วานนี้ (4 พ.ค.) ที่ห้อง 804 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก กรุงเทพฯ ผู้พิพากษาออกนั่งบัลลังก์สืบพยานจำเลยครั้งแรก ในคดีหมายเลขดำที่ 2153/2547 ที่พนักงานอัยการกองคดีอาญา 3 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายอิลยาซ หรือ อิลยาช มะลี อายุ 42 ปี, นายมะเพาซี สะเตง อายุ 30 ปี และนายยา อะแด อายุ 58 ปี เป็นจำเลยที่ 1 – 3 ตามลำดับ ในความผิดฐานร่วมกันเป็นอั้งยี่ ซ่องโจร และสมคบเป็นกบฎ
นายอิลยาซ จำเลยที่ 1 ให้การสรุปใจความว่า ก่อนการถูกจับกุมตนอาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่ 93 ม.2 ต.ลำใหม่ อ.เมือง จ.ยะลา มีอาชีพขายอาหารอยู่ที่โรงเรียนพัฒนาอิสลามยะลา และเป็นโต๊ะอีหม่ามประจำมัสยิดญะลาตุลมัควา บ้านทุ่งคา ต.ลำใหม่ จ.ยะลา โดยได้รับการแต่งตั้งเมื่อปี 2538 นอกจากนี้ยังทำหน้าที่สอนหลักคำสอนศาสนาอิสลามในทุกวันอังคาร พฤหัส เสาร์ และอาทิตย์ โดยไม่มีค่าจ้าง นอกจากนี้ยังร่วมงานพัฒนาสังคมกับทางอำเภอและจังหวัดมาโดยตลอด โดยกิจกรรมที่สำคัญคือการจัดอบรมเพื่อการต่อต้านยาเสพติดในหมู่บ้าน ซึ่งพบว่ามีการแพร่ระบาดของกัญชา ยาแก้ไอ และยาบ้า
นายอิลยาซ ยังให้การว่า ในหมู่บ้านของพยานผู้มีอิทธิพลซึ่งเป็นพยานของฝ่ายโจทก์คนหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รับรู้ของคนทั้งหมู่บ้านว่าเป็นผู้เสพและค้ายาเสพติดคนสำคัญ อย่างไรก็ตามที่ผ่านมายังไม่มีการแจ้งความต่อทางการเนื่องจากเกรงกลัวอิทธิพล นอกจากนี้ยังกระทำการเรียกค่าคุ้มครองจากคนนอกที่มาแต่งงานอาศัยอยู่ในหมู่บ้าน โดยพยานเชื่อว่าเหตุที่พยานฝ่ายโจทก์คนดังกล่าวให้การว่าพยานเป็นสมาชิกขบวนการแบ่งแยกดินแดนเนื่องจากไม่พอใจที่ตนในฐานะโต๊ะอีหม่ามรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด
นอกจากนี้ นายอิลยาซ ยังให้การว่าการเข้าจับกุมตนในวันที่ 8 เม.ย.2547 นั้นเป็นไปโดยไม่ได้แสดงหมายจับ โดยได้แสดงภายหลังที่ สภ.ต.ลำใหม่โดยแจ้งข้อหาอั้งยี่ ซ่องโจร และกบฏ และถูกนำตัวขึ้นกรุงเทพฯเพื่อสอบปากคำเพิ่มเติมที่กองบังคับการตำรวจสันติบาล พร้อมกับจำเลยที่ 2 และ 3 ในวันเดียวกัน
นายอิลยาซ ให้การต่ออีกว่า ในระหว่างการสอบปากคำนั้นได้ถูกทรมานโดยเจ้าหน้าที่ที่ตนไม่รู้จักด้วยการกระทืบที่หลังประมาณ 20 นาที พร้อมทั้งเอาบุหรี่จี้ที่ท้อง ให้รับสารภาพ แต่ตนยืนยันที่จะปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา จนกระทั่งในวันที่ 29 เม.ย.2547 ทางเจ้าหน้าที่ได้เบิกตัวให้ไปเซ็นเอกสารซึ่งตนไม่ได้อ่านเอกสารทั้งหมดแต่ก็เซ็นไปเนื่องจากเข้าใจว่าเป็นการยืนยันที่จะปฏิเสธข้อกล่าวหาและต้องการต่อสู้ในชั้นศาล
ด้านนายมะเพาซี จำเลยที่ 2 ให้การในฐานะพยานจำเลยสรุปใจความได้ว่าตนอยู่บ้านเลขที่ 95 ม. 2 ต.ลำใหม่ เป็นสัปบุรุษของมัสยิดที่มีจำเลยที่ 1 เป็นโต๊ะอีหม่าม มีอาชีพซ่อมรถจักรยานยนต์และรับซื้อเศษยางพารา ไม่เคยรู้จักกับขบวนการแบ่งแยกดินแดนใดๆ ไม่ว่าจะเป็นบีอาร์เอ็น หรือ เบอร์ซาตู และปฏิเสธว่าไม่เคยไปประชุมร่วมก่อการที่บ้านมะนาเซ็ง ไม่เคยฝึกยิงปืน และไม่เคยขุดกระสุนปืนตามที่พยานฝ่ายโจทก์เบิกความไว้
นายมะเพาซี ยังให้การอีกว่าในระหว่างการสอบปากคำที่กองกำกับการตำรวจสันติบาล ตนถูกสวมหมวกไหมพรม ใส่กุญแจมือไขว้หลัง และถูกซ้อมโดยการกระทืบที่หลังประมาณ 4 – 5 ครั้งอีกด้วย
ด้านนายยา อะแด จำเลยที่ 3 ซึ่งพูดเพียงภาษามลายูได้ โดยพูดเขียนภาษาไทยไม่ได้เลย ได้ให้การในฐานะพยานจำเลยผ่านล่าม โดยสรุปใจความได้ว่า ตนอยู่บ้านเลขที่ 86 ม.2 ต.ลำใหม่ อ.เมือง จ.ยะลา มีอาชีพเลี้ยงวัว 5 ตัว และรับจ้างกรีดยาง มีรายได้ประมาณ 100 บาทต่อวัน มีบุตรธิดาจำนวน 7 คน โดยหนึ่งในนั้นคือนายบือราเฮง อะแด เคยช่วยงานของพยานโจทก์คนดังกล่าว กระทำการค้ายาเสพติดในหมู่บ้าน ในฐานะพ่อจึงตักเตือนและพยายามให้ลูกชายของตนถอยห่างจากการค้ายาเสพติด จึงทำให้พยานฝ่ายโจทก์คนดังกล่าวไม่พอใจ จนอาจเป็นเหตุในการให้การว่าตนเกี่ยวข้องกับขบวนการแบ่งแยกดินแดน
อย่างไรก็ตาม นายยา ได้ให้การปฏิเสธในข้อหาอั้งยี่ ซ่องโจร และกบฏ ในชั้นสอบสวน และให้การต่อศาลว่าในระหว่างการสอบสวนนั้นพนักงานสอบสวนถามตนว่าต้องการเอาปัตตานีหรือไม่ตนได้ตอบปฏิเสธไป นอกจากนี้ในระหว่างการสอบสวนตนยังได้ถูกตบหน้า 1 ครั้งด้วย
คดีดังกล่าวเกิดจากการเข้าจับกุมผู้ต้องหา 3 ราย ซึ่งต่อมาเป็นตกเป็นจำเลยในคดีนี้ โดยตำรวจจากกองปราบปราม นำโดย พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ รอง ผบ.ตร. เมื่อวันที่ 8 เม.ย.2547 ภายหลังเกิดเหตุปล้นระเบิดไดนาไมต์ที่โรงโม่หินมนูนิตยาเมื่อวันที่ 31 มี.ค.2547 และอัยการฝ่ายคดีอาญา 3 ได้ฟ้องต่อศาลในวันที่ 2 ก.ค.2547
ทั้งนี้ ในสำนวนฟ้องระบุว่าจำเลยทั้งสามและพวกอีกหลายคนที่ยังไม่ได้ตัวมาฟ้องได้บังอาจร่วมกันกระทำการเป็นอั้งยี่ โดยเข้าเป็นสมาชิกของขบวนการก่อการร้ายเบอร์ซาตู อันเป็นคณะบุคคลที่ปกปิดวิธีดำเนินการเพื่อมุ่งแบ่งแยกดินแดนซึ่งประกอบด้วย จ.ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และ อ.สะเดา อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา ไปตั้งรัฐอิสระ เรียกว่า รัฐปัตตานี หรือรัฐปัตตานีดารุลสลาม โดยมีจำเลยที่ 1 เป็นหัวหน้าอั้งยี่ อันมีระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต และจำคุกอย่างสูงตั้งแต่สิบปีขึ้นไป นอกจากนี้จำเลยที่ 2 ได้บังอาจพกพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและไม่มีเหตุผลสมควร
อย่างไรก็ตาม ในการนัดสืบพยานนัดต่อไปของคดีนี้ จะดำเนินการที่ศาลจังหวัดยะลา ในวันที่ 18 ก.ค.2548 โดยจะทำการสืบพยานจำเลยอีก 9 ปาก
นายอิลยาซ จำเลยที่ 1 ให้การสรุปใจความว่า ก่อนการถูกจับกุมตนอาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่ 93 ม.2 ต.ลำใหม่ อ.เมือง จ.ยะลา มีอาชีพขายอาหารอยู่ที่โรงเรียนพัฒนาอิสลามยะลา และเป็นโต๊ะอีหม่ามประจำมัสยิดญะลาตุลมัควา บ้านทุ่งคา ต.ลำใหม่ จ.ยะลา โดยได้รับการแต่งตั้งเมื่อปี 2538 นอกจากนี้ยังทำหน้าที่สอนหลักคำสอนศาสนาอิสลามในทุกวันอังคาร พฤหัส เสาร์ และอาทิตย์ โดยไม่มีค่าจ้าง นอกจากนี้ยังร่วมงานพัฒนาสังคมกับทางอำเภอและจังหวัดมาโดยตลอด โดยกิจกรรมที่สำคัญคือการจัดอบรมเพื่อการต่อต้านยาเสพติดในหมู่บ้าน ซึ่งพบว่ามีการแพร่ระบาดของกัญชา ยาแก้ไอ และยาบ้า
นายอิลยาซ ยังให้การว่า ในหมู่บ้านของพยานผู้มีอิทธิพลซึ่งเป็นพยานของฝ่ายโจทก์คนหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รับรู้ของคนทั้งหมู่บ้านว่าเป็นผู้เสพและค้ายาเสพติดคนสำคัญ อย่างไรก็ตามที่ผ่านมายังไม่มีการแจ้งความต่อทางการเนื่องจากเกรงกลัวอิทธิพล นอกจากนี้ยังกระทำการเรียกค่าคุ้มครองจากคนนอกที่มาแต่งงานอาศัยอยู่ในหมู่บ้าน โดยพยานเชื่อว่าเหตุที่พยานฝ่ายโจทก์คนดังกล่าวให้การว่าพยานเป็นสมาชิกขบวนการแบ่งแยกดินแดนเนื่องจากไม่พอใจที่ตนในฐานะโต๊ะอีหม่ามรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด
นอกจากนี้ นายอิลยาซ ยังให้การว่าการเข้าจับกุมตนในวันที่ 8 เม.ย.2547 นั้นเป็นไปโดยไม่ได้แสดงหมายจับ โดยได้แสดงภายหลังที่ สภ.ต.ลำใหม่โดยแจ้งข้อหาอั้งยี่ ซ่องโจร และกบฏ และถูกนำตัวขึ้นกรุงเทพฯเพื่อสอบปากคำเพิ่มเติมที่กองบังคับการตำรวจสันติบาล พร้อมกับจำเลยที่ 2 และ 3 ในวันเดียวกัน
นายอิลยาซ ให้การต่ออีกว่า ในระหว่างการสอบปากคำนั้นได้ถูกทรมานโดยเจ้าหน้าที่ที่ตนไม่รู้จักด้วยการกระทืบที่หลังประมาณ 20 นาที พร้อมทั้งเอาบุหรี่จี้ที่ท้อง ให้รับสารภาพ แต่ตนยืนยันที่จะปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา จนกระทั่งในวันที่ 29 เม.ย.2547 ทางเจ้าหน้าที่ได้เบิกตัวให้ไปเซ็นเอกสารซึ่งตนไม่ได้อ่านเอกสารทั้งหมดแต่ก็เซ็นไปเนื่องจากเข้าใจว่าเป็นการยืนยันที่จะปฏิเสธข้อกล่าวหาและต้องการต่อสู้ในชั้นศาล
ด้านนายมะเพาซี จำเลยที่ 2 ให้การในฐานะพยานจำเลยสรุปใจความได้ว่าตนอยู่บ้านเลขที่ 95 ม. 2 ต.ลำใหม่ เป็นสัปบุรุษของมัสยิดที่มีจำเลยที่ 1 เป็นโต๊ะอีหม่าม มีอาชีพซ่อมรถจักรยานยนต์และรับซื้อเศษยางพารา ไม่เคยรู้จักกับขบวนการแบ่งแยกดินแดนใดๆ ไม่ว่าจะเป็นบีอาร์เอ็น หรือ เบอร์ซาตู และปฏิเสธว่าไม่เคยไปประชุมร่วมก่อการที่บ้านมะนาเซ็ง ไม่เคยฝึกยิงปืน และไม่เคยขุดกระสุนปืนตามที่พยานฝ่ายโจทก์เบิกความไว้
นายมะเพาซี ยังให้การอีกว่าในระหว่างการสอบปากคำที่กองกำกับการตำรวจสันติบาล ตนถูกสวมหมวกไหมพรม ใส่กุญแจมือไขว้หลัง และถูกซ้อมโดยการกระทืบที่หลังประมาณ 4 – 5 ครั้งอีกด้วย
ด้านนายยา อะแด จำเลยที่ 3 ซึ่งพูดเพียงภาษามลายูได้ โดยพูดเขียนภาษาไทยไม่ได้เลย ได้ให้การในฐานะพยานจำเลยผ่านล่าม โดยสรุปใจความได้ว่า ตนอยู่บ้านเลขที่ 86 ม.2 ต.ลำใหม่ อ.เมือง จ.ยะลา มีอาชีพเลี้ยงวัว 5 ตัว และรับจ้างกรีดยาง มีรายได้ประมาณ 100 บาทต่อวัน มีบุตรธิดาจำนวน 7 คน โดยหนึ่งในนั้นคือนายบือราเฮง อะแด เคยช่วยงานของพยานโจทก์คนดังกล่าว กระทำการค้ายาเสพติดในหมู่บ้าน ในฐานะพ่อจึงตักเตือนและพยายามให้ลูกชายของตนถอยห่างจากการค้ายาเสพติด จึงทำให้พยานฝ่ายโจทก์คนดังกล่าวไม่พอใจ จนอาจเป็นเหตุในการให้การว่าตนเกี่ยวข้องกับขบวนการแบ่งแยกดินแดน
อย่างไรก็ตาม นายยา ได้ให้การปฏิเสธในข้อหาอั้งยี่ ซ่องโจร และกบฏ ในชั้นสอบสวน และให้การต่อศาลว่าในระหว่างการสอบสวนนั้นพนักงานสอบสวนถามตนว่าต้องการเอาปัตตานีหรือไม่ตนได้ตอบปฏิเสธไป นอกจากนี้ในระหว่างการสอบสวนตนยังได้ถูกตบหน้า 1 ครั้งด้วย
คดีดังกล่าวเกิดจากการเข้าจับกุมผู้ต้องหา 3 ราย ซึ่งต่อมาเป็นตกเป็นจำเลยในคดีนี้ โดยตำรวจจากกองปราบปราม นำโดย พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ รอง ผบ.ตร. เมื่อวันที่ 8 เม.ย.2547 ภายหลังเกิดเหตุปล้นระเบิดไดนาไมต์ที่โรงโม่หินมนูนิตยาเมื่อวันที่ 31 มี.ค.2547 และอัยการฝ่ายคดีอาญา 3 ได้ฟ้องต่อศาลในวันที่ 2 ก.ค.2547
ทั้งนี้ ในสำนวนฟ้องระบุว่าจำเลยทั้งสามและพวกอีกหลายคนที่ยังไม่ได้ตัวมาฟ้องได้บังอาจร่วมกันกระทำการเป็นอั้งยี่ โดยเข้าเป็นสมาชิกของขบวนการก่อการร้ายเบอร์ซาตู อันเป็นคณะบุคคลที่ปกปิดวิธีดำเนินการเพื่อมุ่งแบ่งแยกดินแดนซึ่งประกอบด้วย จ.ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และ อ.สะเดา อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา ไปตั้งรัฐอิสระ เรียกว่า รัฐปัตตานี หรือรัฐปัตตานีดารุลสลาม โดยมีจำเลยที่ 1 เป็นหัวหน้าอั้งยี่ อันมีระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต และจำคุกอย่างสูงตั้งแต่สิบปีขึ้นไป นอกจากนี้จำเลยที่ 2 ได้บังอาจพกพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและไม่มีเหตุผลสมควร
อย่างไรก็ตาม ในการนัดสืบพยานนัดต่อไปของคดีนี้ จะดำเนินการที่ศาลจังหวัดยะลา ในวันที่ 18 ก.ค.2548 โดยจะทำการสืบพยานจำเลยอีก 9 ปาก