นายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการครป. กล่าวถึงกรณีพรรคพลังประชาชน เตรียมเชิญ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มาเป็นที่ปรึกษาพรรคว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่โตมาก และจะมีผลกระทบทางการเมือง ซึ่งเราไม่เห็นด้วย ที่พรรคพลังประชาชนจะเชิญ พ.ต.ท.ทักษิณ มาเป็นที่ปรึกษาพรรค และไม่เห็นด้วยที่พรรคการเมืองหลายพรรค ได้เชิญอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัยห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี มาร่วมงาน เพราะเจตนารมณ์ในคำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญ เพื่อลงโทษทางการเมืองกับกรรมการบริหารพรรคที่ร่วมกันกระทำความผิด หรือทำงานการเมืองที่เป็นภัยต่อระบอบประชาธิปไตย ทั้งนี้ กกต. ควรจะทำเรื่องขอคำวินิจฉัยจากศาลรัฐธรรมนูญ มากกว่าจะวินิจฉัยเอง เพื่อให้เกิดบรรทัดฐานการปฏิบัติที่น่าเชื่อถือ ซึ่งควรให้มีการนิรโทษกรรมเสียก่อน ซึ่งมีกรณีของ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ก็วางตัวดี ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองเมื่อพ้นโทษ 5 ปี ก็กลับมา ซึ่งกรรมการบริหารของพรรคไทยทั้ง 111 คน ควรนำกรณีของพล.ต.สนั่น เป็นแบบอย่างไปปฏิบัติตาม และหาก กกต.วินิจฉัยตามลำพังว่า กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยทั้ง 111 คน สามารถเป็นที่ปรึกษาพรรคการเมืองได้ ครป. จะเป็นฝ่ายยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในเรื่องนี้เอง
นายสุริยะใส กล่าวอีกว่า พ.ต.ท.ทักษิณ และพรรคพลังประชาชน ต้องตอบคำถามกับสังคม หลังจากเคยประกาศหลายครั้งว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะวางมือทางการเมือง เพื่อไม่เป็นตัวปัญหา หรือเป็นเงื่อนไขของความแตกแยก หรือการเผชิญหน้ากันในสังคมอีกครั้ง และพรรคพลังประชาชนควรเอาจริงเอาจังกับการสลัดภาพลักษณ์ พรรคนอมินีมากกว่าที่เป็นอยู่ อย่าใช้วิธีหาประโยชน์จากอดีตโดยไม่ยอมสรุปบทเรียนและความผิดพลาดที่เคยเกิดขึ้น เราจึงขอเรียกร้องสปิริตไปยัง พ.ต.ท.ทักษิณ และพรรคพลังประชาชน ว่า ควรให้ความร่วมมือกับกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะกระบวนการตรวจสอบความผิดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ครอบครัว และอดีตคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดที่แล้ว เพื่อให้ได้ข้อยุติในคดีต่างๆ ก่อน เพราะข้อกล่าวหาส่วนใหญ่ เป็นข้อกล่าวหาว่า พ.ต.ท.ทักษิณ และรัฐบาลชุดที่แล้วใช้อำนาจรัฐไปเอื้อประโยชน์ให้กับครอบครัว และเครือข่าย พวกพ้อง
นายสุริยะใสเชื่อว่าหาก พ.ต.ท.ทักษิณ เข้ามาเป็นที่ปรึกษาพรรคพลังประชาชน จนทำให้พรรคพลังประชาชนชนะเลือกตั้ง หรือเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ก็จะใช้ประชาชนเป็นข้ออ้างในการล้มล้าง หรือยกเลิกกระบวนการตรวจสอบความผิดของตนเอง ซึ่งคดีความ หรือความผิดของบุคคล เป็นหน้าที่ของศาลสถิตย์ยุติธรรมเป็นผู้ตัดสินชี้ขาดเท่านั้น ไม่ใช่ใช้ผลการเลือกตั้งเป็นตัวชี้ขาด
อย่างไรก็ตาม ครป. ได้ติดตามตรวจสอบกระแสการเลือกตั้งของพรรคการเมือง และผู้สมัครในหลายๆ พรรค พบว่ายังเป็นเรื่องของการซื้อขายตัวผู้สมัคร การย้ายพรรค หรือการควบรวมพรรค ยังเป็นเรื่องของผลประโยชน์มากกว่าอุดมการณ์ และน่าเสียดายที่จนป่านนี้ประชาชนยังไม่เห็นการประชันขันแข่งกันทางนโยบายของพรรคการเมืองต่างๆ อย่างเอาจริงเอาจัง ทั้ง ๆ ที่วิกฤติปัญหาประเทศรออยู่จำนวนมาก
"หากพรรคการเมืองยังไม่ทุ่มเทกับการขายนโยบาย หรือต่อสู้กันทางนโยบายอย่างจริงจัง จะทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นเพียงการจัดฉาก และประชาชนไม่ได้ฝากความหวังว่า หลังเลือกตั้งรัฐบาลใหม่จะสามารถเข้ามาแก้ปัญหาของประเทศได้ ไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจของ นายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช หรือนักการเมืองอีกหลายคน ที่ตัดสินใจแล้ว แต่ชะลอเรื่องไว้เหมือนใช้เป็นการต่อรองทางการเมือง ซึ่งเรื่องนี้จะไม่เป็นผลดีต่อการเลือกตั้ง" นายสุริยะใสกล่าว
ว่าที่ ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง โฆษกพรรคพลังประชาชน กล่าวถึงกรณีที่ก่อนหน้านี้ พรรคประชาธิปัตย์ ออกมาโจมตี พ.ต.ท.ทักษิณ ว่าเป็นคนกลับกลอก หลังมีข่าวจะกลับมาเป็นที่ปรึกษาให้กับพรรคพลังประชาชนว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่เข้าใจการเมือง ตนคิดว่าพรรคประชาธิปัตย์ รัฐบาล และกองทัพ ควรสนใจความเคลื่อนไหวของอดีตผู้บริหารพรรคไทยรักไทย 111 คน ว่าใครทำอะไรบ้าง เพราะบางคนอยู่เบื้องหลังการตั้งพรรคการเมือง บางคนที่เป็นประธานปรึกษายุทธศาสตร์ของพรรคการเมืองหนึ่ง หากพรรคพลังประชาชนจะขอให้พ.ต.ท.ทักษิณ ให้คำปรึกษาบ้าง จะทำได้หรือไม่ โดยเฉพาะการแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ที่พรรคเชื่อมือ พ.ต.ท.ทักษิณ มาก
อย่างไรก็ตาม การขอคำแนะนำไม่เกี่ยวกับการเล่นการเมือง ซึ่งพรรคจะสอบถามกับ กกต.ว่า หากเชิญ พ.ต.ท.ทักษิณ มาทำหน้าที่ดังกล่าว จะสามารถทำได้หรือไม่ เพราะพ.ต.ท.ทักษิณ ให้คำปรึกษาในฐานะผู้รู้ แต่ไม่ได้เล่นการเมืองหรือสนับสนุนพรรค และไม่ได้หมายความว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะกลับมาเล่นการเมือง ทั้งนี้ ขอถามในมุมกลับว่า อดีตผู้บริหารพรรคไทยรักไทยทั้ง 111 คน ที่มีส่วนร่วมในการจัดตั้งพรรคการเมือง และเป็นที่รับรู้ของสังคม อย่างนี้ผิดกฎหมายหรือไม่
นายสุริยะใส กล่าวอีกว่า พ.ต.ท.ทักษิณ และพรรคพลังประชาชน ต้องตอบคำถามกับสังคม หลังจากเคยประกาศหลายครั้งว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะวางมือทางการเมือง เพื่อไม่เป็นตัวปัญหา หรือเป็นเงื่อนไขของความแตกแยก หรือการเผชิญหน้ากันในสังคมอีกครั้ง และพรรคพลังประชาชนควรเอาจริงเอาจังกับการสลัดภาพลักษณ์ พรรคนอมินีมากกว่าที่เป็นอยู่ อย่าใช้วิธีหาประโยชน์จากอดีตโดยไม่ยอมสรุปบทเรียนและความผิดพลาดที่เคยเกิดขึ้น เราจึงขอเรียกร้องสปิริตไปยัง พ.ต.ท.ทักษิณ และพรรคพลังประชาชน ว่า ควรให้ความร่วมมือกับกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะกระบวนการตรวจสอบความผิดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ครอบครัว และอดีตคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดที่แล้ว เพื่อให้ได้ข้อยุติในคดีต่างๆ ก่อน เพราะข้อกล่าวหาส่วนใหญ่ เป็นข้อกล่าวหาว่า พ.ต.ท.ทักษิณ และรัฐบาลชุดที่แล้วใช้อำนาจรัฐไปเอื้อประโยชน์ให้กับครอบครัว และเครือข่าย พวกพ้อง
นายสุริยะใสเชื่อว่าหาก พ.ต.ท.ทักษิณ เข้ามาเป็นที่ปรึกษาพรรคพลังประชาชน จนทำให้พรรคพลังประชาชนชนะเลือกตั้ง หรือเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ก็จะใช้ประชาชนเป็นข้ออ้างในการล้มล้าง หรือยกเลิกกระบวนการตรวจสอบความผิดของตนเอง ซึ่งคดีความ หรือความผิดของบุคคล เป็นหน้าที่ของศาลสถิตย์ยุติธรรมเป็นผู้ตัดสินชี้ขาดเท่านั้น ไม่ใช่ใช้ผลการเลือกตั้งเป็นตัวชี้ขาด
อย่างไรก็ตาม ครป. ได้ติดตามตรวจสอบกระแสการเลือกตั้งของพรรคการเมือง และผู้สมัครในหลายๆ พรรค พบว่ายังเป็นเรื่องของการซื้อขายตัวผู้สมัคร การย้ายพรรค หรือการควบรวมพรรค ยังเป็นเรื่องของผลประโยชน์มากกว่าอุดมการณ์ และน่าเสียดายที่จนป่านนี้ประชาชนยังไม่เห็นการประชันขันแข่งกันทางนโยบายของพรรคการเมืองต่างๆ อย่างเอาจริงเอาจัง ทั้ง ๆ ที่วิกฤติปัญหาประเทศรออยู่จำนวนมาก
"หากพรรคการเมืองยังไม่ทุ่มเทกับการขายนโยบาย หรือต่อสู้กันทางนโยบายอย่างจริงจัง จะทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นเพียงการจัดฉาก และประชาชนไม่ได้ฝากความหวังว่า หลังเลือกตั้งรัฐบาลใหม่จะสามารถเข้ามาแก้ปัญหาของประเทศได้ ไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจของ นายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช หรือนักการเมืองอีกหลายคน ที่ตัดสินใจแล้ว แต่ชะลอเรื่องไว้เหมือนใช้เป็นการต่อรองทางการเมือง ซึ่งเรื่องนี้จะไม่เป็นผลดีต่อการเลือกตั้ง" นายสุริยะใสกล่าว
ว่าที่ ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง โฆษกพรรคพลังประชาชน กล่าวถึงกรณีที่ก่อนหน้านี้ พรรคประชาธิปัตย์ ออกมาโจมตี พ.ต.ท.ทักษิณ ว่าเป็นคนกลับกลอก หลังมีข่าวจะกลับมาเป็นที่ปรึกษาให้กับพรรคพลังประชาชนว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่เข้าใจการเมือง ตนคิดว่าพรรคประชาธิปัตย์ รัฐบาล และกองทัพ ควรสนใจความเคลื่อนไหวของอดีตผู้บริหารพรรคไทยรักไทย 111 คน ว่าใครทำอะไรบ้าง เพราะบางคนอยู่เบื้องหลังการตั้งพรรคการเมือง บางคนที่เป็นประธานปรึกษายุทธศาสตร์ของพรรคการเมืองหนึ่ง หากพรรคพลังประชาชนจะขอให้พ.ต.ท.ทักษิณ ให้คำปรึกษาบ้าง จะทำได้หรือไม่ โดยเฉพาะการแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ที่พรรคเชื่อมือ พ.ต.ท.ทักษิณ มาก
อย่างไรก็ตาม การขอคำแนะนำไม่เกี่ยวกับการเล่นการเมือง ซึ่งพรรคจะสอบถามกับ กกต.ว่า หากเชิญ พ.ต.ท.ทักษิณ มาทำหน้าที่ดังกล่าว จะสามารถทำได้หรือไม่ เพราะพ.ต.ท.ทักษิณ ให้คำปรึกษาในฐานะผู้รู้ แต่ไม่ได้เล่นการเมืองหรือสนับสนุนพรรค และไม่ได้หมายความว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะกลับมาเล่นการเมือง ทั้งนี้ ขอถามในมุมกลับว่า อดีตผู้บริหารพรรคไทยรักไทยทั้ง 111 คน ที่มีส่วนร่วมในการจัดตั้งพรรคการเมือง และเป็นที่รับรู้ของสังคม อย่างนี้ผิดกฎหมายหรือไม่