หลักสูตรปอเนาะผ่านการตรวจสอบเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญด้านศาสนาอิสลามเรียบร้อยแล้ว คาดสามารถประกาศใช้หลักสูตรก่อนเดือน มี.ค.นี้ ส่วนโครงการสถาบันศึกษาปอเนาะต้นแบบเริ่มดำเนินโครงการภายในปีนี้แน่
นายอารีย์ วงศ์อารยะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงความคืบหน้าการจัดทำหลักสูตรหรือแนวทางการสอนอิสลามศึกษาของสถาบันศึกษาปอเนาะ ว่า ขณะนี้ร่างหลักสูตรเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยเนื้อหาประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ 1.ความรู้เกี่ยวกับพระคัมภีร์อัลกุลอาน 2.วัจนะของพระศาสดา และ 3.ผู้มีความรู้ให้การตีความวัจนะของพระศาสดา พร้อมกันนี้ยังได้สอดแทรกความรู้ในเรื่องของอาชีพที่สอดคล้องกับหลักศาสนาเข้าไปด้วย เช่น การทำเกษตร ซึ่งได้ให้ผู้เชี่ยวชาญด้านศาสนาอิสลามตรวจสอบเนื้อหาทั้งหมดแล้ว หลังจากนั้นได้ส่งให้คณะผู้จัดทำร่างหลักสูตรดังกล่าว ซึ่งประกอบไปด้วยโต๊ะครูใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตรวจสอบเนื้อหาและความถูกต้องอีกครั้ง คาดว่าจะพิจารณาเสร็จสิ้นและประกาศหลักสูตรนี้ได้ก่อนเดือน มี.ค.นี้ สำหรับหลักสูตรสถาบันศึกษาปอเนาะนั้นจะจัดพิมพ์หลักสูตรทั้งภาษาไทย ภาษาอาหรับ ภาษายาวี และภาษาอังกฤษ เพื่อแจกจ่ายไปยังสถาบันศึกษาปอเนาะทั่วประเทศ
"การจัดการศึกษาของปอเนาะตามร่างหลักสูตรดังกล่าวนอกจากจะสอนเรื่องอาชีพที่สอดคล้องกับหลักศาสนาแล้ว ยังได้นำหลักสูตรการศึกษาสายสามัญ ระดับ ม.ต้น ของสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) เข้าไปเสริมด้วย และจะให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เข้ามาสอนเรื่องอาชีพในเชิงลึกด้วย สำหรับในขณะนี้ก็มีเสียงจากบุคลากรและนักศึกษาสถาบันศึกษาปอเนาะหลายคนว่าอยากเรียนคอมพิวเตอร์ ผมก็คิดว่าจะต้องจัดให้มีการอบรมความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์ให้แก่ครูสอนศาสนาใน 3 จังหวัดก่อน เพื่อนำความรู้ไปถ่ายทอดให้แก่นักศึกษาต่อไป " นายอารีย์ กล่าว
รมช.ศธ.กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ยังได้จัดทำโครงการสถาบันศึกษาปอเนาะต้นแบบขึ้นตามนโยบาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซึ่งขณะนี้มีงบประมาณในการดำเนินการแล้วจำนวน 20 ล้านบาท โดยให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ใน 3 จังหวัดภาคใต้ คือ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส คัดเลือกสถาบันศึกษาปอเนาะจังหวัดละ 3 แห่ง เสนอมายัง ศธ.หลังจากนั้นจะตั้งคณะกรรมการคัดเลือก ซึ่งประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ ศธ.และโต๊ะครู ใน 3 จังหวัดภาคใต้ ร่วมกันคัดเลือกให้เหลือจังหวัดละ 1 แห่ง รวมทั้งสิ้น 3 แห่ง คาดว่าจะเริ่มดำเนินโครงการได้ภายในปีนี้ ทั้งนี้มาตรฐานในการคัดเลือกตามที่ ศธ. กำหนดนั้น คือ มีขนาดกลางไม่ใหญ่เกินไป มีนักศึกษาไม่เกิน 200 คน มีพื้นที่เพื่อใช้ฝึกอาชีพ เช่น ทำเกษตร ปศุสัตว์ และสวนยางไม่เกิน 50 ไร่ และการบริหารจัดการต้องเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และบุคลากรมีความรู้เป็นอย่างดี
นายอารีย์ วงศ์อารยะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงความคืบหน้าการจัดทำหลักสูตรหรือแนวทางการสอนอิสลามศึกษาของสถาบันศึกษาปอเนาะ ว่า ขณะนี้ร่างหลักสูตรเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยเนื้อหาประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ 1.ความรู้เกี่ยวกับพระคัมภีร์อัลกุลอาน 2.วัจนะของพระศาสดา และ 3.ผู้มีความรู้ให้การตีความวัจนะของพระศาสดา พร้อมกันนี้ยังได้สอดแทรกความรู้ในเรื่องของอาชีพที่สอดคล้องกับหลักศาสนาเข้าไปด้วย เช่น การทำเกษตร ซึ่งได้ให้ผู้เชี่ยวชาญด้านศาสนาอิสลามตรวจสอบเนื้อหาทั้งหมดแล้ว หลังจากนั้นได้ส่งให้คณะผู้จัดทำร่างหลักสูตรดังกล่าว ซึ่งประกอบไปด้วยโต๊ะครูใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตรวจสอบเนื้อหาและความถูกต้องอีกครั้ง คาดว่าจะพิจารณาเสร็จสิ้นและประกาศหลักสูตรนี้ได้ก่อนเดือน มี.ค.นี้ สำหรับหลักสูตรสถาบันศึกษาปอเนาะนั้นจะจัดพิมพ์หลักสูตรทั้งภาษาไทย ภาษาอาหรับ ภาษายาวี และภาษาอังกฤษ เพื่อแจกจ่ายไปยังสถาบันศึกษาปอเนาะทั่วประเทศ
"การจัดการศึกษาของปอเนาะตามร่างหลักสูตรดังกล่าวนอกจากจะสอนเรื่องอาชีพที่สอดคล้องกับหลักศาสนาแล้ว ยังได้นำหลักสูตรการศึกษาสายสามัญ ระดับ ม.ต้น ของสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) เข้าไปเสริมด้วย และจะให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เข้ามาสอนเรื่องอาชีพในเชิงลึกด้วย สำหรับในขณะนี้ก็มีเสียงจากบุคลากรและนักศึกษาสถาบันศึกษาปอเนาะหลายคนว่าอยากเรียนคอมพิวเตอร์ ผมก็คิดว่าจะต้องจัดให้มีการอบรมความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์ให้แก่ครูสอนศาสนาใน 3 จังหวัดก่อน เพื่อนำความรู้ไปถ่ายทอดให้แก่นักศึกษาต่อไป " นายอารีย์ กล่าว
รมช.ศธ.กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ยังได้จัดทำโครงการสถาบันศึกษาปอเนาะต้นแบบขึ้นตามนโยบาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซึ่งขณะนี้มีงบประมาณในการดำเนินการแล้วจำนวน 20 ล้านบาท โดยให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ใน 3 จังหวัดภาคใต้ คือ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส คัดเลือกสถาบันศึกษาปอเนาะจังหวัดละ 3 แห่ง เสนอมายัง ศธ.หลังจากนั้นจะตั้งคณะกรรมการคัดเลือก ซึ่งประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ ศธ.และโต๊ะครู ใน 3 จังหวัดภาคใต้ ร่วมกันคัดเลือกให้เหลือจังหวัดละ 1 แห่ง รวมทั้งสิ้น 3 แห่ง คาดว่าจะเริ่มดำเนินโครงการได้ภายในปีนี้ ทั้งนี้มาตรฐานในการคัดเลือกตามที่ ศธ. กำหนดนั้น คือ มีขนาดกลางไม่ใหญ่เกินไป มีนักศึกษาไม่เกิน 200 คน มีพื้นที่เพื่อใช้ฝึกอาชีพ เช่น ทำเกษตร ปศุสัตว์ และสวนยางไม่เกิน 50 ไร่ และการบริหารจัดการต้องเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และบุคลากรมีความรู้เป็นอย่างดี