กมธ.แรงงานฯ วุฒิสภา ติง พ.ร.บ.ผู้ประสบภัยจากรถก่อหนี้สินให้ 3 กองทุน หลังพบผู้ประสบภัยอุบัติเหตุไม่แจ้งว่ามีสิทธิใน พ.ร.บ.อ้างขั้นตอนยุ่งยากซ้ำซ้อน แต่มาใช้สิทธิใน 3 กองทุนแทน เร่งทำข้อมูลเสนอรัฐบาลดำเนินการด่วน ขณะที่สปสช.แจงชาวบ้านไม่ใช้สิทธิทำให้ต้องจ่ายเงินแทน ก.พาณิชย์ปีละ 500 ล้านบาท ขณะที่กองทุนผู้ประสบภัยจากรถกำไรเกินงามทั้งปีมีรายรับ 9,000 ล้านบาท ผ่านไป 8 เดือนเบิกจ่ายแค่ 3,800 ล้านบาท
คณะกรรมาธิการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา (กมธ.) ได้เรียกผู้บริหารสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติชี้แจงเรื่องการบริหารจัดการและปัญหาอุปสรรคต่างๆ เกี่ยวกับ โครงการ 30 บาทช่วยคนไทยห่างไกลโรค และได้สอบถามถึงกรณีที่ผู้ประสบภัยจากรถขอเบิกจ่ายเงินค่ารักษาจากกองทุนผู้ประสบภัยจากรถที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงพาณิชย์ด้วย
นายไสว พราหมณี ประธานคณะกรรมาธิการแรงงานสวัสดิการสังคม วุฒิสภา เปิดเผยว่า ได้รับคำชี้แจงว่าที่ผ่านมาผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุจากรถยนต์ไม่ได้เข้ามาใช้บริการเบิกเงินจากกองทุนผู้ประสบภัยจากรถตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ทำให้เป็นภาระกับกองทุนประกันสุขภาพ กองทุนประกันสังคมและกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาล/รัฐวิสาหกิจ ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ทาง กมธ.แรงงานฯ วุฒิสภา จะหาข้อมูลเพื่อทำสรุปเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและฝ่ายการเมืองให้รับทราบในเรื่องการบริหารจัดการ
ทั้งนี้ จากปัญหาดังกล่าวมีหลายหน่วยงานที่จะต้องร่วมกันรับผิดชอบ ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งมีหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลเรื่องการเบิกจ่ายจากกองทุนผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งจะต้องให้บริษัทประกันชี้แจงรายละเอียดการเบิกจ่ายแต่ละครั้งเพื่อลดขั้นตอนที่ยุ่งยากลง และให้ผู้ที่ซื้อประกันจากผู้ประสบภัยจากรถได้รับความสะดวกมากขึ้น ขณะเดียวกันจะต้องเร่งทำความเข้าใจในกองทุนผู้ประสบภัยจากรถและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจเกี่ยวกับ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถด้วย
น.พ.ปิยะ เนตรวิเชียร รองเลขาธิการ สปสช.กล่าวว่า ขณะนี้ปัญหาเรื่องกองทุนคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถในส่วนของการรักษาพยาบาล พบว่ามีปัญหากระทบต่อการดำเนินการของโครงการ 30 บาท เนื่องจากมีผู้ประสบภัยจากรถไม่ได้เบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นจากกองทุนดังกล่าวตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.แต่จะใช้สิทธิในโครงการหลักประกันสุขภาพแทน ทำให้ สปสช.ต้องจ่ายเงินจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแทนที่จะนำไปใช้ในการรักษาผู้ป่วยอื่นๆ จากข้อมูลพบว่าในปี 2546-2548 เป็นเงินเกือบ 500 ล้านบาท ดังนั้น จึงต้องประชุมปรึกษาหารือร่วมกับสำนักประกันภัย กระทรวงพาณิชย์ เพื่อเร่งปรับปรุงระเบียบและวิธีการเบิกจ่ายให้ถูกต้องเหมาะสมต่อไป
ทั้งนี้ ในส่วนของการเชื่อมโยงระบบบริหารด้านสารสนเทศ สปสช.มีระบบไอทีที่จะเชื่อมโยงข้อมูลประชาชนทั้ง 62 ล้านคนในการตรวจสอบสิทธิด้านการรักษาพยาบาลได้อยู่แล้ว หากมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างสม่ำเสมอระหว่างกองทุนต่างๆ จะทำให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม จากการเก็บข้อมูลเมื่อปี 2547 พบว่า ร.พ.นพรัตน์ราชธานีเพียงแห่งเดียวมีจำนวนผู้ประสบภัยจากรถทั้งสิ้น 799 ราย รวมค่ารักษาทั้งหมด 18.90 ล้านบาท โดยเบิกตาม พ.ร.บ.ผู้ประสบภัยจากรถเพียง 6.56 ล้านบาท โดยเบิกจากบัตรทอง 6.38 ล้านบาท เบิกจากกองทุนประกันสังคม 2.41 ล้านบาท และจากระบบสวัสดิการข้าราชการ 0.58 ล้านบาท เป็นต้น ซึ่งเป็นจำนวนประมาณ 40% ของการเบิกจ่ายทั้งหมด ทำให้ทั้ง 3 กองทุนต้องเสียงบประมาณโดยไม่จำเป็น
น.พ.ปิยะ กล่าวว่า สาเหตุของการเรียกเก็บน้อยกว่าที่ควรนั้นส่วนหนึ่งมาจากความไม่สะดวกของประชาชน เนื่องจากหากจะเบิกจากกองทุนผู้ประสบภัยจะต้องแจ้งความและนำหลักฐานมาแสดงต่อโรงพยาบาล บางครั้งผู้ป่วยก็ไม่อยู่ในสภาวะที่จะแจ้งความได้ และประชาชนบางส่วนยังไม่ยอมปฏิบัติตามกฏหมายคือการซื้อประกันดังกล่าว ทำให้กลัวว่าจะเป็นความผิดจึงไม่ยอมใช้การเบิกจ่ายจากกองทุน
อนึ่ง รายรับของกองทุนผู้ประสบภัยจากรถในปี 2548 มีประมาณ 9,000 ล้านบาท แต่พบว่าในระยะ 8 เดือนแสดงการเบิกจ่ายไปเพียง 3,800 ล้านบาทเท่านั้น
คณะกรรมาธิการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา (กมธ.) ได้เรียกผู้บริหารสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติชี้แจงเรื่องการบริหารจัดการและปัญหาอุปสรรคต่างๆ เกี่ยวกับ โครงการ 30 บาทช่วยคนไทยห่างไกลโรค และได้สอบถามถึงกรณีที่ผู้ประสบภัยจากรถขอเบิกจ่ายเงินค่ารักษาจากกองทุนผู้ประสบภัยจากรถที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงพาณิชย์ด้วย
นายไสว พราหมณี ประธานคณะกรรมาธิการแรงงานสวัสดิการสังคม วุฒิสภา เปิดเผยว่า ได้รับคำชี้แจงว่าที่ผ่านมาผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุจากรถยนต์ไม่ได้เข้ามาใช้บริการเบิกเงินจากกองทุนผู้ประสบภัยจากรถตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ทำให้เป็นภาระกับกองทุนประกันสุขภาพ กองทุนประกันสังคมและกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาล/รัฐวิสาหกิจ ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ทาง กมธ.แรงงานฯ วุฒิสภา จะหาข้อมูลเพื่อทำสรุปเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและฝ่ายการเมืองให้รับทราบในเรื่องการบริหารจัดการ
ทั้งนี้ จากปัญหาดังกล่าวมีหลายหน่วยงานที่จะต้องร่วมกันรับผิดชอบ ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งมีหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลเรื่องการเบิกจ่ายจากกองทุนผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งจะต้องให้บริษัทประกันชี้แจงรายละเอียดการเบิกจ่ายแต่ละครั้งเพื่อลดขั้นตอนที่ยุ่งยากลง และให้ผู้ที่ซื้อประกันจากผู้ประสบภัยจากรถได้รับความสะดวกมากขึ้น ขณะเดียวกันจะต้องเร่งทำความเข้าใจในกองทุนผู้ประสบภัยจากรถและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจเกี่ยวกับ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถด้วย
น.พ.ปิยะ เนตรวิเชียร รองเลขาธิการ สปสช.กล่าวว่า ขณะนี้ปัญหาเรื่องกองทุนคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถในส่วนของการรักษาพยาบาล พบว่ามีปัญหากระทบต่อการดำเนินการของโครงการ 30 บาท เนื่องจากมีผู้ประสบภัยจากรถไม่ได้เบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นจากกองทุนดังกล่าวตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.แต่จะใช้สิทธิในโครงการหลักประกันสุขภาพแทน ทำให้ สปสช.ต้องจ่ายเงินจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแทนที่จะนำไปใช้ในการรักษาผู้ป่วยอื่นๆ จากข้อมูลพบว่าในปี 2546-2548 เป็นเงินเกือบ 500 ล้านบาท ดังนั้น จึงต้องประชุมปรึกษาหารือร่วมกับสำนักประกันภัย กระทรวงพาณิชย์ เพื่อเร่งปรับปรุงระเบียบและวิธีการเบิกจ่ายให้ถูกต้องเหมาะสมต่อไป
ทั้งนี้ ในส่วนของการเชื่อมโยงระบบบริหารด้านสารสนเทศ สปสช.มีระบบไอทีที่จะเชื่อมโยงข้อมูลประชาชนทั้ง 62 ล้านคนในการตรวจสอบสิทธิด้านการรักษาพยาบาลได้อยู่แล้ว หากมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างสม่ำเสมอระหว่างกองทุนต่างๆ จะทำให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม จากการเก็บข้อมูลเมื่อปี 2547 พบว่า ร.พ.นพรัตน์ราชธานีเพียงแห่งเดียวมีจำนวนผู้ประสบภัยจากรถทั้งสิ้น 799 ราย รวมค่ารักษาทั้งหมด 18.90 ล้านบาท โดยเบิกตาม พ.ร.บ.ผู้ประสบภัยจากรถเพียง 6.56 ล้านบาท โดยเบิกจากบัตรทอง 6.38 ล้านบาท เบิกจากกองทุนประกันสังคม 2.41 ล้านบาท และจากระบบสวัสดิการข้าราชการ 0.58 ล้านบาท เป็นต้น ซึ่งเป็นจำนวนประมาณ 40% ของการเบิกจ่ายทั้งหมด ทำให้ทั้ง 3 กองทุนต้องเสียงบประมาณโดยไม่จำเป็น
น.พ.ปิยะ กล่าวว่า สาเหตุของการเรียกเก็บน้อยกว่าที่ควรนั้นส่วนหนึ่งมาจากความไม่สะดวกของประชาชน เนื่องจากหากจะเบิกจากกองทุนผู้ประสบภัยจะต้องแจ้งความและนำหลักฐานมาแสดงต่อโรงพยาบาล บางครั้งผู้ป่วยก็ไม่อยู่ในสภาวะที่จะแจ้งความได้ และประชาชนบางส่วนยังไม่ยอมปฏิบัติตามกฏหมายคือการซื้อประกันดังกล่าว ทำให้กลัวว่าจะเป็นความผิดจึงไม่ยอมใช้การเบิกจ่ายจากกองทุน
อนึ่ง รายรับของกองทุนผู้ประสบภัยจากรถในปี 2548 มีประมาณ 9,000 ล้านบาท แต่พบว่าในระยะ 8 เดือนแสดงการเบิกจ่ายไปเพียง 3,800 ล้านบาทเท่านั้น