กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์มึนเชื้อมรณะ เผยยังไม่สามารถสรุปได้ว่านักเรียน ป.1 กรุงเทพคริสเตียนเป็นโรคมือเท้าปากจากเชื้อเอนเทอร์โรไวรัสหรือไม่ ภายหลังเพาะเชื้อไม่ขึ้นเตรียมหารือผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสจะสรุปผลอย่างไร
นพ.ไพจิตร์ วราชิต อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ให้สัมภาษณ์ถึงผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อค้นหาไวรัสที่ทำให้ เด็กนักเรียนชั้น ป.1 โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนเสียชีวิตโดยสงสัยว่าน่าจะเสียชีวิตจากเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมือเท้าปากว่า หลังจากตรวจด้วยวิธีพีซีอาร์ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นไวรัสชนิดใด ได้ดำเนินการเพาะเชื้อในอาหารเลี้ยงเชื้อในห้องปฏิบัติการเพื่อค้นหาว่าเป็นไวรัสชนิดใด ผลการเพาะเชื้อเกิน 14 วัน ก็ยังไม่มีเชื้อขึ้นในอาหารเลี้ยง จึงไม่สามารถบอกได้ว่าเด็กคนดังกล่าวเสียชีวิตจากเชื้อไวรัสชนิดใด
กรณีนี้สามารถแปรผลได้ว่าน่าจะไม่ใช่เชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 แต่ก็ไม่สามารถตัดประเด็นนี้ทิ้งไปได้ ซึ่งสันนิษฐานว่าเด็กน่าจะเสียชีวิตจากเชื้อไวรัสตัวใดตัวหนึ่ง แต่จากการเพาะเชื้อหาไวรัสตัวอื่น ๆ กว่า 10 ตัว ก็ไม่ขึ้นเช่นกัน ทั้งนี้ ในการตรวจยืนยันเชื้อที่ชัดเจนถ้าจะให้สมบูรณ์แบบจะต้องผ่าศพพิสูจน์ แต่ผู้ปกครองและญาติของเด็กคงไม่ยอม
นพ.ไพจิตร์กล่าวด้วยว่า ความจริงแล้วกรมฯ เป็นหน่วยงานที่ตรวจหาเชื้อได้มากที่สุดในประเทศไทยแล้ว มากกว่าห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัยด้วยซ้ำ กรณีนี้เมื่อตรวจไม่พบเชื้อไวรัสต้นเหตุของการเสียชีวิตก็คงต้องไปพูดคุยกับกรมควบคุมโรค นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ว่าจะสรุปผลอย่างไร เมื่อเพาะเชื้อไม่ขึ้น
"ปกติหลาย ๆ กรณีที่ผ่านมาก็สามารถเพาะเชื้อขึ้นหมด กรณีนี้เพาะเชื้อไม่ขึ้นก็ไม่รู้ว่าเกิดจากสาเหตุใด" นพ.ไพจิตร์กล่าว
นพ.ไพจิตร์ วราชิต อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ให้สัมภาษณ์ถึงผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อค้นหาไวรัสที่ทำให้ เด็กนักเรียนชั้น ป.1 โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนเสียชีวิตโดยสงสัยว่าน่าจะเสียชีวิตจากเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมือเท้าปากว่า หลังจากตรวจด้วยวิธีพีซีอาร์ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นไวรัสชนิดใด ได้ดำเนินการเพาะเชื้อในอาหารเลี้ยงเชื้อในห้องปฏิบัติการเพื่อค้นหาว่าเป็นไวรัสชนิดใด ผลการเพาะเชื้อเกิน 14 วัน ก็ยังไม่มีเชื้อขึ้นในอาหารเลี้ยง จึงไม่สามารถบอกได้ว่าเด็กคนดังกล่าวเสียชีวิตจากเชื้อไวรัสชนิดใด
กรณีนี้สามารถแปรผลได้ว่าน่าจะไม่ใช่เชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 แต่ก็ไม่สามารถตัดประเด็นนี้ทิ้งไปได้ ซึ่งสันนิษฐานว่าเด็กน่าจะเสียชีวิตจากเชื้อไวรัสตัวใดตัวหนึ่ง แต่จากการเพาะเชื้อหาไวรัสตัวอื่น ๆ กว่า 10 ตัว ก็ไม่ขึ้นเช่นกัน ทั้งนี้ ในการตรวจยืนยันเชื้อที่ชัดเจนถ้าจะให้สมบูรณ์แบบจะต้องผ่าศพพิสูจน์ แต่ผู้ปกครองและญาติของเด็กคงไม่ยอม
นพ.ไพจิตร์กล่าวด้วยว่า ความจริงแล้วกรมฯ เป็นหน่วยงานที่ตรวจหาเชื้อได้มากที่สุดในประเทศไทยแล้ว มากกว่าห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัยด้วยซ้ำ กรณีนี้เมื่อตรวจไม่พบเชื้อไวรัสต้นเหตุของการเสียชีวิตก็คงต้องไปพูดคุยกับกรมควบคุมโรค นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ว่าจะสรุปผลอย่างไร เมื่อเพาะเชื้อไม่ขึ้น
"ปกติหลาย ๆ กรณีที่ผ่านมาก็สามารถเพาะเชื้อขึ้นหมด กรณีนี้เพาะเชื้อไม่ขึ้นก็ไม่รู้ว่าเกิดจากสาเหตุใด" นพ.ไพจิตร์กล่าว