บลจ.ธนชาต คลอดกองทุน "ธนชารตราสารภาครัฐคุ้มครองเงินต้น" เน้นลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ เปิดไอพีโอวันที่ 7 – 14 มกราคม 2551
รายงานข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ธนชาต จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทเปิดขายกองทุนธนชารตราสารภาครัฐคุ้มครองเงินต้น (TPR02) โดยจะทำการเสนอขายครั้งแรกตั้งแต่วันที่ 7 – 14 มกราคม 2551 ซึ่งกองทุนดังกล่าวมีมูลค่าโครงการทั้งสิ้น 5,000 ล้านบาท และมีอายุโครงการประมาณ 11 เดือน
สำหรับนโยบายการลงทุนกองทุนTPR02 บริษัทจะเน้นลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้ที่เป็นตราสารภาครัฐไทย เช่น ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาลหรือพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตร ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หุ้นกู้ หรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ ที่กระทรวงการคลังหรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ำประกัน และหรือเงินฝาก แต่ กองทุนจะไม่ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) และตราสารหนี้ที่มีการจ่ายผลตอบแทนอ้างอิงกับตัวแปร (Structured Note)
ทั้งนี้ กองทุนดังกล่าวเหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการคุ้มครองเงินต้นที่ลงทุน โดยลงทุนในตราสารแห่งหนี้เป็นตราสารภาครัฐไทยเป็นหลัก และต้องการลงทุนจนครบกำหนดอายุกองทุน รวมถึงบุคคลธรรมดาที่ต้องการการลงทุนที่ผลตอบแทนไม่เสียภาษีอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม กองทุนธนชารตราสารภาครัฐคุ้มครองเงินต้น จะทำการเปรียบเทียบกับตัวชี้วัดผลการดำเนินงานของกองทุน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยในสัดส่วนที่เท่ากันระหว่างอัตราผลตอบแทนของดัชนีตราสารหนี้ภาครัฐของสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) กับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำเฉลี่ย ประเภทบุคคลธรรมดา วงเงิน 1 ล้านบาท ระยะเวลา 1 ปี ของธนาคารพาณิชย์ 3 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เป็นเกณฑ์มาตรฐาน
สำหรับในเรื่องของความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Risk)นั้น โดยทั่วไปราคาของตราสารหนี้จะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงข้ามกับการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย และตามปกติตราสารหนี้ที่มีอายุคงเหลือยิ่งยาวนานเท่าไร การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยก็จะยิ่งมีผลกระทบต่อราคาตราสารมากขึ้น อย่างไรก็ตาม กองทุนนี้จะลงทุนในตราสารที่มีอายุใกล้เคียงกับอายุกองทุน หรือตราสารที่มีอายุไม่เกินอายุกองทุน จึงทำให้ความเสี่ยงในเรื่องนี้อยู่ในระดับต่ำ
ส่วนความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องของตราสาร (Liquidity Risk) ได้แก่ โอกาสที่กองทุนไม่สามารถซื้อหรือขายตราสารที่ถือครองอยู่ในราคา จำนวน และระยะเวลา ที่ต้องการได้นั้น ทั้งนี้กองทุนจะพิจารณาลงทุนโดยคำนึงถึงสภาพคล่องในการเปลี่ยนมือของตราสารประเภทต่างๆ ก่อนการตัดสินใจลงทุน และติดตามการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญ เพื่อกำหนดสัดส่วนการลงทุนในตราสารให้เหมาะสมกับผลตอบแทนและความเสี่ยงที่กำหนดไว้ และสอดคล้องกับนโยบายการลงทุนของกองทุน
รายงานข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ธนชาต จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทเปิดขายกองทุนธนชารตราสารภาครัฐคุ้มครองเงินต้น (TPR02) โดยจะทำการเสนอขายครั้งแรกตั้งแต่วันที่ 7 – 14 มกราคม 2551 ซึ่งกองทุนดังกล่าวมีมูลค่าโครงการทั้งสิ้น 5,000 ล้านบาท และมีอายุโครงการประมาณ 11 เดือน
สำหรับนโยบายการลงทุนกองทุนTPR02 บริษัทจะเน้นลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้ที่เป็นตราสารภาครัฐไทย เช่น ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาลหรือพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตร ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หุ้นกู้ หรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ ที่กระทรวงการคลังหรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ำประกัน และหรือเงินฝาก แต่ กองทุนจะไม่ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) และตราสารหนี้ที่มีการจ่ายผลตอบแทนอ้างอิงกับตัวแปร (Structured Note)
ทั้งนี้ กองทุนดังกล่าวเหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการคุ้มครองเงินต้นที่ลงทุน โดยลงทุนในตราสารแห่งหนี้เป็นตราสารภาครัฐไทยเป็นหลัก และต้องการลงทุนจนครบกำหนดอายุกองทุน รวมถึงบุคคลธรรมดาที่ต้องการการลงทุนที่ผลตอบแทนไม่เสียภาษีอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม กองทุนธนชารตราสารภาครัฐคุ้มครองเงินต้น จะทำการเปรียบเทียบกับตัวชี้วัดผลการดำเนินงานของกองทุน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยในสัดส่วนที่เท่ากันระหว่างอัตราผลตอบแทนของดัชนีตราสารหนี้ภาครัฐของสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) กับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำเฉลี่ย ประเภทบุคคลธรรมดา วงเงิน 1 ล้านบาท ระยะเวลา 1 ปี ของธนาคารพาณิชย์ 3 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เป็นเกณฑ์มาตรฐาน
สำหรับในเรื่องของความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Risk)นั้น โดยทั่วไปราคาของตราสารหนี้จะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงข้ามกับการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย และตามปกติตราสารหนี้ที่มีอายุคงเหลือยิ่งยาวนานเท่าไร การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยก็จะยิ่งมีผลกระทบต่อราคาตราสารมากขึ้น อย่างไรก็ตาม กองทุนนี้จะลงทุนในตราสารที่มีอายุใกล้เคียงกับอายุกองทุน หรือตราสารที่มีอายุไม่เกินอายุกองทุน จึงทำให้ความเสี่ยงในเรื่องนี้อยู่ในระดับต่ำ
ส่วนความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องของตราสาร (Liquidity Risk) ได้แก่ โอกาสที่กองทุนไม่สามารถซื้อหรือขายตราสารที่ถือครองอยู่ในราคา จำนวน และระยะเวลา ที่ต้องการได้นั้น ทั้งนี้กองทุนจะพิจารณาลงทุนโดยคำนึงถึงสภาพคล่องในการเปลี่ยนมือของตราสารประเภทต่างๆ ก่อนการตัดสินใจลงทุน และติดตามการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญ เพื่อกำหนดสัดส่วนการลงทุนในตราสารให้เหมาะสมกับผลตอบแทนและความเสี่ยงที่กำหนดไว้ และสอดคล้องกับนโยบายการลงทุนของกองทุน