“อภิรักษ์” เตรียมยกเครื่องหาบเร่-แผงลอยใหม่ ชวนผู้ค้าอาหารแผงลอยตรวจสุขภาพฟรี สร้างอาหารปลอดภัย เตรียมหารือบชน.จัดระเบียบหาบเร่นอกจุดผ่อนผัน
นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า การจัดระเบียบหาบเร่แผงลอยในยุคที่ตนเป็นผู้ว่าฯกทม.จะเน้นการขอความร่วมมือเพื่อช่วยกันจัดระเบียบเพื่อยกระดับมาตรฐานและความสะอาดของอาหาร การจำหน่ายอาหารของหาบเร่แผงลอยตามพื้นที่สาธารณะทั่วไปมากกกว่าการที่จะนำข้อกฎหมายมาบังคับใช้ โดยกทม.จะส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจและให้ความรู้แก่ผู้ค้าและในกลางเดือนนี้จะนำอุปกรณ์ชุดใหม่ที่จะใช้ตรวจสอบคุณภาพอาหารความปลอดภัยต่างๆ เข้าไปสาธิต รวมถึงการตรวจสุขภาพให้กับผู้ค้าเพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าผู้ปรุงอาหารไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงอันจะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคหากซื้ออาหารร้านนั้นมารับประทาน โดยสามารถไปตรวจร่างกายได้ที่โรงพยาบาลและศูนย์สาธารณสุขในสังกัดกรุงเทพมหานครทุกแห่ง
อย่างไรก็ดี การที่จะแก้ปัญหาหาบเร่แผงลอยอย่างยั่งยืนนั้นทุกฝ่ายควรจะร่วมมือกันโดยเฉพาะจากผู้ค้าโดยมีวิธีการคือจะให้เวลากับผู้ค้าซักระยะและทางผู้บริหารและเจ้าหน้าที่จะได้ลงไปคลุกคลีไปสอบถามโดยจะอาทิตย์แรกจะให้เจ้าหน้าที่เข้าไปก่อนและอาทิตย์ต่อไปจะลงด้วยตนเอง และจะให้เวลาประมาณ 1 เดือนสำหรับการปรับปรุง รวมทั้งวางแนวทาง อุปกรณ์ และกำหนดคุณภาพมาตรฐานต่างๆ หลังจากนั้นจะมีการคุมเข้มเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ซื้อและตัวผู้ค้าก็จะมีความมั่นใจว่าได้รับการรับรองมาตรฐานจากกทม.
สำหรับมาตรฐานที่จะให้กับร้านอาหารที่ผ่านการตรวจคือดาวเขียว อย่างไรก็ตามเร็วๆนี้จะมีการปรับรูปแบบดาวเขียวให้มีความทันสมัยและสวยงามมากขึ้น สำหรับร้านค้าที่ได้ดาวเขียวไปแล้วก็จะมีการตรวจซ้ำหากไม่ผ่านมาตรฐานก็จะมีการยึดคืน รวมทั้งจะออกตรวจเป็นระยะๆโดยใช้วิธีการสุ่มตรวจ ซึ่งเขตจะต้องเป็นเจ้าภาพหลักในการตรวจ และจะได้เชิญผู้ตรวจการเข้ามาช่วยในการตรวจด้วยซึ่งวิธีการตรวจจะใช้ระบบสุ่มตรวจ ส่วนทางสำนักอนามัยจะเข้าไปสนับสนุนอุปกรณ์ วิชาการต่างๆ ทั้งนี้ในเบื้องต้นจะเป็นการสร้างความเข้าใจกับผู้ค้าทั้งหมด จากนั้นจะตรวจผู้ที่ปรุงอาหารเพื่อสร้างความมั่นใจอีกครั้ง
“ไม่อยากให้เขารู้สึกว่าเราเข้าไปจัดระเบียบหาบเร่แผงลอย เพราะจะทำให้ความร่วมมือลดน้อยลง ฉะนั้นควรจะต้องช่วยกันพัฒนาให้เป็นเมืองน่าอยู่ซึ่งน่าอยู่คือจะต้องสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย และถ้าจำหน่ายอาหารจะต้องได้สุขลักษณะ และถ้าเราไปใช้กฎหมายในการจัดระเบียบไปบังคับเขาคงต้องทะเลาะกันแน่ ทางที่ดีที่สุดคือการเปิดโอกาสให้ผู้ค้ามีส่วนร่วม ผมคิดว่าในยุคสมัยใหม่ต้องเข้าใจอยู่แล้ว” นายอภิรักษ์ กล่าว
ด้าน พ.ญ.เพ็ญศรี พิชัยสนิธ รองผู้ว่าฯ กทม. กล่าวว่า การจำหน่ายอาหารบริเวณริมบาทวิถีต้องมีการควบคุมทั้งคุณภาพและมาตรฐานอาหารที่จำหน่ายให้ผู้บริโภคได้บริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัยมากยิ่งขึ้นและในปี 2548 กทม.ได้จัดให้มีกิจกรรมเพื่อให้ประชาชนชาวกรุงเทพมหานครมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นคือการให้ทุกสำนักงานเขตกวดขันผู้ค้าตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ.2545 อย่างเคร่งครัด มีการเก็บตัวอย่างอาหารส่งตรวจ จัดบริการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกไปตรวจร่างกายให้กับผู้ค้าอาหารริมบาทวิถีในจุดผ่อนผันฟรี ตลอดจนการส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักพิทักษ์สิทธิของตนเองเมื่อพบว่าแผงค้าใดจำหน่ายอาหารไม่ถูกสุขลักษณะหรือเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคให้โทรแจ้งที่สายด่วยกทม.1555 หรือที่สำนักงานเขตทั้ง 50 แห่ง
ทั้งนี้ กทม.ได้กำหนดมาตรฐานสุขลักษณะ 10 ประการหรือมาตรฐานดาวเขียวคือ1.สวมหมวกและผ้ากันเปื้อนสีขาวสะอาด 2. รถเข็นต้องสูงอย่างน้อย 60 ซม. 3. อาหารมีการปกปิด 4.เครื่องปรุงต้องมีเครื่องหมายอย.กำกับ 5. ภาชนะที่ใส่เครื่องปรุงต้องทำด้วยแก้ว กระเบื้องเคลือบหรือแสตนเลสมีฝาปิด 6.น้ำแข็งทีใช้ดื่มไม่แช่ปะปนกะอาหารสด 7. ภาชนะที่ใส่อาหารต้องทำด้วยแก้ว กระเบื้องเคลือบ แสตนเลสหรือเมลามีนไม่ตกแต่งสี 8. ในการล้างภาชนะต้องเปลี่ยนน้ำอย่างสม่ำเสมอ 9. ช้อนส้อมต้องใส่ในภาชนะโปร่ง สะอาดและหันด้ามขึ้น 10. ถังขยะต้องมีฝาปิดไม่รั่วและต้องกำจัดขยะทุกวัน
สำหรับผู้ค้าที่ไม่ปฏิบัติตามจะมีมาตรการขั้นเด็ดขาดได้แก่การปรับสูงสุด 1หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับรายวันวันละ 5 พันบาทตามพรบ.กระทรวงสาธารณะสุข พ.ศ.2535 แต่ในเบื้องต้นนั้นกทม.จะยังไม่ใช้วิธีการจับปรับในข้างต้น
ทั้งนี้เนื่องจากต้องการขอความร่วมมือและให้ความรู้ พร้อมกำหนดระยะเวลาในการแก้ไข ซึ่งหากผู้ค้ายังไม่ปฏิบัติตามก็ต้องทำตามมาตรการที่ได้กำหนดไว้ อย่างไรก็ดี ในเดือนมกราคมนี้จะได้มีการประชุมร่วมกับบชน.เพื่อหารือถึงการจัดระเบียบหาบเร่แผงลอยที่อยู่นอกจุดผ่อนผันอีกด้วย
นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า การจัดระเบียบหาบเร่แผงลอยในยุคที่ตนเป็นผู้ว่าฯกทม.จะเน้นการขอความร่วมมือเพื่อช่วยกันจัดระเบียบเพื่อยกระดับมาตรฐานและความสะอาดของอาหาร การจำหน่ายอาหารของหาบเร่แผงลอยตามพื้นที่สาธารณะทั่วไปมากกกว่าการที่จะนำข้อกฎหมายมาบังคับใช้ โดยกทม.จะส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจและให้ความรู้แก่ผู้ค้าและในกลางเดือนนี้จะนำอุปกรณ์ชุดใหม่ที่จะใช้ตรวจสอบคุณภาพอาหารความปลอดภัยต่างๆ เข้าไปสาธิต รวมถึงการตรวจสุขภาพให้กับผู้ค้าเพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าผู้ปรุงอาหารไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงอันจะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคหากซื้ออาหารร้านนั้นมารับประทาน โดยสามารถไปตรวจร่างกายได้ที่โรงพยาบาลและศูนย์สาธารณสุขในสังกัดกรุงเทพมหานครทุกแห่ง
อย่างไรก็ดี การที่จะแก้ปัญหาหาบเร่แผงลอยอย่างยั่งยืนนั้นทุกฝ่ายควรจะร่วมมือกันโดยเฉพาะจากผู้ค้าโดยมีวิธีการคือจะให้เวลากับผู้ค้าซักระยะและทางผู้บริหารและเจ้าหน้าที่จะได้ลงไปคลุกคลีไปสอบถามโดยจะอาทิตย์แรกจะให้เจ้าหน้าที่เข้าไปก่อนและอาทิตย์ต่อไปจะลงด้วยตนเอง และจะให้เวลาประมาณ 1 เดือนสำหรับการปรับปรุง รวมทั้งวางแนวทาง อุปกรณ์ และกำหนดคุณภาพมาตรฐานต่างๆ หลังจากนั้นจะมีการคุมเข้มเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ซื้อและตัวผู้ค้าก็จะมีความมั่นใจว่าได้รับการรับรองมาตรฐานจากกทม.
สำหรับมาตรฐานที่จะให้กับร้านอาหารที่ผ่านการตรวจคือดาวเขียว อย่างไรก็ตามเร็วๆนี้จะมีการปรับรูปแบบดาวเขียวให้มีความทันสมัยและสวยงามมากขึ้น สำหรับร้านค้าที่ได้ดาวเขียวไปแล้วก็จะมีการตรวจซ้ำหากไม่ผ่านมาตรฐานก็จะมีการยึดคืน รวมทั้งจะออกตรวจเป็นระยะๆโดยใช้วิธีการสุ่มตรวจ ซึ่งเขตจะต้องเป็นเจ้าภาพหลักในการตรวจ และจะได้เชิญผู้ตรวจการเข้ามาช่วยในการตรวจด้วยซึ่งวิธีการตรวจจะใช้ระบบสุ่มตรวจ ส่วนทางสำนักอนามัยจะเข้าไปสนับสนุนอุปกรณ์ วิชาการต่างๆ ทั้งนี้ในเบื้องต้นจะเป็นการสร้างความเข้าใจกับผู้ค้าทั้งหมด จากนั้นจะตรวจผู้ที่ปรุงอาหารเพื่อสร้างความมั่นใจอีกครั้ง
“ไม่อยากให้เขารู้สึกว่าเราเข้าไปจัดระเบียบหาบเร่แผงลอย เพราะจะทำให้ความร่วมมือลดน้อยลง ฉะนั้นควรจะต้องช่วยกันพัฒนาให้เป็นเมืองน่าอยู่ซึ่งน่าอยู่คือจะต้องสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย และถ้าจำหน่ายอาหารจะต้องได้สุขลักษณะ และถ้าเราไปใช้กฎหมายในการจัดระเบียบไปบังคับเขาคงต้องทะเลาะกันแน่ ทางที่ดีที่สุดคือการเปิดโอกาสให้ผู้ค้ามีส่วนร่วม ผมคิดว่าในยุคสมัยใหม่ต้องเข้าใจอยู่แล้ว” นายอภิรักษ์ กล่าว
ด้าน พ.ญ.เพ็ญศรี พิชัยสนิธ รองผู้ว่าฯ กทม. กล่าวว่า การจำหน่ายอาหารบริเวณริมบาทวิถีต้องมีการควบคุมทั้งคุณภาพและมาตรฐานอาหารที่จำหน่ายให้ผู้บริโภคได้บริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัยมากยิ่งขึ้นและในปี 2548 กทม.ได้จัดให้มีกิจกรรมเพื่อให้ประชาชนชาวกรุงเทพมหานครมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นคือการให้ทุกสำนักงานเขตกวดขันผู้ค้าตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ.2545 อย่างเคร่งครัด มีการเก็บตัวอย่างอาหารส่งตรวจ จัดบริการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกไปตรวจร่างกายให้กับผู้ค้าอาหารริมบาทวิถีในจุดผ่อนผันฟรี ตลอดจนการส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักพิทักษ์สิทธิของตนเองเมื่อพบว่าแผงค้าใดจำหน่ายอาหารไม่ถูกสุขลักษณะหรือเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคให้โทรแจ้งที่สายด่วยกทม.1555 หรือที่สำนักงานเขตทั้ง 50 แห่ง
ทั้งนี้ กทม.ได้กำหนดมาตรฐานสุขลักษณะ 10 ประการหรือมาตรฐานดาวเขียวคือ1.สวมหมวกและผ้ากันเปื้อนสีขาวสะอาด 2. รถเข็นต้องสูงอย่างน้อย 60 ซม. 3. อาหารมีการปกปิด 4.เครื่องปรุงต้องมีเครื่องหมายอย.กำกับ 5. ภาชนะที่ใส่เครื่องปรุงต้องทำด้วยแก้ว กระเบื้องเคลือบหรือแสตนเลสมีฝาปิด 6.น้ำแข็งทีใช้ดื่มไม่แช่ปะปนกะอาหารสด 7. ภาชนะที่ใส่อาหารต้องทำด้วยแก้ว กระเบื้องเคลือบ แสตนเลสหรือเมลามีนไม่ตกแต่งสี 8. ในการล้างภาชนะต้องเปลี่ยนน้ำอย่างสม่ำเสมอ 9. ช้อนส้อมต้องใส่ในภาชนะโปร่ง สะอาดและหันด้ามขึ้น 10. ถังขยะต้องมีฝาปิดไม่รั่วและต้องกำจัดขยะทุกวัน
สำหรับผู้ค้าที่ไม่ปฏิบัติตามจะมีมาตรการขั้นเด็ดขาดได้แก่การปรับสูงสุด 1หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับรายวันวันละ 5 พันบาทตามพรบ.กระทรวงสาธารณะสุข พ.ศ.2535 แต่ในเบื้องต้นนั้นกทม.จะยังไม่ใช้วิธีการจับปรับในข้างต้น
ทั้งนี้เนื่องจากต้องการขอความร่วมมือและให้ความรู้ พร้อมกำหนดระยะเวลาในการแก้ไข ซึ่งหากผู้ค้ายังไม่ปฏิบัติตามก็ต้องทำตามมาตรการที่ได้กำหนดไว้ อย่างไรก็ดี ในเดือนมกราคมนี้จะได้มีการประชุมร่วมกับบชน.เพื่อหารือถึงการจัดระเบียบหาบเร่แผงลอยที่อยู่นอกจุดผ่อนผันอีกด้วย