ที่กระทรวงสาธารณสุข มีการแถลงข่าววันไอโอดีนแห่งชาติ วันที่ 25 มิถุนายน 2548 และการลงนามในสัญญาความร่วมมือส่งเสริมการผลิตและการใช้เกลือเสริมไอโอดีนระหว่างกระทรวงสาธารณสุขกับภาคีเครือข่าย เพื่อให้ความร่วมมือใช้เกลือเสริมไอโอดีนในอาหารที่จำหน่ายในสารประกอบการ โรงพยาบาล โรงเรียน เพื่อป้องกันภาวการณ์ขาดสารไอโอดีน เพื่อเสริมสร้างสติปัญญาของคนในชาติ
นพ.สมยศ เจริญศักดิ์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากการสำรวจระดับความรุนแรงของการขาดสารไอโอดีนในปัสสาวะของหญิงตั้งครรภ์ ทั่วประเทศ ซึ่งสำรวจเสร็จในปี 2547 พบว่า ระดับการขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์ในประเทศไทยนั้นอยู่ในระดับที่ไม่รุนแรง มีเพียงจังหวัดหนองคาย จังหวัดเดียวที่หญิงตั้งครรภ์ขาดสารไอโอดีนในระดับปานกลาง ซึ่งทางกรมอนามัยจะเข้าไปส่งเสริมการใช้เกลือไอโอดีน โดยเฉพาะในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ เพื่อให้เด็กที่คลอดออกมามีระดับสติปัญญาที่ดี ส่วนอัตราเด็กนักเรียนที่มีอัตราคอพอกสูงในปี 2546 พบว่า จังหวัดที่มีเด็กนักเรียนมีคอพอกสูงสุด 5 อันดับ ตามลำดับคือ คือ จังหวัดตาก 5.22% เลย 3.92% แม่ฮ่องสอน 3.71% ยโสธร 3.51% ร้อยเอ็ด 3.47%
นพ.สมยศ กล่าวว่า เพื่อให้มีการใช้เกลืออนามัยมากขึ้น จะขอความร่วมมือจากโรงงานผลิตเกลือเสริมไอโอดีนรายย่อยเพื่อให้ผลิตเกลือเสริมไอโอดีนที่มีคุณภาพมากขึ้น เพราะโรงงานขนาดใหญ่นั้นส่วนใหญ่ผลิตเกลือไอโอดีนที่ได้คุณภาพแล้ว และทางกรมอนามัยจะจัดตั้งกองทุนเกลือไอโอดีน เพื่อให้โรงงานผลิตเกลืออนามัยรายย่อยได้สามารถซื้อเกลือไอโอเดท เพื่อนำมาผลิตเกลือไอโอดีนก่อน และเมื่อนำเกลือไอโอดีนไปขายได้เงินแล้วค่อยนำมาคืนกองทุน เพราะการจะซื้อเกลือไอโอเดทนั้นจะต้องสั่งซื้อจากประเทศชิลีประมาณ 5-6 เดือน
นพ.สมยศ กล่าวว่า ในปี 2549 ทางกรมอนามัยจะทำโครงการให้เกลือเสริมไอโอดีนกับหญิงตั้งครรภ์ทั่วประเทศ เพื่อให้เด็กที่คลอดออกมาไม่ขาดสารไอโอดีน ทั้งนี้การขาดสารไอโอดีนจะทำให้เกิดปัญญาปัญญาอ่อนตั้งแต่กำเนิด หูหนวก เป็นใบ้ กล้ามเนื้อใช้งานไม่ได้ สติปัญญาเสื่อม สมองทึบ ไม่กระปรี้กระเปร่า เหนื่อยง่าย และระบบสืบพันธุ์ผิดปกติ
นพ.สมยศ เจริญศักดิ์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากการสำรวจระดับความรุนแรงของการขาดสารไอโอดีนในปัสสาวะของหญิงตั้งครรภ์ ทั่วประเทศ ซึ่งสำรวจเสร็จในปี 2547 พบว่า ระดับการขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์ในประเทศไทยนั้นอยู่ในระดับที่ไม่รุนแรง มีเพียงจังหวัดหนองคาย จังหวัดเดียวที่หญิงตั้งครรภ์ขาดสารไอโอดีนในระดับปานกลาง ซึ่งทางกรมอนามัยจะเข้าไปส่งเสริมการใช้เกลือไอโอดีน โดยเฉพาะในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ เพื่อให้เด็กที่คลอดออกมามีระดับสติปัญญาที่ดี ส่วนอัตราเด็กนักเรียนที่มีอัตราคอพอกสูงในปี 2546 พบว่า จังหวัดที่มีเด็กนักเรียนมีคอพอกสูงสุด 5 อันดับ ตามลำดับคือ คือ จังหวัดตาก 5.22% เลย 3.92% แม่ฮ่องสอน 3.71% ยโสธร 3.51% ร้อยเอ็ด 3.47%
นพ.สมยศ กล่าวว่า เพื่อให้มีการใช้เกลืออนามัยมากขึ้น จะขอความร่วมมือจากโรงงานผลิตเกลือเสริมไอโอดีนรายย่อยเพื่อให้ผลิตเกลือเสริมไอโอดีนที่มีคุณภาพมากขึ้น เพราะโรงงานขนาดใหญ่นั้นส่วนใหญ่ผลิตเกลือไอโอดีนที่ได้คุณภาพแล้ว และทางกรมอนามัยจะจัดตั้งกองทุนเกลือไอโอดีน เพื่อให้โรงงานผลิตเกลืออนามัยรายย่อยได้สามารถซื้อเกลือไอโอเดท เพื่อนำมาผลิตเกลือไอโอดีนก่อน และเมื่อนำเกลือไอโอดีนไปขายได้เงินแล้วค่อยนำมาคืนกองทุน เพราะการจะซื้อเกลือไอโอเดทนั้นจะต้องสั่งซื้อจากประเทศชิลีประมาณ 5-6 เดือน
นพ.สมยศ กล่าวว่า ในปี 2549 ทางกรมอนามัยจะทำโครงการให้เกลือเสริมไอโอดีนกับหญิงตั้งครรภ์ทั่วประเทศ เพื่อให้เด็กที่คลอดออกมาไม่ขาดสารไอโอดีน ทั้งนี้การขาดสารไอโอดีนจะทำให้เกิดปัญญาปัญญาอ่อนตั้งแต่กำเนิด หูหนวก เป็นใบ้ กล้ามเนื้อใช้งานไม่ได้ สติปัญญาเสื่อม สมองทึบ ไม่กระปรี้กระเปร่า เหนื่อยง่าย และระบบสืบพันธุ์ผิดปกติ