ห้างอิเซตัน ครวญเศรษฐกิจ การเมืองทำพิษ ครึ่งปีแรกรายได้รวมลด 10% เร่งมือลุ้นช่วงท้ายปี หวังดันยอดขายสู่เป้าหมาย ล่าสุดจัดงาน “เซ็นได โทโฮะขุ เจแปน แฟร์” หวังดึงคนเข้าห้าง
นาย ชินยะ อูเอโนะ ประธาน บริษัท อิเซตัน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า สำหรับผลประกอบการในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2550 มีรายได้ลดลงประมาณ 10% อันเป็นผลจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ที่มีผลกระทบต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภครวมถึงนักท่องเที่ยวที่ลดลงด้วย ขณะที่ในปี 2549 ที่ผ่านมา ห้างสรรพสินค้าอิเซตันมีรายได้ราว 1,300 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม คาดว่าในช่วงปลายปีนี้จะมีรายได้เพิ่มขึ้นโดยรวมใกล้เคียงกับปีที่แล้ว จากการเตรียมตกแต่งพื้นที่ชั้น 2 ใหม่ในเดือนนี้เพื่อดึงดูดลูกค้า ประกอบกับการที่เซ็นทรัลเวิลด์พลาซ่าได้เปิดคอนเวนชั่นฮอลล์ ซึ่งเป็นโอกาสในการเพิ่มยอดขายของอิเซตันด้วย ในขณะเดียวกันก็มีแผนรุกธุรกิจด้วยการจัดกิจกรรมพิเศษเพื่อกระตุ้นยอดขายอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะงานเทศกาลอาหารที่หมุนเวียนจากเมืองต่างๆ ของญี่ปุ่น ซึ่งได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเป็นอย่างมาก
“ตลอดเวลา 15 ปีที่ห้างสรรพสินค้าอิเซตันเข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 ได้รับการตอบรับที่ดีอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดจากกลุ่มลูกค้าผู้บริโภคทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ จากการที่สินค้าญี่ปุ่นเป็นที่นิยมมากขึ้น พร้อมทั้งลงทุนปรับปรุงพื้นที่ตลอดจนบริการต่างๆ ให้มีความทันสมัยอยู่เสมอด้วยเอกลักษณ์ของความเป็นญี่ปุ่น โดยมีสัดส่วนลูกค้าชาวไทยเพิ่มขึ้นทุกปีถึง 60% ในปัจจุบัน ส่วนกลุ่มชาวญี่ปุ่นที่พำนักอยู่ในประเทศไทยและนักท่องเที่ยวมีประมาณ 25% สำหรับชาวต่างชาติ 15% สินค้าที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ได้แก่ อาหาร เสื้อผ้าสตรี และเสื้อผ้าบุรุษ
ล่าสุดได้จัดงานเทศกาลผลิตภัณฑ์อาหารและแนะนำสถานที่ท่องเที่ยว “เซ็นได โทโฮะขุ เจแปน แฟร์” ขึ้นอีกครั้ง ที่บริเวณชั้น 5 และ 6 ระหว่างวันที่ 1-11 พฤศจิกายน 2550 ที่ห้างสรรพสินค้าอิเซตัน หลังจากประสบความสำเร็จอย่างมากในปีที่ผ่านมา โดยนอกจากอาหารปรุงสดรวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ ได้รับความนิยมเหนือความคาดหมายแล้ว ในส่วนของการท่องเที่ยวที่เพิ่งเปิดตัวก็ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวชาวไทยนับพันคนไปเยือนดินแดนโทโฮะขุในช่วงมกราคม–สิงหาคม 2550 นี้ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 49% ในปีที่ผ่านมา
นายชินยะ ในส่วนของอิเซตันเองนั้นก็มีกิจกรรมพิเศษอย่างต่อเนื่องมาตลอดปี ทั้งเทศกาลอาหารและสินค้าจากแหล่งต่างๆ ที่น่าสนใจของญี่ปุ่น โครงการ My Elephant รวมถึงการร่วมกับหน่วยงานอีกหลายแห่งที่จัดงานต่างๆ และในโอกาสพิเศษนี้ก็ได้จัดเทศกาล “เซ็นได โทโฮะขุ เจแปนแฟร์” ขึ้นอีกครั้งเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ที่ชื่นชอบอาหารและวัฒนธรรมญี่ปุ่น
“เซ็นได โทโฮะขุ เจแปนแฟร์” ในครั้งแรกประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยมียอดขายประมาณ 6 ล้านบาท สำหรับปีที่ 2 นี้เราตั้งเป้าเพิ่มขึ้นราว 15% หรือ 7 ล้านบาท อาหารที่ขายดีที่สุดในครั้งที่แล้วคือ ซูชิ นอกจากนี้ยังมีอีกหลายเมนูเด็ดจาก ร้านดังส่งตรงจากญี่ปุ่นที่จะสาธิตการทำและจำหน่ายให้รับประทานกันทั้ง ราเมน จากร้านอาซาฮิยะที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของย่านคิตาคาตะในฟูกูชิม่า โคโรเกะ หอยนางรม ตลอดจนขนมและผลไม้นานาชนิด ผลิตภัณฑ์อาหารทะเล ฯลฯ และของฝากที่ขึ้นชื่ออีกมากมายจากโทโฮะขุ
ทั้งนี้ ข้อมูลของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า ธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทย มีแนวโน้มการเติบโตขึ้น 10-15% จากปี 2549 ที่มีมูลค่าตลาดรวมอยู่ที่ 6,000 ล้านบาท ปัจจุบันมีร้านอาหารญี่ปุ่นที่เปิดให้บริการในไทยมากเป็นอันดับ 5 ของโลก เป็นรองเพียงสหรัฐอเมริกา จีน เกาหลีใต้ และไต้หวัน เท่านั้น โดยในประเทศไทยมีอยู่ประมาณ 660 แห่ง โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ และชลบุรี โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ กลุ่มลูกค้าคนไทยที่ชื่นชอบรสชาติของอาหารญี่ปุ่น และชาวญี่ปุ่นที่อยู่ในประเทศไทยกว่า 60,000 คน
นาย ชินยะ อูเอโนะ ประธาน บริษัท อิเซตัน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า สำหรับผลประกอบการในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2550 มีรายได้ลดลงประมาณ 10% อันเป็นผลจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ที่มีผลกระทบต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภครวมถึงนักท่องเที่ยวที่ลดลงด้วย ขณะที่ในปี 2549 ที่ผ่านมา ห้างสรรพสินค้าอิเซตันมีรายได้ราว 1,300 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม คาดว่าในช่วงปลายปีนี้จะมีรายได้เพิ่มขึ้นโดยรวมใกล้เคียงกับปีที่แล้ว จากการเตรียมตกแต่งพื้นที่ชั้น 2 ใหม่ในเดือนนี้เพื่อดึงดูดลูกค้า ประกอบกับการที่เซ็นทรัลเวิลด์พลาซ่าได้เปิดคอนเวนชั่นฮอลล์ ซึ่งเป็นโอกาสในการเพิ่มยอดขายของอิเซตันด้วย ในขณะเดียวกันก็มีแผนรุกธุรกิจด้วยการจัดกิจกรรมพิเศษเพื่อกระตุ้นยอดขายอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะงานเทศกาลอาหารที่หมุนเวียนจากเมืองต่างๆ ของญี่ปุ่น ซึ่งได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเป็นอย่างมาก
“ตลอดเวลา 15 ปีที่ห้างสรรพสินค้าอิเซตันเข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 ได้รับการตอบรับที่ดีอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดจากกลุ่มลูกค้าผู้บริโภคทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ จากการที่สินค้าญี่ปุ่นเป็นที่นิยมมากขึ้น พร้อมทั้งลงทุนปรับปรุงพื้นที่ตลอดจนบริการต่างๆ ให้มีความทันสมัยอยู่เสมอด้วยเอกลักษณ์ของความเป็นญี่ปุ่น โดยมีสัดส่วนลูกค้าชาวไทยเพิ่มขึ้นทุกปีถึง 60% ในปัจจุบัน ส่วนกลุ่มชาวญี่ปุ่นที่พำนักอยู่ในประเทศไทยและนักท่องเที่ยวมีประมาณ 25% สำหรับชาวต่างชาติ 15% สินค้าที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ได้แก่ อาหาร เสื้อผ้าสตรี และเสื้อผ้าบุรุษ
ล่าสุดได้จัดงานเทศกาลผลิตภัณฑ์อาหารและแนะนำสถานที่ท่องเที่ยว “เซ็นได โทโฮะขุ เจแปน แฟร์” ขึ้นอีกครั้ง ที่บริเวณชั้น 5 และ 6 ระหว่างวันที่ 1-11 พฤศจิกายน 2550 ที่ห้างสรรพสินค้าอิเซตัน หลังจากประสบความสำเร็จอย่างมากในปีที่ผ่านมา โดยนอกจากอาหารปรุงสดรวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ ได้รับความนิยมเหนือความคาดหมายแล้ว ในส่วนของการท่องเที่ยวที่เพิ่งเปิดตัวก็ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวชาวไทยนับพันคนไปเยือนดินแดนโทโฮะขุในช่วงมกราคม–สิงหาคม 2550 นี้ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 49% ในปีที่ผ่านมา
นายชินยะ ในส่วนของอิเซตันเองนั้นก็มีกิจกรรมพิเศษอย่างต่อเนื่องมาตลอดปี ทั้งเทศกาลอาหารและสินค้าจากแหล่งต่างๆ ที่น่าสนใจของญี่ปุ่น โครงการ My Elephant รวมถึงการร่วมกับหน่วยงานอีกหลายแห่งที่จัดงานต่างๆ และในโอกาสพิเศษนี้ก็ได้จัดเทศกาล “เซ็นได โทโฮะขุ เจแปนแฟร์” ขึ้นอีกครั้งเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ที่ชื่นชอบอาหารและวัฒนธรรมญี่ปุ่น
“เซ็นได โทโฮะขุ เจแปนแฟร์” ในครั้งแรกประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยมียอดขายประมาณ 6 ล้านบาท สำหรับปีที่ 2 นี้เราตั้งเป้าเพิ่มขึ้นราว 15% หรือ 7 ล้านบาท อาหารที่ขายดีที่สุดในครั้งที่แล้วคือ ซูชิ นอกจากนี้ยังมีอีกหลายเมนูเด็ดจาก ร้านดังส่งตรงจากญี่ปุ่นที่จะสาธิตการทำและจำหน่ายให้รับประทานกันทั้ง ราเมน จากร้านอาซาฮิยะที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของย่านคิตาคาตะในฟูกูชิม่า โคโรเกะ หอยนางรม ตลอดจนขนมและผลไม้นานาชนิด ผลิตภัณฑ์อาหารทะเล ฯลฯ และของฝากที่ขึ้นชื่ออีกมากมายจากโทโฮะขุ
ทั้งนี้ ข้อมูลของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า ธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทย มีแนวโน้มการเติบโตขึ้น 10-15% จากปี 2549 ที่มีมูลค่าตลาดรวมอยู่ที่ 6,000 ล้านบาท ปัจจุบันมีร้านอาหารญี่ปุ่นที่เปิดให้บริการในไทยมากเป็นอันดับ 5 ของโลก เป็นรองเพียงสหรัฐอเมริกา จีน เกาหลีใต้ และไต้หวัน เท่านั้น โดยในประเทศไทยมีอยู่ประมาณ 660 แห่ง โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ และชลบุรี โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ กลุ่มลูกค้าคนไทยที่ชื่นชอบรสชาติของอาหารญี่ปุ่น และชาวญี่ปุ่นที่อยู่ในประเทศไทยกว่า 60,000 คน