการเร่งระบายน้ำออกจากเขื่อนภายใน 2-3 วันนี้ ซึ่งอาจจะทำให้พื้นที่ภาคกลางที่ประสบอุทกภัยอยู่แล้วจะรุนแรงมากขึ้น อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปช่วงนี้พายุมักจะเคลื่อนไปทางภาคใต้ของไทย แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่จะเคลื่อนตัวเข้าภาคกลาง
อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวอีกว่า ในวันพรุ่งนี้ (29 ต.ค.) เวลา 09.00 น. กรมชลฯ ได้เชิญประชุมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนของกรมชลประทานและหน่วยงานอื่น ๆ อาทิ กรมอุตุนิยมวิทยา สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร เพื่อประเมินสถานการณ์และวางแผนบริหารจัดการน้ำ รองรับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดผลกระทบกับประเทศไทย ณ ห้องประชุมศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน ถนนสามเสน
ด้านนายศุภฤกษ์ ตันศรีรัตนวงศ์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวว่า ยังไม่สามารถระบุชัดเจนได้ว่า พายุซิมารอนที่กำลังก่อตัวอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณประเทศฟิลิปปินส์ มีความแรงขนาดไหน คงต้องใช้เวลาอีกหลายวัน ประมาณวันที่ 30-31 ตุลาคมนี้ หลังจากเข้าฟิลิปปินส์แล้ว กรมฯ จะคาดการณ์ได้ว่าจะเข้าประเทศไทยในทิศทางใด และช่วงเวลาใด อย่างไรก็ตาม กรมฯ จะติดตามการเคลื่อนตัวของพายุดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง และจะแจ้งให้ทราบต่อไป