ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุม กกต.วันนี้ ( 16 ต.ค.) นอกจากที่ประชุม กกต.จะได้มีการพิจารณาเกี่ยวกับการแบ่งเขตเลือกตั้งแล้ว ยังจะมีการพิจารณาเรื่องการกำหนดวันสมัครรับเลือกตั้ง โดยในสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่ปรึกษาด้านกฎหมายของ กกต. ได้มีการหารือว่า หากจะกำหนดวันสมัครรับเลือกตั้งส.ส.แบบสัดส่วนในวันที่ 7-11 พ.ย. และวันสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งเป็นวันที่ 12-16 พ.ย. ได้หรือไม่ เพราะบทเฉพาะกาล มาตรา 296 ของรัฐธรรมนูญ กำหนดให้ผู้ที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งส.ส.ต้องสังกัดพรรคการเมืองเป็นเวลา 30 วันจนถึงวันเลือกตั้ง ซึ่งหากตีความตามกฎหมาย วันสุดท้ายที่ผู้สมัครส.ส.ต้องสังกัดพรรคก่อน 30 วันนั้น คือวันที่ 23 พ.ย.
อย่างไรก็ตาม ที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมายของ กกต. ต่างให้ความเห็นว่า การกำหนดวันสมัครรับเลือกตั้งก่อนเข้าเขตระยะเวลา 30 วันจนถึงวันเลือกตั้งไม่น่าจะมีปัญหา เพราะต้องแยกกันระหว่างเรื่องสิทธิของกกต.ในการประกาศวันสมัครรับเลือกตั้ง กับเรื่องของคุณสมบัติผู้สมัคร ดังนั้นการกำหนดวันสมัครรับเลือกตั้งก่อนเข้าเขตระยะเวลา 30 จึงไม่ใช่เรื่องของการจำกัดสิทธิผู้ที่จะลงสมัคร อีกทั้งกฎหมายก็กำหนดให้มีการเปิดรับสมัครส.ส.แบบแบ่งเขตภายใน 20 วัน นับแต่มี พ.ร.ฎ.เลือกตั้ง ซึ่งหากกกต.เลื่อนวันสมัครรับเลือกตั้งออกไปโดยให้อยู่เขตระยะเวลา 30 วันจนถึงวันเลือกตั้ง ก็จะกระทบต่อกรอบเวลาในการทำงานของกกต. ซึ่งคณะที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมายเห็นว่า การตีความในลักษณะนี้ไม่น่าจะทำให้กกต.ถูกผู้สมัครฟ้องร้องได้ เพราะเป็นการใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ ที่รัฐธรรมนูญว่าให้ถือเป็นที่สุด ไม่ใช่การใช้อำนาจทางปกครองที่ทำให้กกต.สามารถถูกฟ้องต่อศาลปกครองได้ ทั้งนี้ในส่วนของสถานที่รับสมัครนั้น ขณะนี้กกต.ยังคงยืนยันที่จะใช้อาคารกีฬาเวสน์ ศูนย์เยาวชนไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง แม้ช่วงดังกล่าวอาจจะมีผู้จองเอาไว้แล้วก็ตาม แต่ก็จะใช้วิธีการขอความร่วมมือไปยังหน่วยงานต่างๆ ที่จองไว้ เพื่อให้ กกต. ใช้สถานที่ในการรับสมัคร
ด้านนายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการกกต. กล่าวว่า ขณะนี้ กกต. 45 จังหวัด กำลังทยอยส่ง รูปแบบของการแบ่งเขตเลือกตั้ง ซึ่งต้องส่งจำนวน 3 รูปแบบ เพื่อให้ กกต. เป็นผู้พิจารณาเลือกให้เหลือเพียงแบบเดียว ขณะที่พรรคการเมืองก็จะส่งความคิดเห็นเกี่ยวกับการแบ่งเขต ส.ส.ในระบบสัดส่วน 8 กลุ่มจังหวัด ที่ กกต. ส่งรูปแบบไปจำนวน 6 รูปแบบ และ กกต. กลางก็จะเริ่มประชุมเพื่อมีมติในวันนี้( 16 ต.ค.) โดยการพิจารณา จะคำนึงถึงความคิดเห็นของผู้ที่ยื่นหนังสือคัดค้านและกฎหมายเป็นหลัก ส่วนที่เกี่ยวข้องกับระเบียบต่างๆ เช่น ระเบียบวิธีการหาเสียง การติดป้ายหาเสียง วงเงินค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งนั้น กกต. คงมีความชัดเจนก่อนที่จะนำเสนอต่อที่ประชุมพรรคการเมืองในวันที่ 22 ต.ค. เพื่อรับฟังความเห็นของพรรคการเมือง ซึ่งหากพ.ร.ฎ.เลือกตั้งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 25 ต.ค.นี้ กกต.ก็จะ ประกาศใช้ระเบียบและประกาศต่างๆในทันที
อย่างไรก็ตาม ที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมายของ กกต. ต่างให้ความเห็นว่า การกำหนดวันสมัครรับเลือกตั้งก่อนเข้าเขตระยะเวลา 30 วันจนถึงวันเลือกตั้งไม่น่าจะมีปัญหา เพราะต้องแยกกันระหว่างเรื่องสิทธิของกกต.ในการประกาศวันสมัครรับเลือกตั้ง กับเรื่องของคุณสมบัติผู้สมัคร ดังนั้นการกำหนดวันสมัครรับเลือกตั้งก่อนเข้าเขตระยะเวลา 30 จึงไม่ใช่เรื่องของการจำกัดสิทธิผู้ที่จะลงสมัคร อีกทั้งกฎหมายก็กำหนดให้มีการเปิดรับสมัครส.ส.แบบแบ่งเขตภายใน 20 วัน นับแต่มี พ.ร.ฎ.เลือกตั้ง ซึ่งหากกกต.เลื่อนวันสมัครรับเลือกตั้งออกไปโดยให้อยู่เขตระยะเวลา 30 วันจนถึงวันเลือกตั้ง ก็จะกระทบต่อกรอบเวลาในการทำงานของกกต. ซึ่งคณะที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมายเห็นว่า การตีความในลักษณะนี้ไม่น่าจะทำให้กกต.ถูกผู้สมัครฟ้องร้องได้ เพราะเป็นการใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ ที่รัฐธรรมนูญว่าให้ถือเป็นที่สุด ไม่ใช่การใช้อำนาจทางปกครองที่ทำให้กกต.สามารถถูกฟ้องต่อศาลปกครองได้ ทั้งนี้ในส่วนของสถานที่รับสมัครนั้น ขณะนี้กกต.ยังคงยืนยันที่จะใช้อาคารกีฬาเวสน์ ศูนย์เยาวชนไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง แม้ช่วงดังกล่าวอาจจะมีผู้จองเอาไว้แล้วก็ตาม แต่ก็จะใช้วิธีการขอความร่วมมือไปยังหน่วยงานต่างๆ ที่จองไว้ เพื่อให้ กกต. ใช้สถานที่ในการรับสมัคร
ด้านนายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการกกต. กล่าวว่า ขณะนี้ กกต. 45 จังหวัด กำลังทยอยส่ง รูปแบบของการแบ่งเขตเลือกตั้ง ซึ่งต้องส่งจำนวน 3 รูปแบบ เพื่อให้ กกต. เป็นผู้พิจารณาเลือกให้เหลือเพียงแบบเดียว ขณะที่พรรคการเมืองก็จะส่งความคิดเห็นเกี่ยวกับการแบ่งเขต ส.ส.ในระบบสัดส่วน 8 กลุ่มจังหวัด ที่ กกต. ส่งรูปแบบไปจำนวน 6 รูปแบบ และ กกต. กลางก็จะเริ่มประชุมเพื่อมีมติในวันนี้( 16 ต.ค.) โดยการพิจารณา จะคำนึงถึงความคิดเห็นของผู้ที่ยื่นหนังสือคัดค้านและกฎหมายเป็นหลัก ส่วนที่เกี่ยวข้องกับระเบียบต่างๆ เช่น ระเบียบวิธีการหาเสียง การติดป้ายหาเสียง วงเงินค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งนั้น กกต. คงมีความชัดเจนก่อนที่จะนำเสนอต่อที่ประชุมพรรคการเมืองในวันที่ 22 ต.ค. เพื่อรับฟังความเห็นของพรรคการเมือง ซึ่งหากพ.ร.ฎ.เลือกตั้งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 25 ต.ค.นี้ กกต.ก็จะ ประกาศใช้ระเบียบและประกาศต่างๆในทันที