กรมอุตุนิยมวิทยา อัพเดทเส้นทางเดินพายุดีเปรสชันที่เปลี่ยนเป็นพายุโซนร้อน ชื่อว่า “วิภา” ช่วงเช้าวันนี้ (19 ก.ค.68) : เวลา 04.00น. พายุโซนร้อน "วิภา (WIPHA)" มีศูนย์กลางอยู่บริเวณหัวเกาะลูซอลประเทศฟิลิปปินส์ กำลังเคลื่อนตัวลงสู่ทะเลจีนใต้ตอนบน คาดว่าจะเคลื่อนตัวทางตะวันตกค่อนไปทางเหนือเล็กน้อย ตามแนวชายฝั่งประเทศจีนตอนใต้ เข้าสู่อ่าวตังเกี๋ยและขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามเวียดตอนบนและจะอ่อนกำลังลงตามลำดับ (ดูภาพประกอบ)
ทั้งนี้หย่อมความกดอากาศต่ำที่อ่อนกำลังลงจากพายุ อาจจะส่งผลกระทบให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน ภาคกลางด้านตะวันตก รวมทั้งจะทำให้มรสุมมีกำลังแรงในช่วง 22 - 24 ก.ค.68 ยังต้องติดตามและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
ส่วนข้อมูลเส้นทางของพายุหรือสถานการณ์นี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจากยังมีปัจจัยอื่นๆมาเกี่ยวข้องในช่วงที่พายุกำลังเข้าใกล้ชายฝั่ง ใช้เป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจและติดตามสภาพอากาศเบื้องต้น
📢 คำเตือน : โปรดติดตามและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด ข้อมูลเส้นทางของพายุ ในสถานการณ์ปัจจุบันอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจากยังมีปัจจัยอื่นๆมาเกี่ยวข้องในช่วงที่พายุกำลังเข้าใกล้ชายฝั่ง
⚠ ผลกระทบที่คาดการณ์ ในช่วง 19 - 24 ก.ค. 68 : ฝนตกหนักถึงหนักมากหลายในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน ภาคกลางด้านตะวันตก ซึ่งเสี่ยงต่อน้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่าไหลหลาก
📍 เปิดจังหวัด คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากฝนตกหนักถึงหนักมาก
ล่าสุด กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับที่ 5 (185/2568) ณ วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2568 เวลา 05.00 น. เรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย คลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน (มีผลกระทบในช่วงวันที่ 19-24 กรกฎาคม 2568) พร้อมคาดการณ์จังหวัดต่างๆ ที่จะได้รับผลกระทบจากฝนตกหนักถึงหนักมาก ดังนี้
วันที่ 19 กรกฎาคม 2568 : กระทบ 23 จังหวัด
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดหนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี
ภาคกลาง: จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี และสระบุรี
ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้: จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรัง
วันที่ 20 กรกฎาคม 2568 : กระทบ 38 จังหวัด
ภาคเหนือ: จังหวัดเชียงราย ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และตาก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดหนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ยโสธร อำนาจเจริญ
และอุบลราชธานี
ภาคกลาง: จังหวัดลพบุรี สระบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร และนครปฐม
ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา และภูเก็ต
วันที่ 21 กรกฎาคม 2568 : กระทบ 47 จังหวัด
ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และตาก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม และมุกดาหาร
ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี และตราด
ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง และพังงา
วันที่ 22 - 24 กรกฎาคม 2568 : คาดกระทบ 49 จังหวัด
ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร และตาก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา และอุบลราชธานี
ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี และพระนครศรีอยุธยา
ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง และพังงา
สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองจะมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย
กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไปในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2568 เวลา 17.00 น.และเพื่อความปลอดภัยและลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ขอให้ประชาชนเตรียมความพร้อมรับมือหรืออพยพ หากสถานการณ์อยู่ในสภาวะวิกฤตและติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด
ติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง