xs
xsm
sm
md
lg

รู้จัก “อนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดบุคคลสังหาร” ไร้บทลงโทษที่เห็นชัด แต่แรงกดดันมหาศาล

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



จากเหตุการณ์ทหารไทย 3 นายเหยียบทุ่นระเบิดบุคคลสังหาร ชนิด Type 72A บริเวณช่องบก จ.อุบลราชธานี พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ รมช.กลาโหม เตรียมประท้วงกัมพูชาต่อกรรมการอนุสัญญาออตตาวาปลายปีนี้ หลังมีข้อสงสัยว่าเป็นการละเมิดสนธิสัญญาห้ามใช้ทุ่นระเบิดบุคคลหรือไม่ แต่รู้หรือไม่ว่า "อนุสัญญาออตตาวา" ไม่มีบทลงโทษแบบที่เราคิด แต่จะถูกประณามจากทั่วโลก

จากกรณีทหารไทยเหยียบกับระเบิดที่ชายแดนไทย-กัมพูชา บริเวณช่องบก จ.อุบลราชธานี ได้รับบาดเจ็บ 3 นาย ต่อมา ทราบว่า เป็นทุ่นระเบิดชนิดสังหารบุคคล ชนิด Type 72A ระบุทหารกัมพูชาวางไว้บริเวณช่องบก เพจดังชี้เข้าข่ายละเมิดสนธิสัญญาออตตาวา ที่ห้ามใช้ระเบิดชนิดนี้ทั่วโลก แนะเก็บหลักฐานภาพถ่ายตำแหน่งที่พบ ดำเนินการกดดันทางการทูต ด้าน พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้อำนวยการศูนย์ศูนย์เฉพาะกิจบริหารสถานการณ์บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา (ศบ.ทก.) ยันไทยไม่เคยใช้ทุ่นระเบิด PMN-2 พบที่ช่องบก ประชุม ศบ.ทก.วันนี้วางแนวทางประท้วง เตรียมทำสำนวนฟ้องกัมพูชาต่อกรรมการอนุสัญญาออตตาวา ที่จะประชุมปลายปีนี้ ยังไม่ยื่นเข้า UN เพราะจะไปเกี่ยวพันกับองค์กรอื่น

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 20 ก.ค. น.ส.กัญวลัญชณ์ เอี่ยมสุพรรณ บุตรสาวของ พล.อ.ปรีชา เอี่ยมสุพรรณ หรือ ลุงเอี่ยม อดีตรองเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก โพสต์เฟซบุ๊ก เกี่ยวกับอนุสัญญาออตตาวา โดยได้ระบุข้อความว่า

“#รู้หรือไม่? อนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดบุคคลสังหาร ไม่มี "บทลงโทษ" ที่เราคิด! 

#หลายคนอาจเข้าใจว่า อนุสัญญาออตตาวา (Ottawa Treaty) หรือ อนุสัญญาว่าด้วยการห้ามใช้ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล มีกลไกการลงโทษที่รุนแรงเหมือนกฎหมายทั่วไป แต่ความจริงแล้ว อนุสัญญานี้มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างออกไป!

#แล้วถ้าประเทศไหนไม่ทำตาม จะเกิดอะไรขึ้น?

#อนุสัญญาออตตาวาไม่ได้มีมาตรการลงโทษแบบแซงก์ชันทางเศรษฐกิจหรือการใช้กำลังทหารโดยตรง แต่เน้นไปที่ "แรงกดดันทางสังคมและการเมือง" เป็นหลัก

#ถูกประณามจากทั่วโลก: ประเทศที่ไม่ปฏิบัติตามอาจถูกประณามอย่างรุนแรงจากประชาคมระหว่างประเทศ องค์กรระดับโลก เช่น สหประชาชาติ และกลุ่มภาคประชาสังคมที่รณรงค์เรื่องนี้ (อย่าง International Campaign to Ban Landmines - ICBL)

#เสียชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือ: การละเมิดข้อตกลงระหว่างประเทศย่อมส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์และความสัมพันธ์กับประเทศอื่นๆ

#ขาดความร่วมมือ: อาจส่งผลให้ไม่ได้รับการสนับสนุนหรือความร่วมมือในด้านต่างๆ เช่น การเก็บกู้ทุ่นระเบิด หรือการช่วยเหลือผู้ประสบภัย

#หัวใจสำคัญของอนุสัญญา: คือการสร้างบรรทัดฐานทางศีลธรรมและการเมืองที่แข็งแกร่ง เพื่อให้ทุกประเทศร่วมกันยุติการใช้อาวุธร้ายแรงที่สร้างความเสียหายแก่พลเรือนอย่างทุ่นระเบิดสังหารบุคคล

#อนุสัญญาออตตาวา #ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล“
กำลังโหลดความคิดเห็น