ผู้จัดการรายวัน-"ไมด้า ลิสซิ่ง" เคาะราคาไอพีโอ 3 บาท จากช่วงราคา 2.80-3.10 บาท "กมล" มั่นใจหุ้นขายเกลี้ยง เตรียมเข้าเทรด 19 ส.ค. นี้ ไม่หวั่นภาวะตลาดผันผวน เพราะหุ้นพื้นฐานดี รับรองนักลงทุนยาวไม่ผิดหวัง นอกจากนั้นจัดสรรให้สถาบัน 30% ส่วนใหญ่เป็นต่างชาติ หวังทำให้ราคาหุ้นมีเสถียรภาพหลังเข้าตลาด ในขณะที่ MIDA ฟันกำไรเนื้อๆ 370 ล้านบาท เหตุต้นทุนแค่ 1.50 บาท
นางศรีพร สุทธิพงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์อินเทลวิชั่น ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินและแกนนำการจัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่ายหุ้นบริษัทไมด้า ลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทได้กำหนดราคาขายหุ้นไมด้า ลิสซิ่งที่ 3 บาทต่อหุ้นจากช่วงราคาที่กำหนดไว้ที่ 2.80-3.10 บาท โดยราคาดังกล่าวมี P/E อยู่ที่ประมาณ 12.5 เท่าในปีนี้ และจะลดลงเหลือเพียง 5-6 เท่าในปี 2548 เนื่องจากไมด้า ลิสซิ่งเป็นบริษัทที่มีผลการดำเนินงานเติบโตอย่างก้าวกระโดด ซึ่งจากการประมาณการคาดว่าในปีนี้ ไมด้า ลิสซิ่งจะมีอัตราเติบโตของกำไรสุทธิกว่า 470% เทียบกับปีก่อนที่มีกำไรสุทธิประมาณ 16 ล้านบาท
ทั้งนี้กำหนดระยะเวลาการขายหุ้นวันที่ 10-11 ส.ค. นี้และคาดว่าหุ้นจะได้เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์วันที่ 19 ส.ค. โดยเป็นการขายผ่านผู้ร่วมจัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่ายอีก 2 รายได้แก่ บล.เอเซียพลัส และบล.ซีมิโก้
นางศรีพรกล่าวต่อว่า จะจัดสรรหุ้นไมด้า ลิสซิ่งให้กับนักลงทุนสถาบันประมาณ 20-25 ล้านหุ้น จากหุ้นไอพีโอทั้งหมด 85 ล้านหุ้น หรือประมาณ 30% และที่เหลือเป็นการจัดสรรให้แก่รายย่อยโดยสถาบันส่วนใหญ่ที่ได้รับจัดสรรจะเป็นสถาบันต่างประเทศที่เป็นลูกค้าของอินเทล ซึ่งการที่จัดสรรหุ้นให้กับนักลงทุนต่างชาติจำนวนมากจะช่วยรักษาเสถียรภาพราคาหุ้นหลังจากเข้าตลาดได้ดี เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนระยะยาวจริงๆ ส่วนราคาหุ้นหลังเข้าตลาดจะเป็นอย่างไรยังไม่สามารถประเมินได้ เพราะขึ้นอยู่กับดีมานด์-ซัพพลายของนักลงทุน
ด้านนายกมล เอี้ยวศิวิกูล ประธานกรรมการบริหาร บริษัทไมด้า ลิสซิ่ง กล่าวว่า มั่นใจว่าหุ้นไมด้า ลิสซิ่งจะขายหมดภายในวันเปิดจองซื้อวันแรกคือวันนี้ (10 ส.ค.) เนื่องจากที่ผ่านมานักลงทุนให้ความสนใจค่อนข้างมากและจำนวนหุ้นไม่พอขาย ส่วนภาวะตลาดหุ้นที่ค่อนข้างผันผวนในขณะนี้บริษัทไม่มีความกังวล เนื่องจากมั่นใจว่าเป็นหุ้นที่มีพื้นฐานดี แม้ว่าการตั้งราคาที่ 3 บาท จะใกล้กับช่วงราคาสูงสุด ซึ่งบางคนอาจมองว่าแพงแต่หากเป็นนักลงทุนที่ต้องการลงทุนหุ้นพื้นฐานจะไม่ผิดหวังส่วนนักเก็งกำไรไม่แนะนำให้เล่นหุ้นไมด้า ลิสซิ่ง
ทั้งนี้ในส่วนของไมด้า แอสเซ็ท จำกัด (มหาชน) (MIDA) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 62.34% ของไมด้า ลิสซิ่งหลังจากการขายไอพีโอ จะมีกำไรที่ยังไม่ได้รับรู้จากการที่ไมด้า ลิสซิ่งเข้าตลาดประมาณ 360 ล้านบาท เนื่องจากมีต้นทุนอยู่ที่ 1.50 บาท นอกจากนั้นยังได้รับเงินปันผลจากไมด้า ลิสซิ่ง ที่จ่ายก่อนที่จะเข้าจดทะเบียนอีกประมาณ 10 ล้านบาท ดังนั้นรวมแล้ว MIDA จะมีกำไรประมาณ 370 ล้านบาท จากการนำไมด้า ลิสซิ่งเข้าตลาดหลักทรัพย์
นายธีรวัฒน์ เกียรติสมภพ กรรมการผู้จัดการ บริษัทไมด้า ลิสซิ่ง กล่าวว่า แนวโน้มรถยนต์มือสองมีอัตราเติบโตมากกว่ารถยนต์ใหม่ โดยเฉพาะในต่างจังหวัด ซึ่งธุรกิจของไมด้า ลิสซิ่งถือว่าสอดคล้องกับนโยบายขอรัฐบาลที่ต้องการกระจายรายได้ไปสู่ต่างจังหวัด ส่งผลให้กำลังซื้อมีเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ตลาดสินเชื่อเช่าซื้อรถมือ 2 นั้นมีคนทำน้อย ดังนั้นยังมีช่องทางในการขยายอีกมาก
ทั้งนี้บริษัทมีแผนที่จะเปิดสาขาเพิ่มอีกจากปัจจุบันมีอยู่ 12 สาขา โดยตั้งเป้าจะขยายสาขาเพิ่มเป็น 18 สาขาภายในปีนี้ ครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ ในส่วนของส่วนแบ่งตลาด (มาร์เก็ตแชร์) ปัจจุบันยอมรับว่ายังมีสัดส่วนน้อยมากคือประมาณ 1-2% แต่มั่นใจว่ายังมีศักยภาพในการเติบโตอีกมากในอนาคต โดยบริษัทมีเป้าหมายที่จะมีมาร์เก็ตแชร์ติด 1 ใน 3 ในเร็วๆนี้สำหรับคู่แข่งของบริษัท มีทั้งบง.ธนชาติ (NFS), บง.ทิสโก้ (TISCO), สยามพาณิชย์ลิสซิ่ง (SPL) และจีอี แคปิตอล ที่ทำธุรกิจในลักษณะเดียวกัน แต่ปัจจุบันยังไม่มีผู้ประกอบการที่สามารถเจาะลูกค้ารถยนต์มือสองได้มากนัก
นายธีรวัฒน์ กล่าวต่อว่า แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ยอมรับว่าจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการดำเนินงานของบริษัทในอนาคต โดยปัจจุบันไมด้า ลิสซิ่งมีต้นทุนดอกเบี้ยอยู่ที่ 3.7% และจะเพิ่มเป็น 3.9% ในปีหน้า อย่างไรก็ตามบริษัทสามารถคิดดอกเบี้ยเพิ่มกับลูกค้ารายใหม่ได้
นางศรีพร สุทธิพงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์อินเทลวิชั่น ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินและแกนนำการจัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่ายหุ้นบริษัทไมด้า ลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทได้กำหนดราคาขายหุ้นไมด้า ลิสซิ่งที่ 3 บาทต่อหุ้นจากช่วงราคาที่กำหนดไว้ที่ 2.80-3.10 บาท โดยราคาดังกล่าวมี P/E อยู่ที่ประมาณ 12.5 เท่าในปีนี้ และจะลดลงเหลือเพียง 5-6 เท่าในปี 2548 เนื่องจากไมด้า ลิสซิ่งเป็นบริษัทที่มีผลการดำเนินงานเติบโตอย่างก้าวกระโดด ซึ่งจากการประมาณการคาดว่าในปีนี้ ไมด้า ลิสซิ่งจะมีอัตราเติบโตของกำไรสุทธิกว่า 470% เทียบกับปีก่อนที่มีกำไรสุทธิประมาณ 16 ล้านบาท
ทั้งนี้กำหนดระยะเวลาการขายหุ้นวันที่ 10-11 ส.ค. นี้และคาดว่าหุ้นจะได้เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์วันที่ 19 ส.ค. โดยเป็นการขายผ่านผู้ร่วมจัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่ายอีก 2 รายได้แก่ บล.เอเซียพลัส และบล.ซีมิโก้
นางศรีพรกล่าวต่อว่า จะจัดสรรหุ้นไมด้า ลิสซิ่งให้กับนักลงทุนสถาบันประมาณ 20-25 ล้านหุ้น จากหุ้นไอพีโอทั้งหมด 85 ล้านหุ้น หรือประมาณ 30% และที่เหลือเป็นการจัดสรรให้แก่รายย่อยโดยสถาบันส่วนใหญ่ที่ได้รับจัดสรรจะเป็นสถาบันต่างประเทศที่เป็นลูกค้าของอินเทล ซึ่งการที่จัดสรรหุ้นให้กับนักลงทุนต่างชาติจำนวนมากจะช่วยรักษาเสถียรภาพราคาหุ้นหลังจากเข้าตลาดได้ดี เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนระยะยาวจริงๆ ส่วนราคาหุ้นหลังเข้าตลาดจะเป็นอย่างไรยังไม่สามารถประเมินได้ เพราะขึ้นอยู่กับดีมานด์-ซัพพลายของนักลงทุน
ด้านนายกมล เอี้ยวศิวิกูล ประธานกรรมการบริหาร บริษัทไมด้า ลิสซิ่ง กล่าวว่า มั่นใจว่าหุ้นไมด้า ลิสซิ่งจะขายหมดภายในวันเปิดจองซื้อวันแรกคือวันนี้ (10 ส.ค.) เนื่องจากที่ผ่านมานักลงทุนให้ความสนใจค่อนข้างมากและจำนวนหุ้นไม่พอขาย ส่วนภาวะตลาดหุ้นที่ค่อนข้างผันผวนในขณะนี้บริษัทไม่มีความกังวล เนื่องจากมั่นใจว่าเป็นหุ้นที่มีพื้นฐานดี แม้ว่าการตั้งราคาที่ 3 บาท จะใกล้กับช่วงราคาสูงสุด ซึ่งบางคนอาจมองว่าแพงแต่หากเป็นนักลงทุนที่ต้องการลงทุนหุ้นพื้นฐานจะไม่ผิดหวังส่วนนักเก็งกำไรไม่แนะนำให้เล่นหุ้นไมด้า ลิสซิ่ง
ทั้งนี้ในส่วนของไมด้า แอสเซ็ท จำกัด (มหาชน) (MIDA) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 62.34% ของไมด้า ลิสซิ่งหลังจากการขายไอพีโอ จะมีกำไรที่ยังไม่ได้รับรู้จากการที่ไมด้า ลิสซิ่งเข้าตลาดประมาณ 360 ล้านบาท เนื่องจากมีต้นทุนอยู่ที่ 1.50 บาท นอกจากนั้นยังได้รับเงินปันผลจากไมด้า ลิสซิ่ง ที่จ่ายก่อนที่จะเข้าจดทะเบียนอีกประมาณ 10 ล้านบาท ดังนั้นรวมแล้ว MIDA จะมีกำไรประมาณ 370 ล้านบาท จากการนำไมด้า ลิสซิ่งเข้าตลาดหลักทรัพย์
นายธีรวัฒน์ เกียรติสมภพ กรรมการผู้จัดการ บริษัทไมด้า ลิสซิ่ง กล่าวว่า แนวโน้มรถยนต์มือสองมีอัตราเติบโตมากกว่ารถยนต์ใหม่ โดยเฉพาะในต่างจังหวัด ซึ่งธุรกิจของไมด้า ลิสซิ่งถือว่าสอดคล้องกับนโยบายขอรัฐบาลที่ต้องการกระจายรายได้ไปสู่ต่างจังหวัด ส่งผลให้กำลังซื้อมีเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ตลาดสินเชื่อเช่าซื้อรถมือ 2 นั้นมีคนทำน้อย ดังนั้นยังมีช่องทางในการขยายอีกมาก
ทั้งนี้บริษัทมีแผนที่จะเปิดสาขาเพิ่มอีกจากปัจจุบันมีอยู่ 12 สาขา โดยตั้งเป้าจะขยายสาขาเพิ่มเป็น 18 สาขาภายในปีนี้ ครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ ในส่วนของส่วนแบ่งตลาด (มาร์เก็ตแชร์) ปัจจุบันยอมรับว่ายังมีสัดส่วนน้อยมากคือประมาณ 1-2% แต่มั่นใจว่ายังมีศักยภาพในการเติบโตอีกมากในอนาคต โดยบริษัทมีเป้าหมายที่จะมีมาร์เก็ตแชร์ติด 1 ใน 3 ในเร็วๆนี้สำหรับคู่แข่งของบริษัท มีทั้งบง.ธนชาติ (NFS), บง.ทิสโก้ (TISCO), สยามพาณิชย์ลิสซิ่ง (SPL) และจีอี แคปิตอล ที่ทำธุรกิจในลักษณะเดียวกัน แต่ปัจจุบันยังไม่มีผู้ประกอบการที่สามารถเจาะลูกค้ารถยนต์มือสองได้มากนัก
นายธีรวัฒน์ กล่าวต่อว่า แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ยอมรับว่าจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการดำเนินงานของบริษัทในอนาคต โดยปัจจุบันไมด้า ลิสซิ่งมีต้นทุนดอกเบี้ยอยู่ที่ 3.7% และจะเพิ่มเป็น 3.9% ในปีหน้า อย่างไรก็ตามบริษัทสามารถคิดดอกเบี้ยเพิ่มกับลูกค้ารายใหม่ได้