สาธารณสุขไทย ชี้เด็กไทยยังคงเสี่ยงติดเชื้อโปลิโอ หลังพบผู้ป่วยโผล่ที่อินโดนีเซียในรอบ 10 ปี โดยทั่วโลกยังมีแหล่งแพร่ 6 ประเทศ โดยเฉพาะไนจีเรีย จัดแผนสกัดการแพร่ข้ามชาติ ทุ่ม 8 ล้านบาท หยอดวัคซีนโปลิโอฟรี เริ่มต้น มิ.ย.ถึง 15 ก.ค.2548 ชี้หากโรคนี้กลับมาระบาดใหม่ ไทยจะสูญเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 200 ล้านบาท วอนประชาชนอย่าปิดบังประวัติการให้วัคซีนเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เพราะมีแต่ผลเสียกับเสีย

สืบเนื่องจากมีรายงานพบผู้ป่วยโรคโปลิโอที่ประเทศอินโดนีเซีย ในปี 2548 ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี จำนวน 20 ราย องค์การอนามัยโลกคาดว่าสายพันธุ์เชื้อโปลิโอที่เกิดขึ้นครั้งนี้ติดมาจากประเทศไนจีเรีย เนื่องจากเหมือนกับเชื้อที่เกิดขึ้นในซาอุดีอาระเบีย และซูดาน เมื่อปี 2548 ซึ่งต่างได้รับมาจากไนจีเรีย
น.พ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากการประเมินความเสี่ยงแล้ว ประเทศไทยอาจไม่ปลอดภัยต่อการแพร่ระบาดโรคโปลิโอครั้งนี้ แม้ว่าไทยจะไม่พบผู้ป่วยโรคโปลิโอมาแล้ว 8 ปี และมีอัตราการครอบคลุมวัคซีนเด็กไทยสูงถึง 98% เนื่องจากไทยและอินโดนีเซียอยู่ในภูมิภาคเดียวกัน การเดินทางสะดวก และไทยยังอาจได้รับเชื้อโรคโปลิโอจากแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย จากการประเมินสถานการณ์ของโรคโปลิโอทั่วโลก ยังมี 6 ประเทศที่เป็นแหล่งแพร่เชื้อ โดยเฉพาะไนจีเรีย ซึ่งประชาชนบางส่วนปฏิเสธการหยอดวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ เนื่องจากความเชื่อว่าวัคซีนจะทำให้เป็นหมัน และติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ในปี 2547 พบผู้ป่วยในประเทศนี้ 793 ราย หรือประมาณ 63% ของผู้ป่วยโรคโปลิโอทั่วโลก ในปีนี้ตั้งแต่ต้นปีจนถึงขณะนี้พบผู้ป่วย 77 ราย จากทั้งหมดทั่วโลก 155 ราย และแต่ละปีมีชาวไนจีเรียเดินทางเข้าประเทศไทยโดยถูกกฎหมายปีละ 1,300 ราย
น.พ.ณรงค์ศักดิ์ กล่าวต่อว่า กระทรวงสาธารณสุขได้วางมาตรการป้องกันอย่างเร่งด่วน โดยจะทำการหยอดวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอให้เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เพื่อเสริมภูมิต้านทานเป็นกรณีพิเศษในเด็กกลุ่มที่มีความเสี่ยง ได้แก่ เด็กที่อยู่ในพื้นที่ที่ไม่สามารถเข้าไปให้บริการทั่วถึงได้ เช่น ตามเกาะหรือพื้นที่สูง พื้นที่มีการสู้รบ มีความขัดแย้งทางการเมือง เด็กที่อยู่ในชุมชนแออัด แรงงานก่อสร้าง แรงงานรับจ้างทำไร่ แรงงานประมง เด็กที่เป็นลูกหลานแรงงานต่างชาติ ได้สั่งการให้ทุกจังหวัดตั้งทีมเฝ้าระวังค้นหาและสอบสวนผู้ป่วยที่สงสัยว่าอาจเป็นโรคโปลิโออย่างรวดเร็ว เป็นมาตรการที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องในทุกจังหวัด เพราะโรคโปลิโอสามารถแพร่เชื้ออย่างรวดเร็ว โดยเชื้อไวรัสโรคนี้ปนเปื้อนในน้ำและอาหารไม่สะอาด
น.พ.ณรงค์ศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า ได้ประชุมชี้แจงนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อเร่งรัดให้ทุกจังหวัดเฝ้าระวังผู้ป่วยที่กล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึ่งใช้เป็นสัญญาณในการค้นหาผู้ป่วยโรคโปลิโอ และกำชับให้ทุกจังหวัดตรวจสอบประวัติการให้วัคซีนโปลิโอในเด็กอายุ 1 ปี ที่ต้องให้ครบอย่างน้อย 3 ครั้งตามเกณฑ์ และขอความร่วมมือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้ประกอบการที่มีแรงงานต่างด้าว องค์กรเอกชนต่างๆ ที่ดูแลคนต่างด้าว เพื่อให้เด็กกลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนครบ 100% ประการสำคัญต้องขอความร่วมมือประชาชน อย่าปิดบังประวัติการให้วัคซีนของเด็ก เพราะหากได้รับวัคซีนไม่ครบจะส่งผลเสียต่อเด็ก ซึ่งเสี่ยงต่อการป่วยและความพิการและอาจเป็นผู้แพร่เชื้อให้ลุกลามเป็นผลเสียต่อประเทศไทย
ทางด้าน น.พ.ธวัช สุนทราจารย์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า หากประเทศไทยปล่อยให้มีการระบาดของโรคโปลิโอขึ้นมาใหม่ จะเกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจมหาศาลไม่ต่ำกว่าปีละ 200 ล้านบาท ซึ่งเป็นทั้งค่าวัคซีน ค่าใช้สอยต่างๆ ในการป้องกันควบคุมโรค ที่สำคัญจะทำให้ต่างชาติขาดความเชื่อมั่นระบบการเฝ้าระวังป้องกันโรคของประเทศไทย ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ การลงทุน การท่องเที่ยวตามมา และการกวาดล้างโรคโปลิโอของประเทศไทยจะต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่หลังจากที่เราควบคุมป้องกันโรคนี้สำเร็จมาแล้ว 8 ปี
น.พ.ธวัช กล่าวต่อไปว่า ในการรณรงค์หยอดวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอแก่เด็กกลุ่มเสี่ยงในทุกจังหวัดครั้งนี้ จะเน้นในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ส่วนเด็กต่างด้าวจะเน้นอายุต่ำกว่า 15 ปีลงมา เพราะเด็กกลุ่มนี้อาจไม่เคยรับวัคซีนมาก่อนหรือได้รับไม่ครบ โดยได้จัดงบประมาณ 8 ล้านบาท เริ่มต้นตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2548 ถึงวันที่ 15 กรกฎาคม 2548
สำหรับสถานการณ์โรคโปลิโอในปี 2548 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 1 มิถุนายน 2548 ทั่วโลกมีรายงานผู้ป่วยโรคโปลิโอใน 6 ประเทศได้แก่ ไนจีเรีย ซึ่งมีผู้ป่วยมากที่สุด 77 ราย รองลงมาได้แก่ ไนเจอร์ อียิปต์ อัฟกานิสถาน ปากีสถาน และอินเดีย มีรายงานทั้งหมด 155 ราย น้อยกว่าในปี 2547 ซึ่งพบผู้ป่วยทั้งหมด 1,268 ราย โดยเชื้อจากประเทศไนจีเรียได้แพร่กระจายไปอีก 6 ประเทศ ได้แก่ ซูดาน มาลี ชาด สาธารณรัฐแอฟริกากลาง บูร์กินาฟาโซ และไอเวอรี่โคสต์ และมีการแพร่ระบาดในประเทศเป็นจำนวนมาก ในส่วนของอินโดนีเซียได้พยายามควบคุมการระบาดโดยหยอดวัคซีนโปลิโอแบบปูพรม (mopping –up) อีก 2 รอบ ในกลุ่มเด็กอายุ 5 ปี ในวันที่ 31 พ.ค.2548 และวันที่ 28 มิถุนายน 2548
สืบเนื่องจากมีรายงานพบผู้ป่วยโรคโปลิโอที่ประเทศอินโดนีเซีย ในปี 2548 ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี จำนวน 20 ราย องค์การอนามัยโลกคาดว่าสายพันธุ์เชื้อโปลิโอที่เกิดขึ้นครั้งนี้ติดมาจากประเทศไนจีเรีย เนื่องจากเหมือนกับเชื้อที่เกิดขึ้นในซาอุดีอาระเบีย และซูดาน เมื่อปี 2548 ซึ่งต่างได้รับมาจากไนจีเรีย
น.พ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากการประเมินความเสี่ยงแล้ว ประเทศไทยอาจไม่ปลอดภัยต่อการแพร่ระบาดโรคโปลิโอครั้งนี้ แม้ว่าไทยจะไม่พบผู้ป่วยโรคโปลิโอมาแล้ว 8 ปี และมีอัตราการครอบคลุมวัคซีนเด็กไทยสูงถึง 98% เนื่องจากไทยและอินโดนีเซียอยู่ในภูมิภาคเดียวกัน การเดินทางสะดวก และไทยยังอาจได้รับเชื้อโรคโปลิโอจากแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย จากการประเมินสถานการณ์ของโรคโปลิโอทั่วโลก ยังมี 6 ประเทศที่เป็นแหล่งแพร่เชื้อ โดยเฉพาะไนจีเรีย ซึ่งประชาชนบางส่วนปฏิเสธการหยอดวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ เนื่องจากความเชื่อว่าวัคซีนจะทำให้เป็นหมัน และติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ในปี 2547 พบผู้ป่วยในประเทศนี้ 793 ราย หรือประมาณ 63% ของผู้ป่วยโรคโปลิโอทั่วโลก ในปีนี้ตั้งแต่ต้นปีจนถึงขณะนี้พบผู้ป่วย 77 ราย จากทั้งหมดทั่วโลก 155 ราย และแต่ละปีมีชาวไนจีเรียเดินทางเข้าประเทศไทยโดยถูกกฎหมายปีละ 1,300 ราย
น.พ.ณรงค์ศักดิ์ กล่าวต่อว่า กระทรวงสาธารณสุขได้วางมาตรการป้องกันอย่างเร่งด่วน โดยจะทำการหยอดวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอให้เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เพื่อเสริมภูมิต้านทานเป็นกรณีพิเศษในเด็กกลุ่มที่มีความเสี่ยง ได้แก่ เด็กที่อยู่ในพื้นที่ที่ไม่สามารถเข้าไปให้บริการทั่วถึงได้ เช่น ตามเกาะหรือพื้นที่สูง พื้นที่มีการสู้รบ มีความขัดแย้งทางการเมือง เด็กที่อยู่ในชุมชนแออัด แรงงานก่อสร้าง แรงงานรับจ้างทำไร่ แรงงานประมง เด็กที่เป็นลูกหลานแรงงานต่างชาติ ได้สั่งการให้ทุกจังหวัดตั้งทีมเฝ้าระวังค้นหาและสอบสวนผู้ป่วยที่สงสัยว่าอาจเป็นโรคโปลิโออย่างรวดเร็ว เป็นมาตรการที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องในทุกจังหวัด เพราะโรคโปลิโอสามารถแพร่เชื้ออย่างรวดเร็ว โดยเชื้อไวรัสโรคนี้ปนเปื้อนในน้ำและอาหารไม่สะอาด
น.พ.ณรงค์ศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า ได้ประชุมชี้แจงนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อเร่งรัดให้ทุกจังหวัดเฝ้าระวังผู้ป่วยที่กล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึ่งใช้เป็นสัญญาณในการค้นหาผู้ป่วยโรคโปลิโอ และกำชับให้ทุกจังหวัดตรวจสอบประวัติการให้วัคซีนโปลิโอในเด็กอายุ 1 ปี ที่ต้องให้ครบอย่างน้อย 3 ครั้งตามเกณฑ์ และขอความร่วมมือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้ประกอบการที่มีแรงงานต่างด้าว องค์กรเอกชนต่างๆ ที่ดูแลคนต่างด้าว เพื่อให้เด็กกลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนครบ 100% ประการสำคัญต้องขอความร่วมมือประชาชน อย่าปิดบังประวัติการให้วัคซีนของเด็ก เพราะหากได้รับวัคซีนไม่ครบจะส่งผลเสียต่อเด็ก ซึ่งเสี่ยงต่อการป่วยและความพิการและอาจเป็นผู้แพร่เชื้อให้ลุกลามเป็นผลเสียต่อประเทศไทย
ทางด้าน น.พ.ธวัช สุนทราจารย์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า หากประเทศไทยปล่อยให้มีการระบาดของโรคโปลิโอขึ้นมาใหม่ จะเกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจมหาศาลไม่ต่ำกว่าปีละ 200 ล้านบาท ซึ่งเป็นทั้งค่าวัคซีน ค่าใช้สอยต่างๆ ในการป้องกันควบคุมโรค ที่สำคัญจะทำให้ต่างชาติขาดความเชื่อมั่นระบบการเฝ้าระวังป้องกันโรคของประเทศไทย ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ การลงทุน การท่องเที่ยวตามมา และการกวาดล้างโรคโปลิโอของประเทศไทยจะต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่หลังจากที่เราควบคุมป้องกันโรคนี้สำเร็จมาแล้ว 8 ปี
น.พ.ธวัช กล่าวต่อไปว่า ในการรณรงค์หยอดวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอแก่เด็กกลุ่มเสี่ยงในทุกจังหวัดครั้งนี้ จะเน้นในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ส่วนเด็กต่างด้าวจะเน้นอายุต่ำกว่า 15 ปีลงมา เพราะเด็กกลุ่มนี้อาจไม่เคยรับวัคซีนมาก่อนหรือได้รับไม่ครบ โดยได้จัดงบประมาณ 8 ล้านบาท เริ่มต้นตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2548 ถึงวันที่ 15 กรกฎาคม 2548
สำหรับสถานการณ์โรคโปลิโอในปี 2548 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 1 มิถุนายน 2548 ทั่วโลกมีรายงานผู้ป่วยโรคโปลิโอใน 6 ประเทศได้แก่ ไนจีเรีย ซึ่งมีผู้ป่วยมากที่สุด 77 ราย รองลงมาได้แก่ ไนเจอร์ อียิปต์ อัฟกานิสถาน ปากีสถาน และอินเดีย มีรายงานทั้งหมด 155 ราย น้อยกว่าในปี 2547 ซึ่งพบผู้ป่วยทั้งหมด 1,268 ราย โดยเชื้อจากประเทศไนจีเรียได้แพร่กระจายไปอีก 6 ประเทศ ได้แก่ ซูดาน มาลี ชาด สาธารณรัฐแอฟริกากลาง บูร์กินาฟาโซ และไอเวอรี่โคสต์ และมีการแพร่ระบาดในประเทศเป็นจำนวนมาก ในส่วนของอินโดนีเซียได้พยายามควบคุมการระบาดโดยหยอดวัคซีนโปลิโอแบบปูพรม (mopping –up) อีก 2 รอบ ในกลุ่มเด็กอายุ 5 ปี ในวันที่ 31 พ.ค.2548 และวันที่ 28 มิถุนายน 2548