อุดรธานี-กลุ่มอนุรักษ์ฯโวยบริษัทเหมืองโปแตชลักไก่รังวัดเขตโครงการเหมือง ทั้งเจ้าหน้ากรมอุตพื้นฐานและการเหมืองแร่อุบข้อมูลชาวบ้านในพื้นที่
เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2547 นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อุตสาหกรรม จังหวัดอุดรธานี ร่วมกับกรมอุตสาหกรรมพื้นฐาน และการเหมืองแร่ ชี้แจงขั้นตอนและระยะเวลาในการทำรังวัด กำหนดเขตคำขอประทานบัตร “เหมืองแร่โปแตชแหล่งอุดรธานี”ให้กับผู้แทนฝ่ายปกครองจาก , กำนัน , อบต. ในพื้นที่ ต.โนนสูง ต.หนองไผ่ อ.เมือง , ต.นาม่วง ต.ห้วยสามพาด กิ่ง อ.ประจักษ์ศิลปาคม
รายงานแจ้งว่าขณะชี้แจงมาถึงช่วงท้าย “กลุ่มอนุรักษ์อุดรธานี” ที่ต่อต้านโครงการนี้กว่า 60 คน ขอเข้าร่วมประชุมสังเกตการณ์ และขอให้ที่ประชุมชี้แจงใหม่ พร้อมกับซักถามข้อข้องใจในประเด็นผลกระทบด้านต่างๆส่งผลให้บรรยากาศตรึงเครียด เพราะในที่ประชุมมีกลุ่มสนับสนุนอยู่ด้วย
ในการชี้แจงระบุว่า ขั้นตอนการรังวัดเป็นขั้นที่สอง ต่อจากขั้นตอนการยื่นขอประทานบัตร โดยการรังวัดจะเป็นเจ้าหน้าที่จาก กองวิศวกรรมบริการ เท่านั้น โดยจะลงมือสำรวจขอบเขต , ใช้เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม (จีพีเอส.)หาจุดสร้างหมุด 34 หมุด , สร้างหมุดหลักฐานเพื่อทำ จีพีเอส. , ติดตั้งเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม และทำบันทึกการไต่สวน เพื่อส่งสำนักงานเหมืองแร่ และสัมปทาน
ทั้งนี้ คาดการว่าจะใช้เวลาดำเนินการ 54 วัน แต่ยังไม่กำหนดว่าจะเริ่มรังวัดเมื่อใด เพราะจะต้องนำเรื่องนี้ชี้แจงต่อ คณะกรรมการติดตามปัญหาสิ่งแวดล้อม กรณีเหมืองโปแตชในวันที่ 26 สิงหาคม
นางมณี บุญรอด แกนนำกลุ่มอนุรักษ์อุดรธานี เปิดเผยว่า เมื่อเดือนก่อน บริษัทเอเชีย แปรซิกฟิกโปแตช คอร์เปอร์เรชั่น จำกัด หรือ เอพีพีซี. ได้ว่าจ้าง บริษัทซีบี.การสำรวจ จำกัด มารังวัดสำรวจปักหมุนในพื้นที่ 4 ตำบล เข้าไปทำให้พื้นที่ของชาวบ้าน เป็นการบุกรุกและละเมิดสิทธิเจ้าของที่ดิน เคยมาสอบถามอุตสาหกรรม จังหวัดอุดรธานี ก็ไม่มีคำตอบที่ชัดเจน จนเขาทำการรังวัดปักหมุด เพื่อรับสัญญาณดาวเทียมไปหมดแล้ว ชาวบ้านก็ไปแจ้งความไว้ที่ สภ.กิ่ง อ.ประจักษ์ศิลปาคม วันนี้รู้ว่าจะมีการคุยกันเรื่องปักหมุด จึงพากันมาฟังข้อเท็จจริง
“ เราไปถามอุตสาหกรรมจังหวัด เรื่องขั้นตอนการรังวัดปักหมุด เขายังไม่ตอบอ้างว่าไม่รู้เรื่อง แต่วันนี้กลับมาชี้แจงเรื่องนี้ได้ เมื่อขอเข้าไปฟังด้วยจึงรู้ว่า คำสั่งรังวัดปักหมุดดาวเทียม มีออกมาเมื่อไม่กี่วันนี่เอง แล้วที่มีการไปรังวัดกันครั้งก่อนมันหมายถึงอะไร"นางมณีกล่าวและว่า
เมื่อตนสอบถามในที่ประชุมเขาบอกว่าแล้วแต่ชาวบ้าน และวันนี้ได้ถามต่อไปอีกว่า ถ้าเจ้าหน้าที่ของอุตสาหกรรม จะออกไปรังวัดปักหมุดตามที่ชี้แจงวันนี้ ชาวบ้านที่ไม่อยากได้เหมืองโปแตช จะปฏิเสธไม่ให้เข้าไปรังวัดได้หรือไม่ ก็ยังไม่มีคำตอบให้ในวันนี้ บอกว่าจะสอบถามชี้แจงภายหลัง
ด้านนายกอบชัย อุตสาหกรรม จ.อุดรธานี ชี้แจงว่า การรังวัดปักหมุดแนวเขตเหมืองแร่ จะต้องดำเนินการโดยกองวิศวบริการเท่านั้น เพราะมีรายละเอียดอื่นๆอีกมาก ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย โดยผู้ที่ยื่นขอประทานบัตรทำได้เพียงอำนวยความสะดวก นำเจ้าหน้าที่เข้าไปในพื้นที่
ส่วนการที่ “เอพีพีซี.” ว่าจ้างเอกชนมารังวัดปักหมุด เป็นเรื่องเข้าใจผิดของบริษัทฯ เพราะต้องการเร่งงานให้เร็วขึ้น แต่การรังวัดที่ผ่านมาไม่มีผล กองวิศวกรรมบริการจะต้องทำให้ทั้งหมด ส่วนที่ชาวบ้านจะดำเนินคดีกับบริษัทฯ ก็เป็นเรื่องที่ชาวบ้านสามารถทำได้
เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2547 นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อุตสาหกรรม จังหวัดอุดรธานี ร่วมกับกรมอุตสาหกรรมพื้นฐาน และการเหมืองแร่ ชี้แจงขั้นตอนและระยะเวลาในการทำรังวัด กำหนดเขตคำขอประทานบัตร “เหมืองแร่โปแตชแหล่งอุดรธานี”ให้กับผู้แทนฝ่ายปกครองจาก , กำนัน , อบต. ในพื้นที่ ต.โนนสูง ต.หนองไผ่ อ.เมือง , ต.นาม่วง ต.ห้วยสามพาด กิ่ง อ.ประจักษ์ศิลปาคม
รายงานแจ้งว่าขณะชี้แจงมาถึงช่วงท้าย “กลุ่มอนุรักษ์อุดรธานี” ที่ต่อต้านโครงการนี้กว่า 60 คน ขอเข้าร่วมประชุมสังเกตการณ์ และขอให้ที่ประชุมชี้แจงใหม่ พร้อมกับซักถามข้อข้องใจในประเด็นผลกระทบด้านต่างๆส่งผลให้บรรยากาศตรึงเครียด เพราะในที่ประชุมมีกลุ่มสนับสนุนอยู่ด้วย
ในการชี้แจงระบุว่า ขั้นตอนการรังวัดเป็นขั้นที่สอง ต่อจากขั้นตอนการยื่นขอประทานบัตร โดยการรังวัดจะเป็นเจ้าหน้าที่จาก กองวิศวกรรมบริการ เท่านั้น โดยจะลงมือสำรวจขอบเขต , ใช้เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม (จีพีเอส.)หาจุดสร้างหมุด 34 หมุด , สร้างหมุดหลักฐานเพื่อทำ จีพีเอส. , ติดตั้งเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม และทำบันทึกการไต่สวน เพื่อส่งสำนักงานเหมืองแร่ และสัมปทาน
ทั้งนี้ คาดการว่าจะใช้เวลาดำเนินการ 54 วัน แต่ยังไม่กำหนดว่าจะเริ่มรังวัดเมื่อใด เพราะจะต้องนำเรื่องนี้ชี้แจงต่อ คณะกรรมการติดตามปัญหาสิ่งแวดล้อม กรณีเหมืองโปแตชในวันที่ 26 สิงหาคม
นางมณี บุญรอด แกนนำกลุ่มอนุรักษ์อุดรธานี เปิดเผยว่า เมื่อเดือนก่อน บริษัทเอเชีย แปรซิกฟิกโปแตช คอร์เปอร์เรชั่น จำกัด หรือ เอพีพีซี. ได้ว่าจ้าง บริษัทซีบี.การสำรวจ จำกัด มารังวัดสำรวจปักหมุนในพื้นที่ 4 ตำบล เข้าไปทำให้พื้นที่ของชาวบ้าน เป็นการบุกรุกและละเมิดสิทธิเจ้าของที่ดิน เคยมาสอบถามอุตสาหกรรม จังหวัดอุดรธานี ก็ไม่มีคำตอบที่ชัดเจน จนเขาทำการรังวัดปักหมุด เพื่อรับสัญญาณดาวเทียมไปหมดแล้ว ชาวบ้านก็ไปแจ้งความไว้ที่ สภ.กิ่ง อ.ประจักษ์ศิลปาคม วันนี้รู้ว่าจะมีการคุยกันเรื่องปักหมุด จึงพากันมาฟังข้อเท็จจริง
“ เราไปถามอุตสาหกรรมจังหวัด เรื่องขั้นตอนการรังวัดปักหมุด เขายังไม่ตอบอ้างว่าไม่รู้เรื่อง แต่วันนี้กลับมาชี้แจงเรื่องนี้ได้ เมื่อขอเข้าไปฟังด้วยจึงรู้ว่า คำสั่งรังวัดปักหมุดดาวเทียม มีออกมาเมื่อไม่กี่วันนี่เอง แล้วที่มีการไปรังวัดกันครั้งก่อนมันหมายถึงอะไร"นางมณีกล่าวและว่า
เมื่อตนสอบถามในที่ประชุมเขาบอกว่าแล้วแต่ชาวบ้าน และวันนี้ได้ถามต่อไปอีกว่า ถ้าเจ้าหน้าที่ของอุตสาหกรรม จะออกไปรังวัดปักหมุดตามที่ชี้แจงวันนี้ ชาวบ้านที่ไม่อยากได้เหมืองโปแตช จะปฏิเสธไม่ให้เข้าไปรังวัดได้หรือไม่ ก็ยังไม่มีคำตอบให้ในวันนี้ บอกว่าจะสอบถามชี้แจงภายหลัง
ด้านนายกอบชัย อุตสาหกรรม จ.อุดรธานี ชี้แจงว่า การรังวัดปักหมุดแนวเขตเหมืองแร่ จะต้องดำเนินการโดยกองวิศวบริการเท่านั้น เพราะมีรายละเอียดอื่นๆอีกมาก ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย โดยผู้ที่ยื่นขอประทานบัตรทำได้เพียงอำนวยความสะดวก นำเจ้าหน้าที่เข้าไปในพื้นที่
ส่วนการที่ “เอพีพีซี.” ว่าจ้างเอกชนมารังวัดปักหมุด เป็นเรื่องเข้าใจผิดของบริษัทฯ เพราะต้องการเร่งงานให้เร็วขึ้น แต่การรังวัดที่ผ่านมาไม่มีผล กองวิศวกรรมบริการจะต้องทำให้ทั้งหมด ส่วนที่ชาวบ้านจะดำเนินคดีกับบริษัทฯ ก็เป็นเรื่องที่ชาวบ้านสามารถทำได้