ผู้จัดการรายวัน - ก.ล.ต.เตรียมเปิดรายชื่อ บล.ต้นสังกัดมาร์เกตติ้งที่กระทำผิดเริ่ม 1 ม.ค.51 จี้โบรกเกอร์เข้มดูแลพนักงาน-เร่งหาข้อสรุป พร้อมเพิ่มการวางหลักประกันจากเดิม 10% จากผลประเมิน FSAP มองต่ำเกินไปเลี่ยงสูงผิดนัดชำระเงิน พร้อมให้ระบุเรทติ้งบจ.ที่ทำบทวิเคราะห์ ด้านสมาคมโบรกเกอร์ แจงพร้อมให้ความร่วมมือ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ร่วมกับสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) วางแนวทางการเปิดเผยชื่อบริษัทหลักทรัพย์ต้นสังกัดของผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนที่กระทำผิด และปรับปรุงเกณฑ์การวางหลักประกันในการซื้อขายหลักทรัพย์ให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงในระบบการชำระเงิน รวมทั้งการส่งเสริมให้เกิดการกำกับดูแลกิจการที่ดีในตลาดทุน
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ก.ล.ต.ได้มีการประชุมรายไตรมาสร่วมกับสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ ( สมาคมโบรกเกอกร์) ซึ่งได้ กำหนดว่า เมื่อพนักงานผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนของบริษัทหลักทรัพย์ใดมีการกระทำผิด และถูกลงโทษด้วยการสั่งพักหรือเพิกถอน ก.ล.ต. จะไม่เปิดเผยเฉพาะชื่อของพนักงานเช่นเดิม แต่จะเปิดเผยชื่อของบริษัทหลักทรัพย์เจ้าสังกัดด้วย โดยจะให้มีผลสำหรับการกระทำผิดที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 เป็นต้นไป
สำหรับวัตถุประสงค์ของการดำเนินการดังกล่าวนั้น เพื่อเป็นมาตรการให้บริษัทต้องรับผิดชอบในการจัดระบบคัดเลือก อบรม และตรวจตราการทำงานของพนักงานให้ใกล้ชิดมากขึ้น
พร้อมกันนี้ สำนักงาน ก.ล.ต.ให้สมาคมโบรกเกอร์หาข้อยุติในการศึกษา เพื่อกำหนดอัตราการวางหลักประกันก่อนการซื้อขายหลักทรัพย์แบบ net settlement ในบัญชีเงินสด ซึ่งปัจจุบันกำหนดไว้ที่ร้อยละ 10 ให้สูงขึ้น โดยสมาคมได้ทำการศึกษาในเชิงวิชาการเกือบจะได้ผลสรุปแล้ว หากได้ข้อสรุปจะหารือกับสมาชิกก่อนแจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เพื่อเสนอต่อ ก.ล.ต. ต่อไป โดยในเบื้องต้นเห็นว่า หากจะมีการปรับให้สูงขึ้น ควรต้องทำแบบค่อยเป็นค่อยไป และประกาศล่วงหน้าเพื่อให้ผู้ลงทุนรายย่อยรับทราบและมีเวลาเตรียมตัว
นอกจากนี้เพื่อส่งเสริมให้เกิดการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Corporate Governance : CG) ในบริษัทจดทะเบียน สมาคมโบรกเกอร์จะไปออกข้อกำหนดให้ บล. ที่เป็นสมาชิกทุกรายต้องแสดงข้อมูล CG Rating ของบริษัทจดทะเบียนไว้ในบทวิเคราะห์ของ บล. เพื่อให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลของบริษัทจดทะเบียนเพื่อใช้ในการตัดสินใจลงทุนได้อย่างรอบคอบ และสมาคมจะส่งเสริมให้กรรมการของ บล. ทุกแห่งเข้าอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของกรรมการให้ครบถ้วน รวมทั้งจะสนับสนุนให้เข้าอบรมหลักสูตรความรู้ด้าน CG เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
นายธีระชัย กล่าวว่า ในการประเมินระบบการกำกับดูแลตลาดทุนไทยตามโครงการ Financial Sector Assessment program (FSAP) โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) และธนาคารโลกที่เพิ่งดำเนินการเสร็จไปแล้ว ผู้ประเมินได้ตั้งข้อสังเกตว่าอัตราการวางหลักประกันที่กำหนดไว้ขณะนี้ ร้อยละ 10 นั้น เป็นอัตราที่ต่ำเกินไป ทำให้มีความเสี่ยงในระบบการชำระเงินและส่งมอบหลักทรัพย์หากราคาปรับตัวลดลงแบบฉับพลัน ซึ่งในต่างประเทศส่วนใหญ่จะกำหนดไว้สูงกว่าของประเทศไทย
โดยในการประชุมที่กรุงวอชิงตันเดือนนี้ มีหลายสถาบันที่คาดว่าจะมีเงินลงทุนไหลเข้าตลาดกำลังพัฒนา (emerging markets) มากขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในปีนี้และปีหน้า และยิ่งดัชนีตลาดขึ้นไประดับสูงมากขึ้นเท่าใด หากมีเหตุให้ปรับตัวลงอย่างรุนแรงติดต่อกันหลายวัน โอกาสที่ลูกค้าจะผิดนัดไม่สามารถชำระค่าซื้อหรือส่งมอบหลักทรัพย์ที่ขายได้ตามกำหนดก็จะสูงขึ้นเท่านั้น ก.ล.ต. จึงจำเป็นต้องกระตุ้นให้สมาคมและตลาดหลักทรัพย์ฯ ดูแลในเรื่องนี้เตรียมไว้ล่วงหน้า
นายกัมปนาท โลหเจริญวนิช นายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ กล่าวว่า ในเรื่องการควบคุมพนักงานผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนนั้น สมาคมและสมาชิกทุกรายยินดีให้ความร่วมมือในการตรวจสอบและเปิดเผยข้อมูลแก่ ก.ล.ต. เมื่อตรวจพบการกระทำที่ไม่เหมาะสมของผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสังกัด ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้ดำเนินการอย่างเต็มที่ ส่วนเรื่องการปรับอัตราการวางหลักประกันของลูกค้าที่ซื้อขายหลักทรัพย์แบบ net settlement ในบัญชีเงินสดนั้น สมาคมเห็นด้วยที่จะต้องปรับขึ้น โดยควรปรับแบบค่อยเป็นค่อยไปเพื่อให้ลูกค้าสามารถปรับตัวได้ ซึ่งสมาคมมีความเห็นเช่นเดียวกันว่า ความมั่นคงของ บล. มีความสำคัญ อย่างมากต่อระบบการซื้อขายและความเชื่อมั่นของตลาดทุนโดยรวม
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ร่วมกับสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) วางแนวทางการเปิดเผยชื่อบริษัทหลักทรัพย์ต้นสังกัดของผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนที่กระทำผิด และปรับปรุงเกณฑ์การวางหลักประกันในการซื้อขายหลักทรัพย์ให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงในระบบการชำระเงิน รวมทั้งการส่งเสริมให้เกิดการกำกับดูแลกิจการที่ดีในตลาดทุน
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ก.ล.ต.ได้มีการประชุมรายไตรมาสร่วมกับสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ ( สมาคมโบรกเกอกร์) ซึ่งได้ กำหนดว่า เมื่อพนักงานผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนของบริษัทหลักทรัพย์ใดมีการกระทำผิด และถูกลงโทษด้วยการสั่งพักหรือเพิกถอน ก.ล.ต. จะไม่เปิดเผยเฉพาะชื่อของพนักงานเช่นเดิม แต่จะเปิดเผยชื่อของบริษัทหลักทรัพย์เจ้าสังกัดด้วย โดยจะให้มีผลสำหรับการกระทำผิดที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 เป็นต้นไป
สำหรับวัตถุประสงค์ของการดำเนินการดังกล่าวนั้น เพื่อเป็นมาตรการให้บริษัทต้องรับผิดชอบในการจัดระบบคัดเลือก อบรม และตรวจตราการทำงานของพนักงานให้ใกล้ชิดมากขึ้น
พร้อมกันนี้ สำนักงาน ก.ล.ต.ให้สมาคมโบรกเกอร์หาข้อยุติในการศึกษา เพื่อกำหนดอัตราการวางหลักประกันก่อนการซื้อขายหลักทรัพย์แบบ net settlement ในบัญชีเงินสด ซึ่งปัจจุบันกำหนดไว้ที่ร้อยละ 10 ให้สูงขึ้น โดยสมาคมได้ทำการศึกษาในเชิงวิชาการเกือบจะได้ผลสรุปแล้ว หากได้ข้อสรุปจะหารือกับสมาชิกก่อนแจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เพื่อเสนอต่อ ก.ล.ต. ต่อไป โดยในเบื้องต้นเห็นว่า หากจะมีการปรับให้สูงขึ้น ควรต้องทำแบบค่อยเป็นค่อยไป และประกาศล่วงหน้าเพื่อให้ผู้ลงทุนรายย่อยรับทราบและมีเวลาเตรียมตัว
นอกจากนี้เพื่อส่งเสริมให้เกิดการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Corporate Governance : CG) ในบริษัทจดทะเบียน สมาคมโบรกเกอร์จะไปออกข้อกำหนดให้ บล. ที่เป็นสมาชิกทุกรายต้องแสดงข้อมูล CG Rating ของบริษัทจดทะเบียนไว้ในบทวิเคราะห์ของ บล. เพื่อให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลของบริษัทจดทะเบียนเพื่อใช้ในการตัดสินใจลงทุนได้อย่างรอบคอบ และสมาคมจะส่งเสริมให้กรรมการของ บล. ทุกแห่งเข้าอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของกรรมการให้ครบถ้วน รวมทั้งจะสนับสนุนให้เข้าอบรมหลักสูตรความรู้ด้าน CG เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
นายธีระชัย กล่าวว่า ในการประเมินระบบการกำกับดูแลตลาดทุนไทยตามโครงการ Financial Sector Assessment program (FSAP) โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) และธนาคารโลกที่เพิ่งดำเนินการเสร็จไปแล้ว ผู้ประเมินได้ตั้งข้อสังเกตว่าอัตราการวางหลักประกันที่กำหนดไว้ขณะนี้ ร้อยละ 10 นั้น เป็นอัตราที่ต่ำเกินไป ทำให้มีความเสี่ยงในระบบการชำระเงินและส่งมอบหลักทรัพย์หากราคาปรับตัวลดลงแบบฉับพลัน ซึ่งในต่างประเทศส่วนใหญ่จะกำหนดไว้สูงกว่าของประเทศไทย
โดยในการประชุมที่กรุงวอชิงตันเดือนนี้ มีหลายสถาบันที่คาดว่าจะมีเงินลงทุนไหลเข้าตลาดกำลังพัฒนา (emerging markets) มากขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในปีนี้และปีหน้า และยิ่งดัชนีตลาดขึ้นไประดับสูงมากขึ้นเท่าใด หากมีเหตุให้ปรับตัวลงอย่างรุนแรงติดต่อกันหลายวัน โอกาสที่ลูกค้าจะผิดนัดไม่สามารถชำระค่าซื้อหรือส่งมอบหลักทรัพย์ที่ขายได้ตามกำหนดก็จะสูงขึ้นเท่านั้น ก.ล.ต. จึงจำเป็นต้องกระตุ้นให้สมาคมและตลาดหลักทรัพย์ฯ ดูแลในเรื่องนี้เตรียมไว้ล่วงหน้า
นายกัมปนาท โลหเจริญวนิช นายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ กล่าวว่า ในเรื่องการควบคุมพนักงานผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนนั้น สมาคมและสมาชิกทุกรายยินดีให้ความร่วมมือในการตรวจสอบและเปิดเผยข้อมูลแก่ ก.ล.ต. เมื่อตรวจพบการกระทำที่ไม่เหมาะสมของผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสังกัด ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้ดำเนินการอย่างเต็มที่ ส่วนเรื่องการปรับอัตราการวางหลักประกันของลูกค้าที่ซื้อขายหลักทรัพย์แบบ net settlement ในบัญชีเงินสดนั้น สมาคมเห็นด้วยที่จะต้องปรับขึ้น โดยควรปรับแบบค่อยเป็นค่อยไปเพื่อให้ลูกค้าสามารถปรับตัวได้ ซึ่งสมาคมมีความเห็นเช่นเดียวกันว่า ความมั่นคงของ บล. มีความสำคัญ อย่างมากต่อระบบการซื้อขายและความเชื่อมั่นของตลาดทุนโดยรวม