xs
xsm
sm
md
lg

“อทิส-อัมริท” ตั้งเป้าโต 250% รับตลาดสมุนไพรไทย เน้นสร้างรายได้ให้เกษตรกร ต่อยอดภูมิปัญญา

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



“อทิส- อัมริท” นวัตกรรมเสริมภูมิคุ้มกัน จากสมุนไพรไทย นำโดย “ดร.อั้ม อธิชาติ ชุมนานนท์” ผู้บริหารแบรนด์ “อทิส” ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยเสริมภูมิคุ้มกัน ที่มีความโดดเด่นด้วย “พลูคาว” สมุนไพรพื้นเมืองที่ได้รับความนิยมในแถบเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มายาวนาน

“ภาพรวมของตลาดสมุนไพรไทยมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง อทิส-อัมริท” โดยผู้บริโภคที่ตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพมากขึ้น อาทิส-อัมริท จึงมุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อแก้ปัญหาและส่งเสริมสุขภาพคนไทย แบบยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับงานวิจัย และพัฒนา ระบบนิเวศน์วัตกรรมเริ่มตั้งแต่วิเคราะห์ปัญหาสุขภาพของคนไทย ศึกษาวิจัยสมุนไพรร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำหลายแห่ง และเพิ่มศักยภาพงานวิจัยร่วมกับศูนย์วิจัย เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะปลูก ช่วยเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร โดยมุ่งเน้นไปงานวิจัยระดับชาติ และนวัตกรรมการนำส่งสารสำคัญสู่ระดับเซลล์

โดยล่าสุดได้รับรางวัลจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประเทศไทย ยกย่องผลงานนวัตกรรมไทยที่สร้างชื่อเสียงในระดับโลก นอกจากนี้ยังคว้า 2 รางวัลใหญ่ระดับนานาชาติ จากเวที JDIE 2025 ที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีผู้เข้าร่วมจากกว่า 25 ประเทศ และผลงานกว่า 366 ชิ้นจากทั่วโลก

ผู้บริหารแบรนด์อทิส กล่าวต่อว่า “ในปี 2568 ตั้งเป้ายอดการผลิตของ “อทิส-อัมริท”ไว้ที่ 250 เปอร์เซ็นต์ เป้าหมายหลักของ อาทิส-อัมริท”เน้นการสร้างรายได้เพิ่มให้กับเกษตรกร ด้วยสมุนไพร soft power และยกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่มาตรฐานโลก”

ด้าน ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติกล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวง อว. ในฐานะหน่วยงานหลักในการบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ได้มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์จากการวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในมิติต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายสำคัญในการผลักดันให้งานวิจัยก่อให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งในด้านเศรษฐกิจและการเกษตร การมองเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ และการส่งเสริมเป้าหมายและกรอบการวิจัย ด้านเศรษฐกิจและการเกษตร ปี 2569

อย่างไรก็ตาม การวางรูปแบบการทำงานขับเคลื่อนผลงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์มีแผนงานวิจัยที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ นอกจากนี้ วช. ยังได้ให้ความสำคัญกับการต่อยอดและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ คำนึงถึงความยั่งยืน และการมีส่วนร่วมของผู้ใช้ ขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจและการเกษตร ครอบคลุมทั้งมิติวิชาการ ชุมชน ท้องถิ่น พื้นที่ และเชิงพาณิชย์

* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า "SMEsผู้จัดการ" รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด* * *


กำลังโหลดความคิดเห็น