บลจ.กสิกรไทยหวดก้นคู่แข่งเบอร์หนึ่ง เอยูเอ็มขยับขึ้นแตะหลัก 2 แสนล้าน หลังได้อานิสงส์จากเงินลงทุนใหม่ที่ไหลเข้ากว่า 8.6 พันล้านบาทในช่วง 2 สัปดาห์แรกของเดือนตุลาคม คาดสิ้นปีเอยูเอ็มรวมกองทุนทั้ง 3 ประเภทขยับขึ้นเป็น 2.77 แสนล้านบาท ด้านงาน "Money Expo Chiangmai" กองทุนรวมฮอต! ระดมทุนได้กว่า 320 ล้านบาท สะท้อนนักลงทุนต่างจังหวัดมีบทบาทมากขึ้น
รายงานข่าวจากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคมบลจ.) เปิดเผยตัวเลขสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการ (เอยูเอ็ม) ของกองทุนรวมทั้งระบบว่า ณ วันที่ 12 กันยายนที่ผ่านมา ธุรกิจกองทุนรวมทั้งระบบมีเอยูเอ็ม 1.35 ล้านล้านบาทซึ่งขยับขึ้นมาจากช่วงปลายเดือนกันยายนที่มีเอยูเอ็ม 1.32 ล้านล้านบาทอยู่เล็กน้อย หรือคิดเป็นเงินลงทุนใหม่ที่ไหลเข้ามาประมาณ 32,281.62 ล้านบาท
ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ที่มีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารสูงสุดเป็นอันดับต้นๆ ยังคงเป็นบริษัทจัดการในเครือแบงก์ใหญ่ ที่มีความได้เปรียบฐานลูกค้าจากสาขาทั่วประเทศ โดยบลจ.ไทยพาณิชย์ ยังคงบริษัทที่มีส่วนแบ่งการตลาด (มาร์เกตแชร์) เป็นอันดับ 1 ต่อเนื่องมาจากช่วงปลายปี 2549 ที่ผ่านมา ด้วยสินทรัพย์รวมประมาณ 291,609.56 ล้านบาท หลังจากสามารถแซงหน้าคู่แข่งรายสำคัญอย่างบลจ.กสิกรไทย ที่ครองแชมป์มาร์เกตแชร์อันดับหนึ่งในขณะนั้นมาได้
อย่างไรก็ตาม ตลอดปี 2550 ที่ผ่านมา บลจ.กสิกรไทยก็เร่งขยายตลาดอย่างเต็มที่ด้วยการส่งกองทุนรวมประเภทใหม่ๆ ออกมาเป็นทางเลือกให้ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ทั้งกองทุนตราสารหนี้ กองทุนหุ้น กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (แอลทีเอฟ) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (อาร์เอ็มเอฟ) และกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (เอฟไอเอฟ) จนล่าสุด เอยูเอ็มภายใต้การบริหารขยับขึ้นแตะที่ระดับ 2 แส้นล้านบาทแล้ว โดยข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 12 ตุลาคม 2550 บลจ.กสิกรไทยมีสินทรัพย์รวมประมาณ 200,587.22 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นประมาณ 8,637.32 ล้านบาท จากเดือนก่อนหน้านี้ที่มีสินทรัพย์ประมาณ 191,949.89 ล้านบาท
รายงานข่าวระบุว่า ในช่วงปลายเดือนกันยายนต่อเนื่องถึงเดือนตุลาคม บลจ.กสิกรไทย มีกองทุนใหม่ที่เปิดขายจำนวน 5 กองทุน ซึ่งประกอบด้วย กองทุนเปิดเค ตราสารหนี้4-51 เอ ซึ่งเป็นกองทุนตราสารหนี้ที่ลงทุนในต่างประเทศซึ่งบริษัทสามารถระดมทุนได้ 10,482 ล้านบาท และกองทุนเปิดเค ตราสารหนี้ 4/51 บี สามารถระดมทุนได้ 6,006 ล้านบาท รวมเป็นมูลค่าที่สามารถระดมทุนผ่านทั้งสองกองทุนกว่า 16,488 ล้านบาท
นอกจากนี้ ยังได้เปิดขายกองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศต่อเนื่องอีกจำนวน 2 กองทุน ประกอบด้วย กองทุนเปิดเค ตราสารหนี้ 2/51 และกองทุนเปิด เค ตราสารหนี้ 5/51 เอ ขณะเดียวกันยังมีกองทุนเปิด สมาร์ท ไชน่า ลิงก์ 10/51 ที่ลงทุนในตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายแฝง (Structured Notes) ที่มีเงื่อนไขชำระคืนเงินต้นเต็มจำนวน และเป็นตราสารหนี้ที่มีการจ่ายผลตอบแทนแบบลอยตัวอ้างอิงกับการเปลี่ยนแปลงของดัชนีฮั่งเส็ง Hang Seng Enterprise (HSCEI) ด้วย
ก่อนหน้านี้ นางวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ รองประธานกรรมการบริหาร บลจ.กสิกรไทย กล่าวว่า ในช่วงสิ้นปีนี้บริษัทน่าจะมีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารในส่วนของกองทุนทั้ง 3 ประเภทอยู่ที่ 2.77 แสนล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 15% เมื่อเทียบกับสิ้นปีที่ผ่านมาซึ่งอยู่ที่ 2.4 แสนล้านบาท โดยการเติบโตดังกล่าวถือว่าสูงกว่าเป้าหมายที่บริษัทวางไว้ที่ 10% ทั้งนี้ ในช่วง 8 เดือนที่ผ่นมาบริษัทมีเอยูเอ็มรวมของกองทุนทุกประเภทอยู่ที่ 2.7 แสนล้านบาท ซึ่งคิดเป็นการเติบโตแล้วประมาณ 12.13%
ด้านรายงานข่าวจากตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดเผยว่า มหกรรมการเงินสัญจรภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ “Money Expo Chiangmai 2007” เมื่อวันที่ 20-21 ตุลาคมที่ผ่านมา มีผู้เข้าชมงานให้ความสนใจลงทุนเป็นจำนวนมาก โดยในส่วนของกองทุนรวม ได้รับความสนใจเป็นอันดับ 3 รวมมูลค่า 321.60 ล้านบาท รวมทั้งยังเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาเป็น 195 ราย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประชาชนให้ความสนใจต่อทางเลือกในการหาผลตอบแทนด้านอื่นนอกเหนือจากเงินฝากมากขึ้น พร้อมกับสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนในตลาดหุ้น และร่วมเข้าฟังสัมมนา จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจำนวนมาก
นายกำพล อัศวกุลชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการผู้อำนวยการ สายงานธุรกิจกองทุนรวม บลจ.ไทยพาณิชย์ กล่าวว่า การตอบรับดังกล่าวแสดงให้เห็นผู้ลงทุนในต่างจังหวัดเข้าใจการลงทุนในกองทุนรวมมากขึ้น นอกจากการฝากเงินอย่างเดียว ส่วนหนึ่งเป็นเพราะกองทุนรวมเป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าและไม่ต้องเสียภาษีด้วย โดยกองทุนที่นักลงทุนสนใจส่วนใหญ่จะเป็นกองทุนแอลทีเอฟและกองทุนอาร์เอ็มเอฟ ทั้งนี้ เชื่อว่าในอนาคตนักลงทุนในส่วนภูมิภาคเองจะเข้ามาบทบาทต่อธุรกิจกองทุนรวมมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
รายงานข่าวจากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคมบลจ.) เปิดเผยตัวเลขสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการ (เอยูเอ็ม) ของกองทุนรวมทั้งระบบว่า ณ วันที่ 12 กันยายนที่ผ่านมา ธุรกิจกองทุนรวมทั้งระบบมีเอยูเอ็ม 1.35 ล้านล้านบาทซึ่งขยับขึ้นมาจากช่วงปลายเดือนกันยายนที่มีเอยูเอ็ม 1.32 ล้านล้านบาทอยู่เล็กน้อย หรือคิดเป็นเงินลงทุนใหม่ที่ไหลเข้ามาประมาณ 32,281.62 ล้านบาท
ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ที่มีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารสูงสุดเป็นอันดับต้นๆ ยังคงเป็นบริษัทจัดการในเครือแบงก์ใหญ่ ที่มีความได้เปรียบฐานลูกค้าจากสาขาทั่วประเทศ โดยบลจ.ไทยพาณิชย์ ยังคงบริษัทที่มีส่วนแบ่งการตลาด (มาร์เกตแชร์) เป็นอันดับ 1 ต่อเนื่องมาจากช่วงปลายปี 2549 ที่ผ่านมา ด้วยสินทรัพย์รวมประมาณ 291,609.56 ล้านบาท หลังจากสามารถแซงหน้าคู่แข่งรายสำคัญอย่างบลจ.กสิกรไทย ที่ครองแชมป์มาร์เกตแชร์อันดับหนึ่งในขณะนั้นมาได้
อย่างไรก็ตาม ตลอดปี 2550 ที่ผ่านมา บลจ.กสิกรไทยก็เร่งขยายตลาดอย่างเต็มที่ด้วยการส่งกองทุนรวมประเภทใหม่ๆ ออกมาเป็นทางเลือกให้ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ทั้งกองทุนตราสารหนี้ กองทุนหุ้น กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (แอลทีเอฟ) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (อาร์เอ็มเอฟ) และกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (เอฟไอเอฟ) จนล่าสุด เอยูเอ็มภายใต้การบริหารขยับขึ้นแตะที่ระดับ 2 แส้นล้านบาทแล้ว โดยข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 12 ตุลาคม 2550 บลจ.กสิกรไทยมีสินทรัพย์รวมประมาณ 200,587.22 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นประมาณ 8,637.32 ล้านบาท จากเดือนก่อนหน้านี้ที่มีสินทรัพย์ประมาณ 191,949.89 ล้านบาท
รายงานข่าวระบุว่า ในช่วงปลายเดือนกันยายนต่อเนื่องถึงเดือนตุลาคม บลจ.กสิกรไทย มีกองทุนใหม่ที่เปิดขายจำนวน 5 กองทุน ซึ่งประกอบด้วย กองทุนเปิดเค ตราสารหนี้4-51 เอ ซึ่งเป็นกองทุนตราสารหนี้ที่ลงทุนในต่างประเทศซึ่งบริษัทสามารถระดมทุนได้ 10,482 ล้านบาท และกองทุนเปิดเค ตราสารหนี้ 4/51 บี สามารถระดมทุนได้ 6,006 ล้านบาท รวมเป็นมูลค่าที่สามารถระดมทุนผ่านทั้งสองกองทุนกว่า 16,488 ล้านบาท
นอกจากนี้ ยังได้เปิดขายกองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศต่อเนื่องอีกจำนวน 2 กองทุน ประกอบด้วย กองทุนเปิดเค ตราสารหนี้ 2/51 และกองทุนเปิด เค ตราสารหนี้ 5/51 เอ ขณะเดียวกันยังมีกองทุนเปิด สมาร์ท ไชน่า ลิงก์ 10/51 ที่ลงทุนในตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายแฝง (Structured Notes) ที่มีเงื่อนไขชำระคืนเงินต้นเต็มจำนวน และเป็นตราสารหนี้ที่มีการจ่ายผลตอบแทนแบบลอยตัวอ้างอิงกับการเปลี่ยนแปลงของดัชนีฮั่งเส็ง Hang Seng Enterprise (HSCEI) ด้วย
ก่อนหน้านี้ นางวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ รองประธานกรรมการบริหาร บลจ.กสิกรไทย กล่าวว่า ในช่วงสิ้นปีนี้บริษัทน่าจะมีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารในส่วนของกองทุนทั้ง 3 ประเภทอยู่ที่ 2.77 แสนล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 15% เมื่อเทียบกับสิ้นปีที่ผ่านมาซึ่งอยู่ที่ 2.4 แสนล้านบาท โดยการเติบโตดังกล่าวถือว่าสูงกว่าเป้าหมายที่บริษัทวางไว้ที่ 10% ทั้งนี้ ในช่วง 8 เดือนที่ผ่นมาบริษัทมีเอยูเอ็มรวมของกองทุนทุกประเภทอยู่ที่ 2.7 แสนล้านบาท ซึ่งคิดเป็นการเติบโตแล้วประมาณ 12.13%
ด้านรายงานข่าวจากตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดเผยว่า มหกรรมการเงินสัญจรภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ “Money Expo Chiangmai 2007” เมื่อวันที่ 20-21 ตุลาคมที่ผ่านมา มีผู้เข้าชมงานให้ความสนใจลงทุนเป็นจำนวนมาก โดยในส่วนของกองทุนรวม ได้รับความสนใจเป็นอันดับ 3 รวมมูลค่า 321.60 ล้านบาท รวมทั้งยังเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาเป็น 195 ราย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประชาชนให้ความสนใจต่อทางเลือกในการหาผลตอบแทนด้านอื่นนอกเหนือจากเงินฝากมากขึ้น พร้อมกับสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนในตลาดหุ้น และร่วมเข้าฟังสัมมนา จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจำนวนมาก
นายกำพล อัศวกุลชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการผู้อำนวยการ สายงานธุรกิจกองทุนรวม บลจ.ไทยพาณิชย์ กล่าวว่า การตอบรับดังกล่าวแสดงให้เห็นผู้ลงทุนในต่างจังหวัดเข้าใจการลงทุนในกองทุนรวมมากขึ้น นอกจากการฝากเงินอย่างเดียว ส่วนหนึ่งเป็นเพราะกองทุนรวมเป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าและไม่ต้องเสียภาษีด้วย โดยกองทุนที่นักลงทุนสนใจส่วนใหญ่จะเป็นกองทุนแอลทีเอฟและกองทุนอาร์เอ็มเอฟ ทั้งนี้ เชื่อว่าในอนาคตนักลงทุนในส่วนภูมิภาคเองจะเข้ามาบทบาทต่อธุรกิจกองทุนรวมมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง