กระทรวงการคลังเตรียมออกพันธบัตรออมทรัพย์ครั้งที่ 2 อีก 20,000 ล้านบาท เปิดจองวันที่ 26 ส.ค.นี้ โดยจะให้สิทธิผู้ที่จองวงเงินต่ำสุดเป็นอันดับแรก เพื่อกระจายให้ถึงมือรายย่อยมากที่สุด ส่วนผู้ที่จองกับธนาคารพาณิชย์งวดก่อน ให้มาจองใหม่อีกครั้ง
นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กล่าวว่า กระทรวงการคลัง จะดำเนินการออกพันธบัตรออมทรัพย์ปีงบประมาณ 2547 ครั้งที่ 2 วงเงิน 20,000 ล้านบาท โดยเป็นพันธบัตรอายุ 7 ปี จ่ายผลตอบแทนด้วยอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5.1 ต่อปี และพันธบัตรอายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5.9 ต่อปี โดยจะจำหน่ายให้เฉพาะบุคคลธรรมดาทั่วไปเท่านั้น เนื่องจากนิติบุคคล หรือองค์กรด้านการกุศลต่างๆ ได้จำหน่ายให้แล้วในงวดที่ผ่านมา สำหรับการจองซื้อนั้น จะให้จองขั้นต่ำรายละ 200,000-500,000 บาท โดยธนาคารออมสินจะเป็นผู้จำหน่ายเพียงรายเดียวเท่านั้น เนื่องจากมีความใกล้ชิดกับรายย่อย
สำหรับผู้ที่สนใจจองซื้อพันธบัตรให้มารับใบจองที่ธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ และสาขาทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคมเป็นต้นไป โดยให้ยื่นความประสงค์พร้อมชำระเงินในวันที่ 30 สิงหาคม-3 กันยายน 2547 ส่วนวิธีการชำระเงินนั้น เลือกได้ 3 วิธี คือ ชำระเป็นเช็คส่วนตัว หรือแคชเชียร์เช็ค ลงวันที่ 7 กันยายน 2547 หรือชำระเป็นเงินสดในวันที่จองซื้อ หรือสามารถหักบัญชีธนาคารออมสินก็ได้ โดยจะจ่ายดอกเบี้ยในวันที่ 9 กันยายน 2547 และทุกวันที่ 9 มีนาคมของทุกปี
ส่วนประชาชนที่จองซื้อครั้งแรกแต่ไม่สามารถใช้สิทธิดังกล่าวได้ จะต้องมาจองซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ ครั้งที่ 2 ด้วยตัวเอง และจะเรียงลำดับผู้มีสิทธิจองต่ำที่สุดตั้งแต่ 20,000 บาท ให้เป็นผู้มีสิทธิเป็นอันดับแรก ถ้าหากอัตราจองเป็นสัดส่วนต่ำสุดครบวงเงิน 20,000 ล้านบาท ผู้ที่จองจำนวนมากก็จะไม่มีสิทธิได้ และถ้าหากมีการตรวจแล้วพบว่า มีบุคคลรายเดียวกันจองมากกว่าหนึ่งครั้ง หรือมีวงเงินเกิน 500,000 บาทต่อราย จะยกเลิกการจองทุกรายการ สำหรับการจองของบุคคลในครอบครัว ถึงแม้จะมีนามสกุลเดียวกันก็สามารถจองได้ เนื่องจากยึดเป็นรายบุคคล และการออกพันธบัตรในครั้งนี้ ได้ดึงสัดส่วนการออกพันธบัตรเอเชียบอนด์ 30,000 ล้านบาท มาดำเนินการออกพันธบัตรออมทรัพย์ 20,000 ล้านบาท เชื่อมั่นว่า การออกพันธบัตรเอเชียบอนด์จะไม่มีปัญหา เพราะงวดแรกน่าจะออกได้จำนวน 10,000 ล้านบาท
นางพรรณี กล่าวว่า การออกพันธบัตรในงวดที่ผ่านมา มีประชาชนสนใจจองเกินยอดจำหน่ายถึง 50,000 ล้านบาท และได้มีปัญหาการเปิดจองของธนาคารพาณิชย์ทั่วไปคือ การจัดสัดส่วนไว้ให้กับลูกค้าของธนาคาร ซึ่งไม่ได้คำนึงถึงนโยบายของกระทรวงการคลัง ที่ต้องการกระจายให้กับรายย่อย ดังนั้น การจำหน่ายครั้งนี้จึงต้องการให้รายย่อยได้รับสิทธิมากที่สุด ส่วนในปีหน้าจะออกเพิ่มได้อีก 20,000 ล้านบาท หรือไม่นั้น ต้องขึ้นอยู่กับรัฐบาล เนื่องจากรัฐบาลได้มีนโยบายจัดทำงบประมาณแบบสมดุล ซึ่งไม่สามารถทำการกู้เพิ่มเติมได้ ดังนั้น ขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่าจะให้อำนาจดำเนินการได้หรือไม่ เนื่องจากในปีหน้าจะมีพันธบัตรที่ชดเชยภาระความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินถึง 34,000 ล้านบาท ซึ่งจะครบกำหนด รวมถึงการออกพันธบัตรกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณปี 2543 ซึ่งจะครบกำหนดจำนวน 20,000 ล้านบาท ซึ่งก็ต้องขึ้นอยู่กับรัฐบาลเป็นผู้ตัดสินใจ
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานกรรมการบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกสิกรไทย กล่าวว่า ความต้องการทางเลือกในการลงทุนของประชาชนยังมีอยู่อีกเป็นจำนวนมาก ดังนั้น พันธบัตรออมทรัพย์ของรัฐบาลที่ออกมา 2 ครั้ง ในวงเงิน 90,000 ล้านบาท จึงไม่เพียงพอต่อความต้องการ และไม่สามารถดูดซับสภาพคล่องออกไปจากระบบได้มากนัก อย่างไรก็ตาม ประชาชนทั่วไปยังสามารถเลือกลงทุนในกองทุนรวมต่างๆ ที่มีเป็นจำนวนมากได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ที่รัฐบาลให้สิทธิพิเศษทางภาษีกับผู้ลงทุนด้วย ซึ่ง บลจ.กสิกรไทย ก็เตรียมจะออกกองทุน LTF อย่างน้อย 2 กองทุน เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับนักลงทุนเร็วๆ นี้
นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กล่าวว่า กระทรวงการคลัง จะดำเนินการออกพันธบัตรออมทรัพย์ปีงบประมาณ 2547 ครั้งที่ 2 วงเงิน 20,000 ล้านบาท โดยเป็นพันธบัตรอายุ 7 ปี จ่ายผลตอบแทนด้วยอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5.1 ต่อปี และพันธบัตรอายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5.9 ต่อปี โดยจะจำหน่ายให้เฉพาะบุคคลธรรมดาทั่วไปเท่านั้น เนื่องจากนิติบุคคล หรือองค์กรด้านการกุศลต่างๆ ได้จำหน่ายให้แล้วในงวดที่ผ่านมา สำหรับการจองซื้อนั้น จะให้จองขั้นต่ำรายละ 200,000-500,000 บาท โดยธนาคารออมสินจะเป็นผู้จำหน่ายเพียงรายเดียวเท่านั้น เนื่องจากมีความใกล้ชิดกับรายย่อย
สำหรับผู้ที่สนใจจองซื้อพันธบัตรให้มารับใบจองที่ธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ และสาขาทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคมเป็นต้นไป โดยให้ยื่นความประสงค์พร้อมชำระเงินในวันที่ 30 สิงหาคม-3 กันยายน 2547 ส่วนวิธีการชำระเงินนั้น เลือกได้ 3 วิธี คือ ชำระเป็นเช็คส่วนตัว หรือแคชเชียร์เช็ค ลงวันที่ 7 กันยายน 2547 หรือชำระเป็นเงินสดในวันที่จองซื้อ หรือสามารถหักบัญชีธนาคารออมสินก็ได้ โดยจะจ่ายดอกเบี้ยในวันที่ 9 กันยายน 2547 และทุกวันที่ 9 มีนาคมของทุกปี
ส่วนประชาชนที่จองซื้อครั้งแรกแต่ไม่สามารถใช้สิทธิดังกล่าวได้ จะต้องมาจองซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ ครั้งที่ 2 ด้วยตัวเอง และจะเรียงลำดับผู้มีสิทธิจองต่ำที่สุดตั้งแต่ 20,000 บาท ให้เป็นผู้มีสิทธิเป็นอันดับแรก ถ้าหากอัตราจองเป็นสัดส่วนต่ำสุดครบวงเงิน 20,000 ล้านบาท ผู้ที่จองจำนวนมากก็จะไม่มีสิทธิได้ และถ้าหากมีการตรวจแล้วพบว่า มีบุคคลรายเดียวกันจองมากกว่าหนึ่งครั้ง หรือมีวงเงินเกิน 500,000 บาทต่อราย จะยกเลิกการจองทุกรายการ สำหรับการจองของบุคคลในครอบครัว ถึงแม้จะมีนามสกุลเดียวกันก็สามารถจองได้ เนื่องจากยึดเป็นรายบุคคล และการออกพันธบัตรในครั้งนี้ ได้ดึงสัดส่วนการออกพันธบัตรเอเชียบอนด์ 30,000 ล้านบาท มาดำเนินการออกพันธบัตรออมทรัพย์ 20,000 ล้านบาท เชื่อมั่นว่า การออกพันธบัตรเอเชียบอนด์จะไม่มีปัญหา เพราะงวดแรกน่าจะออกได้จำนวน 10,000 ล้านบาท
นางพรรณี กล่าวว่า การออกพันธบัตรในงวดที่ผ่านมา มีประชาชนสนใจจองเกินยอดจำหน่ายถึง 50,000 ล้านบาท และได้มีปัญหาการเปิดจองของธนาคารพาณิชย์ทั่วไปคือ การจัดสัดส่วนไว้ให้กับลูกค้าของธนาคาร ซึ่งไม่ได้คำนึงถึงนโยบายของกระทรวงการคลัง ที่ต้องการกระจายให้กับรายย่อย ดังนั้น การจำหน่ายครั้งนี้จึงต้องการให้รายย่อยได้รับสิทธิมากที่สุด ส่วนในปีหน้าจะออกเพิ่มได้อีก 20,000 ล้านบาท หรือไม่นั้น ต้องขึ้นอยู่กับรัฐบาล เนื่องจากรัฐบาลได้มีนโยบายจัดทำงบประมาณแบบสมดุล ซึ่งไม่สามารถทำการกู้เพิ่มเติมได้ ดังนั้น ขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่าจะให้อำนาจดำเนินการได้หรือไม่ เนื่องจากในปีหน้าจะมีพันธบัตรที่ชดเชยภาระความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินถึง 34,000 ล้านบาท ซึ่งจะครบกำหนด รวมถึงการออกพันธบัตรกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณปี 2543 ซึ่งจะครบกำหนดจำนวน 20,000 ล้านบาท ซึ่งก็ต้องขึ้นอยู่กับรัฐบาลเป็นผู้ตัดสินใจ
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานกรรมการบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกสิกรไทย กล่าวว่า ความต้องการทางเลือกในการลงทุนของประชาชนยังมีอยู่อีกเป็นจำนวนมาก ดังนั้น พันธบัตรออมทรัพย์ของรัฐบาลที่ออกมา 2 ครั้ง ในวงเงิน 90,000 ล้านบาท จึงไม่เพียงพอต่อความต้องการ และไม่สามารถดูดซับสภาพคล่องออกไปจากระบบได้มากนัก อย่างไรก็ตาม ประชาชนทั่วไปยังสามารถเลือกลงทุนในกองทุนรวมต่างๆ ที่มีเป็นจำนวนมากได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ที่รัฐบาลให้สิทธิพิเศษทางภาษีกับผู้ลงทุนด้วย ซึ่ง บลจ.กสิกรไทย ก็เตรียมจะออกกองทุน LTF อย่างน้อย 2 กองทุน เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับนักลงทุนเร็วๆ นี้