ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อ เวลา 07.45 น. วานนี้ (13 พ.ย.) ที่บ้านพักเกษะโกมล ซึ่งเป็นบ้านพักของ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง บรรดาสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ(คมช.) ประกอบด้วย พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุก ผบ.ทอ. ในฐานะรักษาการประธาน คมช. พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. พล.อ.วินัย ภัททิยกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม และ เลขาธิการ คมช. พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ผบ.สส. และ พล.ร.อ.สถิรพันธ์ เกยานนท์ ผบ.ทร. ได้ทยอยกันเข้าหารือ และร่วมรับประทานอาหารเช้า กับ พล.อ.สนธิ จากเดิมเคยกำหนดร่วมหารือกับ พ ล.อ.สนธิ ที่ห้องทำงาน ในทำเนียบรัฐบาล ทุกเช้าวันอังคาร ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี
ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่าในการเข้าหารือกับ พล.อ.สนธิ วันนี้ไม่มีสมาชิกคมช. คนสำคัญ คือ พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร รองปลัดกระทรวงกลาโหม และผู้ช่วยเลขาฯ คมช. กับ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ผบ.ตร.
พล.อ.สนธิ กล่าวปฏิเสธถึงกระแสข่าว การหารือร่วมกับหัวหน้าพรรคการเมือง ต่างๆ เพื่อล๊อบบี้ไม่ให้ร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคพลังประชาชนว่า “ไม่รู้ ไม่ทราบ ไปเอาข่าวมาจากไหรน ผมไม่เคยไปยุ่ง หรือไปแทรกแซง จะไปคุยได้ยังไง ไปเอาข่าวมาจากไหน”
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่าหลังจาก พล.อ.สนธิ ประชุมร่วมกับ คมช.เสร็จ ก็ไม่ได้เข้าร่วมประชุม ครม.ที่ทำเนียบรัฐบาลตามปกติ โดยเข้าทำเนียบฯในช่วงบ่าย
ด้านพล.อ.บุญสร้าง ให้สัมภาษณ์ภายหลังการหารือว่า เป็นเพียงการรับประทารอาหารร่วมกัน เนื่องจากหลังจาก พล.อ.สนธิ เกษียณอายุราชการไปแล้วไม่ค่อยได้พบกัน
“ไม่ได้คุยเรื่องการเลือกตั้งมากนัก สิ่งที่ พล.อ.สนธิ พูดหลัก ๆคือ เราต้องการให้กำลังพลในกองทัพไปเลือกตั้ง และเชิญชวนให้ครอบครัวกำลังพลและประชาชนไปเลือกคนดีมีฝีมืออุดมการณ์ ทั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นการพูดคุยเรื่องปัญหาความมั่นคง ซึ่ง พล.อ.สนธิ ก็ไม่มีความเป็นห่วงมากนัก และไม่ได้ฝากให้ คมช. และเหล่าทัพทำอะไรเป็นพิเศษ เพียงแต่ให้ช่วยกันไปเลือกตั้ง
ผู้สื่อช่าวรายงานว่า หลังจากนั้น มีการประชุม คมช. โดยมี พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข เป็นประธานการประชุม คมช. ที่กองบัญชาการกองทัพบก โดยมีสมาชิก คมช. เข้าร่วมประชุมพร้อมเพียงขาดเพียง พล.อ. สพรั่ง กัลยาณมิตร ร ที่ติดภารกิจ โดยใช้เวลาหารือประมาณ 1 ชั่วโมง
คมช.หารือสถานการณ์การเมือง
พล.อ.บุญสร้าง การประชุม คมช.ส่วนใหญ่เป็นการสรุปสถานการณ์ ทางการเมือง ภายหลังที่มีพรรคการเมืองมาลงสมัคร ส.ส.ระบบสัดส่วนและระบบเขต เพื่อให้สมาชิก คมช. เข้าใจหลักเกณฑ์และรับทราบข้อมูลที่มีความทันสมัยที่สุด
ผู้สื่อข่าวถามว่า คมช.มีการส่งสัญญาณหรือพยายามดำเนินการให้พรรคประชาธิปัตย์มีโอกาสเป็นรัฐบาล โดยเฉพาะกรณีที่ลูกชาย พล.อ. วินัย ภัททิยกุล ลงสมัครพรรคประชาธิปัตย์ พล.อ.บุญสร้าง กล่าวว่า คมช.ไม่มีการต่อท่อการเมือง พรรคการเมืองมีจำนวนมากมาย แต่ละพรรคก็ส่งคนสมัครของตนเอง ส่วนกรณีลูกชาย พล.อ.วินัย ก็เป็นสิทธิส่วนตัว ไม่ใช่ทายาท คมช. และที่ประชุม คมช. ก็ไม่เคยพูดกันถึงเรื่องนี้ ซึ่ง คมช. ยืนยันชัดว่าจะไม่ไปยืนอยู่ข้างใด คมช.ไม่มีอะไรกับพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง
ยันไม่มีแทรกแซงทางการเมือง
พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก คมช. กล่าวว่า คมช.หารือประเด็นเรื่องงานในหน้าที่ไม่ได้เป็นการแทรกแซงเกี่ยวกับกิจกรรมการเมือง ซึ่ง ผบ.ทุกเหล่าทัพชี้แจ้งแล้วว่าจะวางตัวเป็นกลาง ซึ่งสัปดาห์หน้ากองทัพบกจะประชุมข้าราชการในกองทัพ เพื่อให้เคร่งครัดในกฎระเบียบและวางตัวไม่ให้มีภาพ การเข้าไปแทรกแซงการเมือง เพื่อให้ทุกคนสบายใจว่ากองทัพเป็นกลางทางการเมือง
พ.อ.สรรเสริญ กล่าวว่า การที่ คมช. เข้าหารือกับ พล.อ.สนธิ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการแทรกแซงการเมือง และไม่ได้สนับสนุนพรรคใด คมช.ต้องวางตัวเป็นกลางและปล่อยให้พรรคการเมืองเสนอแนวทางนโยบายโดยให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจ ส่วนงานด้านความมั่นคง คมช. ยังดูแลอยู่ แต่เรื่องการเมืองต้องถอยออกมา ส่วนกระแสข่าวที่ระบุว่าทหารที่เข้าไปแทรกแซงพรรคการเมือง คมช.ยืนยันว่าไม่มี เพราะได้ตรวจสอบแล้ว หากใครได้รับผลกระทบสามารถร้องเรียนได้
“ปัจจุบัน คมช. มีหน้าที่ประคับประคองสถานการณ์ให้มั่นคงจนถึงวันเลือกตั้ง เพราะไม่มีใครรับประกันได้ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น ดังนั้น คมช.จึงมีบทบาท เตรียมรักษาสถานภาพโดยร่วมของประเทศให้สู่การเลือกตั้งให้ได้ ความจริงบทบาท คมช.ใกล้จบภารกิจแล้ว เมื่อเลือกตั้งเสร็จมีรัฐบาล คมช. ก็จะหมดหน้าที่ไปพร้อมกับรัฐบาลชุดนี้”
ผู้สื่อข่าวถามว่าแสดงว่า คมช.ไม่มั่นใจว่าสถานการณ์จะกลับไปสู่ภาวะปกติ พ.อ.สรรเสริญ กล่าวว่า สิิ่ิิ่งที่พูดเป็นเรื่องของการก่อความวุ่นวาย เชื่อว่าคงไม่มีอะไร แต่ไม่มีใครรับประกันได้ เมื่อถามว่า คมช.เป็นห่วงการเลือกตั้งอย่างไร พ.อ.สรรเสริญ กล่าวว่า การเลือกตั้งในครั้งนี้ทุกคนมีเจตนาร่วมกันให้การซื้อสิทธิ์ขายเสียงมีน้อยที่สุด เพื่อให้การเลือกตั้งบริสูทธิ์ยุติธรรมมากที่สุด ไม่ว่าผลการเลือกตั้งออกมาอย่างไร คมช. ต้องยอมรับการตัดสินของคนทั้งประเทศ
ส่วนกรณีที่ลูกชาย พล.อ.วินัย ลงสมัครเลือกตั้งในนามพรรคประชาธิปัตย์นั้น พ.อ.สรรเสริญ กล่าวว่า ลูกกับพ่อเป็นคนละคนกัน ลูกชาย พล.อ.วินัย บรรลุนิติภาวะแล้ว อยากให้มองในภาพรวมเป็นเรื่องปกติของบุคคลที่บรรลุนิติภาวะมีสิทธิ์ตัดสินใจ ในฐานะที่เป็นคนไทย ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ คมช.
ปชป.ท้า“สมัคร”ดีเบตกับ“อภิสิทธิ์”
นายเทพไท เสนพงศ์ รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่ากรณีที่นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน เหน็บพรรคประชาธิปัตย์ว่า ความหล่อของหัวหน้าพรรคยิ่งหล่อยิ่งน่ากลัวว่า ไม่เข้าใจว่านายสมัครหมายถึงอะไร แต่คิดว่า ท่านคงหาข้อตำหนิอะไรไม่ได้เลยเอาเรื่องภาพลักษณ์ เรื่องความหล่อมาอ้าง แต่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นบุคคลที่สะอาดไม่มีประวัติในเรื่องโกงกิน และไม่ต้องคดี คงหาจุดอ่อนอื่นไม่ได้ ก็เลยมาพูดถึงเรื่องความหล่อ ซึ่งตนไม่เข้าใจว่าหมายถึงอะไร
ผู้สื่อข่าวถามว่า นายสมัครระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์กำลังหาพันธมิตรท างการเมือง และหาวิธีจัดตั้งรัฐบาลแม้จะมีเสียงข้างน้อยก็ตาม นายเทพไทกล่าวว่า พรรคยังไม่คิดถึงขั้นนั้น รอหลังเลือกตั้งแล้วผลการเลือกตั้งออกมา พรรคถึงจะแสดงท่าทีอีกครั้งหนึ่ง แต่วันนี้นายสมัครกำลังพยายามหนีการดีเบตตลอด ซึ่งตนก็ไม่เข้าใจว่าทำไมคนที่จะเสนอตัวเป็นผู้นำ เป็นนายกรัฐมนตรีไม่กล้าแสดงวิสัยทัศน์ต่อประชาชน ตนไม่อยากให้นายสมัครเข้าใจว่าถ้าเป็นการดีเบตหลายๆ พรรคจะเป็นพันธมิตรที่รุมนายสมัคร ตนเห็นว่ามีสื่อหลายช่องที่พร้อมจะจัดให้นายอภิสิทธิ์และนายสมัครสามารถดีเบตกันตัวต่อตัวได้
“วันนี้การเมืองก็ค่อนข้างชัดเจนแล้วว่ามีขั้วพลังประชาชนกับขั้วประชาธิปัตย์ ทั้ง 2 คนก็น่าจะมาประชันความคิดกัน ให้ประชาชนได้ตัดสินว่า ถ้าอยากได้นายสมัคร เป็นนายกฯ ก็ให้เลือกพรรคพลังประชาชน แต่ถ้าอยากได้นายอภิสิทธิ์เป็นนายกฯ ก็ให้เลือกพรรคประชาธิปัตย์ ผมคิดว่านายสมัครไม่น่าหนีเรื่องการดีเบต น่าจะให้ทั้ง 2 ขั้วได้ดีเบต และให้เวลามากพออย่างน้อยสลับกันคนละครึ่งชั่วโมง ทั้งนี้พรรคประชาธิปัตย์ พร้อมที่จะประชันความคิดในทุกรูปแบบ เพียงแค่ให้คุณสมัครตอบรับมา”
พปช.ออกแคมเปนต่อยอดประชานิยม
นายนพดล ปัทมะ รองเลขาธิการพรรคพลังประชาชน แถลงว่าพรรคเริ่มจัดพิมพ์แผ่นพับหาเสียงแจกจ่ายประชาชนแล้วกว่า 1 ล้านชุด โดยส่วนใหญ่ เป็นการต่อยอด นโยบายเดิมของพรรคไทยรักไทย ส่วนที่คนมองว่าเป็นนโยบายประชานิยมรอบ 2 นั้นก็แล้วแต่ใครจะมอง แต่พรรคจะใช้เป็นแคมเปญในการหาเสียงเลือกตั้ง
นายนพดล กล่าวว่า การเลือกตั้งครั้งนี้พรรคจะชูนโยบายสร้างความปรองดองสมานฉันฑ์เป็นวาระแห่งชาติ รวมทั้งการฟื้นฟูประชาธิปไตย และแก้ไขรัฐธรรมนูญ และการประกาศสงครามยาเสพติดรอบใหม่
สำหรับด้านเศรษฐกิจพรรคได้เสนอที่จะอัดฉีดเงินทุนในโครงการขนาดใหญ่ Mega Project) วงเงิน 1.5 ล้านล้านบาท ที่น่าสนใจเช่น ยกเลิกมาตรการกันเงินทุนสำรอง 30 % เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ รถไฟฟ้า 9 เส้นทาง 500,000 ล้านบาท โดยเริ่มใช้ได้ 3 ปี เสร็จสมบูรณ์ 6 ปี ค่าโดยสารไม่เกิน 15 บาทตลอดสาย รวมทั้งโครงการที่พักอาศัย บ้านรถไฟฟ้า(สถานที่ใกล้รถไฟฟ้า) บ้านบัณฑิต(โครงการบ้านสำหรับบัณฑิตจบใหม่ อาศัยไม่เกิน 7ปีค่าเช่า 1 พันบาทต่อเดือน) บ้านรัฐสวัสดิการ(เอื้อเฟื้อต่อข้าราชการ โดยใช้ที่ราชพัสดุก่อสร้าง) บ้านเอื้ออาทร(ต่อขยายจากโครงการรัฐบาลที่แล้ว) และบ้านมั่นคง(แก้ไขปัญหาพื้นที่ชุมชนแออัด) เป็นต้น
นายนพดล กล่าวอีกว่า พรรคยังจะเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ยายโอกาสให้แก่ประชาชน โดยจะมีการพักหนี้เกษตรกร พัฒนากองทุนหมู่บ้านเป็นธนาคารหมู่บ้าน เพื่อขยายเงินทุนหมู่บ้านละ 1 ล้านบาท โครงการกองทุนหมู่บ้าน เอส เอม แอล 3-5-7 แสนต่อหมู่บ้าน โอท็อประยะที่2 โครงการโคล้านตัว-วัวแสนฟาร์ม ให้เกษตรกรจัดตั้งฟารืมโคคุณภาพตามที่ได้ลงทะเบียนไว้ ขณะที่นโยบายสร้างสุขภาพและความมั่นคงให้ประชาชน ประกอบด้วยการต่อยอด30บาทรักษาทุกโรค ใช้บัตรประชาชนรักษาทุกโรค บัตรประกันสังคมครอบคลุมทั้งครอบครัว มุ่งขยายสิทธิในการรักษาพยาบาลให้ครอบคลุมถึงครอบครัว โครงการ1แพทย์1อำเภอ 2พยาบาล 1ตำบล,3คนดูแลผู้สูงอายุและพิการในหมู่บ้าน ทุนการศึกษาแก่คนในท้องถิ่นเรียนแพทย์ พยาบาล ประปาหมู่บ้านทั่วไทย เร่งรัดสร้างระบบประปาครบทุกหมู่บ้านทั่วประเทศ เป็นต้น
มัชฌิมาเน้นรัฐสวัสดิการ
นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ว่าที่หัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย กล่าวถึงการปราศรัยช่วยลูกพรรคหาเสียงว่า การเดินทางไปช่วยปราศรัยคงจะไม่ครบทุกพื้นที่ เนื่องจากเวลาที่จำกัดและเขตเลือกตั้งมีเป็นจำนวนมาก โดยในวันที่ 18 พ.ย.นี้ จะลงพื้นที่ปราศรัยหาเสียงครั้งแรกที่เขตจตุจักร กทม. ส่วนพื้นที่ต่างจังหวัดจะเดินทางไปปราศรัยมีทั้ง จ.เชียงใหม่ จ.ชัยนาท และพื้นที่ภาคใต้บางจังหวัด โดยได้เน้นย้ำให้ลูกพรรคชูนโยบายรัฐสวัสดิการในการหาเสียง เพื่อแก้ไขปัญหาปากท้องขอประชาชน สำหรับอุปสรรคของเราก็คือการเป็นพรรคใหม่ ยังไม่เป็นที่รู้จักของประชาชน อย่างไรก็ตาม ตนอยากวิงวอนขอความเห็นใจจากประชาชนให้เลือกผู้สมัครของพรรคเข้าไปแก้ไขปัญหาให้ประเทศชาติในครั้งนี้
อ้างป้ายหาเสียงเป็นฝีมือคนนอก
วานนี้ ( 13 พ.ย.) นายสุวิช ชมพูนุชจินดา รองเลขาธิการพรรคมัชฌิมาธิปไตย และนายพิเชียร อำนาจวรประเสริฐ ผู้สมัคร ส.ส.เขต 2 กทม. เข้ายื่นเอกสารผลการประชุมสามัญเพื่อเลือกหัวหน้าพรรคใหม่มัชธิมาธิปไตย ที่มีมติให้นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ เป็นหัวหน้าพรรค พร้อมเปลี่ยนแปลงรายชื่อคณะกรรมการบริหารพรรค เพื่อให้ กกต. ในฐานะนายทะเบียนพิจารณารับรองเอกสารให้ถูกต้อง
พร้อมกันนี้ได้เข้าพบนางสดศรี สัตยธรรม กกต. เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริง เรื่องป้ายหาเสียงของพรรคและการเผยแพร่เทป การปราศรัยของนายประชัย ทางสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี
นายพิเชียร กล่าวว่า ได้มีโอกาสชี้แจงกรณีป้ายหาเสียงของพรรคและการเผยแพร่เทปการปราศรัยของนายประชัย ทางสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวีกับ นางสดศรี ว่าทางพรรคไม่มีเจตนาทำผิดกฎหมาย พรรคไม่ใช่เด็กดื้อ และพร้อมปฏิบัติตามระเบียบอย่างเคร่งครัด หาก กกต.เห็นว่าส่วนไหนไม่ถูกต้องพรรคก็จะแก้ไข อย่างไรก็ตามก่อนดำเนินการติดป้ายพรรคได้สอบถามมายังฝ่ายกฎหมายของ กกต. แล้ว เท่าที่พบก็ยังไม่เห็นว่ามีข้อผิดพลาด
“ปัญหาการติดป้ายหาเสียง เชื่อว่าเป็นฝีมือของกลุ่มคน บางกลุ่มที่ไม่ใช่ คนในพรรค ขณะนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบว่าใครเป็นคนกระทำ และวันนี้จะแจ้งความ ที่สถานีตำรวจในพื้นที่ เพื่อแสดงเจตนาที่บริสุทธิ์ว่าพรรคไม่มีส่วนรู้เห็นเรื่องการติดตั้งป้ายหาเสียงนั้น”
ส่วนกรณีมีเทปปราศรัยเผยแพร่เทปปราศรัยทางช่องเอเอสทีวีนั้น ยืนยันพรรคไม่มีเจตนาทำเช่นนั้นและกำลังตรวจสอบว่าใครเอาอะไรไปออกรายการ โดยขณะนี้สั่งการให้ยุติการเผยแพร่ไปแล้ว
ด้านนายเรืองโรจน์ จอมสืบ ผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์ กกต. เปิดเผยว่าเบื้อต้นได้ประสานไปยัง กทม.แล้วในการออกประกาศเรื่องการปิดป้าย หาเสียงเพิ่มเติม เพื่อแก้ปัญหาข้อความ “ทรัพย์สินของทางราชการ” ในประกาศที่ออกมาโดยจะให้ กทม.กำหนดให้เขตต่างๆ ออกประกาศเพิ่มเติมโดยระบุสถานที่ปิดประกาศให้ชัดเจนว่าจุดใดทำได้ ทำไม่ได้
“สดศรี”บอกถ้าถูกร้องต้องดำเนินการ
ด้าน นางสดศรี สัตยธรรม กกต.ด้านกิจการพรรคการเมือง กล่าวว่า ได้เตือนพรรคมัชฌิมาธิปไตยไปแล้วในเรื่องการติดป้ายหาเสียงในจุด ที่ไม่ได้กำหนดอาจจะผิดกฎหมาย
ส่วนเรื่องโฆษณาในวิทยุชุมชน 92.25 และโทรทัศน์เอเอสทีวีของพรรคมัชฌิมาธิปไตยนั้น ได้บอกไปยังพรรคมัชฌิมาธิปไตยแล้วเช่นกัน แม้จะเป็นทีวีส่วนตัวของนายประชัย เองก็โฆษณาไม่ได้ หากถามว่าผิดหรือไม่ ก็ถือว่าผิดไปแล้ว ถ้ามีใครร้องเรียนเข้ามา กกต.ก็ต้องพิจารณาว่า รู้เรื่องกฎระเบียบของกกต.หรือไม่ เพราะก็ทราบดีว่า มัชฌิมาฯจนถึงวันนี้ยังมีปัญหาในพรรคกันเองแต่เราก็คงต้องเตือนกันก่อน หากยังเกิดอีก ก็คงดำเนินการต่อไป
กกต.ค้านครส.ตั้งศูนย์แจ้งซื้อเสียง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าวันเดียวกัน พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการดำเนินการตามนโยบายวาระแห่งชาติ ว่าด้วยการรณรงค์และแก้ไขปัญหาการซื้อสิทธิ์ขายเสียง(ครส.) เป็นประธานการประชุม โดยมีการหยิบยกเอาหนังสือตอบจาก กกต.กรณีที่ ครส.สอบถามไป 2 เรื่องคือ มาตรการการคุ้มครองและความปลอดภัยกับผู้ที่ให้ช้อมูลการซื้อสิทธิขายเสียง และ ครส.โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอจัดตั้งศูนย์รับแจ้งการซื้อเสียงระดับอำเภอจะได้หรือไม่
โดย กกต.มีหนังสือตอบกลับมาเมื่อวันที่ 8 พ.ย.ว่า กกต.มีกระบวนการจัดการเลือกตั้งรับเรื่องราวร้องเรียนการทุจริต โดยมีผู้แทน กกต.จากทุกส่วน ซึ่งกกต.จังหวัดจะตั้งคณะกรรมการรับเรื่องราวต่างๆ ขึ้นมาร่วมกันทำงาน โดยประสานงานกับหน่วยราชการ กระทรวงกลาโหม กระทรวมหาดไทย ตำรวจ อยู่ในกรรมการอยู่แล้ว หาก ครส.จะดำเนินการ ก็สามารถใช้ช่องทางจาก กกต.ที่จัดตั้งและส่วนราชการที่มีอยู่แล้วได้
นอกจากนี้ กกต.ได้ตั้งคณะกรรมการอำนวยการจัดการเลือกตั้ง ส.ส. ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยมีคณะกรรมการ และคณะอนุกรรมการที่มาจากส่วนราชการต่างๆ ซึ่งมีผู้แทนจากกระทรวงมหาดไทยรวมอยู่ด้วย ซึ่งกระทรวงมหาดไทยก็สามารถประสานงาน และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารในคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการชุดดังกล่าวได้ ตลอดจนนำเสนอแนวคิดในการจัดตั้งศูนย์รับแจ้งการซื้อสิทธิขายเสียงระดับอำเภอต่อคณะกรรมการชุดดังกล่าว
หาก ครส.จะช่วยประชาสัมพันธ์ในเรื่องดังกล่าว รวมทั้งช่วยรณรงค์ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับอันตรายการซื้อสิทธิขายเสียง ตลอดจนเชิญชวนให้ประชาชนผู้มีสิทธิ ก็จะเป็นการสนับสนุนดำเนินงานของ กกต.และทำให้การปฎิบัติการตามวาระแห่งชาติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่าในการเข้าหารือกับ พล.อ.สนธิ วันนี้ไม่มีสมาชิกคมช. คนสำคัญ คือ พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร รองปลัดกระทรวงกลาโหม และผู้ช่วยเลขาฯ คมช. กับ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ผบ.ตร.
พล.อ.สนธิ กล่าวปฏิเสธถึงกระแสข่าว การหารือร่วมกับหัวหน้าพรรคการเมือง ต่างๆ เพื่อล๊อบบี้ไม่ให้ร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคพลังประชาชนว่า “ไม่รู้ ไม่ทราบ ไปเอาข่าวมาจากไหรน ผมไม่เคยไปยุ่ง หรือไปแทรกแซง จะไปคุยได้ยังไง ไปเอาข่าวมาจากไหน”
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่าหลังจาก พล.อ.สนธิ ประชุมร่วมกับ คมช.เสร็จ ก็ไม่ได้เข้าร่วมประชุม ครม.ที่ทำเนียบรัฐบาลตามปกติ โดยเข้าทำเนียบฯในช่วงบ่าย
ด้านพล.อ.บุญสร้าง ให้สัมภาษณ์ภายหลังการหารือว่า เป็นเพียงการรับประทารอาหารร่วมกัน เนื่องจากหลังจาก พล.อ.สนธิ เกษียณอายุราชการไปแล้วไม่ค่อยได้พบกัน
“ไม่ได้คุยเรื่องการเลือกตั้งมากนัก สิ่งที่ พล.อ.สนธิ พูดหลัก ๆคือ เราต้องการให้กำลังพลในกองทัพไปเลือกตั้ง และเชิญชวนให้ครอบครัวกำลังพลและประชาชนไปเลือกคนดีมีฝีมืออุดมการณ์ ทั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นการพูดคุยเรื่องปัญหาความมั่นคง ซึ่ง พล.อ.สนธิ ก็ไม่มีความเป็นห่วงมากนัก และไม่ได้ฝากให้ คมช. และเหล่าทัพทำอะไรเป็นพิเศษ เพียงแต่ให้ช่วยกันไปเลือกตั้ง
ผู้สื่อช่าวรายงานว่า หลังจากนั้น มีการประชุม คมช. โดยมี พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข เป็นประธานการประชุม คมช. ที่กองบัญชาการกองทัพบก โดยมีสมาชิก คมช. เข้าร่วมประชุมพร้อมเพียงขาดเพียง พล.อ. สพรั่ง กัลยาณมิตร ร ที่ติดภารกิจ โดยใช้เวลาหารือประมาณ 1 ชั่วโมง
คมช.หารือสถานการณ์การเมือง
พล.อ.บุญสร้าง การประชุม คมช.ส่วนใหญ่เป็นการสรุปสถานการณ์ ทางการเมือง ภายหลังที่มีพรรคการเมืองมาลงสมัคร ส.ส.ระบบสัดส่วนและระบบเขต เพื่อให้สมาชิก คมช. เข้าใจหลักเกณฑ์และรับทราบข้อมูลที่มีความทันสมัยที่สุด
ผู้สื่อข่าวถามว่า คมช.มีการส่งสัญญาณหรือพยายามดำเนินการให้พรรคประชาธิปัตย์มีโอกาสเป็นรัฐบาล โดยเฉพาะกรณีที่ลูกชาย พล.อ. วินัย ภัททิยกุล ลงสมัครพรรคประชาธิปัตย์ พล.อ.บุญสร้าง กล่าวว่า คมช.ไม่มีการต่อท่อการเมือง พรรคการเมืองมีจำนวนมากมาย แต่ละพรรคก็ส่งคนสมัครของตนเอง ส่วนกรณีลูกชาย พล.อ.วินัย ก็เป็นสิทธิส่วนตัว ไม่ใช่ทายาท คมช. และที่ประชุม คมช. ก็ไม่เคยพูดกันถึงเรื่องนี้ ซึ่ง คมช. ยืนยันชัดว่าจะไม่ไปยืนอยู่ข้างใด คมช.ไม่มีอะไรกับพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง
ยันไม่มีแทรกแซงทางการเมือง
พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก คมช. กล่าวว่า คมช.หารือประเด็นเรื่องงานในหน้าที่ไม่ได้เป็นการแทรกแซงเกี่ยวกับกิจกรรมการเมือง ซึ่ง ผบ.ทุกเหล่าทัพชี้แจ้งแล้วว่าจะวางตัวเป็นกลาง ซึ่งสัปดาห์หน้ากองทัพบกจะประชุมข้าราชการในกองทัพ เพื่อให้เคร่งครัดในกฎระเบียบและวางตัวไม่ให้มีภาพ การเข้าไปแทรกแซงการเมือง เพื่อให้ทุกคนสบายใจว่ากองทัพเป็นกลางทางการเมือง
พ.อ.สรรเสริญ กล่าวว่า การที่ คมช. เข้าหารือกับ พล.อ.สนธิ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการแทรกแซงการเมือง และไม่ได้สนับสนุนพรรคใด คมช.ต้องวางตัวเป็นกลางและปล่อยให้พรรคการเมืองเสนอแนวทางนโยบายโดยให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจ ส่วนงานด้านความมั่นคง คมช. ยังดูแลอยู่ แต่เรื่องการเมืองต้องถอยออกมา ส่วนกระแสข่าวที่ระบุว่าทหารที่เข้าไปแทรกแซงพรรคการเมือง คมช.ยืนยันว่าไม่มี เพราะได้ตรวจสอบแล้ว หากใครได้รับผลกระทบสามารถร้องเรียนได้
“ปัจจุบัน คมช. มีหน้าที่ประคับประคองสถานการณ์ให้มั่นคงจนถึงวันเลือกตั้ง เพราะไม่มีใครรับประกันได้ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น ดังนั้น คมช.จึงมีบทบาท เตรียมรักษาสถานภาพโดยร่วมของประเทศให้สู่การเลือกตั้งให้ได้ ความจริงบทบาท คมช.ใกล้จบภารกิจแล้ว เมื่อเลือกตั้งเสร็จมีรัฐบาล คมช. ก็จะหมดหน้าที่ไปพร้อมกับรัฐบาลชุดนี้”
ผู้สื่อข่าวถามว่าแสดงว่า คมช.ไม่มั่นใจว่าสถานการณ์จะกลับไปสู่ภาวะปกติ พ.อ.สรรเสริญ กล่าวว่า สิิ่ิิ่งที่พูดเป็นเรื่องของการก่อความวุ่นวาย เชื่อว่าคงไม่มีอะไร แต่ไม่มีใครรับประกันได้ เมื่อถามว่า คมช.เป็นห่วงการเลือกตั้งอย่างไร พ.อ.สรรเสริญ กล่าวว่า การเลือกตั้งในครั้งนี้ทุกคนมีเจตนาร่วมกันให้การซื้อสิทธิ์ขายเสียงมีน้อยที่สุด เพื่อให้การเลือกตั้งบริสูทธิ์ยุติธรรมมากที่สุด ไม่ว่าผลการเลือกตั้งออกมาอย่างไร คมช. ต้องยอมรับการตัดสินของคนทั้งประเทศ
ส่วนกรณีที่ลูกชาย พล.อ.วินัย ลงสมัครเลือกตั้งในนามพรรคประชาธิปัตย์นั้น พ.อ.สรรเสริญ กล่าวว่า ลูกกับพ่อเป็นคนละคนกัน ลูกชาย พล.อ.วินัย บรรลุนิติภาวะแล้ว อยากให้มองในภาพรวมเป็นเรื่องปกติของบุคคลที่บรรลุนิติภาวะมีสิทธิ์ตัดสินใจ ในฐานะที่เป็นคนไทย ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ คมช.
ปชป.ท้า“สมัคร”ดีเบตกับ“อภิสิทธิ์”
นายเทพไท เสนพงศ์ รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่ากรณีที่นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน เหน็บพรรคประชาธิปัตย์ว่า ความหล่อของหัวหน้าพรรคยิ่งหล่อยิ่งน่ากลัวว่า ไม่เข้าใจว่านายสมัครหมายถึงอะไร แต่คิดว่า ท่านคงหาข้อตำหนิอะไรไม่ได้เลยเอาเรื่องภาพลักษณ์ เรื่องความหล่อมาอ้าง แต่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นบุคคลที่สะอาดไม่มีประวัติในเรื่องโกงกิน และไม่ต้องคดี คงหาจุดอ่อนอื่นไม่ได้ ก็เลยมาพูดถึงเรื่องความหล่อ ซึ่งตนไม่เข้าใจว่าหมายถึงอะไร
ผู้สื่อข่าวถามว่า นายสมัครระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์กำลังหาพันธมิตรท างการเมือง และหาวิธีจัดตั้งรัฐบาลแม้จะมีเสียงข้างน้อยก็ตาม นายเทพไทกล่าวว่า พรรคยังไม่คิดถึงขั้นนั้น รอหลังเลือกตั้งแล้วผลการเลือกตั้งออกมา พรรคถึงจะแสดงท่าทีอีกครั้งหนึ่ง แต่วันนี้นายสมัครกำลังพยายามหนีการดีเบตตลอด ซึ่งตนก็ไม่เข้าใจว่าทำไมคนที่จะเสนอตัวเป็นผู้นำ เป็นนายกรัฐมนตรีไม่กล้าแสดงวิสัยทัศน์ต่อประชาชน ตนไม่อยากให้นายสมัครเข้าใจว่าถ้าเป็นการดีเบตหลายๆ พรรคจะเป็นพันธมิตรที่รุมนายสมัคร ตนเห็นว่ามีสื่อหลายช่องที่พร้อมจะจัดให้นายอภิสิทธิ์และนายสมัครสามารถดีเบตกันตัวต่อตัวได้
“วันนี้การเมืองก็ค่อนข้างชัดเจนแล้วว่ามีขั้วพลังประชาชนกับขั้วประชาธิปัตย์ ทั้ง 2 คนก็น่าจะมาประชันความคิดกัน ให้ประชาชนได้ตัดสินว่า ถ้าอยากได้นายสมัคร เป็นนายกฯ ก็ให้เลือกพรรคพลังประชาชน แต่ถ้าอยากได้นายอภิสิทธิ์เป็นนายกฯ ก็ให้เลือกพรรคประชาธิปัตย์ ผมคิดว่านายสมัครไม่น่าหนีเรื่องการดีเบต น่าจะให้ทั้ง 2 ขั้วได้ดีเบต และให้เวลามากพออย่างน้อยสลับกันคนละครึ่งชั่วโมง ทั้งนี้พรรคประชาธิปัตย์ พร้อมที่จะประชันความคิดในทุกรูปแบบ เพียงแค่ให้คุณสมัครตอบรับมา”
พปช.ออกแคมเปนต่อยอดประชานิยม
นายนพดล ปัทมะ รองเลขาธิการพรรคพลังประชาชน แถลงว่าพรรคเริ่มจัดพิมพ์แผ่นพับหาเสียงแจกจ่ายประชาชนแล้วกว่า 1 ล้านชุด โดยส่วนใหญ่ เป็นการต่อยอด นโยบายเดิมของพรรคไทยรักไทย ส่วนที่คนมองว่าเป็นนโยบายประชานิยมรอบ 2 นั้นก็แล้วแต่ใครจะมอง แต่พรรคจะใช้เป็นแคมเปญในการหาเสียงเลือกตั้ง
นายนพดล กล่าวว่า การเลือกตั้งครั้งนี้พรรคจะชูนโยบายสร้างความปรองดองสมานฉันฑ์เป็นวาระแห่งชาติ รวมทั้งการฟื้นฟูประชาธิปไตย และแก้ไขรัฐธรรมนูญ และการประกาศสงครามยาเสพติดรอบใหม่
สำหรับด้านเศรษฐกิจพรรคได้เสนอที่จะอัดฉีดเงินทุนในโครงการขนาดใหญ่ Mega Project) วงเงิน 1.5 ล้านล้านบาท ที่น่าสนใจเช่น ยกเลิกมาตรการกันเงินทุนสำรอง 30 % เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ รถไฟฟ้า 9 เส้นทาง 500,000 ล้านบาท โดยเริ่มใช้ได้ 3 ปี เสร็จสมบูรณ์ 6 ปี ค่าโดยสารไม่เกิน 15 บาทตลอดสาย รวมทั้งโครงการที่พักอาศัย บ้านรถไฟฟ้า(สถานที่ใกล้รถไฟฟ้า) บ้านบัณฑิต(โครงการบ้านสำหรับบัณฑิตจบใหม่ อาศัยไม่เกิน 7ปีค่าเช่า 1 พันบาทต่อเดือน) บ้านรัฐสวัสดิการ(เอื้อเฟื้อต่อข้าราชการ โดยใช้ที่ราชพัสดุก่อสร้าง) บ้านเอื้ออาทร(ต่อขยายจากโครงการรัฐบาลที่แล้ว) และบ้านมั่นคง(แก้ไขปัญหาพื้นที่ชุมชนแออัด) เป็นต้น
นายนพดล กล่าวอีกว่า พรรคยังจะเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ยายโอกาสให้แก่ประชาชน โดยจะมีการพักหนี้เกษตรกร พัฒนากองทุนหมู่บ้านเป็นธนาคารหมู่บ้าน เพื่อขยายเงินทุนหมู่บ้านละ 1 ล้านบาท โครงการกองทุนหมู่บ้าน เอส เอม แอล 3-5-7 แสนต่อหมู่บ้าน โอท็อประยะที่2 โครงการโคล้านตัว-วัวแสนฟาร์ม ให้เกษตรกรจัดตั้งฟารืมโคคุณภาพตามที่ได้ลงทะเบียนไว้ ขณะที่นโยบายสร้างสุขภาพและความมั่นคงให้ประชาชน ประกอบด้วยการต่อยอด30บาทรักษาทุกโรค ใช้บัตรประชาชนรักษาทุกโรค บัตรประกันสังคมครอบคลุมทั้งครอบครัว มุ่งขยายสิทธิในการรักษาพยาบาลให้ครอบคลุมถึงครอบครัว โครงการ1แพทย์1อำเภอ 2พยาบาล 1ตำบล,3คนดูแลผู้สูงอายุและพิการในหมู่บ้าน ทุนการศึกษาแก่คนในท้องถิ่นเรียนแพทย์ พยาบาล ประปาหมู่บ้านทั่วไทย เร่งรัดสร้างระบบประปาครบทุกหมู่บ้านทั่วประเทศ เป็นต้น
มัชฌิมาเน้นรัฐสวัสดิการ
นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ว่าที่หัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย กล่าวถึงการปราศรัยช่วยลูกพรรคหาเสียงว่า การเดินทางไปช่วยปราศรัยคงจะไม่ครบทุกพื้นที่ เนื่องจากเวลาที่จำกัดและเขตเลือกตั้งมีเป็นจำนวนมาก โดยในวันที่ 18 พ.ย.นี้ จะลงพื้นที่ปราศรัยหาเสียงครั้งแรกที่เขตจตุจักร กทม. ส่วนพื้นที่ต่างจังหวัดจะเดินทางไปปราศรัยมีทั้ง จ.เชียงใหม่ จ.ชัยนาท และพื้นที่ภาคใต้บางจังหวัด โดยได้เน้นย้ำให้ลูกพรรคชูนโยบายรัฐสวัสดิการในการหาเสียง เพื่อแก้ไขปัญหาปากท้องขอประชาชน สำหรับอุปสรรคของเราก็คือการเป็นพรรคใหม่ ยังไม่เป็นที่รู้จักของประชาชน อย่างไรก็ตาม ตนอยากวิงวอนขอความเห็นใจจากประชาชนให้เลือกผู้สมัครของพรรคเข้าไปแก้ไขปัญหาให้ประเทศชาติในครั้งนี้
อ้างป้ายหาเสียงเป็นฝีมือคนนอก
วานนี้ ( 13 พ.ย.) นายสุวิช ชมพูนุชจินดา รองเลขาธิการพรรคมัชฌิมาธิปไตย และนายพิเชียร อำนาจวรประเสริฐ ผู้สมัคร ส.ส.เขต 2 กทม. เข้ายื่นเอกสารผลการประชุมสามัญเพื่อเลือกหัวหน้าพรรคใหม่มัชธิมาธิปไตย ที่มีมติให้นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ เป็นหัวหน้าพรรค พร้อมเปลี่ยนแปลงรายชื่อคณะกรรมการบริหารพรรค เพื่อให้ กกต. ในฐานะนายทะเบียนพิจารณารับรองเอกสารให้ถูกต้อง
พร้อมกันนี้ได้เข้าพบนางสดศรี สัตยธรรม กกต. เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริง เรื่องป้ายหาเสียงของพรรคและการเผยแพร่เทป การปราศรัยของนายประชัย ทางสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี
นายพิเชียร กล่าวว่า ได้มีโอกาสชี้แจงกรณีป้ายหาเสียงของพรรคและการเผยแพร่เทปการปราศรัยของนายประชัย ทางสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวีกับ นางสดศรี ว่าทางพรรคไม่มีเจตนาทำผิดกฎหมาย พรรคไม่ใช่เด็กดื้อ และพร้อมปฏิบัติตามระเบียบอย่างเคร่งครัด หาก กกต.เห็นว่าส่วนไหนไม่ถูกต้องพรรคก็จะแก้ไข อย่างไรก็ตามก่อนดำเนินการติดป้ายพรรคได้สอบถามมายังฝ่ายกฎหมายของ กกต. แล้ว เท่าที่พบก็ยังไม่เห็นว่ามีข้อผิดพลาด
“ปัญหาการติดป้ายหาเสียง เชื่อว่าเป็นฝีมือของกลุ่มคน บางกลุ่มที่ไม่ใช่ คนในพรรค ขณะนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบว่าใครเป็นคนกระทำ และวันนี้จะแจ้งความ ที่สถานีตำรวจในพื้นที่ เพื่อแสดงเจตนาที่บริสุทธิ์ว่าพรรคไม่มีส่วนรู้เห็นเรื่องการติดตั้งป้ายหาเสียงนั้น”
ส่วนกรณีมีเทปปราศรัยเผยแพร่เทปปราศรัยทางช่องเอเอสทีวีนั้น ยืนยันพรรคไม่มีเจตนาทำเช่นนั้นและกำลังตรวจสอบว่าใครเอาอะไรไปออกรายการ โดยขณะนี้สั่งการให้ยุติการเผยแพร่ไปแล้ว
ด้านนายเรืองโรจน์ จอมสืบ ผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์ กกต. เปิดเผยว่าเบื้อต้นได้ประสานไปยัง กทม.แล้วในการออกประกาศเรื่องการปิดป้าย หาเสียงเพิ่มเติม เพื่อแก้ปัญหาข้อความ “ทรัพย์สินของทางราชการ” ในประกาศที่ออกมาโดยจะให้ กทม.กำหนดให้เขตต่างๆ ออกประกาศเพิ่มเติมโดยระบุสถานที่ปิดประกาศให้ชัดเจนว่าจุดใดทำได้ ทำไม่ได้
“สดศรี”บอกถ้าถูกร้องต้องดำเนินการ
ด้าน นางสดศรี สัตยธรรม กกต.ด้านกิจการพรรคการเมือง กล่าวว่า ได้เตือนพรรคมัชฌิมาธิปไตยไปแล้วในเรื่องการติดป้ายหาเสียงในจุด ที่ไม่ได้กำหนดอาจจะผิดกฎหมาย
ส่วนเรื่องโฆษณาในวิทยุชุมชน 92.25 และโทรทัศน์เอเอสทีวีของพรรคมัชฌิมาธิปไตยนั้น ได้บอกไปยังพรรคมัชฌิมาธิปไตยแล้วเช่นกัน แม้จะเป็นทีวีส่วนตัวของนายประชัย เองก็โฆษณาไม่ได้ หากถามว่าผิดหรือไม่ ก็ถือว่าผิดไปแล้ว ถ้ามีใครร้องเรียนเข้ามา กกต.ก็ต้องพิจารณาว่า รู้เรื่องกฎระเบียบของกกต.หรือไม่ เพราะก็ทราบดีว่า มัชฌิมาฯจนถึงวันนี้ยังมีปัญหาในพรรคกันเองแต่เราก็คงต้องเตือนกันก่อน หากยังเกิดอีก ก็คงดำเนินการต่อไป
กกต.ค้านครส.ตั้งศูนย์แจ้งซื้อเสียง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าวันเดียวกัน พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการดำเนินการตามนโยบายวาระแห่งชาติ ว่าด้วยการรณรงค์และแก้ไขปัญหาการซื้อสิทธิ์ขายเสียง(ครส.) เป็นประธานการประชุม โดยมีการหยิบยกเอาหนังสือตอบจาก กกต.กรณีที่ ครส.สอบถามไป 2 เรื่องคือ มาตรการการคุ้มครองและความปลอดภัยกับผู้ที่ให้ช้อมูลการซื้อสิทธิขายเสียง และ ครส.โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอจัดตั้งศูนย์รับแจ้งการซื้อเสียงระดับอำเภอจะได้หรือไม่
โดย กกต.มีหนังสือตอบกลับมาเมื่อวันที่ 8 พ.ย.ว่า กกต.มีกระบวนการจัดการเลือกตั้งรับเรื่องราวร้องเรียนการทุจริต โดยมีผู้แทน กกต.จากทุกส่วน ซึ่งกกต.จังหวัดจะตั้งคณะกรรมการรับเรื่องราวต่างๆ ขึ้นมาร่วมกันทำงาน โดยประสานงานกับหน่วยราชการ กระทรวงกลาโหม กระทรวมหาดไทย ตำรวจ อยู่ในกรรมการอยู่แล้ว หาก ครส.จะดำเนินการ ก็สามารถใช้ช่องทางจาก กกต.ที่จัดตั้งและส่วนราชการที่มีอยู่แล้วได้
นอกจากนี้ กกต.ได้ตั้งคณะกรรมการอำนวยการจัดการเลือกตั้ง ส.ส. ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยมีคณะกรรมการ และคณะอนุกรรมการที่มาจากส่วนราชการต่างๆ ซึ่งมีผู้แทนจากกระทรวงมหาดไทยรวมอยู่ด้วย ซึ่งกระทรวงมหาดไทยก็สามารถประสานงาน และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารในคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการชุดดังกล่าวได้ ตลอดจนนำเสนอแนวคิดในการจัดตั้งศูนย์รับแจ้งการซื้อสิทธิขายเสียงระดับอำเภอต่อคณะกรรมการชุดดังกล่าว
หาก ครส.จะช่วยประชาสัมพันธ์ในเรื่องดังกล่าว รวมทั้งช่วยรณรงค์ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับอันตรายการซื้อสิทธิขายเสียง ตลอดจนเชิญชวนให้ประชาชนผู้มีสิทธิ ก็จะเป็นการสนับสนุนดำเนินงานของ กกต.และทำให้การปฎิบัติการตามวาระแห่งชาติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น