ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการซูเปอร์โพล มูลนิธิสถาบันวิจัยความสุขชุมชน เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง ปกป้องศาสนาและศรัทธาของประชาชน โดยใช้ทั้งวิธีวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ จากกลุ่มตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ จำนวน 1,143 คน กรณีความพึงพอใจต่อหน่วยงานรัฐที่มีบทบาทปกป้องศาสนาและศรัทธาของประชาชน พบว่า ตำรวจ ได้รับความพึงพอใจสูงที่สุด คือ 80.1 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งสะท้อนความศรัทธาที่ประชาชนมีต่อตำรวจในฐานะกลไกหลักของรัฐที่ลงพื้นที่ปฏิบัติการอย่างเป็นรูปธรรม
ขณะที่ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ตามมาในลำดับที่สองด้วย 72.3 เปอร์เซ็นต์ แสดงให้เห็นว่าประชาชนตระหนักถึงบทบาทเชิงโครงสร้างของหน่วยงานต่อต้านคอร์รัปชันที่เกี่ยวข้องกับวัดและเงินบริจาค คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้รับความพึงพอใจ 70.6 เปอร์เซ็นต์ บ่งชี้ว่า ประชาชนยังฝากความหวังไว้กับองค์กรอิสระที่มีหน้าที่ตรวจสอบอำนาจและความโปร่งใส สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้รับความพึงพอใจ 65.8 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากมีบทบาทสำคัญในการติดตามเส้นทางการเงินที่ผิดปกติของวัดและพระสงฆ์ และกระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งควรเป็นเสาหลักในการส่งเสริมศาสนา กลับได้รับเพียง 41.2 เปอร์เซ็นต์ สะท้อนถึงความต้องการการปรับบทบาทให้เข้มแข็งและทันสมัยมากยิ่งขึ้น
ขณะที่ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ตามมาในลำดับที่สองด้วย 72.3 เปอร์เซ็นต์ แสดงให้เห็นว่าประชาชนตระหนักถึงบทบาทเชิงโครงสร้างของหน่วยงานต่อต้านคอร์รัปชันที่เกี่ยวข้องกับวัดและเงินบริจาค คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้รับความพึงพอใจ 70.6 เปอร์เซ็นต์ บ่งชี้ว่า ประชาชนยังฝากความหวังไว้กับองค์กรอิสระที่มีหน้าที่ตรวจสอบอำนาจและความโปร่งใส สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้รับความพึงพอใจ 65.8 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากมีบทบาทสำคัญในการติดตามเส้นทางการเงินที่ผิดปกติของวัดและพระสงฆ์ และกระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งควรเป็นเสาหลักในการส่งเสริมศาสนา กลับได้รับเพียง 41.2 เปอร์เซ็นต์ สะท้อนถึงความต้องการการปรับบทบาทให้เข้มแข็งและทันสมัยมากยิ่งขึ้น