เอแบคโพลล์ชี้ ประชาชนส่วนใหญ่ตัดสินใจใช้สิทธิเลือกตั้งโดยพิจารณาทั้งพรรคและตัวบุคคล ขณะที่ร้อยละ 64.6 พร้อมรับเงิน สิ่งของ และผลประโยชน์แลกกับการลงคะแนน และที่น่าห่วงคือร้อยละ 82.9 จะไม่แจ้งให้ กกต. หรือเจ้าหน้าที่รัฐทราบ เมื่อพบเห็นการทุจริตเลือกตั้ง ขณะที่สวนดุสิตโพล ชี้ ประชาชนอยากเลือก ส.ส.-พรรคการเมืองที่ซื่อสัตย์-ไม่โกงกิน
เอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง "วาระแห่งชาติที่ประชาชนต้องการในรัฐบาลสมัยหน้าหลังการเลือกตั้ง โดยสำรวจจากตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 14 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวน 3,758 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 15-20 ต.ค. 50 พบว่า
ประเด็นที่น่าจะเป็นวาระแห่งชาติในรัฐบาลสมัยหน้า 10 อันดับแรก ได้แก่ แนวทางการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ และค่าครองชีพของประชาชน การแก้ปัญหายาเสพติด การแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ การดำเนินการกับอดีตรัฐมนตรี นักการเมืองและข้าราชการที่ทุจริตคอร์รัปชั่น การจัดระเบียบสังคม การลดความขัดแย้งวุ่นวายทางการเมือง การสานต่อโครงการตามพระราชดำริต่างๆ อาทิ โครงการเศรษฐกิจพอเพียง คุณภาพเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุและคนพิการ คุณภาพการศึกษาของประชาชน และความอยู่ดีมีสุขของประชาชน
สำหรับปัจจัยที่ประชาชนจะใช้ในการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง พบว่าร้อยละ 51.9 จะพิจารณาทั้งจากพรรคและตัวบุคคล ร้อยละ 28 ดูที่ตัวบุคคลมากกว่า และร้อยละ 20.1 ดูที่พรรคมากกว่า
นอกจากนี้ ยังพบว่าร้อยละ 36.8 ชอบพรรคการเมืองที่ซื่อสัตย์สุจริต ร้อยละ 25.4 ชอบพรรคการเมืองที่มีผลงานในอดีต แก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชน ร้อยละ 12.7 ชอบพรรคที่มีความสามัคคี ไม่วุ่นวาย ร้อยละ 9.1 ชอบพรรคที่ใกล้ชิดลงพื้นที่เข้าถึงประชาชน ขณะที่ร้อยละ 5.7 ชอบความมั่นคง ยาวนานของพรรค
ส่วนบุคคล หรือกลุ่มบุคคลที่มีอิทธิพลชี้นำในการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง พบว่าร้อยละ 56.3 เป็นคนในครอบครัว ร้อยละ 41.4 ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ร้อยละ 40.4 สื่อมวลชน ร้อยละ 36.2 คือเพื่อน และร้อยละ 35.3 คือผู้นำในท้องถิ่น
ผลสำรวจความเอนเอียงในพฤติกรรมการรับเงิน สิ่งของ หรือผลประโยชน์ต่างๆ เพื่อแลกกับการออกเสียงลงคะแนน พบว่าร้อยละ 64.6 ระบุ จะรับหากมีคนเสนอเงิน สิ่งของ หรือผลประโยชน์ต่างๆ เพื่อแลกกับการออกเสียงลงคะแนนให้ ในขณะที่ร้อยละ 35.4 ระบุไม่รับ และที่น่าเป็นห่วงคือ ร้อยละ 82.9 ระบุจะไม่แจ้งกรรมการการเลือกตั้ง หรือเจ้าหน้าที่ เมื่อพบเห็นการซื้อเสียง โดยร้อยละ 66.7 ระบุปัญหาการซื้อสิทธิ-ขายเสียงของการเมืองไทยในปัจจุบันอยู่ในระดับรุนแรงมาก-มากที่สุด
สำหรับความคิดเห็นต่อกรณี พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง จะเข้ามาดูแลเรื่องการป้องกันการซื้อสิทธิขายเสียงนั้น ร้อยละ 52.2 เห็นด้วย ขณะที่ร้อยละ 27.7 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 20.1 ไม่มีความคิดเห็นต่อกรณีดังกล่าว
ด้าน สวนดุสิตโพล สำรวจความคิดเห็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปทั่วประเทศจำนวน 1,884 คน ระหว่างวันที่ 17-21 ต.ค. 50 ในหัวข้อ "ผู้สมัคร ส.ส.แบบไหน พรรคการเมืองแบบใดที่คนไทยอยากเลือก" พบว่า คุณสมบัติของผู้สมัคร ส.ส. ที่คนไทยอยากเลือกคือ 1.ซื่อสัตย์ สุจริต ไม่โกงกินบ้านเมือง 2. เป็นคนดี มีคุณธรรม 3. ทำงานเพื่อส่วนรวม นึกถึงประชาชนเป็นสำคัญ 4. มีความรู้ความสามารถ มีความเป็นผู้นำ และ 5. มีพื้นฐานทางครอบครัวที่ดี ประวัติดี
ส่วนลักษณะของพรรคการเมือง 5 ที่คนไทยอยากเลือก คือ 1. ซื่อสัตย์ ไม่คดโกง มีความโปร่งใสในการทำงาน 2. มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีนโยบายการทำงานที่ชัดเจน และสามารถทำให้เห็นเป็นรูปธรรมได้ 3. มีความพร้อมในการทำงานเพื่อประเทศชาติ มีความตั้งใจจริง 4. เข้าถึงประชาชน รับฟังปัญหา ให้ความช่วยเหลืออย่างจริงจัง และ 5. มีอุดมการณ์ที่แน่นอน มั่นคง
สำหรับนักการเมืองที่ประชาชนให้ความสนใจเป็นพิเศษ อันดับที่ 1. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อันดับที่ 2. นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย อันดับที่ 3. นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน อันดับที่ 4. นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์
เอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง "วาระแห่งชาติที่ประชาชนต้องการในรัฐบาลสมัยหน้าหลังการเลือกตั้ง โดยสำรวจจากตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 14 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวน 3,758 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 15-20 ต.ค. 50 พบว่า
ประเด็นที่น่าจะเป็นวาระแห่งชาติในรัฐบาลสมัยหน้า 10 อันดับแรก ได้แก่ แนวทางการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ และค่าครองชีพของประชาชน การแก้ปัญหายาเสพติด การแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ การดำเนินการกับอดีตรัฐมนตรี นักการเมืองและข้าราชการที่ทุจริตคอร์รัปชั่น การจัดระเบียบสังคม การลดความขัดแย้งวุ่นวายทางการเมือง การสานต่อโครงการตามพระราชดำริต่างๆ อาทิ โครงการเศรษฐกิจพอเพียง คุณภาพเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุและคนพิการ คุณภาพการศึกษาของประชาชน และความอยู่ดีมีสุขของประชาชน
สำหรับปัจจัยที่ประชาชนจะใช้ในการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง พบว่าร้อยละ 51.9 จะพิจารณาทั้งจากพรรคและตัวบุคคล ร้อยละ 28 ดูที่ตัวบุคคลมากกว่า และร้อยละ 20.1 ดูที่พรรคมากกว่า
นอกจากนี้ ยังพบว่าร้อยละ 36.8 ชอบพรรคการเมืองที่ซื่อสัตย์สุจริต ร้อยละ 25.4 ชอบพรรคการเมืองที่มีผลงานในอดีต แก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชน ร้อยละ 12.7 ชอบพรรคที่มีความสามัคคี ไม่วุ่นวาย ร้อยละ 9.1 ชอบพรรคที่ใกล้ชิดลงพื้นที่เข้าถึงประชาชน ขณะที่ร้อยละ 5.7 ชอบความมั่นคง ยาวนานของพรรค
ส่วนบุคคล หรือกลุ่มบุคคลที่มีอิทธิพลชี้นำในการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง พบว่าร้อยละ 56.3 เป็นคนในครอบครัว ร้อยละ 41.4 ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ร้อยละ 40.4 สื่อมวลชน ร้อยละ 36.2 คือเพื่อน และร้อยละ 35.3 คือผู้นำในท้องถิ่น
ผลสำรวจความเอนเอียงในพฤติกรรมการรับเงิน สิ่งของ หรือผลประโยชน์ต่างๆ เพื่อแลกกับการออกเสียงลงคะแนน พบว่าร้อยละ 64.6 ระบุ จะรับหากมีคนเสนอเงิน สิ่งของ หรือผลประโยชน์ต่างๆ เพื่อแลกกับการออกเสียงลงคะแนนให้ ในขณะที่ร้อยละ 35.4 ระบุไม่รับ และที่น่าเป็นห่วงคือ ร้อยละ 82.9 ระบุจะไม่แจ้งกรรมการการเลือกตั้ง หรือเจ้าหน้าที่ เมื่อพบเห็นการซื้อเสียง โดยร้อยละ 66.7 ระบุปัญหาการซื้อสิทธิ-ขายเสียงของการเมืองไทยในปัจจุบันอยู่ในระดับรุนแรงมาก-มากที่สุด
สำหรับความคิดเห็นต่อกรณี พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง จะเข้ามาดูแลเรื่องการป้องกันการซื้อสิทธิขายเสียงนั้น ร้อยละ 52.2 เห็นด้วย ขณะที่ร้อยละ 27.7 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 20.1 ไม่มีความคิดเห็นต่อกรณีดังกล่าว
ด้าน สวนดุสิตโพล สำรวจความคิดเห็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปทั่วประเทศจำนวน 1,884 คน ระหว่างวันที่ 17-21 ต.ค. 50 ในหัวข้อ "ผู้สมัคร ส.ส.แบบไหน พรรคการเมืองแบบใดที่คนไทยอยากเลือก" พบว่า คุณสมบัติของผู้สมัคร ส.ส. ที่คนไทยอยากเลือกคือ 1.ซื่อสัตย์ สุจริต ไม่โกงกินบ้านเมือง 2. เป็นคนดี มีคุณธรรม 3. ทำงานเพื่อส่วนรวม นึกถึงประชาชนเป็นสำคัญ 4. มีความรู้ความสามารถ มีความเป็นผู้นำ และ 5. มีพื้นฐานทางครอบครัวที่ดี ประวัติดี
ส่วนลักษณะของพรรคการเมือง 5 ที่คนไทยอยากเลือก คือ 1. ซื่อสัตย์ ไม่คดโกง มีความโปร่งใสในการทำงาน 2. มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีนโยบายการทำงานที่ชัดเจน และสามารถทำให้เห็นเป็นรูปธรรมได้ 3. มีความพร้อมในการทำงานเพื่อประเทศชาติ มีความตั้งใจจริง 4. เข้าถึงประชาชน รับฟังปัญหา ให้ความช่วยเหลืออย่างจริงจัง และ 5. มีอุดมการณ์ที่แน่นอน มั่นคง
สำหรับนักการเมืองที่ประชาชนให้ความสนใจเป็นพิเศษ อันดับที่ 1. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อันดับที่ 2. นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย อันดับที่ 3. นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน อันดับที่ 4. นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์