“หมอนิรันดร์” ชำแหละปัญหา 4 กองทุนสุขภาพ 30 บาทมีปัญหามากสุด งบไม่พอ ส่งผลรักษาห่วย หมอลาออก ชี้ต้องเพิ่มเป็น 2,000 บาท/คน/ปีถึงจะพอ ขณะที่กองทุนข้าราชการ ตามใจฉัน เบิกจ่ายเกินจริง รพ.ชาร์จเต็มที่ งบประมาณรั่วไหล ฟันธงบริหารร่วมแค่เล่นคำ เป็นก้าวแรกยุบรวมกองทุน
น.พ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ ประธานคณะกรรมาธิการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ วุฒิสภา และสมาชิกวุฒิสภาอุบลราชธานี กล่าวว่า รัฐบาลไม่สามารถยุบรวม 4 กองทุนสุขภาพได้ เพราะแต่ละกองทุนมีเป้าหมายที่ต่างกัน กองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ของกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ปัจจุบันเป็นกองทุนที่มีศักยภาพสูงสุด และมีผู้ใช้สิทธิ์น้อยที่สุด มียอดใช้จ่ายแต่ละปี ประมาณ 18,000 ล้านบาท ถ้าเฉลี่ยตามฐานจำนวน 7 ล้านคน ค่าใช้จ่ายต่อคนต่อปีจะตกที่ 2,500 บาท หรือมากกว่านั้นได้ เพราะเป็นระบบตามใจข้าราชการ นอนห้องพิเศษได้ รักษาพยาบาลได้เต็มที่ และต้องไม่ลืมว่ายอดนี้เป็นค่ารักษาพยาบาลล้วนๆ ไม่รวมเงินเดือนของแพทย์และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล ต่างจากยอดค่าใช้จ่ายรายหัวของประกันสังคม และ 30 บาท ที่รวมเงินเดือนไว้ด้วย
“กองทุนนี้มีขึ้นเพื่อข้าราชการในระบบ ข้อดีคือ เป็นความมั่นคงของข้าราชการในการดูแลรักษาพยาบาล รักษาพยาบาลได้เต็มที่ แต่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นคือ มีการใช้เงินจำนวนมาก ซึ่งมีโอกาสในการรั่วไหล เป็นการเบิกจ่ายเงินเกินความเป็นจริง โดยไม่ตรงกับข้อเท็จจริงในการรักษาพยาบาล ทำให้งบประมาณการรักษาพยาบาลเพิ่มสูงขึ้นโดยไม่จำเป็น ”
น.พ.นิรันดร์ กล่าวต่อว่า เรื่องที่ไม่น่าเชื่อของกองทุนรักษาพยาบาลข้าราชการคือ กรมบัญชีกลางซึ่งดูแลสวัสดิการข้าราชการและญาติผู้มีสิทธิจำนวน 7 ล้านคน ยังไม่เคยรู้เลยว่าใครมีสิทธิบ้าง เพราะระบบการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศไม่มีประสิทธิภาพ และทุกคนก็สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามจริง ดังนั้นโรงพยาบาลทั้งรัฐและเอกชนก็สามารถชาร์จคนไข้ได้เต็มที่และหลายครั้งที่เกินจริง จนกลายเป็นต้นตอปัญหาที่ทำให้โรงพยาบาลรัฐและเอกชนละเลงเงินเป็นการใหญ่ โดยที่ไม่เคยรู้ว่าต้นทุนการบริการและการรักษาพยาบาลเป็นเท่าใด
ด้านกองทุนประกันสังคมนั้น น.พ.นิรันดร์ กล่าวว่า เป็นกองทุนที่มาทีหลัง เป็นระบบไตรภาคี คือ รัฐ เอกชน และลูกจ้าง ร่วมกันจ่ายเงินสบทบ โดยรัฐจ่ายให้แต่ตัวเลข ดังนั้นกองทุนนี้จึงมีความเป็นเจ้าของอยู่ มีความเป็นปึกแผ่น มีเงินในกองทุนเหลือประมาณ สองแสนล้านบาท มีแรงงานภาคเอกชนที่มีสิทธิ์ 10 ล้านคน เชื่อว่ากองทุนนี้จะมีศักยภาพสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะเมื่อเศรษฐกิจดีขึ้น อัตราขยายตัวของ GDP สูงขึ้น และอัตราการจ้างงานเพิ่มขึ้น
“แต่ยังมีปัญหาเรื่องการรักษาพยาบาล ที่ได้รับการร้องเรียนมากว่า ให้การรักษาไม่ดี โรงพยาบาลไม่ค่อยสนใจให้การรักษา ตรงนี้ก็ถือว่ามีการเอาเงินประกันสังคมไปอุ้ม 30 บาท โดยแฝงอยู่แล้ว ต้องยอมรับว่าปีหนึ่งๆ ลูกจ้างไปรักษาพยาบาลไม่มาก ขณะที่ในการเลือกโรงพยาบาล กองทุนประกันสังคมได้จ่ายเงินรายหัวให้โรงพยาบาลนั้นๆไปแล้ว เงินที่เหลือจากประกันสังคม รวมกับที่บางโรงพยาบาลลดภาระประกันสังคม โดยลดมาตรฐานการรักษาลง ก็เอาเงินที่เหลือไปพยุง 30 บาทนั้นไว้ ซึ่งก็ไม่มาก จุดนี้เป็นสิ่งที่สำนักงานประกันสังคมต้องปรับปรุงโดยด่วน ทั้งที่จำนวนลูกจ้างที่ใช้บริการรักษาพยาบาลมีไม่มาก เพราะอยู่ในกลุ่มผู้ที่ไม่เจ็บป่วยง่าย ต่างจาก 30 บาท ที่เป้าหมายเป็นกลุ่มเด็กและคนชราที่เจ็บป่วยบ่อย”
น.พ.นิรันดร์ กล่าวต่อว่า เมื่อกองทุนนี้มีความเป็นเจ้าของ รัฐบาลจึงไม่มีสิทธิ์ที่จะเอาเงินที่เหลือในระบบประกันสังคมไปช่วยในโครงการ 30 บาท ซึ่งแรงงานลูกจ้างก็ประกาศชัดเจนว่าไม่อยากให้มีการยุบกองทุน เพราะเขารู้ดีว่า 30 บาทไม่มีเงิน และรัฐบาลต้องการเอาเงินประกันสังคมไปโปะ
“แม้นายกรัฐมนตรีจะพูดว่าไม่ได้มีการรวมกองทุน แค่รวมการบริหาร แต่เหมือนเป็นการเล่นคำมากกว่า หลักการของการรวมมีอยู่ 3 อย่าง คือ 1.รวมเงิน 2.รวมการบริหาร และ 3.รวมคน นี่คือก้าวแรกของการรวมโดยรวมการบริหารก่อน หลังจากนั้นจะตามมาด้วยการรวมอย่างอื่นเข้าด้วยอีก เหมือนโยนหินถามทางก้อนแรก”
ส่วนกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือที่รู้จักกันในนาม 30 บาทรักษาทุกโรค ที่ปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็น 30 บาท ช่วยคนไทยห่างไกลโรค นั้น น.พ.นิรันดร์ กล่าวว่า มีผู้มีสิทธิ์นอกเหนือจาก ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และลูกจ้างที่ส่งเงินสมทบเข้าประกันสังคม 47.8 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นเด็ก และคนชรา จึงเป็นเรื่องธรรมชาติที่กลุ่มคนเหล่านี้จะมีอัตราการเจ็บป่วยมากกว่ากลุ่มอื่นๆ 30 บาทจึงมีภาระหนัก
“ในปีงบประมาณ 2549 รัฐบาลประกาศว่าจะให้งบรายหัว 1,659 บาทต่อคนต่อปี รวมแล้วประมาณ 8 แสนล้านบาท ซึงเพิ่มขึ้นกว่าปีงบประมาณ 2548 14,000 ล้านบาท แต่ต้องไม่ลืมว่า งบรายหัวนี้รวมเงินเดือน ค่าเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ต่างไว้ด้วย ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศเพิ่มเงินเดือนแพทย์ พยาบาล น้ำมันมีราคาแพง ต้นทุกของเวชภัณฑ์ก็เพิ่มขึ้น หักลบกลบหนี้กันแล้วก็ไม่ต่างกันเท่าไหร่” น.พ.นิรันดร์กล่าว
น.พ.นิรันดร์ กล่าวว่า ทางออกที่ควรจะเป็นเพื่อหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของทุกคนนั้น รัฐบาลต้องยอมรับความจริง และอย่าอวดดี ปัญหาที่แท้จริงของโครงการ 30 บาท อยู่ที่งบประมาณไม่พอ และรัฐบาลไม่ยอมรับความจริงในข้อนี้ เมื่องบประมาณไม่พอ การรักษาพยาบาลก็ไม่ได้มาตรฐาน การจัดการไม่มีประสิทธิภาพ แพทย์ พยาบาลจำนวนมากจึงทยอยลาออกไปอยู่โรงพยาบาลเอกชน ที่งานไม่หนักและได้ค่าตอบแทนที่มากกว่า
“รัฐบาลไม่ยอมรับว่าตัวเองไม่สามารถผลักดันการจัดการเชิงคุณภาพได้ รัฐอ้างว่างบประมาณมีเยอะ โดยที่ผ่านมาก็ใช้เงินอย่างไม่จำกัด และโครงการ 30 บาท ก็เงินไม่พอ ถ้าจะให้ดีรัฐต้องเพิ่มงบประมาณรายหัวเป็น 2,000 บาทต่อคนต่อปีถึงจะพอ รัฐบาลไม่ควรอวดดี ยอมรับความเป็นจริงและหาทางแก้ไขที่ถูกต้องร่วมกันจะดีกว่า การเอากองทุนประกันสังคมมารวมเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง เท่ากับเป็นการละเมิดสิทธิผู้ใช้แรงงาน ทางออกคือรัฐบาลต้องประหยัดงบประมาณ เพื่อเพิ่มงบรายหัวให้กับ 30 บาท”น.พ.นิรันดร์กล่าวและว่ารัฐบาลต้องสร้างสวัสดิการสังคมให้เสมอภาค เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการประกันสุขภาพให้กับประชาชน มากกว่าที่จะสร้างความขัดแย้ง
ขณะที่ปัญหาของกองทุนผู้ประสบภัยจากรถนั้น น.พ.พงษ์เทพ วงศ์วชิระไพบูลย์ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า อยู่ที่ขั้นตอนการเบิกจ่ายมีความยุ่งยาก จุดด้อยที่สุดอยู่ตรงที่ให้บริษัทประกันภัยของเอกชนเป็นผู้รับดำเนินการ ดังนั้นบริษัทพวกนี้จะคำนึงถึงกำไรเหนืออื่นใด
“เมื่อได้รับอุบัติเหตุจากรถ ผู้ป่วยต้องไปยื่นเรื่อง ต้องมีใบแจ้งความ ถึงจะใช้สิทธิได้ กระบวนการนี้ใช้เวลานาน บางคนใช้เวลาเป็นปี ถ้าไม่มีใบแจ้งความก็เบิกจ่ายไม่ได้ เคยเจอผู้ป่วยบางรายต้องโกหกหมอ เพราะไม่อยากเสียเวลาไปกับการยื่นเรื่อง และไม่มีเงินสำรองจ่ายไปก่อน ด้วยการบอกว่าตกบันได เพื่อที่จะใช้สิทธิ์ 30 บาท เพราะไม่ต้องยุ่งยากกับบริษัทประกันภัย บริษัทประกันจึงรวยเอาๆ ขณะที่โครงการ 30 บาท ต้องรับภาระเพิ่มขึ้น”
ประธานแพทย์ชนบทกล่าวต่อว่า ประการสำคัญ คือ ตัวเลขเม็ดเงินของกองทุนผู้ประสบภัยจากรถเท่าไหร่ประมาณ 10,000 ล้านบาท แต่จำนวนขึ้นอยู่กับตัวเลขการจดทะเบียนรถ คาดว่ามีประมาณ 20 ล้านคันต่อปี กองทุนนี้เรียกเก็บเงินเอาจากกลุ่มคนที่มีรถและต้องซื้อประกันภัยบุคคลที่ 3 ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นคนในกลุ่มที่ส่งเงินสมทบเข้าประกันสังคม หลักการคือไปซื้อประกันกับบริษัทประกันภัยของเอกชน ซึ่งย่อมคำนึงถึงกำไรมากที่สุด การเบิกจ่ายจึงยุ่งยาก และมีเงื่อนไขมาก ทางออกที่ดีจึงน่าจะตั้งเป็นกองทุนผู้ประสบภัยจากรถ โดยที่กำหนดบทบาทที่ชัดจนของบริษัทประกันภัยไว้ด้วยถ้าจะให้เขาเข้ามารับช่วงต่อในการซื้อบริการรักษาพยาบาล
น.พ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ ประธานคณะกรรมาธิการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ วุฒิสภา และสมาชิกวุฒิสภาอุบลราชธานี กล่าวว่า รัฐบาลไม่สามารถยุบรวม 4 กองทุนสุขภาพได้ เพราะแต่ละกองทุนมีเป้าหมายที่ต่างกัน กองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ของกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ปัจจุบันเป็นกองทุนที่มีศักยภาพสูงสุด และมีผู้ใช้สิทธิ์น้อยที่สุด มียอดใช้จ่ายแต่ละปี ประมาณ 18,000 ล้านบาท ถ้าเฉลี่ยตามฐานจำนวน 7 ล้านคน ค่าใช้จ่ายต่อคนต่อปีจะตกที่ 2,500 บาท หรือมากกว่านั้นได้ เพราะเป็นระบบตามใจข้าราชการ นอนห้องพิเศษได้ รักษาพยาบาลได้เต็มที่ และต้องไม่ลืมว่ายอดนี้เป็นค่ารักษาพยาบาลล้วนๆ ไม่รวมเงินเดือนของแพทย์และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล ต่างจากยอดค่าใช้จ่ายรายหัวของประกันสังคม และ 30 บาท ที่รวมเงินเดือนไว้ด้วย
“กองทุนนี้มีขึ้นเพื่อข้าราชการในระบบ ข้อดีคือ เป็นความมั่นคงของข้าราชการในการดูแลรักษาพยาบาล รักษาพยาบาลได้เต็มที่ แต่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นคือ มีการใช้เงินจำนวนมาก ซึ่งมีโอกาสในการรั่วไหล เป็นการเบิกจ่ายเงินเกินความเป็นจริง โดยไม่ตรงกับข้อเท็จจริงในการรักษาพยาบาล ทำให้งบประมาณการรักษาพยาบาลเพิ่มสูงขึ้นโดยไม่จำเป็น ”
น.พ.นิรันดร์ กล่าวต่อว่า เรื่องที่ไม่น่าเชื่อของกองทุนรักษาพยาบาลข้าราชการคือ กรมบัญชีกลางซึ่งดูแลสวัสดิการข้าราชการและญาติผู้มีสิทธิจำนวน 7 ล้านคน ยังไม่เคยรู้เลยว่าใครมีสิทธิบ้าง เพราะระบบการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศไม่มีประสิทธิภาพ และทุกคนก็สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามจริง ดังนั้นโรงพยาบาลทั้งรัฐและเอกชนก็สามารถชาร์จคนไข้ได้เต็มที่และหลายครั้งที่เกินจริง จนกลายเป็นต้นตอปัญหาที่ทำให้โรงพยาบาลรัฐและเอกชนละเลงเงินเป็นการใหญ่ โดยที่ไม่เคยรู้ว่าต้นทุนการบริการและการรักษาพยาบาลเป็นเท่าใด
ด้านกองทุนประกันสังคมนั้น น.พ.นิรันดร์ กล่าวว่า เป็นกองทุนที่มาทีหลัง เป็นระบบไตรภาคี คือ รัฐ เอกชน และลูกจ้าง ร่วมกันจ่ายเงินสบทบ โดยรัฐจ่ายให้แต่ตัวเลข ดังนั้นกองทุนนี้จึงมีความเป็นเจ้าของอยู่ มีความเป็นปึกแผ่น มีเงินในกองทุนเหลือประมาณ สองแสนล้านบาท มีแรงงานภาคเอกชนที่มีสิทธิ์ 10 ล้านคน เชื่อว่ากองทุนนี้จะมีศักยภาพสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะเมื่อเศรษฐกิจดีขึ้น อัตราขยายตัวของ GDP สูงขึ้น และอัตราการจ้างงานเพิ่มขึ้น
“แต่ยังมีปัญหาเรื่องการรักษาพยาบาล ที่ได้รับการร้องเรียนมากว่า ให้การรักษาไม่ดี โรงพยาบาลไม่ค่อยสนใจให้การรักษา ตรงนี้ก็ถือว่ามีการเอาเงินประกันสังคมไปอุ้ม 30 บาท โดยแฝงอยู่แล้ว ต้องยอมรับว่าปีหนึ่งๆ ลูกจ้างไปรักษาพยาบาลไม่มาก ขณะที่ในการเลือกโรงพยาบาล กองทุนประกันสังคมได้จ่ายเงินรายหัวให้โรงพยาบาลนั้นๆไปแล้ว เงินที่เหลือจากประกันสังคม รวมกับที่บางโรงพยาบาลลดภาระประกันสังคม โดยลดมาตรฐานการรักษาลง ก็เอาเงินที่เหลือไปพยุง 30 บาทนั้นไว้ ซึ่งก็ไม่มาก จุดนี้เป็นสิ่งที่สำนักงานประกันสังคมต้องปรับปรุงโดยด่วน ทั้งที่จำนวนลูกจ้างที่ใช้บริการรักษาพยาบาลมีไม่มาก เพราะอยู่ในกลุ่มผู้ที่ไม่เจ็บป่วยง่าย ต่างจาก 30 บาท ที่เป้าหมายเป็นกลุ่มเด็กและคนชราที่เจ็บป่วยบ่อย”
น.พ.นิรันดร์ กล่าวต่อว่า เมื่อกองทุนนี้มีความเป็นเจ้าของ รัฐบาลจึงไม่มีสิทธิ์ที่จะเอาเงินที่เหลือในระบบประกันสังคมไปช่วยในโครงการ 30 บาท ซึ่งแรงงานลูกจ้างก็ประกาศชัดเจนว่าไม่อยากให้มีการยุบกองทุน เพราะเขารู้ดีว่า 30 บาทไม่มีเงิน และรัฐบาลต้องการเอาเงินประกันสังคมไปโปะ
“แม้นายกรัฐมนตรีจะพูดว่าไม่ได้มีการรวมกองทุน แค่รวมการบริหาร แต่เหมือนเป็นการเล่นคำมากกว่า หลักการของการรวมมีอยู่ 3 อย่าง คือ 1.รวมเงิน 2.รวมการบริหาร และ 3.รวมคน นี่คือก้าวแรกของการรวมโดยรวมการบริหารก่อน หลังจากนั้นจะตามมาด้วยการรวมอย่างอื่นเข้าด้วยอีก เหมือนโยนหินถามทางก้อนแรก”
ส่วนกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือที่รู้จักกันในนาม 30 บาทรักษาทุกโรค ที่ปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็น 30 บาท ช่วยคนไทยห่างไกลโรค นั้น น.พ.นิรันดร์ กล่าวว่า มีผู้มีสิทธิ์นอกเหนือจาก ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และลูกจ้างที่ส่งเงินสมทบเข้าประกันสังคม 47.8 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นเด็ก และคนชรา จึงเป็นเรื่องธรรมชาติที่กลุ่มคนเหล่านี้จะมีอัตราการเจ็บป่วยมากกว่ากลุ่มอื่นๆ 30 บาทจึงมีภาระหนัก
“ในปีงบประมาณ 2549 รัฐบาลประกาศว่าจะให้งบรายหัว 1,659 บาทต่อคนต่อปี รวมแล้วประมาณ 8 แสนล้านบาท ซึงเพิ่มขึ้นกว่าปีงบประมาณ 2548 14,000 ล้านบาท แต่ต้องไม่ลืมว่า งบรายหัวนี้รวมเงินเดือน ค่าเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ต่างไว้ด้วย ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศเพิ่มเงินเดือนแพทย์ พยาบาล น้ำมันมีราคาแพง ต้นทุกของเวชภัณฑ์ก็เพิ่มขึ้น หักลบกลบหนี้กันแล้วก็ไม่ต่างกันเท่าไหร่” น.พ.นิรันดร์กล่าว
น.พ.นิรันดร์ กล่าวว่า ทางออกที่ควรจะเป็นเพื่อหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของทุกคนนั้น รัฐบาลต้องยอมรับความจริง และอย่าอวดดี ปัญหาที่แท้จริงของโครงการ 30 บาท อยู่ที่งบประมาณไม่พอ และรัฐบาลไม่ยอมรับความจริงในข้อนี้ เมื่องบประมาณไม่พอ การรักษาพยาบาลก็ไม่ได้มาตรฐาน การจัดการไม่มีประสิทธิภาพ แพทย์ พยาบาลจำนวนมากจึงทยอยลาออกไปอยู่โรงพยาบาลเอกชน ที่งานไม่หนักและได้ค่าตอบแทนที่มากกว่า
“รัฐบาลไม่ยอมรับว่าตัวเองไม่สามารถผลักดันการจัดการเชิงคุณภาพได้ รัฐอ้างว่างบประมาณมีเยอะ โดยที่ผ่านมาก็ใช้เงินอย่างไม่จำกัด และโครงการ 30 บาท ก็เงินไม่พอ ถ้าจะให้ดีรัฐต้องเพิ่มงบประมาณรายหัวเป็น 2,000 บาทต่อคนต่อปีถึงจะพอ รัฐบาลไม่ควรอวดดี ยอมรับความเป็นจริงและหาทางแก้ไขที่ถูกต้องร่วมกันจะดีกว่า การเอากองทุนประกันสังคมมารวมเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง เท่ากับเป็นการละเมิดสิทธิผู้ใช้แรงงาน ทางออกคือรัฐบาลต้องประหยัดงบประมาณ เพื่อเพิ่มงบรายหัวให้กับ 30 บาท”น.พ.นิรันดร์กล่าวและว่ารัฐบาลต้องสร้างสวัสดิการสังคมให้เสมอภาค เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการประกันสุขภาพให้กับประชาชน มากกว่าที่จะสร้างความขัดแย้ง
ขณะที่ปัญหาของกองทุนผู้ประสบภัยจากรถนั้น น.พ.พงษ์เทพ วงศ์วชิระไพบูลย์ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า อยู่ที่ขั้นตอนการเบิกจ่ายมีความยุ่งยาก จุดด้อยที่สุดอยู่ตรงที่ให้บริษัทประกันภัยของเอกชนเป็นผู้รับดำเนินการ ดังนั้นบริษัทพวกนี้จะคำนึงถึงกำไรเหนืออื่นใด
“เมื่อได้รับอุบัติเหตุจากรถ ผู้ป่วยต้องไปยื่นเรื่อง ต้องมีใบแจ้งความ ถึงจะใช้สิทธิได้ กระบวนการนี้ใช้เวลานาน บางคนใช้เวลาเป็นปี ถ้าไม่มีใบแจ้งความก็เบิกจ่ายไม่ได้ เคยเจอผู้ป่วยบางรายต้องโกหกหมอ เพราะไม่อยากเสียเวลาไปกับการยื่นเรื่อง และไม่มีเงินสำรองจ่ายไปก่อน ด้วยการบอกว่าตกบันได เพื่อที่จะใช้สิทธิ์ 30 บาท เพราะไม่ต้องยุ่งยากกับบริษัทประกันภัย บริษัทประกันจึงรวยเอาๆ ขณะที่โครงการ 30 บาท ต้องรับภาระเพิ่มขึ้น”
ประธานแพทย์ชนบทกล่าวต่อว่า ประการสำคัญ คือ ตัวเลขเม็ดเงินของกองทุนผู้ประสบภัยจากรถเท่าไหร่ประมาณ 10,000 ล้านบาท แต่จำนวนขึ้นอยู่กับตัวเลขการจดทะเบียนรถ คาดว่ามีประมาณ 20 ล้านคันต่อปี กองทุนนี้เรียกเก็บเงินเอาจากกลุ่มคนที่มีรถและต้องซื้อประกันภัยบุคคลที่ 3 ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นคนในกลุ่มที่ส่งเงินสมทบเข้าประกันสังคม หลักการคือไปซื้อประกันกับบริษัทประกันภัยของเอกชน ซึ่งย่อมคำนึงถึงกำไรมากที่สุด การเบิกจ่ายจึงยุ่งยาก และมีเงื่อนไขมาก ทางออกที่ดีจึงน่าจะตั้งเป็นกองทุนผู้ประสบภัยจากรถ โดยที่กำหนดบทบาทที่ชัดจนของบริษัทประกันภัยไว้ด้วยถ้าจะให้เขาเข้ามารับช่วงต่อในการซื้อบริการรักษาพยาบาล