ผู้จัดการรายวัน – คณะกก.จัดการหนี้เกษตรกรหวั่นอิทธิพลการเมืองแทรกแซงบวกกับปัญหาความไม่เป็นมืออาชีพของกองทุนฟื้นฟูฯ จะทำให้การเข้าซื้อหนี้ของกองทุนเกิดปัญหา ด้านแกนนำเครือข่ายหนี้สินชาวนาฯ และองค์กรเกษตรกร มองเป็นก้าวแรกในชัยชนะร่วมกันของรัฐฯและเกษตรกร ยอมรับเป็นการจ่ายมัดจำล่วงหน้าก่อนศึกเลือกตั้งแต่ถือว่าแลกเปลี่ยนผลประโยชน์สุดคุ้ม เผยตามกม.รัฐต้องเข้ามาจัดการโอนหนี้เกษตรในระบบกว่า 5 แสนล้านบาทเข้ากองทุน ด้านธ.ก.ส.ยอมรับแบกหนี้ก้อนโตถึง 1.4 หมื่นล้าน จากเอ็มโอยูลอตแรก 2.5 หมื่นล้าน
กรรมการหนึ่งในคณะกรรมการบริหารจัดการหนี้เกษตรกร กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เปิดเผยว่า การลงนามบันทึกความร่วมมือการจัดการหนี้สมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ ระหว่างกองทุนฯ สมาคมธนาคารไทย และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) ที่เกิดขึ้น นับเป็นการเข้ามาบริหารจัดการหนี้สินของเกษตรกรลอตแรก ซึ่งจะเป็นโมเดลที่รัฐบาลจะใช้บริหารจัดการหนี้เกษตรกร และจากนี้สมาชิกกองทุนที่มีอยู่ในขณะนี้ 6 ล้านคน มูลหนี้ในระบบ ประมาณ 5 แสนล้านบาท จะทยอยเข้าสู่ระบบการจัดการหนี้ในลักษณะเดียวกัน ซึ่งเป็นไปตามกม.ฟื้นฟูเกษตรฯ 2544 ที่ให้โอนหนี้ในสถาบันการเงินต่างๆ มาอยู่ที่กองทุนฟื้นฟูฯ โดยคิดดอกเบี้ย 1%
บันทึกความร่วมมือฯ หรือเอ็มโอยู ข้างต้นมีขึ้นเมื่อวันที่ 8 พ.ย.ที่ผ่านมา โดยมีหลักการสำคัญคือ กองทุนจะรับโอนหนี้ภาคเกษตร มูลค่า 2.5 หมื่นล้านบาทไม่รวมดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจากธนาคารพาณิชย์ 8 แห่งและธ.ก.ส. โดยเบื้องต้น กองทุนจะรับซื้อหนี้ไม่เกิน 90% ของวงเงินต้น ส่วนดอกเบี้ยให้เจรจาให้ธนาคารตัดเป็นหนี้สูญ ส่วนหนี้ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ถือเป็นหนี้มีความเสี่ยงสูง จะรับซื้อประมาณ 50% ของวงเงินต้น ส่วนดอกเบี้ยจะขอตัดหนี้สูญเช่นกัน ทั้งนี้จะพิจารณาหนี้สินที่อยู่ระหว่างการฟ้องร้องเพื่อยึดทรัพย์ หรือทรัพย์สินขายทอดตลาดเป็นอันดับแรก
ตัวเลขสัดส่วนหนี้ 2.5 หมื่นล้านบาทข้างต้น มีมูลหนี้ของ ธ.ก.ส. จำนวน 14,905 ล้านบาท จากเกษตรกรขึ้นทะเบียนหนี้ ธ.ก.ส. จำนวน 201,788 ราย ส่วนสถาบันการเงินอื่นๆ ประมาณ 10% หรือ 2,500 ล้านบาท ที่เหลือเป็นหนี้สหกรณ์การเกษตร และจากการตรวจสอบหนี้เร่งด่วนเบื้องต้นของธ.ก.ส.ในลอตแรก 700 ราย มีมูลหนี้ 299 ล้านบาท จากรายชื่อที่คัดกรองแล้วเหลือ 383 ราย
หวั่นเดี้ยงเพราะการเมืองแทรก
กรรมการบริหารจัดการหนี้ กล่าวว่า เรื่องสำคัญที่น่าห่วงกังวลนอกเหนือไปจากคำถามที่ว่ารัฐบาลจะเอาเงินมาจากไหน ก็คือ เมื่อการโอนหนี้มหาศาลมายังกองทุนฯ จะมีวิธีการบริหารอย่างไรถึงจะไม่ให้ขาดทุน เพราะปัญหาใหญ่ของกองทุนคือ มีอิทธิพลการเมืองเข้าครอบงำ ไม่มีความเป็นอิสระ ทำให้การบริหารจัดการไม่ลงตัว มีการทะเลาะเบาะแว้งกันไม่สิ้นสุด ที่สำคัญคือ ขาดประสบการณ์ และปัญหาบุคลากรที่ไม่มีมืออาชีพ
“ระดับนโยบายไม่ค่อยมั่นคง การเมืองไม่นิ่งโดยเฉพาะระดับกระทรวง เปลี่ยนรัฐมนตรีทีนโยบายก็เปลี่ยน ต้องนับหนึ่งใหม่เรื่อย ทำให้คนทำงานมีปัญหา” เขาให้ความเห็น
อย่างไรก็ตาม ในแง่หลักการแล้ว กรรมการบริหารจัดการหนี้ มองว่า เป็นเรื่องจำเป็นที่รัฐบาลต้องให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูทุกภาคส่วน ถึงแม้จะถูกมองว่าจะทำให้มีปัญหาด้านวินัยทางการเงิน ความจริงแล้วหนี้สินของภาคเกษตรเป็นปัญหาของระบบและโครงสร้างที่แบบแผนการผลิตถูกครอบงำและพึ่งพามากขึ้นเรื่อยๆ แทนที่จะทำให้เกษตรกรเป็นอิสระ ช่วยเหลือตัวเองได้ เรื่องนี้ต้องมองย้อนไปที่รากเหง้าปัญหาที่เกิดขึ้นและต้องแก้ที่ต้นเหตุควบคู่กันไปด้วย
สำหรับแนวทางการออกบอนด์หรือพันธบัตรเพื่อระดมทุนนั้น เขามองว่า หากเป็นพันธบัตรระดมเงินในประเทศก็มีทางเป็นไปได้ แต่หากเป็นบอนด์ต่างประเทศ ก็ต้องกลับมาดูเงื่อนไขเรื่องเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศที่ยังมีปัญหา เช่น 3 ชายแดนภาคใต้ที่ยังแก้ไม่ตก
ทางด้านนายนคร ศรีวิพัฒน์ รองประธานคณะกรรมการจัดการหนี้เกษตรกร กองทุนฟื้นฟูฯ กล่าวว่า กองทุนจัดเตรียมเรื่องดังกล่าวมากว่า 2 ปีแล้ว โดยให้เกษตรกรทยอยขึ้นทะเบียนสมาชิกกองทุนฯ ซึ่งมีสำนักงานสาขาทั่วประเทศ 13 แห่ง แต่เหตุที่มีผู้เข้าร่วมน้อยเพียง 1.9 แสนคน จากสมาชิกร่วม 6 ล้านคน เพราะส่วนหนึ่งเชื่อว่าขึ้นทะเบียนคนจนกับรัฐบาลจะได้รับการแก้ไขปัญหาเร็วกว่า แต่เมื่อมีการลงนามเอ็มโอยูถือว่าเป็นเรื่องที่ดี และเกษตรกรคงหันมาเข้าเป็นสมาชิกกองทุน เพื่อเข้ารับการช่วยเหลือมากขึ้น
มัดจำ แลกผลประโยชน์สุดคุ้ม
ทางด้านแกนนำเครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า บันทึกข้อตกลงที่เกิดขึ้นอาจถูกมองว่าเป็นม็อบเชียร์ที่รัฐบาลจ่ายมัดจำล่วงหน้าก่อนการเลือกตั้ง แต่ถ้ามองในมุมของเกษตรกรแล้วถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ที่สุดคุ้ม ซึ่งเรื่องนี้รัฐบาลต้องจัดการให้เห็นผลสำเร็จเป็นรูปธรรมก่อนการเลือกตั้งใหญ่ในเดือนก.พ.ปีหน้า จะเกิดขึ้น เพราะถ้ารับปากแล้วไม่ดำเนินใดๆ ก็คงส่งผลต่อคะแนนเสียง
นอกจากนั้น เครือข่ายฯ ยังได้ส่งคนชิงเก้าอี้กรรมการบริหารกองทุน ที่จะเลือกตั้งในวันที่ 21 พ.ย.นี้ รวม 11 คน จากจำนวนกรรมการที่ต้องเลือกทั้งหมด 20 คน เพื่อเข้าไปผลักดันและติดตามตรวจสอบอีกด้วย
“ไม่รู้ใครขุดหลุมพรางใคร แต่การที่นายกฯ ลงนามในเอ็มโอยูโดยมีพี่น้องเกษตรกรเป็นสักขีพยานนับหมื่น ถือเป็นการนำร่อง เพราะยังมีเกษตรกรที่เป็นสมาชิกที่ต้องได้รับการแก้ไขในลักษณะเดียวกันนี้ถึง 6 ล้านคน” แกนนำเครือข่ายฯ กล่าว
ส่วนเรื่องงบที่จะต้องจัดสรรมาดำเนินการนั้น แกนนำเครือข่ายฯ กล่าวว่า เป็นเรื่องของรัฐบาลที่จะไปจัดหามา และขอร้องต่อสังคมอย่ามองว่าจะเสียวินัยทางการเงิน เพราะที่ผ่านมารัฐบาลอุ้มคนรวยล้มบนฟูกไม่กี่คน ด้วยกองทุนฟื้นฟูสถาบันการเงิน ถึง 2 ล้านล้านบาท ส่วนหนี้สินเกษตรกรเพียง 5 แสนล้านบาทแต่สามารถช่วยเหลือเกษตรกรทั้งประเทศกว่า 38 ล้านคน ที่สำคัญหนี้ก้อนนี้ไม่ได้สูญไปเพียงแต่ถูกโอนมาที่กองทุนและได้ดอกเบี้ยต่ำลงเท่านั้น
ด้านนายบำรุง คะโยธา ตัวแทนเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก เห็นว่า ม็อบเครือข่ายหนี้สินชาวนาฯ เป็นม็อบเชียร์รัฐบาลซึ่งมาตามที่นัดกันไว้แล้ว
ขณะที่ นายวีรพล โสภา หนึ่งในบุคคลที่ได้รับการสนับสนุนจากเครือข่ายหนี้สินชาวนาฯ และสมัชชาเกษตรกรรายย่อยภาคอีสาน ให้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นกรรมบริหารกองทุนฟื้นฟู กล่าวว่า หนี้เร่งด่วนที่ถูกทวงถาม ขายทอดตลาดที่กองทุนจะเข้าไปรับซื้อลอตแรก มีจำนวน 14,000 ราย มูลหนี้ 700 ล้านบาท ซึ่งเรื่องนี้ถือว่าแลกกันระหว่างรัฐบาลที่ต้องการคะแนนเสียงกับเกษตรกรที่ต้องการแก้ปัญหาหนี้ นับว่าเป็นเรื่องที่ดีเพราะที่ผ่านมากองทุนฯ ที่ก่อตั้งมาร่วม 5 ปีแล้วเดินหน้าไม่ได้เลย
“นี่แค่ก๊อกแรก ต้องรอดูก๊อกสองคือรูปธรรมที่จะเกิดขึ้น และรอสรุปตัวเลขสิ้นปีว่าจะมีเกษตรกรเข้าร่วมมากน้อยเพียงใด” นายวีรพล กล่าว
เขาให้ข้อมูลว่า ที่ผ่านมาช่วงนายสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็นรมว.กระทรวงเกษตรฯ เคยประสบความสำเร็จในการดำเนินการในลักษณะนี้มาแล้วโดยกองทุนเข้าไปซื้อหนี้เกษตรกร จำนวน 18 ราย มูลหนี้ 13.7 ล้านบาท แต่ซื้อมาได้ในราคา 7.5 ล้านบาท ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ถูกนำมาขยายผล
กรรมการหนึ่งในคณะกรรมการบริหารจัดการหนี้เกษตรกร กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เปิดเผยว่า การลงนามบันทึกความร่วมมือการจัดการหนี้สมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ ระหว่างกองทุนฯ สมาคมธนาคารไทย และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) ที่เกิดขึ้น นับเป็นการเข้ามาบริหารจัดการหนี้สินของเกษตรกรลอตแรก ซึ่งจะเป็นโมเดลที่รัฐบาลจะใช้บริหารจัดการหนี้เกษตรกร และจากนี้สมาชิกกองทุนที่มีอยู่ในขณะนี้ 6 ล้านคน มูลหนี้ในระบบ ประมาณ 5 แสนล้านบาท จะทยอยเข้าสู่ระบบการจัดการหนี้ในลักษณะเดียวกัน ซึ่งเป็นไปตามกม.ฟื้นฟูเกษตรฯ 2544 ที่ให้โอนหนี้ในสถาบันการเงินต่างๆ มาอยู่ที่กองทุนฟื้นฟูฯ โดยคิดดอกเบี้ย 1%
บันทึกความร่วมมือฯ หรือเอ็มโอยู ข้างต้นมีขึ้นเมื่อวันที่ 8 พ.ย.ที่ผ่านมา โดยมีหลักการสำคัญคือ กองทุนจะรับโอนหนี้ภาคเกษตร มูลค่า 2.5 หมื่นล้านบาทไม่รวมดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจากธนาคารพาณิชย์ 8 แห่งและธ.ก.ส. โดยเบื้องต้น กองทุนจะรับซื้อหนี้ไม่เกิน 90% ของวงเงินต้น ส่วนดอกเบี้ยให้เจรจาให้ธนาคารตัดเป็นหนี้สูญ ส่วนหนี้ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ถือเป็นหนี้มีความเสี่ยงสูง จะรับซื้อประมาณ 50% ของวงเงินต้น ส่วนดอกเบี้ยจะขอตัดหนี้สูญเช่นกัน ทั้งนี้จะพิจารณาหนี้สินที่อยู่ระหว่างการฟ้องร้องเพื่อยึดทรัพย์ หรือทรัพย์สินขายทอดตลาดเป็นอันดับแรก
ตัวเลขสัดส่วนหนี้ 2.5 หมื่นล้านบาทข้างต้น มีมูลหนี้ของ ธ.ก.ส. จำนวน 14,905 ล้านบาท จากเกษตรกรขึ้นทะเบียนหนี้ ธ.ก.ส. จำนวน 201,788 ราย ส่วนสถาบันการเงินอื่นๆ ประมาณ 10% หรือ 2,500 ล้านบาท ที่เหลือเป็นหนี้สหกรณ์การเกษตร และจากการตรวจสอบหนี้เร่งด่วนเบื้องต้นของธ.ก.ส.ในลอตแรก 700 ราย มีมูลหนี้ 299 ล้านบาท จากรายชื่อที่คัดกรองแล้วเหลือ 383 ราย
หวั่นเดี้ยงเพราะการเมืองแทรก
กรรมการบริหารจัดการหนี้ กล่าวว่า เรื่องสำคัญที่น่าห่วงกังวลนอกเหนือไปจากคำถามที่ว่ารัฐบาลจะเอาเงินมาจากไหน ก็คือ เมื่อการโอนหนี้มหาศาลมายังกองทุนฯ จะมีวิธีการบริหารอย่างไรถึงจะไม่ให้ขาดทุน เพราะปัญหาใหญ่ของกองทุนคือ มีอิทธิพลการเมืองเข้าครอบงำ ไม่มีความเป็นอิสระ ทำให้การบริหารจัดการไม่ลงตัว มีการทะเลาะเบาะแว้งกันไม่สิ้นสุด ที่สำคัญคือ ขาดประสบการณ์ และปัญหาบุคลากรที่ไม่มีมืออาชีพ
“ระดับนโยบายไม่ค่อยมั่นคง การเมืองไม่นิ่งโดยเฉพาะระดับกระทรวง เปลี่ยนรัฐมนตรีทีนโยบายก็เปลี่ยน ต้องนับหนึ่งใหม่เรื่อย ทำให้คนทำงานมีปัญหา” เขาให้ความเห็น
อย่างไรก็ตาม ในแง่หลักการแล้ว กรรมการบริหารจัดการหนี้ มองว่า เป็นเรื่องจำเป็นที่รัฐบาลต้องให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูทุกภาคส่วน ถึงแม้จะถูกมองว่าจะทำให้มีปัญหาด้านวินัยทางการเงิน ความจริงแล้วหนี้สินของภาคเกษตรเป็นปัญหาของระบบและโครงสร้างที่แบบแผนการผลิตถูกครอบงำและพึ่งพามากขึ้นเรื่อยๆ แทนที่จะทำให้เกษตรกรเป็นอิสระ ช่วยเหลือตัวเองได้ เรื่องนี้ต้องมองย้อนไปที่รากเหง้าปัญหาที่เกิดขึ้นและต้องแก้ที่ต้นเหตุควบคู่กันไปด้วย
สำหรับแนวทางการออกบอนด์หรือพันธบัตรเพื่อระดมทุนนั้น เขามองว่า หากเป็นพันธบัตรระดมเงินในประเทศก็มีทางเป็นไปได้ แต่หากเป็นบอนด์ต่างประเทศ ก็ต้องกลับมาดูเงื่อนไขเรื่องเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศที่ยังมีปัญหา เช่น 3 ชายแดนภาคใต้ที่ยังแก้ไม่ตก
ทางด้านนายนคร ศรีวิพัฒน์ รองประธานคณะกรรมการจัดการหนี้เกษตรกร กองทุนฟื้นฟูฯ กล่าวว่า กองทุนจัดเตรียมเรื่องดังกล่าวมากว่า 2 ปีแล้ว โดยให้เกษตรกรทยอยขึ้นทะเบียนสมาชิกกองทุนฯ ซึ่งมีสำนักงานสาขาทั่วประเทศ 13 แห่ง แต่เหตุที่มีผู้เข้าร่วมน้อยเพียง 1.9 แสนคน จากสมาชิกร่วม 6 ล้านคน เพราะส่วนหนึ่งเชื่อว่าขึ้นทะเบียนคนจนกับรัฐบาลจะได้รับการแก้ไขปัญหาเร็วกว่า แต่เมื่อมีการลงนามเอ็มโอยูถือว่าเป็นเรื่องที่ดี และเกษตรกรคงหันมาเข้าเป็นสมาชิกกองทุน เพื่อเข้ารับการช่วยเหลือมากขึ้น
มัดจำ แลกผลประโยชน์สุดคุ้ม
ทางด้านแกนนำเครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า บันทึกข้อตกลงที่เกิดขึ้นอาจถูกมองว่าเป็นม็อบเชียร์ที่รัฐบาลจ่ายมัดจำล่วงหน้าก่อนการเลือกตั้ง แต่ถ้ามองในมุมของเกษตรกรแล้วถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ที่สุดคุ้ม ซึ่งเรื่องนี้รัฐบาลต้องจัดการให้เห็นผลสำเร็จเป็นรูปธรรมก่อนการเลือกตั้งใหญ่ในเดือนก.พ.ปีหน้า จะเกิดขึ้น เพราะถ้ารับปากแล้วไม่ดำเนินใดๆ ก็คงส่งผลต่อคะแนนเสียง
นอกจากนั้น เครือข่ายฯ ยังได้ส่งคนชิงเก้าอี้กรรมการบริหารกองทุน ที่จะเลือกตั้งในวันที่ 21 พ.ย.นี้ รวม 11 คน จากจำนวนกรรมการที่ต้องเลือกทั้งหมด 20 คน เพื่อเข้าไปผลักดันและติดตามตรวจสอบอีกด้วย
“ไม่รู้ใครขุดหลุมพรางใคร แต่การที่นายกฯ ลงนามในเอ็มโอยูโดยมีพี่น้องเกษตรกรเป็นสักขีพยานนับหมื่น ถือเป็นการนำร่อง เพราะยังมีเกษตรกรที่เป็นสมาชิกที่ต้องได้รับการแก้ไขในลักษณะเดียวกันนี้ถึง 6 ล้านคน” แกนนำเครือข่ายฯ กล่าว
ส่วนเรื่องงบที่จะต้องจัดสรรมาดำเนินการนั้น แกนนำเครือข่ายฯ กล่าวว่า เป็นเรื่องของรัฐบาลที่จะไปจัดหามา และขอร้องต่อสังคมอย่ามองว่าจะเสียวินัยทางการเงิน เพราะที่ผ่านมารัฐบาลอุ้มคนรวยล้มบนฟูกไม่กี่คน ด้วยกองทุนฟื้นฟูสถาบันการเงิน ถึง 2 ล้านล้านบาท ส่วนหนี้สินเกษตรกรเพียง 5 แสนล้านบาทแต่สามารถช่วยเหลือเกษตรกรทั้งประเทศกว่า 38 ล้านคน ที่สำคัญหนี้ก้อนนี้ไม่ได้สูญไปเพียงแต่ถูกโอนมาที่กองทุนและได้ดอกเบี้ยต่ำลงเท่านั้น
ด้านนายบำรุง คะโยธา ตัวแทนเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก เห็นว่า ม็อบเครือข่ายหนี้สินชาวนาฯ เป็นม็อบเชียร์รัฐบาลซึ่งมาตามที่นัดกันไว้แล้ว
ขณะที่ นายวีรพล โสภา หนึ่งในบุคคลที่ได้รับการสนับสนุนจากเครือข่ายหนี้สินชาวนาฯ และสมัชชาเกษตรกรรายย่อยภาคอีสาน ให้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นกรรมบริหารกองทุนฟื้นฟู กล่าวว่า หนี้เร่งด่วนที่ถูกทวงถาม ขายทอดตลาดที่กองทุนจะเข้าไปรับซื้อลอตแรก มีจำนวน 14,000 ราย มูลหนี้ 700 ล้านบาท ซึ่งเรื่องนี้ถือว่าแลกกันระหว่างรัฐบาลที่ต้องการคะแนนเสียงกับเกษตรกรที่ต้องการแก้ปัญหาหนี้ นับว่าเป็นเรื่องที่ดีเพราะที่ผ่านมากองทุนฯ ที่ก่อตั้งมาร่วม 5 ปีแล้วเดินหน้าไม่ได้เลย
“นี่แค่ก๊อกแรก ต้องรอดูก๊อกสองคือรูปธรรมที่จะเกิดขึ้น และรอสรุปตัวเลขสิ้นปีว่าจะมีเกษตรกรเข้าร่วมมากน้อยเพียงใด” นายวีรพล กล่าว
เขาให้ข้อมูลว่า ที่ผ่านมาช่วงนายสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็นรมว.กระทรวงเกษตรฯ เคยประสบความสำเร็จในการดำเนินการในลักษณะนี้มาแล้วโดยกองทุนเข้าไปซื้อหนี้เกษตรกร จำนวน 18 ราย มูลหนี้ 13.7 ล้านบาท แต่ซื้อมาได้ในราคา 7.5 ล้านบาท ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ถูกนำมาขยายผล