ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ – สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 เผยภาคเหนือยังไม่น่าห่วงเรื่อง โรคไข้กาฬหลังแอ่น เหตุตั้งแต่ปี45 ถึงปัจจุบัน พบผู้ป่วยแค่ 3 ราย และปีนี้พบแล้ว 1 ราย ที่พะเยาตารักษาหายแล้ว
นายสมโพธิ บวรสิน นักวิชาการสาธารณสุข 6 รองผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 ได้เปิดเผยถึงสถานการณ์โรคไข้กาฬหลังแอ่นว่า ตั้งแต่ปี 2545 จนถึงปีนี้ได้พบผู้ป่วยไข้กาฬหลังแอ่น 3 ราย ไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิต โดยผู้ป่วยที่พบมีอายุระหว่าง 0-5 ปี ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภูเขา เชื้อที่พบเป็น Serogroup type B สำหรับในปี 2547 พบผู้ป่วยเมื่อเดือนมิถุนายน จำนวน 1 รายที่จ.พะเยา ขณะนี้รักษาหายแล้ว
โดยโรคไข้กาฬหลังแอ่นเกิดจากเชื้อแบคทีเรียไนซีเรียเมนนิ่งไจทิดิส (Neiseria Meningitidis) ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อนี้จะมีอาการไข้และอาจจะมีอาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ได้แก่ อาการคอแข็งถ้าถึงกับหลังแอ่นแสดงว่า เยื่อหุ้มสมองอักเสบมากแล้ว ส่วนคำว่ากาฬ แปลว่าสีดำ หมายถึงโรคที่ร้ายแรงถึงชีวิต
ดังนั้นอาการโดยสรุปก็คือมีไข้สูง เจ็บคอ หากเชื้อโรคกระจายไปที่สมองทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ มีอาการคอแข็ง หลังแข็ง ปวดศีรษะ อาเจียน แต่หากเชื้อโรคกระจายไปสู่ส่วนอื่นๆที่ไม่ใช่สมอง อาการจะไม่ออกอย่างชัดเจน ทำให้ผู้ป่วยคิดว่าตนเองเป็นเพียงไข้หวัดธรรมดา จึงไม่ได้รักษาในระยะแรก ต่อเมื่ออาการแสดงออกมาให้เห็นจะทำให้มีอาการช็อคและเลือดออกตามทวารต่างๆหรือมีจุดเลือดออกที่ผิวหนัง โรคนี้ติดต่อทางน้ำลายหรือเสมหะโดยการไอ จามรดกัน การสูบบุหรี่ร่วมกัน ดื่มน้ำแก้วเดียวกัน หรือการผายปอดช่วยชีวิต
“จากข้อมูลข้างต้นทำให้กล่าวได้ว่า สถานการณ์โรคไข้กาฬหลังแอ่นในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนยังไม่น่าเป็นห่วง แต่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกพื้นที่ และสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 ได้เฝ้าระวังติดตามโรคนี้อย่างใกล้ชิด หากพบผู้ป่วยในพื้นที่จะแจ้งข่าวให้ประชาชนทราบโดย”นายสมโพธิกล่าว
นายสมโพธิ บวรสิน นักวิชาการสาธารณสุข 6 รองผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 ได้เปิดเผยถึงสถานการณ์โรคไข้กาฬหลังแอ่นว่า ตั้งแต่ปี 2545 จนถึงปีนี้ได้พบผู้ป่วยไข้กาฬหลังแอ่น 3 ราย ไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิต โดยผู้ป่วยที่พบมีอายุระหว่าง 0-5 ปี ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภูเขา เชื้อที่พบเป็น Serogroup type B สำหรับในปี 2547 พบผู้ป่วยเมื่อเดือนมิถุนายน จำนวน 1 รายที่จ.พะเยา ขณะนี้รักษาหายแล้ว
โดยโรคไข้กาฬหลังแอ่นเกิดจากเชื้อแบคทีเรียไนซีเรียเมนนิ่งไจทิดิส (Neiseria Meningitidis) ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อนี้จะมีอาการไข้และอาจจะมีอาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ได้แก่ อาการคอแข็งถ้าถึงกับหลังแอ่นแสดงว่า เยื่อหุ้มสมองอักเสบมากแล้ว ส่วนคำว่ากาฬ แปลว่าสีดำ หมายถึงโรคที่ร้ายแรงถึงชีวิต
ดังนั้นอาการโดยสรุปก็คือมีไข้สูง เจ็บคอ หากเชื้อโรคกระจายไปที่สมองทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ มีอาการคอแข็ง หลังแข็ง ปวดศีรษะ อาเจียน แต่หากเชื้อโรคกระจายไปสู่ส่วนอื่นๆที่ไม่ใช่สมอง อาการจะไม่ออกอย่างชัดเจน ทำให้ผู้ป่วยคิดว่าตนเองเป็นเพียงไข้หวัดธรรมดา จึงไม่ได้รักษาในระยะแรก ต่อเมื่ออาการแสดงออกมาให้เห็นจะทำให้มีอาการช็อคและเลือดออกตามทวารต่างๆหรือมีจุดเลือดออกที่ผิวหนัง โรคนี้ติดต่อทางน้ำลายหรือเสมหะโดยการไอ จามรดกัน การสูบบุหรี่ร่วมกัน ดื่มน้ำแก้วเดียวกัน หรือการผายปอดช่วยชีวิต
“จากข้อมูลข้างต้นทำให้กล่าวได้ว่า สถานการณ์โรคไข้กาฬหลังแอ่นในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนยังไม่น่าเป็นห่วง แต่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกพื้นที่ และสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 ได้เฝ้าระวังติดตามโรคนี้อย่างใกล้ชิด หากพบผู้ป่วยในพื้นที่จะแจ้งข่าวให้ประชาชนทราบโดย”นายสมโพธิกล่าว