อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาเผยพายุไซโคลน “มาลา” จะขึ้นฝั่งย่างกุ้ง ประเทศพม่า เวลา 14.00 น. วันนี้ ซึ่งจะทราบการเคลื่อนตัวของพายุทั้งลูกว่าเร็วมากน้อยอย่างไร ระบุหากเคลื่อนตัวเร็วจะสลายตัวเร็วไปด้วย โดยจะอ่อนกำลังลงในคืนพรุ่งนี้ (30 เม.ย.) ถึงเช้าวันที่ 1 พ.ค. ส่งผลให้จังหวัดภาคเหนือ โดยเฉพาะที่อมก๋อยและดอยเต่า และด้านตะวันตกของภาคกลางมีฝนตกหนักถึงหนักมาก อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก
กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับที่ 6 เรื่อง พายุไซโคลน “มาลา” ในอ่าวเบงกอล ระบุว่า เมื่อเวลา 04.00 น. วันนี้ (29 เม.ย.) มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ห่างประมาณ 300 กิโลเมตร ทางทิศตะวันตกของกรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า หรือที่ละติจูด 16.5 องศาเหนือ ลองจิจูด 93.5 องศาตะวันออก กำลังเคลื่อนตัวทางตะวันออกเฉียงเหนือด้วยความเร็ว 18 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งส่งผลกระทบต่อลักษณะอากาศของภาคเหนือ และด้านตะวันตกของภาคกลาง ทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมาก อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่เสี่ยงภัยของจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ตาก อุทัยธานี และกาญจนบุรี
สำหรับคลื่นลมบริเวณใกล้พายุมีกำลังแรงโดยมีคลื่นสูง 8-10 เมตร ส่วนในทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร และในอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังในระยะนี้ คาดว่าพายุนี้จะเคลื่อนตัวเร็วขึ้นและเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศพม่า ในช่วงบ่ายของวันนี้ (29 เม.ย.) สำหรับความคืบหน้าของพายุ “มาลา” กรมอุตุนิยมวิทยาจะแจ้งและรายงานให้ทราบเป็นระยะ ๆ ต่อไป
ด้านนายศุภฤกษ์ ตันศรีรัตนวงศ์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวว่า จังหวัดเชียงใหม่ที่จะได้รับผลกระทบจากพายุไซโคลนมาลา โดยเฉพาะที่อมก๋อย และดอยเต่า จะมีลักษณะฝนตกหนักและหนักมาก แต่เนื่องจากพื้นที่ภาคตะวันตกของไทยส่วนใหญ่เป็นภูเขาจะทำให้พายุไซโคลนมาลาอ่อนตัวลงเร็วขึ้น คาดว่าจะอ่อนตัวในคืนวันพรุ่งนี้ (30 เม.ย.) และต่อเนื่องถึงเช้าวันที่ 1 พ.ค. ซึ่งจะทำให้มีฝนตกหนักตามภูเขาต้องระวังเรื่องน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะที่ลาดเชิงเขา ขอให้ประชาชนระมัดระวังเรื่องน้ำป่าไหลหลากที่จะไหลลงมาจากภูเขา หลังจากพายุไซโคลนมาลาอ่อนตัวลง ขณะนี้จากการติดตามสภาวะอากาศของจังหวัดด้านตะวันตกของประเทศไทย ยังไม่มีฝนตก เพราะพายุยังห่างจากกรุงย่างกุ้งไป 300 กิโลเมตร จึงต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร อย่างไรก็ตาม แม้ความแรงของพายุจะเทียบเท่าพายุเกย์ แต่ลักษณะภูมิประเทศและองค์ประกอบหรืออิทธิพลต่าง ๆ ที่จะเสริมพายุตัวนี้น้อยลง ประกอบกับพายุตัวนี้เคลื่อนที่เร็ว จะทำให้สลายตัวเร็วด้วย
“ตั้งแต่คืนวันพรุ่งนี้ (30 เม.ย.) จะมีกระทบต่อประเทศไทยเรา ทำให้มีปริมาณฝนตกหนักถึงหนักมาก และต้องดูลักษณะการเคลื่อนตัวหลังจากพายุตัวนี้ขึ้นฝั่งที่ประเทศพม่า ในช่วงเวลาประมาณ 14.00 น. เป็นต้นไปว่าการเคลื่อนตัวของพายุทั้งลูกจะเป็นอย่างไรจะเร็วมากน้อยแค่ไหนจะเพิ่มความเร็วมากกว่า 18 กิโลเมตรต่อชั่วโมงหรือไม่ ถ้าเคลื่อนตัวเร็วก็สลายตัวเร็วไปด้วย ดังนั้น ตั้งแต่คืนพรุ่งนี้เป็นต้นไป ประชาชนทางด้านตะวันตกของประเทศทั้งภาคเหนือ ภาคกลางด้านตะวันตก ถ้าฝนตกหนักต่อเนื่องให้ระมัดระวังน้ำป่าจะไหลลงมา” อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าว
กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับที่ 6 เรื่อง พายุไซโคลน “มาลา” ในอ่าวเบงกอล ระบุว่า เมื่อเวลา 04.00 น. วันนี้ (29 เม.ย.) มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ห่างประมาณ 300 กิโลเมตร ทางทิศตะวันตกของกรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า หรือที่ละติจูด 16.5 องศาเหนือ ลองจิจูด 93.5 องศาตะวันออก กำลังเคลื่อนตัวทางตะวันออกเฉียงเหนือด้วยความเร็ว 18 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งส่งผลกระทบต่อลักษณะอากาศของภาคเหนือ และด้านตะวันตกของภาคกลาง ทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมาก อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่เสี่ยงภัยของจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ตาก อุทัยธานี และกาญจนบุรี
สำหรับคลื่นลมบริเวณใกล้พายุมีกำลังแรงโดยมีคลื่นสูง 8-10 เมตร ส่วนในทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร และในอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังในระยะนี้ คาดว่าพายุนี้จะเคลื่อนตัวเร็วขึ้นและเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศพม่า ในช่วงบ่ายของวันนี้ (29 เม.ย.) สำหรับความคืบหน้าของพายุ “มาลา” กรมอุตุนิยมวิทยาจะแจ้งและรายงานให้ทราบเป็นระยะ ๆ ต่อไป
ด้านนายศุภฤกษ์ ตันศรีรัตนวงศ์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวว่า จังหวัดเชียงใหม่ที่จะได้รับผลกระทบจากพายุไซโคลนมาลา โดยเฉพาะที่อมก๋อย และดอยเต่า จะมีลักษณะฝนตกหนักและหนักมาก แต่เนื่องจากพื้นที่ภาคตะวันตกของไทยส่วนใหญ่เป็นภูเขาจะทำให้พายุไซโคลนมาลาอ่อนตัวลงเร็วขึ้น คาดว่าจะอ่อนตัวในคืนวันพรุ่งนี้ (30 เม.ย.) และต่อเนื่องถึงเช้าวันที่ 1 พ.ค. ซึ่งจะทำให้มีฝนตกหนักตามภูเขาต้องระวังเรื่องน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะที่ลาดเชิงเขา ขอให้ประชาชนระมัดระวังเรื่องน้ำป่าไหลหลากที่จะไหลลงมาจากภูเขา หลังจากพายุไซโคลนมาลาอ่อนตัวลง ขณะนี้จากการติดตามสภาวะอากาศของจังหวัดด้านตะวันตกของประเทศไทย ยังไม่มีฝนตก เพราะพายุยังห่างจากกรุงย่างกุ้งไป 300 กิโลเมตร จึงต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร อย่างไรก็ตาม แม้ความแรงของพายุจะเทียบเท่าพายุเกย์ แต่ลักษณะภูมิประเทศและองค์ประกอบหรืออิทธิพลต่าง ๆ ที่จะเสริมพายุตัวนี้น้อยลง ประกอบกับพายุตัวนี้เคลื่อนที่เร็ว จะทำให้สลายตัวเร็วด้วย
“ตั้งแต่คืนวันพรุ่งนี้ (30 เม.ย.) จะมีกระทบต่อประเทศไทยเรา ทำให้มีปริมาณฝนตกหนักถึงหนักมาก และต้องดูลักษณะการเคลื่อนตัวหลังจากพายุตัวนี้ขึ้นฝั่งที่ประเทศพม่า ในช่วงเวลาประมาณ 14.00 น. เป็นต้นไปว่าการเคลื่อนตัวของพายุทั้งลูกจะเป็นอย่างไรจะเร็วมากน้อยแค่ไหนจะเพิ่มความเร็วมากกว่า 18 กิโลเมตรต่อชั่วโมงหรือไม่ ถ้าเคลื่อนตัวเร็วก็สลายตัวเร็วไปด้วย ดังนั้น ตั้งแต่คืนพรุ่งนี้เป็นต้นไป ประชาชนทางด้านตะวันตกของประเทศทั้งภาคเหนือ ภาคกลางด้านตะวันตก ถ้าฝนตกหนักต่อเนื่องให้ระมัดระวังน้ำป่าจะไหลลงมา” อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าว