เอ็นจีโอ ออกโรง ค้าน"สนธิ"ส่งแรงงานหญิงพม่าท้องแก่กลับไปคลอดที่บ้านเกิด ชี้เป็นการดำเนินนโยบายแบบย้อนยุค ยึดความมั่นคงแห่งรัฐนำหน้า รังแต่จะสร้างปัญหาไม่สิ้นสุด เรียกร้องให้มองฐานะแรงงานข้ามชาติเป็นแรงงานหลัก มีส่วนสำคัญสร้างเศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคการส่งออกของไทย เตรียมขอเข้าพบ"สนธิ" และผู้ว่าฯ สมุทรสาคร หาทางยุติแนวคิดผลักดันกลับ
วานนี้ (19 พ.ย.) เครือข่ายองค์กรด้านแรงงานข้ามชาติ ออกแถลงการณ์คัดค้านการควบคุมแรงงานข้ามชาติภายใต้แนวคิดความมั่นคงแห่งรัฐของ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง (กบร.) ซึ่งต้องการให้แรงงานหญิงข้ามชาติที่ตั้งครรภ์กลับไปคลอดบุตรที่บ้านเกิด และห้ามครอบครัวเข้ามาตั้งรกรากในประเทศไทยว่า หากแนวคิดดังกล่าวนำไปสู่การปฏิบัติจริง จะเกิดผลกระทบหลายด้าน ทั้งต่อแรงงานเอง และต่อการจัดการด้านสุขภาพในพื้นที่ของกระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การยุติการท้อง หรือทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย การคลอดลูกกับหมอตำแย ทำให้เข้าไม่ถึงการดูแลระหว่างท้อง และวัคซีนป้องกันโรคเด็ก
ถ้อยแถลงของเครือข่ายองค์กรแรงงานข้ามชาติ ระบุว่า ความจริงแล้วแรงงานข้ามชาติมีส่วนสำคัญในการสร้างเศรษฐกิจในฐานะที่เป็นแรงงานหลัก โดยเฉพาะภาคการส่งออกของไทย การส่งผ่านข้อมูลเช่นนี้ไปสู่สาธารณะเป็นการสร้างภาพลบต่อแรงงานข้ามชาติเพียงด้านเดียว
น.ส.สุภัทรา นาคะผิว เจ้าหน้าที่ของเครือข่ายองค์กรแรงงานข้ามชาติ ชี้ว่า นโยบายที่มุ่งเน้นด้านความมั่นคงแห่งรัฐแบบสุดโต่งเพียงอย่างเดียว ไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ปัญหาที่ดำรงอยู่ดีขึ้น เพราะยิ่งสร้างความหวาดกลัวต่อตัวแรงงานข้ามชาติและชุมชนที่อยู่ร่วมกับแรงงานฯ ส่งผลต่อการควบคุมโรคติดต่อ เพราะแรงงานไม่กล้าไปรับบริการด้านสุขภาพ ทั้งยังไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิ รวมถึงเอื้อให้เกิดการคอร์รัปชั่น และใช้อำนาจโดยมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐบางส่วนมากยิ่งขึ้น
เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชน จึงมีข้อเรียกร้องต่อแนวทางจัดการแรงงานข้ามชาติ ดังนี้ 1) ยกเลิกประกาศจังหวัดเรื่องการกำหนดมาตรการการจัดระเบียบต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ของจังหวัดภูเก็ต ระยอง ระนอง และพังงา และหนังสือสั่งการเรื่องการควบคุมแรงงานข้ามชาติของ จ.สมุทรสาคร ซึ่งสะท้อนถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการเลือกปฏิบัติต่อแรงานข้ามชาติ และเลือกนำแนวทางการสร้างความเข้าใจและมุ่งพัฒนาชุมชนและสังคมแห่งการอยู่ร่วมกันของคนทุกกลุ่มมาใช้ในการปฏิบัติงาน
2) ยกเลิกแนวปฏิบัติที่จะเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงการดูแลรักษาพยาบาลและการป้องกันโรคติดต่อรวมถึงการคุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติ รัฐควรส่งเสริมให้เกิดกลไกการเข้าถึงการบริการและการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติ
3) ยุติแนวคิดจะผลักดันแรงงานหญิงตั้งครรภ์กลับประเทศ เพราะไม่เป็นผลดีต่อตัวแรงงาน และชุมชนในพื้นที่ รวมทั้งยังเป็นการละเมิดสิทธิอนามัยเจริญพันธ์ ต่อแรงงานหญิงข้ามชาติอย่างร้ายแรง
4) การส่งแรงงานข้ามชาติกลับไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย จะต้องคำนึงถึงความจริงที่ว่ากลุ่มแรงงานเหล่านี้มีผู้ลี้ภัยหลบหนีจากการประหัตประหารอยู่ด้วย การส่งบุคคลดังกล่าวกลับไปสู่อันตรายเป็นการขัดต่อกฎจารีตระหว่างประเทศและปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
5) รัฐต้องมีแนวนโยบายเรื่องแรงงานข้ามชาติที่รอบด้านและสอดคล้องกับความเป็นจริงโดยเน้นการคุ้มครองแรงงานและเคารพในสิทธิมนุษยชนควบคู่ไปกับนโยบายด้านอื่นๆ ยกระดับนโยบายแรงงานข้ามชาติไปสู่นโยบายคนข้ามชาติมากกว่าการมองเฉพาะเรื่องการเป็นแรงงานเท่านั้น และรัฐต้องยอมรับความจริงที่ว่าไทยต้องการแรงงานข้ามชาติเข้ามาช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย ฉะนั้นจำเป็นที่รัฐต้องมองการจัดการที่เกี่ยวโยงกับบริบทประเทศไทยในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคอาเซียนและประชาคมโลกด้วย
เครือข่ายองค์กรด้านแรงงานข้ามชาติ มีกำหนดการจะขอเข้าพบ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน และผวจ.สมุทรสาคร เพื่อให้ยุติแนวคิดผลักดันแรงงานหญิงตั้งครรภ์กับภูมิลำเนาด้วย
อนึ่ง องค์กรพัฒนาภาคเอกชนกล่าวว่า ตัวเลขแรงงานข้ามชาติล่าสุด มีประมาณ 2 ล้านคน เพิ่มจากปี 47 ที่มีจำนวน 1 ล้านคน ซึ่งจำนวนมักจะขึ้นลงตามสถานการณ์ภายในประเทศเพื่อนบ้าน
วานนี้ (19 พ.ย.) เครือข่ายองค์กรด้านแรงงานข้ามชาติ ออกแถลงการณ์คัดค้านการควบคุมแรงงานข้ามชาติภายใต้แนวคิดความมั่นคงแห่งรัฐของ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง (กบร.) ซึ่งต้องการให้แรงงานหญิงข้ามชาติที่ตั้งครรภ์กลับไปคลอดบุตรที่บ้านเกิด และห้ามครอบครัวเข้ามาตั้งรกรากในประเทศไทยว่า หากแนวคิดดังกล่าวนำไปสู่การปฏิบัติจริง จะเกิดผลกระทบหลายด้าน ทั้งต่อแรงงานเอง และต่อการจัดการด้านสุขภาพในพื้นที่ของกระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การยุติการท้อง หรือทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย การคลอดลูกกับหมอตำแย ทำให้เข้าไม่ถึงการดูแลระหว่างท้อง และวัคซีนป้องกันโรคเด็ก
ถ้อยแถลงของเครือข่ายองค์กรแรงงานข้ามชาติ ระบุว่า ความจริงแล้วแรงงานข้ามชาติมีส่วนสำคัญในการสร้างเศรษฐกิจในฐานะที่เป็นแรงงานหลัก โดยเฉพาะภาคการส่งออกของไทย การส่งผ่านข้อมูลเช่นนี้ไปสู่สาธารณะเป็นการสร้างภาพลบต่อแรงงานข้ามชาติเพียงด้านเดียว
น.ส.สุภัทรา นาคะผิว เจ้าหน้าที่ของเครือข่ายองค์กรแรงงานข้ามชาติ ชี้ว่า นโยบายที่มุ่งเน้นด้านความมั่นคงแห่งรัฐแบบสุดโต่งเพียงอย่างเดียว ไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ปัญหาที่ดำรงอยู่ดีขึ้น เพราะยิ่งสร้างความหวาดกลัวต่อตัวแรงงานข้ามชาติและชุมชนที่อยู่ร่วมกับแรงงานฯ ส่งผลต่อการควบคุมโรคติดต่อ เพราะแรงงานไม่กล้าไปรับบริการด้านสุขภาพ ทั้งยังไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิ รวมถึงเอื้อให้เกิดการคอร์รัปชั่น และใช้อำนาจโดยมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐบางส่วนมากยิ่งขึ้น
เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชน จึงมีข้อเรียกร้องต่อแนวทางจัดการแรงงานข้ามชาติ ดังนี้ 1) ยกเลิกประกาศจังหวัดเรื่องการกำหนดมาตรการการจัดระเบียบต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ของจังหวัดภูเก็ต ระยอง ระนอง และพังงา และหนังสือสั่งการเรื่องการควบคุมแรงงานข้ามชาติของ จ.สมุทรสาคร ซึ่งสะท้อนถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการเลือกปฏิบัติต่อแรงานข้ามชาติ และเลือกนำแนวทางการสร้างความเข้าใจและมุ่งพัฒนาชุมชนและสังคมแห่งการอยู่ร่วมกันของคนทุกกลุ่มมาใช้ในการปฏิบัติงาน
2) ยกเลิกแนวปฏิบัติที่จะเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงการดูแลรักษาพยาบาลและการป้องกันโรคติดต่อรวมถึงการคุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติ รัฐควรส่งเสริมให้เกิดกลไกการเข้าถึงการบริการและการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติ
3) ยุติแนวคิดจะผลักดันแรงงานหญิงตั้งครรภ์กลับประเทศ เพราะไม่เป็นผลดีต่อตัวแรงงาน และชุมชนในพื้นที่ รวมทั้งยังเป็นการละเมิดสิทธิอนามัยเจริญพันธ์ ต่อแรงงานหญิงข้ามชาติอย่างร้ายแรง
4) การส่งแรงงานข้ามชาติกลับไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย จะต้องคำนึงถึงความจริงที่ว่ากลุ่มแรงงานเหล่านี้มีผู้ลี้ภัยหลบหนีจากการประหัตประหารอยู่ด้วย การส่งบุคคลดังกล่าวกลับไปสู่อันตรายเป็นการขัดต่อกฎจารีตระหว่างประเทศและปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
5) รัฐต้องมีแนวนโยบายเรื่องแรงงานข้ามชาติที่รอบด้านและสอดคล้องกับความเป็นจริงโดยเน้นการคุ้มครองแรงงานและเคารพในสิทธิมนุษยชนควบคู่ไปกับนโยบายด้านอื่นๆ ยกระดับนโยบายแรงงานข้ามชาติไปสู่นโยบายคนข้ามชาติมากกว่าการมองเฉพาะเรื่องการเป็นแรงงานเท่านั้น และรัฐต้องยอมรับความจริงที่ว่าไทยต้องการแรงงานข้ามชาติเข้ามาช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย ฉะนั้นจำเป็นที่รัฐต้องมองการจัดการที่เกี่ยวโยงกับบริบทประเทศไทยในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคอาเซียนและประชาคมโลกด้วย
เครือข่ายองค์กรด้านแรงงานข้ามชาติ มีกำหนดการจะขอเข้าพบ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน และผวจ.สมุทรสาคร เพื่อให้ยุติแนวคิดผลักดันแรงงานหญิงตั้งครรภ์กับภูมิลำเนาด้วย
อนึ่ง องค์กรพัฒนาภาคเอกชนกล่าวว่า ตัวเลขแรงงานข้ามชาติล่าสุด มีประมาณ 2 ล้านคน เพิ่มจากปี 47 ที่มีจำนวน 1 ล้านคน ซึ่งจำนวนมักจะขึ้นลงตามสถานการณ์ภายในประเทศเพื่อนบ้าน