นักศึกษาไม่ควรมองวิทยานิพนธ์เป็นเพียงงานที่ต้องทำเพื่อให้จบการศึกษา แต่ควรคิดว่าเป็นโอกาสแสดงความสามารถของผู้ซึ่งมีความรู้ระดับมหาบัณฑิตหรือดุษฎีบัณฑิตในการค้นหาความจริงอย่างมีระบบระเบียบโดยลำพัง หรือที่เราเรียกกลวิธีแสวงความรู้โดยอิสระนี้ว่า Independent study
เป็นที่น่าเสียดายที่ปัจจุบันนักศึกษาไม่ค่อยตระหนักในเรื่องการสร้างคุณภาพในงานวิทยานิพนธ์ ไม่ให้ความสำคัญกับงานเท่าที่ควร ทำเพราะต้องการ “มีส่ง” ตามที่หลักสูตรบังคับเท่านั้น
เมื่อคิดว่าเป็นเรื่อง “จำใจ” มากกว่า “สมัครใจ” ก็ไม่นึกจะผลิตงานให้ออกมามีความน่าสนใจ หรือระทึกใจประการใด คือเมื่อคนทำไม่ขวนขวายหาอะไรใหม่ในตัวงานแล้ว ก็จะวนอยู่กับเนื้อหาเดิมๆ ใช้กลวิธีเก่าๆ แทบจะเรียกได้ว่ายึดเอาฉบับที่ทำมาก่อนหน้านั้นเป็นตัวแบบสำหรับฉบับของตน ส่วนคนอ่าน อ่านแล้วก็ไม่รู้สึกตื่นเต้นอะไร
อนึ่ง ขอทำความเข้าใจก่อนว่า จุดมุ่งหมายของวิทยานิพนธ์เป็นการสร้างคุณูปการต่อองค์ความรู้ แนวคิดนี้เรียกในภาษาอังกฤษว่า Contribute to knowledge คือถ้าว่ากันตามอุดมการณ์ของงานประเภทนี้ ผู้ทำวิทยานิพนธ์ต้องมุ่งสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ใหม่ ซึ่งอาจเป็นในรูปของการพิสูจน์หรืออาจสร้างทฤษฎีหรือกระบวนการการวิจัยใหม่ และเสนอผลที่ได้ให้เป็นที่ประจักษ์ต่อวงวิชาการ
แต่ในทางปฏิบัติ งานวิทยานิพนธ์หลายๆ เล่มที่ทำกันไม่เห็นได้สร้างคุณูปการแต่ประการใด ที่กล่าวเช่นนี้เนื่องจากงานที่เหล่านั้นเป็นการสำรวจปรากฏการณ์ที่มีอยู่ แล้วนำมารวบรวมเรียงเรียงเสียใหม่ในการนำเสนอ เหมือนเหล้าเก่าในขวดใหม่ (เปลี่ยนหลักๆ ที่ปก) การสำรวจปรากฏการณ์เป็นเพียงการบรรยายสิ่งที่เกิดขึ้นมากกว่าเป็นการวิเคราะห์หรือพิสูจน์องค์ความรู้
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง งานประเภทสำรวจความคิดเห็นหรือทัศนคตินั้น มีให้เห็นมาก เนื่องจากผลิตง่าย ทำได้หลายเล่มโดยการเปลี่ยนกลุ่มประชากรที่ศึกษา วิธีการวิจัยก็ไม่มีอะไร ใช้แบบสอบถามที่มีอยู่และได้รับการทดสอบแล้ว โดยเพียงไปถามมาว่าผู้คนเขาคิดอย่างไรกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แล้วนำมาประมวลและเรียบเรียงเพื่อนำเสนอ แล้วก็เรียกงานของตนว่า “วิทยานิพนธ์”
งานเก็บข้อมูลข้างต้นไม่สนองวัตถุประสงค์ของงานวิทยานิพนธ์อย่างแท้จริง ข้อมูลเชิงจิตพิสัย เช่นนี้อิงกับความรู้สึกในขณะนั้นๆ ทัศนคติของคนเปลี่ยนไปตามเงี่อนไขของสังคมและสภาวะแวดล้อม ผลการสำรวจข้อมูลลักษณะนี้ไม่สร้างคุณประโยชน์ต่อองค์ความรู้มนุษย์ในระยะยาว
อันที่จริง งานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาควรเลิกเสียทีกับการสำรวจความพึงพอใจหรือความคิดเห็นที่มีต่อหน่วยงาน/นโยบาย/บุคคล ผมเห็นว่าประเด็นดังกล่าวเหมาะที่เป็นการบ้านในวิชาสถิติสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีมากกว่าการจะนำมาใช้เป็นวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษา
การศึกษาเช่นนี้นอกจากไม่ได้สร้างสรรค์องค์ความรู้อะไรใหม่ให้ศาสตร์หนึ่งๆ แล้ว ยังไม่เอื้อต่อการพัฒนาความรู้และการเรียนรู้ของผู้เรียนอีกด้วย และที่สำคัญคือ ไม่ช่วยสืบสานให้องค์ความรู้เจริญยิ่งขึ้นไป อันเป็นอุดมคติของงานวิทยานิพนธ์ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เป็นข้อมูลที่เมื่อรู้แล้วก็ไม่ช่วยให้องค์ความรู้ก้าวหน้ากว่าเดิม
นอกจากนี้ ในกรณีที่เป็นงานเชิงตัวเลขปริมาณ การเลือกสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าหัวข้อที่ศึกษา สถิติที่ใช้ในวิทยานิพนธ์ควรมีความซับช้อนมากกว่า T-test หรือ F-test หรือเป็นสถิติเชิงพรรณนาแบบพื้นๆ เช่น ร้อยละ ค่าเฉลี่ย เปอร์เช็นไทล์ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นต้น
งานวิจัยในระดับบัณฑิตศึกษาควรแสดงความสามารถในการวิเคราะห์เชิงอนุมานของนักศึกษาที่ลึกซึ้งกว่านี้ เช่น มีการใช้สถิติหลายตัวแปร (Multivariate techniques) โดยการออกแบบการวิจัยที่ซับซ้อน เช่น Multiple Regression, Discriminant Analysis ฯลฯ ถ้าจะเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม (Comparative Study) ก็น่าจะเป็นการเปรียบเทียบในหลายมิติ งานวิทยานิพนธ์บางเล่มใช้สถิติพื้นมากจนดูไม่เหมาะกับงานระดับปริญญาโท
อย่างไรก็ตาม บางคนอาจแย้งว่า คุณภาพวิทยานิพนธ์ไม่ได้อยู่ที่สถิติที่ใช้ ผมก็เห็นด้วย แต่อย่าลืมว่าในขณะเดียวกันสถิติที่เลือกใช้บ่งบอกระดับความสามารถในการใช้เครื่องมือในการทำงานของท่าน
เราจะประเมินความน่าสนใจของงานได้ในระดับหนึ่งโดยดูจากชื่อเรื่อง ชื่อเรื่องบอกเราว่างานวิจัยชิ้นนั้นทำเกี่ยวกับอะไร เป็นประเด็นที่กำลังเป็นที่ถกเถียงกัน หรือเป็นประเด็นที่ยังไม่มีใครทำมาก่อนหรือไม่
นักศึกษาควรริเริ่มสิ่งใหม่กับงานวิทยานิพนธ์ ควรใคร่ครวญให้ดีว่าจะศึกษาหัวข้ออะไร นักศึกษาต้องทำการทบทวนวรรณกรรมอย่างกว้างขวางและควรปรึกษากับผู้ที่เชี่ยวชาญหัวข้อนั้นๆ ให้ดี เพื่องานวิทยานิพนธ์ที่ทำจะได้มีความน่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการอย่างแท้จริง
เป็นที่น่าเสียดายที่ปัจจุบันนักศึกษาไม่ค่อยตระหนักในเรื่องการสร้างคุณภาพในงานวิทยานิพนธ์ ไม่ให้ความสำคัญกับงานเท่าที่ควร ทำเพราะต้องการ “มีส่ง” ตามที่หลักสูตรบังคับเท่านั้น
เมื่อคิดว่าเป็นเรื่อง “จำใจ” มากกว่า “สมัครใจ” ก็ไม่นึกจะผลิตงานให้ออกมามีความน่าสนใจ หรือระทึกใจประการใด คือเมื่อคนทำไม่ขวนขวายหาอะไรใหม่ในตัวงานแล้ว ก็จะวนอยู่กับเนื้อหาเดิมๆ ใช้กลวิธีเก่าๆ แทบจะเรียกได้ว่ายึดเอาฉบับที่ทำมาก่อนหน้านั้นเป็นตัวแบบสำหรับฉบับของตน ส่วนคนอ่าน อ่านแล้วก็ไม่รู้สึกตื่นเต้นอะไร
อนึ่ง ขอทำความเข้าใจก่อนว่า จุดมุ่งหมายของวิทยานิพนธ์เป็นการสร้างคุณูปการต่อองค์ความรู้ แนวคิดนี้เรียกในภาษาอังกฤษว่า Contribute to knowledge คือถ้าว่ากันตามอุดมการณ์ของงานประเภทนี้ ผู้ทำวิทยานิพนธ์ต้องมุ่งสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ใหม่ ซึ่งอาจเป็นในรูปของการพิสูจน์หรืออาจสร้างทฤษฎีหรือกระบวนการการวิจัยใหม่ และเสนอผลที่ได้ให้เป็นที่ประจักษ์ต่อวงวิชาการ
แต่ในทางปฏิบัติ งานวิทยานิพนธ์หลายๆ เล่มที่ทำกันไม่เห็นได้สร้างคุณูปการแต่ประการใด ที่กล่าวเช่นนี้เนื่องจากงานที่เหล่านั้นเป็นการสำรวจปรากฏการณ์ที่มีอยู่ แล้วนำมารวบรวมเรียงเรียงเสียใหม่ในการนำเสนอ เหมือนเหล้าเก่าในขวดใหม่ (เปลี่ยนหลักๆ ที่ปก) การสำรวจปรากฏการณ์เป็นเพียงการบรรยายสิ่งที่เกิดขึ้นมากกว่าเป็นการวิเคราะห์หรือพิสูจน์องค์ความรู้
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง งานประเภทสำรวจความคิดเห็นหรือทัศนคตินั้น มีให้เห็นมาก เนื่องจากผลิตง่าย ทำได้หลายเล่มโดยการเปลี่ยนกลุ่มประชากรที่ศึกษา วิธีการวิจัยก็ไม่มีอะไร ใช้แบบสอบถามที่มีอยู่และได้รับการทดสอบแล้ว โดยเพียงไปถามมาว่าผู้คนเขาคิดอย่างไรกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แล้วนำมาประมวลและเรียบเรียงเพื่อนำเสนอ แล้วก็เรียกงานของตนว่า “วิทยานิพนธ์”
งานเก็บข้อมูลข้างต้นไม่สนองวัตถุประสงค์ของงานวิทยานิพนธ์อย่างแท้จริง ข้อมูลเชิงจิตพิสัย เช่นนี้อิงกับความรู้สึกในขณะนั้นๆ ทัศนคติของคนเปลี่ยนไปตามเงี่อนไขของสังคมและสภาวะแวดล้อม ผลการสำรวจข้อมูลลักษณะนี้ไม่สร้างคุณประโยชน์ต่อองค์ความรู้มนุษย์ในระยะยาว
อันที่จริง งานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาควรเลิกเสียทีกับการสำรวจความพึงพอใจหรือความคิดเห็นที่มีต่อหน่วยงาน/นโยบาย/บุคคล ผมเห็นว่าประเด็นดังกล่าวเหมาะที่เป็นการบ้านในวิชาสถิติสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีมากกว่าการจะนำมาใช้เป็นวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษา
การศึกษาเช่นนี้นอกจากไม่ได้สร้างสรรค์องค์ความรู้อะไรใหม่ให้ศาสตร์หนึ่งๆ แล้ว ยังไม่เอื้อต่อการพัฒนาความรู้และการเรียนรู้ของผู้เรียนอีกด้วย และที่สำคัญคือ ไม่ช่วยสืบสานให้องค์ความรู้เจริญยิ่งขึ้นไป อันเป็นอุดมคติของงานวิทยานิพนธ์ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เป็นข้อมูลที่เมื่อรู้แล้วก็ไม่ช่วยให้องค์ความรู้ก้าวหน้ากว่าเดิม
นอกจากนี้ ในกรณีที่เป็นงานเชิงตัวเลขปริมาณ การเลือกสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าหัวข้อที่ศึกษา สถิติที่ใช้ในวิทยานิพนธ์ควรมีความซับช้อนมากกว่า T-test หรือ F-test หรือเป็นสถิติเชิงพรรณนาแบบพื้นๆ เช่น ร้อยละ ค่าเฉลี่ย เปอร์เช็นไทล์ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นต้น
งานวิจัยในระดับบัณฑิตศึกษาควรแสดงความสามารถในการวิเคราะห์เชิงอนุมานของนักศึกษาที่ลึกซึ้งกว่านี้ เช่น มีการใช้สถิติหลายตัวแปร (Multivariate techniques) โดยการออกแบบการวิจัยที่ซับซ้อน เช่น Multiple Regression, Discriminant Analysis ฯลฯ ถ้าจะเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม (Comparative Study) ก็น่าจะเป็นการเปรียบเทียบในหลายมิติ งานวิทยานิพนธ์บางเล่มใช้สถิติพื้นมากจนดูไม่เหมาะกับงานระดับปริญญาโท
อย่างไรก็ตาม บางคนอาจแย้งว่า คุณภาพวิทยานิพนธ์ไม่ได้อยู่ที่สถิติที่ใช้ ผมก็เห็นด้วย แต่อย่าลืมว่าในขณะเดียวกันสถิติที่เลือกใช้บ่งบอกระดับความสามารถในการใช้เครื่องมือในการทำงานของท่าน
เราจะประเมินความน่าสนใจของงานได้ในระดับหนึ่งโดยดูจากชื่อเรื่อง ชื่อเรื่องบอกเราว่างานวิจัยชิ้นนั้นทำเกี่ยวกับอะไร เป็นประเด็นที่กำลังเป็นที่ถกเถียงกัน หรือเป็นประเด็นที่ยังไม่มีใครทำมาก่อนหรือไม่
นักศึกษาควรริเริ่มสิ่งใหม่กับงานวิทยานิพนธ์ ควรใคร่ครวญให้ดีว่าจะศึกษาหัวข้ออะไร นักศึกษาต้องทำการทบทวนวรรณกรรมอย่างกว้างขวางและควรปรึกษากับผู้ที่เชี่ยวชาญหัวข้อนั้นๆ ให้ดี เพื่องานวิทยานิพนธ์ที่ทำจะได้มีความน่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการอย่างแท้จริง