ทปอ.เริ่มถอดใจ พ้อถูกดึงไปเล่นเกมการเมือง ระบุหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่วางใจ ทปอ.ในการทำหน้าที่เจรจาก็พร้อมวางมือให้คนอื่นมาทำหน้าที่แทน แต่ยังยืนยันจะพยายามถึงที่สุดที่จะจัดเจรจา “รัฐบาล-ฝ่ายค้าน-พันธมิตร” ขณะที่ฝ่ายค้านขอเลื่อนเจรจาหลังรัฐบาลปูดข่าวพบ ทปอ.วันนี้
วันนี้ (16 มี.ค.) เมื่อเวลา 11.40 น. ที่อาคารจามจุรี 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายปรัชญา เวสารัชช์ ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) แถลงจุดยืน ทปอ.ในการทำหน้าที่ประสานงานฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน และพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพื่อเจรจาแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์ทางการเมืองในขณะนี้ว่า ตามที่ ทปอ.ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ และที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชมงคล เรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับปัญหาวิกฤตขณะนี้ มาเจรจากันเพื่อหาทางออกอย่างสันติ โดยให้คำนึงถึงประโยชน์ และความสงบสุขของประเทศเป็นสำคัญ โดยที่ประชุมอธิการบดีจะให้ความร่วมมือย่างเต็มที่ทุกประการนั้น
“ขอยืนยันเจตนาที่ต้องการทำงานเพื่อประโยชน์บ้านเมือง ซึ่งที่ผ่านมามีความกดดันสูง มีข่าวสร้างความไม่เข้าใจเป็นอุปสรรคต่อการเจรจา ที่ประชุมอธิการบดีจึงขอเวลาในการทำงานเรื่องนี้ตามลำดับขั้น และวิธีการที่ประชุมอธิการบดีฯ กำหนด ซึ่งเชื่อว่าจะนำไปสู่ทางออกได้ และไม่ต้องการให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดใช้โอกาสนี้ในการช่วงชิงความได้เปรียบหรือสร้างความไม่เข้าใจระหว่างกันเพิ่มขึ้นอีก จึงขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายเอื้อโอกาสให้ที่ประชุมอธิการบดีสามารถทำงานได้ในวิถีทางที่สร้างสรรค์ และให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ในการหันหน้าเข้าเจรจากัน เป็นการแสดงความจริงใจต่อการแก้ไขปัญหาของบ้านเมืองในปัจจุบัน ที่ประชุมอธิการบดีจะทำงานต่อไปอย่างเต็มที่ ตราบเท่าที่ทุกฝ่ายให้ความร่วมมือและช่วยกันหาทางออกโดยสันติและสร้างสรรค์ เพื่อประโยชน์ของประเทศ” นายปรัชญา กล่าว
นายปรัชญา กล่าวอีกว่า ขณะนี้รู้สึกว่าที่ประชุมอธิการบดีไม่ใช่ผู้เจนจัดทางการเมือง และสถานการณ์การเมืองมีความอ่อนไหว เราพบว่าหากพูดอะไรออกไปก็มีบางคนนำไปตีความว่าเราอยู่ฝากใดฝากหนึ่ง ตนจึงขอยืนยันว่าการเข้ามาเป็นตัวกลางในการนำไปสู่การเจรจาทั้ง 3 ฝ่าย ได้แก่ รัฐบาล พรรคร่วมฝ่ายค้าน และพันธมิตรประชาชนฯ ไม่ได้มีฝ่ายใดเข้ามาชี้นำ อธิการบดีอยากเป็นบ้านเมืองมีความสงบสุข อยากให้ทุกฝ่ายลดการหาประโยชน์แล้วร่วมมือหาทางออกให้สังคมไทย
“เราไม่มีบทบาทชี้นำสังคม และไม่มีใครสามารถชี้นำเราได้ ผมยืนยันความเป็นกลางเพราะที่ผ่านมามีการพูดผ่านสื่อ โดยพยายามผลักดันให้ที่ประชุมอธิการบดีไปอยู่กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หากต่อไปเราถูกกล่าวหามากจนไม่มีใครยอมรับได้ที่ประชุมอธิการบดีก็จะหมดบทบาทไป ทปอ.ยืนยันว่า หากผู้ร่วมเจรจาทั้ง 3 ฝ่าย ไม่ต้องการหรือยอมรับ ทปอ.ไม่ได้ ทปอ.ก็จะถอยตัวเองออกไป และเปิดทางให้ผู้อื่นมาทำหน้าที่แทน”ประธาน ทปอ.กล่าว
ส่วนการดำเนินการของพีเน็ตในการจัดเจรจาผ่านเวทีสาธารณะนั้น นายปรัชชา กล่าวว่า ทปอ.คงไม่ได้เข้าไปร่วมกับพีเน็ต เพราะวิธีของพีเน็ตต่างจาก ทปอ. และตนยืนยันว่าต้องการให้มีการเจรจาอย่างเงียบๆ ซึ่งที่ผ่านมาตนก็ต้องรับผิดที่มีการให้ข่าวว่า ทปอ.จะเจรจากับพรรคฝ่ายค้าน ทำให้พรรคฝ่ายค้านขอเลื่อนการเจรจา และอาจรู้สึกไม่ไว้ใจ ทปอ.
อย่างไรก็ตาม การเจรจาแต่ละครั้งจะเป็นการเจรจาแบบไม่เป็นข่าว และหากจะต้องมีการเปิดเผยก็จะให้ผู้เจรจาตกลงร่วมกันว่าจะแถลงในประเด็นใด โดยการเจรจา 3 ฝ่าย จะมีการอัดเทปและนำพยายามมาร่วม หากมีการแถลงข่าวบิดเบือนอีกฝ่ายสามารถนำเทปมายืนยันได้ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ก็ยอมรับและปฏิบัติตาม ดังนั้น วิธีการของ ทปอ.จะไม่ใช่การเจรจาโดยเปิดเวทีสาธารณะ
ต่อข้อถามว่า มีความเป็นไปได้หรือไม่ที่การเจรจาจะเกิดขึ้นก่อนการเลือกตั้งวันที่ 2 เม.ย. นายปรัชญา กล่าวว่า พยายามจะดำเนินการให้การเจรจาเกิดขึ้นเร็วที่สุด แต่การเจรจาจะใช้วิธีการคุยกันไปเรื่อยๆ เรื่องใดยุติได้ก็จะยุติ ส่วนเรื่องใดที่ยังหาจุดลงตัวไม่ได้ ก็จะหารือกันไปเรื่อยๆ โดยเน้นไปที่การหาทางออกให้สังคม
นอกจากนี้ ประธาน ทปอ.ได้เรียกร้องต่อสื่อมวลชนว่าให้ช่วยลงข่าวให้ความหวังกับคนไทยให้มาก ระมัดระวังว่าอาจมีใครบางคนใช้เวทีสื่อแสวงหาประโยชน์ของตนเอง ที่สำคัญสื่อควรพูดให้ประชาชนที่เป็นกลุ่มเงียบออกมาแสดงบทบาทหาทางออกให้สังคมไทย เพื่อให้กลับเข้าสู่สภาวะสันติสุข ไม่เช่นนั้นจะเกิดความเสียหายมากขึ้น และความเสียหายบางอย่างยากเกินเยียวยา และให้คำนึงถึงภาพลักษณ์ของประเทศในสายตาของชาวต่างประเทศที่เห็นว่าสภาพเศรษฐกิจของไทยมีความมั่นคง จะได้มั่นใจมาลงทุน รวมทั้งกลุ่มต่างๆ มาช่วยกันแก้ปัญหาดีกว่าจะให้สถานการณ์ประเทศอึมครึมต่อไป
วันนี้ (16 มี.ค.) เมื่อเวลา 11.40 น. ที่อาคารจามจุรี 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายปรัชญา เวสารัชช์ ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) แถลงจุดยืน ทปอ.ในการทำหน้าที่ประสานงานฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน และพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพื่อเจรจาแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์ทางการเมืองในขณะนี้ว่า ตามที่ ทปอ.ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ และที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชมงคล เรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับปัญหาวิกฤตขณะนี้ มาเจรจากันเพื่อหาทางออกอย่างสันติ โดยให้คำนึงถึงประโยชน์ และความสงบสุขของประเทศเป็นสำคัญ โดยที่ประชุมอธิการบดีจะให้ความร่วมมือย่างเต็มที่ทุกประการนั้น
“ขอยืนยันเจตนาที่ต้องการทำงานเพื่อประโยชน์บ้านเมือง ซึ่งที่ผ่านมามีความกดดันสูง มีข่าวสร้างความไม่เข้าใจเป็นอุปสรรคต่อการเจรจา ที่ประชุมอธิการบดีจึงขอเวลาในการทำงานเรื่องนี้ตามลำดับขั้น และวิธีการที่ประชุมอธิการบดีฯ กำหนด ซึ่งเชื่อว่าจะนำไปสู่ทางออกได้ และไม่ต้องการให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดใช้โอกาสนี้ในการช่วงชิงความได้เปรียบหรือสร้างความไม่เข้าใจระหว่างกันเพิ่มขึ้นอีก จึงขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายเอื้อโอกาสให้ที่ประชุมอธิการบดีสามารถทำงานได้ในวิถีทางที่สร้างสรรค์ และให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ในการหันหน้าเข้าเจรจากัน เป็นการแสดงความจริงใจต่อการแก้ไขปัญหาของบ้านเมืองในปัจจุบัน ที่ประชุมอธิการบดีจะทำงานต่อไปอย่างเต็มที่ ตราบเท่าที่ทุกฝ่ายให้ความร่วมมือและช่วยกันหาทางออกโดยสันติและสร้างสรรค์ เพื่อประโยชน์ของประเทศ” นายปรัชญา กล่าว
นายปรัชญา กล่าวอีกว่า ขณะนี้รู้สึกว่าที่ประชุมอธิการบดีไม่ใช่ผู้เจนจัดทางการเมือง และสถานการณ์การเมืองมีความอ่อนไหว เราพบว่าหากพูดอะไรออกไปก็มีบางคนนำไปตีความว่าเราอยู่ฝากใดฝากหนึ่ง ตนจึงขอยืนยันว่าการเข้ามาเป็นตัวกลางในการนำไปสู่การเจรจาทั้ง 3 ฝ่าย ได้แก่ รัฐบาล พรรคร่วมฝ่ายค้าน และพันธมิตรประชาชนฯ ไม่ได้มีฝ่ายใดเข้ามาชี้นำ อธิการบดีอยากเป็นบ้านเมืองมีความสงบสุข อยากให้ทุกฝ่ายลดการหาประโยชน์แล้วร่วมมือหาทางออกให้สังคมไทย
“เราไม่มีบทบาทชี้นำสังคม และไม่มีใครสามารถชี้นำเราได้ ผมยืนยันความเป็นกลางเพราะที่ผ่านมามีการพูดผ่านสื่อ โดยพยายามผลักดันให้ที่ประชุมอธิการบดีไปอยู่กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หากต่อไปเราถูกกล่าวหามากจนไม่มีใครยอมรับได้ที่ประชุมอธิการบดีก็จะหมดบทบาทไป ทปอ.ยืนยันว่า หากผู้ร่วมเจรจาทั้ง 3 ฝ่าย ไม่ต้องการหรือยอมรับ ทปอ.ไม่ได้ ทปอ.ก็จะถอยตัวเองออกไป และเปิดทางให้ผู้อื่นมาทำหน้าที่แทน”ประธาน ทปอ.กล่าว
ส่วนการดำเนินการของพีเน็ตในการจัดเจรจาผ่านเวทีสาธารณะนั้น นายปรัชชา กล่าวว่า ทปอ.คงไม่ได้เข้าไปร่วมกับพีเน็ต เพราะวิธีของพีเน็ตต่างจาก ทปอ. และตนยืนยันว่าต้องการให้มีการเจรจาอย่างเงียบๆ ซึ่งที่ผ่านมาตนก็ต้องรับผิดที่มีการให้ข่าวว่า ทปอ.จะเจรจากับพรรคฝ่ายค้าน ทำให้พรรคฝ่ายค้านขอเลื่อนการเจรจา และอาจรู้สึกไม่ไว้ใจ ทปอ.
อย่างไรก็ตาม การเจรจาแต่ละครั้งจะเป็นการเจรจาแบบไม่เป็นข่าว และหากจะต้องมีการเปิดเผยก็จะให้ผู้เจรจาตกลงร่วมกันว่าจะแถลงในประเด็นใด โดยการเจรจา 3 ฝ่าย จะมีการอัดเทปและนำพยายามมาร่วม หากมีการแถลงข่าวบิดเบือนอีกฝ่ายสามารถนำเทปมายืนยันได้ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ก็ยอมรับและปฏิบัติตาม ดังนั้น วิธีการของ ทปอ.จะไม่ใช่การเจรจาโดยเปิดเวทีสาธารณะ
ต่อข้อถามว่า มีความเป็นไปได้หรือไม่ที่การเจรจาจะเกิดขึ้นก่อนการเลือกตั้งวันที่ 2 เม.ย. นายปรัชญา กล่าวว่า พยายามจะดำเนินการให้การเจรจาเกิดขึ้นเร็วที่สุด แต่การเจรจาจะใช้วิธีการคุยกันไปเรื่อยๆ เรื่องใดยุติได้ก็จะยุติ ส่วนเรื่องใดที่ยังหาจุดลงตัวไม่ได้ ก็จะหารือกันไปเรื่อยๆ โดยเน้นไปที่การหาทางออกให้สังคม
นอกจากนี้ ประธาน ทปอ.ได้เรียกร้องต่อสื่อมวลชนว่าให้ช่วยลงข่าวให้ความหวังกับคนไทยให้มาก ระมัดระวังว่าอาจมีใครบางคนใช้เวทีสื่อแสวงหาประโยชน์ของตนเอง ที่สำคัญสื่อควรพูดให้ประชาชนที่เป็นกลุ่มเงียบออกมาแสดงบทบาทหาทางออกให้สังคมไทย เพื่อให้กลับเข้าสู่สภาวะสันติสุข ไม่เช่นนั้นจะเกิดความเสียหายมากขึ้น และความเสียหายบางอย่างยากเกินเยียวยา และให้คำนึงถึงภาพลักษณ์ของประเทศในสายตาของชาวต่างประเทศที่เห็นว่าสภาพเศรษฐกิจของไทยมีความมั่นคง จะได้มั่นใจมาลงทุน รวมทั้งกลุ่มต่างๆ มาช่วยกันแก้ปัญหาดีกว่าจะให้สถานการณ์ประเทศอึมครึมต่อไป