นครศรีธรรมราช – โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง มีมติเปิดประตูระบายน้ำอุทกวิภาชน์ประสิทธิ์ หลังชาวบ้านก่อหวอดระบุสร้างความขัดแย้งเกษตรกรน้ำจืด-น้ำเค็ม
นางสาวอรุณี กูลณรงค์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ในฐานะประธานคณะทำงานศึกษาข้อมูลและกลั่นกรองการบริหารจัดการน้ำโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เปิดเผยว่า จากการที่กรมชลประทานมีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานฯ ซึ่งประกอบด้วยภาคราชการ นักวิชาการ และผู้แทนภาคประชาชนจาก อำเภอเขตลุ่มน้ำปากพนัง เพื่อทำหน้าที่ศึกษาข้อมูลผลกระทบจากการปิด หรือเปิดบานระบายน้ำประตูอุทกวิภาชประสิทธิ์
คณะทำงานได้มีการประชุมเพื่อวิเคราะห์ปัญหาผลกระทบ ผลดีของการเปิดประตูระบายน้ำ จำนวน 5 ครั้ง ในที่สุดคณะทำงานฯ ชุดนี้ได้มีมติครั้งสุดท้ายในคราวประชุมเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2548 ให้มีการเปิดประตูระบายน้ำอุทกวิภาชน์ประสิทธิ์ ในวันที่ 15 กันยายน 2548
ทั้งนี้ ได้มีการมติดังกล่าว เสนอต่อที่ประชุมคณะทำงานศึกษาข้อมูล การบริหารจัดการน้ำโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธาน ซึ่งที่ประชุมชุดดังกล่าว มีมติเห็นชอบให้ วันที่ 15 กันยายน 2548 เริ่มต้นการบริหารจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วม โดยการเปิดประตูระบายน้ำอุทกวิภาชน์ประสิทธิ เมื่อองค์ประกอบการเปิดพร้อม รวมทั้งการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อสร้างความสมดุลของระบบนิเวศน์ในลุ่มน้ำปากพนัง
นอกจากนั้น เมื่อมีการเปิดประตูระบายน้ำแล้ว ให้มีคณะทำงาน ประกอบด้วย ภาคประชาชน ภาคราชการ และนักวิชาการ จำนวน 26 คน ตรวจและติดตามผลการบริหารจัดการน้ำ ในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ต่อไปทั้งนี้สืบเนื่องจากชาวบ้านในพื้นที่โครงการหลายพื้นที่ ได้มีความขัดแย้งกันในเรื่องของการเปิดปิดประตูโดยอ้างว่าจะกระทบกับสิ่งแวดล้อมน้ำขึ้นน้ำลง รวมทั้งมีผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ทำนาข้าวรวมทั้งนากุ้งและมีการพยายามหาแนวทางออกมาตลอดจนกระทั่งมีผลสรุปออกมาดังกล่าว
นางสาวอรุณี กูลณรงค์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ในฐานะประธานคณะทำงานศึกษาข้อมูลและกลั่นกรองการบริหารจัดการน้ำโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เปิดเผยว่า จากการที่กรมชลประทานมีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานฯ ซึ่งประกอบด้วยภาคราชการ นักวิชาการ และผู้แทนภาคประชาชนจาก อำเภอเขตลุ่มน้ำปากพนัง เพื่อทำหน้าที่ศึกษาข้อมูลผลกระทบจากการปิด หรือเปิดบานระบายน้ำประตูอุทกวิภาชประสิทธิ์
คณะทำงานได้มีการประชุมเพื่อวิเคราะห์ปัญหาผลกระทบ ผลดีของการเปิดประตูระบายน้ำ จำนวน 5 ครั้ง ในที่สุดคณะทำงานฯ ชุดนี้ได้มีมติครั้งสุดท้ายในคราวประชุมเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2548 ให้มีการเปิดประตูระบายน้ำอุทกวิภาชน์ประสิทธิ์ ในวันที่ 15 กันยายน 2548
ทั้งนี้ ได้มีการมติดังกล่าว เสนอต่อที่ประชุมคณะทำงานศึกษาข้อมูล การบริหารจัดการน้ำโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธาน ซึ่งที่ประชุมชุดดังกล่าว มีมติเห็นชอบให้ วันที่ 15 กันยายน 2548 เริ่มต้นการบริหารจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วม โดยการเปิดประตูระบายน้ำอุทกวิภาชน์ประสิทธิ เมื่อองค์ประกอบการเปิดพร้อม รวมทั้งการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อสร้างความสมดุลของระบบนิเวศน์ในลุ่มน้ำปากพนัง
นอกจากนั้น เมื่อมีการเปิดประตูระบายน้ำแล้ว ให้มีคณะทำงาน ประกอบด้วย ภาคประชาชน ภาคราชการ และนักวิชาการ จำนวน 26 คน ตรวจและติดตามผลการบริหารจัดการน้ำ ในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ต่อไปทั้งนี้สืบเนื่องจากชาวบ้านในพื้นที่โครงการหลายพื้นที่ ได้มีความขัดแย้งกันในเรื่องของการเปิดปิดประตูโดยอ้างว่าจะกระทบกับสิ่งแวดล้อมน้ำขึ้นน้ำลง รวมทั้งมีผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ทำนาข้าวรวมทั้งนากุ้งและมีการพยายามหาแนวทางออกมาตลอดจนกระทั่งมีผลสรุปออกมาดังกล่าว