xs
xsm
sm
md
lg

นักวิทย์ฯ เผย มหาสมุทรมากกว่า 20% ของโลกมืดลง ทำให้สัตว์น้ำขึ้นมาอยู่ใกล้ผิวน้ำมากขึ้น ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



การวิจัยของมหาวิทยาลัยพลีมัธ อังกฤษ ได้เผยว่า มหาสมุทรทั่วโลกมากกว่า 1 ใน 5 มีสีเข้มขึ้นในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ทำให้บรรดานักวิทยาศาสตร์เกิดความกังวลว่าจะส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตและกระทบต่อห่วงโซ่อาหารของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในมหาสมุทร โดยผลการวิจัยนี้ ได้ตีพิมพ์ในวารสาร Global Change Biology

ข้อมูลการวิจัยนี้ ได้มาจากข้อมูลดาวเทียมที่ได้เก็บสถิติมาเกือบ 20 ปี ร่วมกับการสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์ขั้นสูง ซึ่งพบว่าในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาระหว่างปี ค.ศ. 2003 ถึง พ.ศ. 2022 มหาสมุทรทั่วโลกมีสีเข้มขึ้น ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า “มหาสมุทรมืดลง” (Ocean Darkening) ทำให้ความลึกที่แสงอาทิตย์สามารถส่องผ่านน้ำทะเลได้ลดลง เมื่อความใสของน้ำเปลี่ยนแปลงจนทำให้ “เขตมีแสง” (Photic zone) ระดับน้ำที่อยู่ด้านบนที่สัมผัสกับแดดซึ่งมีความลึกระหว่าง 0 – 200 เมตร และเป็นที่อยู่ของไฟโตแพลงก์ตอนสังเคราะห์แสง ที่เป็นทั้งอาหารของสัตว์ต่างๆ ในทะเล และสร้างออกซิเจนเกือบครึ่งหนึ่งของโลกกำลังได้รับผลกระทบ

แผนที่โลกแสดงการเปลี่ยนแปลงของเขตแสงทั่วโลกระหว่างปี 2003 ถึง พ.ศ. 2022 สีแดงหมายถึงภูมิภาคที่มหาสมุทรมีสีเข้มขึ้น สีน้ำเงินหมายถึงภูมิภาคที่มหาสมุทรมีสีจางลง และสีขาวหมายถึงภูมิภาคที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางสถิติที่สำคัญในช่วงเวลาดังกล่าว : มหาวิทยาลัยพลีมัธ
ปัจจุบันผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงนี้จะยังไม่ชัดเจนนัก แต่นักวิทยาศาสตร์ได้กล่าวว่าสิ่งมีชีวิตทางทะเลและระบบนิเวศจำนวนมากของโลกอาจได้รับผลกระทบในอนาคตข้างหน้าอย่างแน่นอน เนื่องจากระดับน้ำที่อยู่ด้านบนเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ทะเลถึง 90% ของโลก ทำให้สิ่งมีชีวิตต้องย้ายขึ้นมาใกล้ผิวน้ำมากขึ้น เกิดการแข่งขันสูงขึ้น และอาจกระทบห่วงโซ่อาหาร

ดร. โทมัส เดวีส์ (Thomas Davies) รองศาสตราจารย์ด้านการอนุรักษ์ทางทะเล มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ..... "มีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าพื้นผิวมหาสมุทรเปลี่ยนสีไปอย่างไรในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของชุมชนแพลงก์ตอน "แต่ผลการวิจัยของเรามีหลักฐานว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้เกิดความมืดมิดอย่างกว้างขวาง ซึ่งลดปริมาณมหาสมุทรที่สัตว์ต่างๆ อาศัยดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เพื่อการอยู่รอดและการสืบพันธุ์มีอยู่ในมหาสมุทร"


ข้อมูลยังระบุว่า ในบางพื้นที่โซนแสงตื้นขึ้นถึง 100 เมตร สร้างความเสี่ยงต่อการผลิตออกซิเจนของโลกและกระบวนการดูดซับคาร์บอนของมหาสมุทร ซึ่งเชื่อมโยงกับภูมิอากาศของโลก การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวสามารถทำลายห่วงโซ่อาหารในทะเล และเปลี่ยนแปลงการกระจายพันธุ์ของสัตว์น้ำ และทำให้ความสามารถของมหาสมุทรในการรองรับความหลากหลายทางชีวภาพและควบคุมสภาพอากาศลดลง โดยเฉพาะทะเลชายฝั่งซึ่งอยู่ใกล้กับกิจกรรมของมนุษย์มากที่สุดจะมีความเสี่ยงเป็นพิเศษ ดังนั้นการแก้ปัญหาและฟื้นฟูทะเลชายฝั่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพทางระบบนิเวศและความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์


“สัตว์ทะเลบางชนิดที่ต้องการแสงอาจเข้ามาใกล้ผิวน้ำมากขึ้นอันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงนี้ สิ่งนี้จะทำให้เกิดการแข่งขันเพื่อแย่งชิงอาหารและทรัพยากรอื่นๆ มากขึ้น เขากล่าวเตือน "นั่นอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพื้นฐานในระบบนิเวศทางทะเลทั้งหมด"  

.......  ศาสตราจารย์ทิม สมิธ (Tim Smyth) หัวหน้าภาควิชาวิทยาศาสตร์ชีวธรณีเคมีทางทะเลและการสังเกตการณ์ ประจำห้องปฏิบัติการทางทะเลพลีมัธ กล่าว

แม้สาเหตุของการมืดลงยังไม่ชัดเจน แต่อาจเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเปลี่ยนทิศทางกระแสน้ำ แต่ก็ยังมีมหาสมุทรประมาณ 10% กลับสว่างขึ้นในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาด้วยเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น นอกชายฝั่งตะวันตกของไอร์แลนด์มีส่วนที่สว่างขึ้น แต่พื้นที่ไกลออกไปกลับมืดลง


ข้อมูล – รูปอ้างอิง
- - - - - - - - - - - - - - - 
- theguardian.com (Planet’s darkening oceans pose threat to marine life, scientists say)

- scitechdaily.com
(21% of the Ocean Is Losing Sunlight – What That Means for Marine Life)


กำลังโหลดความคิดเห็น