ปัตตานี - ผู้ประกอบการโรงงานแปรรูปอาหารทะเลเผย ประมงหยุดออกเรือไม่เกิน 10 วัน โรงงานทั้งหมดต้องหยุดกิจการ เพราะขาดวัตถุดิบ คนงานนับหมื่นอาจประท้วง แนะรัฐหาทางเพิ่มราคาปลา โดยให้ BOI สนับสนุนพิเศษรายอุตสาหกรรม ลดต้นทุนโรงงานแปรรูปอาหารทะเล ชี้ระวังคนตกงานถูกชักจูงเข้าเป็นแนวร่วมโจรใต้
นายพิทักษ์ ก่อเกียรติพิทักษ์ นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองปัตตานี ในฐานะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ปัตตานีผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด เปิดเผยว่า จากปัญหาน้ำมันดีเซลแพงตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่อโรงงานแปรรูปอาหารทะเล และกิจการ ประมงอย่างหนัก
ในส่วนของโรงงาน ขณะนี้ต้องประสบภาวะขาดทุนมากว่า 2 - 3 เดือนแล้ว ด้วยเหตุผลมาจากภาวะต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น ในขณะราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทั้งในและต่างประเทศ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงปรับเพิ่มตาม ประกอบกับการขาดแคลนวัตถุดิบจากเรือประมง
โรงงานแปรรูปอาหารในปัตตานี 70 % ต้องพึ่งพิงวัตถุดิบจากเรือประมงในจังหวัดปัตตานี โดยขณะนี้เรือประมงเริ่มหยุดหาปลาแล้ว และหากในวันที่ 5 เมษายน ซึ่งเรือประมงทั่วประเทศจะหยุดการออกหาปลา เชื่อว่าไม่เกิน 10 วัน โรงงานในจังหวัดปัตตานีแทบทั้งหมดก็ต้องปิดลงเช่นกัน เพราะโรงงานมีสต็อกวัตถุดิบไว้ไม่เกิน 10 วัน ส่วนบางโรงงานที่ไม่มีห้องเย็นสต็อกสินค้า ก็เชื่อว่าจะหยุดเดินเครื่องเร็วกว่านั้น โดยล่าสุดพบว่ามีโรงงานอย่างน้อย 3 แห่งในปัตตานีได้หยุดกิจการไปแล้วเพราะขาดวัตถุดิบ
“คือโรงงานก็อาศัยประมง และประมงเองก็ต้องอาศัยโรงงาน ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอยู่ไม่ได้ ก็จะส่งผลกระทบทั้ง 2 ฝ่าย ทางออกของปัญหานี้ ไม่ได้อยู่ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงอย่างเดียว เพราะประมงก็อยากให้โรงงานปรับเพิ่มราคาปลา ขณะที่โรงงานไม่สามารถทำได้ จากภาวะต้นทุนที่เพิ่มขึ้นของโรงงาน จากปัญหาน้ำมันแพง เช่น ค่าขนส่ง ค่าวัตถุดิบการผลิตอื่นๆ นอกเหนือจากสัตว์ทะเล ซึ่งได้ปรับราคาเพิ่มตามภาวะตลาด และโรงงานก็ไม่มีอำนาจต่อรองหรือขอปรับลดราคาได้ จึงมีสิ่งเดียวที่จะขอลดราคาได้บ้างคือวัตถุดิบจากสัตว์ทะเล” นายพิทักษ์ กล่าวและว่า
การลดราคาน้ำมันให้กับเรือประมง ไม่ใช่ทางออกที่ดี เพราะยังคงมีปัญหาตามมาไม่รู้จบ ทั้งเรื่องความเท่าเทียมกับภาคอุตสาหกรรมอื่น ปัญหาคอรัปชั่นโควตาน้ำมันต่างๆ เป็นต้น ดังนั้นผู้ที่จะแก้ปัญหานี้ได้คือรัฐบาล โดยจะต้องหันมาดูปัญหาตรงนี้อย่างจริงจังและเป็นระบบเสียที
กล่าวคือราคาน้ำมันแพงขึ้น ต้นทุนประมงสูงตาม แต่จะทำอย่างไรให้ราคาสัตว์ทะเลปรับเพิ่มตามได้ ก็ต้องให้ผู้รับซื้อคือโรงงานซื้อปลาในราคาที่สูงขึ้น แต่ปัจจุบันโรงงานทำไม่ได้ เพราะราคาจำหน่ายสินค้าของโรงงานไม่ได้ปรับตามการแข่งขันภายนอกประเทศ
ทางออกก็ต้องมาดูว่า นอกจากการลดราคาวัตถุดิบจากประมงแล้ว รัฐบาลสามารถสนับสนุนให้โรงงานลดต้นทุนการผลิตจากด้านอื่นได้บ้างหรือมี่ เช่นการลดค่าไฟฟ้า ลดภาษีส่งออก ลดค่าสาธารณูปโภคต่างๆ ซึ่งที่ผ่านมาแม้ปัตตานีจะอยู่ในพื้นที่ส่งเสริมการลงทุนเขต 3
ซึ่งได้รับสิทธิพิเศษสูงสุด แต่ก็เหมือนกับจังหวัดอื่นๆ ทั้งประเทศ และการช่วยเหลือผู้ประกอบการ ก็ยังไม่เพียงพอจากปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ดังนั้นหากรัฐบาลจะประคองให้ธุรกิจประมง กิจการต่อเนื่องและโรงงานแปรรูปอยู่ได้ รัฐบาลต้องสนับสนุนเป็นกรณีพิเศษ เป็นเรื่องเฉพาะ
ซึ่งที่ผ่านมาทางราชการ เช่น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ก็พูดมาตลอดว่าจะปรับรูปแบบการส่งเสริมเป็นรายอุตสาหกรรมทดแทนรายเขต แต่มาถึงวันนี้ก็ยังไม่เห็นมีการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม เพราะขณะนี้ต้องยอมรับความจริงว่าราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น
เมื่อวัตถุดิบถูกผลิตเป็นสินค้าในจำนวนเท่าเดิม ต้นทุนโรงงานก็เพิ่มขึ้น เปิดโอกาสให้ประเทศคู่แข่งทางการค้าของไทย เช่น จีน เวียดนาม ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ ซึ่งมีต้นทุนการผลิตต่ำ และคอยจ้องที่จะแย่งชิงตลาดจากไทยอยู่แล้วได้ประโยชน์ เพราะก่อนที่ไทยจะปรับราคาน้ำมัน ประเทศเหล่านั้นก็มีต้นทุนการผลิตถูกกว่าไทยอยู่แล้ว
ดังนั้นในภาวะวิกฤติอย่างนี้ ก็สมควรที่รัฐบาลจะเริ่มต้นเป็นกรณีศึกษา กับอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล ซึ่งก็คงต้องดูท่าทีของรัฐบาลว่าจะให้ความสำคัญในเรื่องนี้อย่างไร
เพราะเมื่อถึงวันที่ 5 เมษายน เรือประมงหยุดหาปลา ก็เชื่อว่า อีกไม่กี่วันหลังจากนั้นโรงงานทั้งหมดก็ต้องหยุดตาม และถึงวันนั้นในซีกของโรงงานเองก็อาจจะมีการออกมาเคลื่อนไหว ประท้วง เรียกร้องรัฐบาลได้ เพราะคนงานต้องตกงานจำนวนมาก
“คนงานในโรงงานแปรรูปอาหารทะเลในเขตอุตสาหกรรมจังหวัดปัตตานี มีนับ 10,000 คน ก็คงได้รับผลกระทบแน่นอน เพราะที่ บริษัท ปัตตานีผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ก็มีคนงานเกือบ 1,000 คนแล้ว ยังมีคนงานคัดปลาตามแพปลา โรงงานน้ำแข็ง เรือประมงอีกจำนวนมาก ได้รับผลกระทบต้องหยุดงาน ต้องขาดรายได้ และจะกระทบเป็นลูกโซ่ต่อการจับจ่ายสินค้าร้านค้า ธุรกิจต่างๆ ในจังหวัดปัตตานีไปด้วยเพราะขาดกำลังซื้อ
เรื่องนี้รัฐบาลคงจะนิ่งนอนไม่ได้ ยิ่งในสภาวะบ้านเมืองใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็น อย่างนี้ การตกงานก็จะเป็นการซ้ำเติมสถานการณ์เข้าไปอีก จะเข้าทางของกลุ่มผู้ไม่หวังดี ที่จะชักจูงให้เห็นว่ารัฐบาลไม่ได้มีความจริงใจในการแก้ปัญหาปากท้องของประชาชน ก็จะมาดึงเป็นแนวร่วมได้” กก.ผจก.บ.ปัตตานีผลิตภัณฑ์อาหารจำกัด กล่าวและว่า
คนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีลักษณะที่พร้อมที่จะถูกชักจูงได้ง่าย และทางฝ่ายตรงข้ามก็พร้อมที่จะหาเรื่องราวมาเติมแต่งชักจูงประชาชนอยู่ตลอดเวลา เรื่องนี้จึงน่าเป็นห่วง และไม่เป็นผลดีต่อรัฐบาล เพราะพื้นที่นี้มีปัญหารากฐานมาจากความยากจน และการศึกษา ดังนั้นถ้ายิ่งเกิดปัญหาความยากจนซ้ำเติม ก็ย่อมเปิดโอกาสให้ฝ่ายตรงข้ามที่จะอ้างเหตุผลว่ารัฐบาลไม่ได้จริงใจในการแก้ปัญหาความยากจนของประชาชน
นายพิทักษ์ ก่อเกียรติพิทักษ์ นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองปัตตานี ในฐานะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ปัตตานีผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด เปิดเผยว่า จากปัญหาน้ำมันดีเซลแพงตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่อโรงงานแปรรูปอาหารทะเล และกิจการ ประมงอย่างหนัก
ในส่วนของโรงงาน ขณะนี้ต้องประสบภาวะขาดทุนมากว่า 2 - 3 เดือนแล้ว ด้วยเหตุผลมาจากภาวะต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น ในขณะราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทั้งในและต่างประเทศ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงปรับเพิ่มตาม ประกอบกับการขาดแคลนวัตถุดิบจากเรือประมง
โรงงานแปรรูปอาหารในปัตตานี 70 % ต้องพึ่งพิงวัตถุดิบจากเรือประมงในจังหวัดปัตตานี โดยขณะนี้เรือประมงเริ่มหยุดหาปลาแล้ว และหากในวันที่ 5 เมษายน ซึ่งเรือประมงทั่วประเทศจะหยุดการออกหาปลา เชื่อว่าไม่เกิน 10 วัน โรงงานในจังหวัดปัตตานีแทบทั้งหมดก็ต้องปิดลงเช่นกัน เพราะโรงงานมีสต็อกวัตถุดิบไว้ไม่เกิน 10 วัน ส่วนบางโรงงานที่ไม่มีห้องเย็นสต็อกสินค้า ก็เชื่อว่าจะหยุดเดินเครื่องเร็วกว่านั้น โดยล่าสุดพบว่ามีโรงงานอย่างน้อย 3 แห่งในปัตตานีได้หยุดกิจการไปแล้วเพราะขาดวัตถุดิบ
“คือโรงงานก็อาศัยประมง และประมงเองก็ต้องอาศัยโรงงาน ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอยู่ไม่ได้ ก็จะส่งผลกระทบทั้ง 2 ฝ่าย ทางออกของปัญหานี้ ไม่ได้อยู่ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงอย่างเดียว เพราะประมงก็อยากให้โรงงานปรับเพิ่มราคาปลา ขณะที่โรงงานไม่สามารถทำได้ จากภาวะต้นทุนที่เพิ่มขึ้นของโรงงาน จากปัญหาน้ำมันแพง เช่น ค่าขนส่ง ค่าวัตถุดิบการผลิตอื่นๆ นอกเหนือจากสัตว์ทะเล ซึ่งได้ปรับราคาเพิ่มตามภาวะตลาด และโรงงานก็ไม่มีอำนาจต่อรองหรือขอปรับลดราคาได้ จึงมีสิ่งเดียวที่จะขอลดราคาได้บ้างคือวัตถุดิบจากสัตว์ทะเล” นายพิทักษ์ กล่าวและว่า
การลดราคาน้ำมันให้กับเรือประมง ไม่ใช่ทางออกที่ดี เพราะยังคงมีปัญหาตามมาไม่รู้จบ ทั้งเรื่องความเท่าเทียมกับภาคอุตสาหกรรมอื่น ปัญหาคอรัปชั่นโควตาน้ำมันต่างๆ เป็นต้น ดังนั้นผู้ที่จะแก้ปัญหานี้ได้คือรัฐบาล โดยจะต้องหันมาดูปัญหาตรงนี้อย่างจริงจังและเป็นระบบเสียที
กล่าวคือราคาน้ำมันแพงขึ้น ต้นทุนประมงสูงตาม แต่จะทำอย่างไรให้ราคาสัตว์ทะเลปรับเพิ่มตามได้ ก็ต้องให้ผู้รับซื้อคือโรงงานซื้อปลาในราคาที่สูงขึ้น แต่ปัจจุบันโรงงานทำไม่ได้ เพราะราคาจำหน่ายสินค้าของโรงงานไม่ได้ปรับตามการแข่งขันภายนอกประเทศ
ทางออกก็ต้องมาดูว่า นอกจากการลดราคาวัตถุดิบจากประมงแล้ว รัฐบาลสามารถสนับสนุนให้โรงงานลดต้นทุนการผลิตจากด้านอื่นได้บ้างหรือมี่ เช่นการลดค่าไฟฟ้า ลดภาษีส่งออก ลดค่าสาธารณูปโภคต่างๆ ซึ่งที่ผ่านมาแม้ปัตตานีจะอยู่ในพื้นที่ส่งเสริมการลงทุนเขต 3
ซึ่งได้รับสิทธิพิเศษสูงสุด แต่ก็เหมือนกับจังหวัดอื่นๆ ทั้งประเทศ และการช่วยเหลือผู้ประกอบการ ก็ยังไม่เพียงพอจากปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ดังนั้นหากรัฐบาลจะประคองให้ธุรกิจประมง กิจการต่อเนื่องและโรงงานแปรรูปอยู่ได้ รัฐบาลต้องสนับสนุนเป็นกรณีพิเศษ เป็นเรื่องเฉพาะ
ซึ่งที่ผ่านมาทางราชการ เช่น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ก็พูดมาตลอดว่าจะปรับรูปแบบการส่งเสริมเป็นรายอุตสาหกรรมทดแทนรายเขต แต่มาถึงวันนี้ก็ยังไม่เห็นมีการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม เพราะขณะนี้ต้องยอมรับความจริงว่าราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น
เมื่อวัตถุดิบถูกผลิตเป็นสินค้าในจำนวนเท่าเดิม ต้นทุนโรงงานก็เพิ่มขึ้น เปิดโอกาสให้ประเทศคู่แข่งทางการค้าของไทย เช่น จีน เวียดนาม ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ ซึ่งมีต้นทุนการผลิตต่ำ และคอยจ้องที่จะแย่งชิงตลาดจากไทยอยู่แล้วได้ประโยชน์ เพราะก่อนที่ไทยจะปรับราคาน้ำมัน ประเทศเหล่านั้นก็มีต้นทุนการผลิตถูกกว่าไทยอยู่แล้ว
ดังนั้นในภาวะวิกฤติอย่างนี้ ก็สมควรที่รัฐบาลจะเริ่มต้นเป็นกรณีศึกษา กับอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล ซึ่งก็คงต้องดูท่าทีของรัฐบาลว่าจะให้ความสำคัญในเรื่องนี้อย่างไร
เพราะเมื่อถึงวันที่ 5 เมษายน เรือประมงหยุดหาปลา ก็เชื่อว่า อีกไม่กี่วันหลังจากนั้นโรงงานทั้งหมดก็ต้องหยุดตาม และถึงวันนั้นในซีกของโรงงานเองก็อาจจะมีการออกมาเคลื่อนไหว ประท้วง เรียกร้องรัฐบาลได้ เพราะคนงานต้องตกงานจำนวนมาก
“คนงานในโรงงานแปรรูปอาหารทะเลในเขตอุตสาหกรรมจังหวัดปัตตานี มีนับ 10,000 คน ก็คงได้รับผลกระทบแน่นอน เพราะที่ บริษัท ปัตตานีผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ก็มีคนงานเกือบ 1,000 คนแล้ว ยังมีคนงานคัดปลาตามแพปลา โรงงานน้ำแข็ง เรือประมงอีกจำนวนมาก ได้รับผลกระทบต้องหยุดงาน ต้องขาดรายได้ และจะกระทบเป็นลูกโซ่ต่อการจับจ่ายสินค้าร้านค้า ธุรกิจต่างๆ ในจังหวัดปัตตานีไปด้วยเพราะขาดกำลังซื้อ
เรื่องนี้รัฐบาลคงจะนิ่งนอนไม่ได้ ยิ่งในสภาวะบ้านเมืองใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็น อย่างนี้ การตกงานก็จะเป็นการซ้ำเติมสถานการณ์เข้าไปอีก จะเข้าทางของกลุ่มผู้ไม่หวังดี ที่จะชักจูงให้เห็นว่ารัฐบาลไม่ได้มีความจริงใจในการแก้ปัญหาปากท้องของประชาชน ก็จะมาดึงเป็นแนวร่วมได้” กก.ผจก.บ.ปัตตานีผลิตภัณฑ์อาหารจำกัด กล่าวและว่า
คนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีลักษณะที่พร้อมที่จะถูกชักจูงได้ง่าย และทางฝ่ายตรงข้ามก็พร้อมที่จะหาเรื่องราวมาเติมแต่งชักจูงประชาชนอยู่ตลอดเวลา เรื่องนี้จึงน่าเป็นห่วง และไม่เป็นผลดีต่อรัฐบาล เพราะพื้นที่นี้มีปัญหารากฐานมาจากความยากจน และการศึกษา ดังนั้นถ้ายิ่งเกิดปัญหาความยากจนซ้ำเติม ก็ย่อมเปิดโอกาสให้ฝ่ายตรงข้ามที่จะอ้างเหตุผลว่ารัฐบาลไม่ได้จริงใจในการแก้ปัญหาความยากจนของประชาชน