“พินิจ” เผย “ทักษิณ” สั่งตรวจเข้มกะหล่ำปลีชาวเขา หวั่นสารตกค้าง แจง “สธ.” กำลังเร่งรณรงค์เรื่องอาหารปลอดภัยเพื่อคนไทยมีสุขภาพดีถ้วนหน้า
นายพินิจ จารุสมบัติ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในการในพิธีมอบป้ายสัญลักษณ์รับรองมาตรฐานอาหารสะอาด รสชาติอร่อย ให้กับร้านอาหารในเขตจังหวัดนนทบุรีว่า การดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัยทำมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2547 ซึ่งได้ผลดีมากทำให้สารตกค้างในอาหารลดเหลือเพียง 2% และร้านอาหารต่างก็พยายามปรับปรุง และพัฒนาร้านของตนเองให้ได้มาตรฐาน ส่วนโครงการตลาดสดน่าซื้อ ก็ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
นายพินิจกล่าวว่า แต่ยังมีตลาดอีกจำนวนมากที่มีสารปนเปื้อน เช่น ฟอร์มาลีน สารฟอกขาว ยาฆ่าแมลง สีต้องห้ามใช้ผสมอาหาร ซึ่งน่าเป็นห่วงมากที่ผู้ผลิต และผู้ประกอบการขาดความรับผิดชอบ ดังนั้นจึงได้สั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เร่งดำเนินการป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้น ด้วยการไปตรวจห้องเย็นที่แพปลา ซึ่งเป็นต้นตอของอาหารทะเลที่แช่ฟอร์มาลีน ที่มหาชัย สมุทรสาคร และตรวจวิเคราะห์สารตกค้างตามตลาดขายส่ง เช่น ตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง เพื่อดูว่าปัญหาการปนเปื้อนที่เกิดขึ้นมาจากแหล่งต้นตอของวัตถุดิบหรือตลาดปลายทาง
“เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ในการประชุม ครม.นายกรัฐมนตรีได้มอบให้กระทรวงสาธารณสุขไปดูเรื่องสารเคมีที่ปนเปื้อนมาในกะหล่ำปลี ซึ่งแหล่งผลิตมาจากไร่ของชาวเขา แถบเชียงราย เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน เนื่องจากกะหล่ำปลีที่ชาวเขาปลูกนั้น แปลงที่ปลูกไว้รับประทานเองจะไม่ใช้ยาฆ่าแมลง แต่แปลงที่ใช้ยาฆ่าแมลงจะส่งขายแต่คนปลูกจะไม่รับประทาน” นายพินิจกล่าว
นายพินิจกล่าวว่า นอกจากนี้ยังมีผักอีกหลายชนิดที่เสี่ยงต่อการปนเปื้อน ซึ่งตนได้สั่งการให้ อย.ไปดูรวมทั้งอาหารสด อาหารทะเล เนื้อหมูว่ามีการใช้สารเร่งเนื้อแดงหรือไม่โดยไปตรวจที่ฟาร์มหมูโดยตรงเพราะหากไปตรวจที่เขียงหมูต้องใช้เวลาและเจ้าหน้าที่จำนวนมาก ทั้งนี้สารปนเปื้อนในอาหารล้วนเป็นสารก่อมะเร็ง ซึงปัจจุบันมีผู้ป่วยมะเร็งปีละ 1.2 แสนรายแล้ว
นายพินิจ จารุสมบัติ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในการในพิธีมอบป้ายสัญลักษณ์รับรองมาตรฐานอาหารสะอาด รสชาติอร่อย ให้กับร้านอาหารในเขตจังหวัดนนทบุรีว่า การดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัยทำมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2547 ซึ่งได้ผลดีมากทำให้สารตกค้างในอาหารลดเหลือเพียง 2% และร้านอาหารต่างก็พยายามปรับปรุง และพัฒนาร้านของตนเองให้ได้มาตรฐาน ส่วนโครงการตลาดสดน่าซื้อ ก็ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
นายพินิจกล่าวว่า แต่ยังมีตลาดอีกจำนวนมากที่มีสารปนเปื้อน เช่น ฟอร์มาลีน สารฟอกขาว ยาฆ่าแมลง สีต้องห้ามใช้ผสมอาหาร ซึ่งน่าเป็นห่วงมากที่ผู้ผลิต และผู้ประกอบการขาดความรับผิดชอบ ดังนั้นจึงได้สั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เร่งดำเนินการป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้น ด้วยการไปตรวจห้องเย็นที่แพปลา ซึ่งเป็นต้นตอของอาหารทะเลที่แช่ฟอร์มาลีน ที่มหาชัย สมุทรสาคร และตรวจวิเคราะห์สารตกค้างตามตลาดขายส่ง เช่น ตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง เพื่อดูว่าปัญหาการปนเปื้อนที่เกิดขึ้นมาจากแหล่งต้นตอของวัตถุดิบหรือตลาดปลายทาง
“เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ในการประชุม ครม.นายกรัฐมนตรีได้มอบให้กระทรวงสาธารณสุขไปดูเรื่องสารเคมีที่ปนเปื้อนมาในกะหล่ำปลี ซึ่งแหล่งผลิตมาจากไร่ของชาวเขา แถบเชียงราย เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน เนื่องจากกะหล่ำปลีที่ชาวเขาปลูกนั้น แปลงที่ปลูกไว้รับประทานเองจะไม่ใช้ยาฆ่าแมลง แต่แปลงที่ใช้ยาฆ่าแมลงจะส่งขายแต่คนปลูกจะไม่รับประทาน” นายพินิจกล่าว
นายพินิจกล่าวว่า นอกจากนี้ยังมีผักอีกหลายชนิดที่เสี่ยงต่อการปนเปื้อน ซึ่งตนได้สั่งการให้ อย.ไปดูรวมทั้งอาหารสด อาหารทะเล เนื้อหมูว่ามีการใช้สารเร่งเนื้อแดงหรือไม่โดยไปตรวจที่ฟาร์มหมูโดยตรงเพราะหากไปตรวจที่เขียงหมูต้องใช้เวลาและเจ้าหน้าที่จำนวนมาก ทั้งนี้สารปนเปื้อนในอาหารล้วนเป็นสารก่อมะเร็ง ซึงปัจจุบันมีผู้ป่วยมะเร็งปีละ 1.2 แสนรายแล้ว