อดีต 3 พรรคฝ่ายค้านเสนอ สนช.ปรับแก้ 23 ประเด็น ก.ม.ลูก จี้ปรับสรรหา ส.ว.ให้ชัด–ให้ กกต.เปิดเผยคำวินิจฉัยใบแดง-เหลือง ต่อคู่กรณี
วานนี้ (24 ก.ย.) คณะทำงานอดีต 3 พรรคร่วมฝ่ายค้าน นำโดยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายนิกร จำนง รองหัวหน้าพรรคชาติไทย และนายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ์ ผู้อำนวยการพรรคมหาชน เข้ายื่นข้อเสนอความเห็นร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับ ที่จำเป็นต่อการเลือกตั้ง เพื่อประกอบการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)โดยมี พล.อ.จรัล กุลละวณิชย์ รองประธาน สนช. เป็นผู้รับหนังสือ
นายจุรินทร์ กล่าวว่า 3 พรรคฝ่ายค้านได้พิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ทั้ง 3 ฉบับร่วมกันแล้ว และมีข้อเสนอ 23 ประเด็น เพื่อให้สนช.พิจารณาปรับปรุง อาทิ การสรรหา ส.ว. พบว่า ในร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่ง ส.ว. กำหนดเพียงว่า ให้ได้มาจาก 5 ภาค และให้นิติบุคคลเสนอได้องค์กรละ 1 คน มากองรวมกันแล้วให้ กก.สรรหา 7 คน หยิบจากตรงไหนก็ได้ ซึ่งไม่เหมาะสม จึงเสนอว่า ควรกำหนดสัดส่วนไปเลย โดย ส.ว.สรรหา 74 คน แบ่งเป็นจากภาควิชาการ 15 คน ภาครัฐ 15 คน ภาคเอกชน 15 คน ภาควิชาชีพ 15 คน และภาคอื่น 14 คน
ทั้งนี้ นิติบุคคลเมื่อเสนอชื่อมาแล้วต้องเลือกว่าจะสังกัดกลุ่มใด จากนั้นให้เลือกกันเองให้เหลือ 2 เท่า คือ 148 คน ก่อนที่กก.สรรหา จะสรรหาให้เหลือ 74 คน
ส่วนร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เรื่องการให้ใบแดง ใบเหลือง ที่กำหนดว่า กกต.ต้องทำเป็นหนังสือระบุข้อเท็จจริงให้ชัด คณะทำงานฯ เสนอว่า ควรเพิ่มเรื่องการเปิดเผยเหตุผลการวินิจฉัยให้คู่กรณีรับทราบได้ด้วย อาจเขียนไว้ในส่วนใด หรือเพิ่มไว้ใน พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารก็ได้ เพื่อให้ตรวจสอบได้ เพราะในอดีตมีปัญหาว่า แจกใบแดง ใบเหลืองแล้ว คำวินิจฉัยยังไม่ได้เขียน
ด้าน นายนิกร จำนง กล่าวว่ากรณี ร่าง พ.ร.บ.พรรคการเมือง กรรมการกองทุนสนับสนุนพรรคที่กำหนดว่า ให้มีตัวแทนฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายค้าน ฝ่ายละ 1 คน คณะทำงานฯ ขอเพิ่มตัวแทนพรรคการเมืองที่ไม่มีส.ส.ในสภา 1 คน มาเป็นกรรมการด้วย เพื่อพัฒนาให้พรรคการเมืองทั้งหมดมีส่วนร่วม ขณะที่ พล.อ.จรัล กล่าวว่า จะรับไว้เสนอให้สมาชิก สนช. ส่วนระยะเวลาการพิจารณากฎหมายลูก 3 ฉบับในที่ประชุม สนช. ยังไม่แน่ว่าจะใช้เวลากี่วัน โดยมีผู้สงวนคำแปรญัตติ และสงวนความเห็นไม่มาก แต่ประธาน สนช.ระบุว่า ไม่จำกัดการฟังความเห็น และตนก็เห็นว่า กฎหมายสำคัญอย่าคิดถึงเวลา แต่ควรเปิดอภิปรายเต็มที่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับข้อเสนอ 23 ประเด็นของคณะทำงานอดีต 3 พรรคร่วมฝ่ายค้าน มีประเด็นที่น่าสนใจ อาทิ ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง คณะทำงานฯเสนอให้ตัด มาตรา 43 ที่บัญญัติว่า ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง ช่วยเหลือ สนับสนุนผู้สมัครเลือกตั้ง ส.ว. ซึ่งเป็นเหตุที่อาจนำไปสู่การที่ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคได้ เพราะอาจมีเจ้าหน้าที่ของพรรคบางคน ที่มาทำงานชั่วคราว และไม่ได้เป็นสมาชิกพรรค ไม่ทราบกฎหมายมากนัก หรืออาจมีการกลั่นแกล้งกันได้ นอกจากนี้ มาตรา 72 /1 ที่บัญญัติให้พรรค หรือสมาชิกพรรค ที่ซื้อเวลาประชาสัมพันธ์ทางสื่อ ให้นับค่าใช้จ่ายนั้นเป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งครั้งต่อไป คณะทำงานฯเสนอว่า ควรแก้ไขให้นับ 6 เดือน ก่อนครบวาระสภาในสมัยนั้น และนำมารวมค่าใช้จ่ายจนถึงวันเลือกตั้งด้วย ส่วนกรณียุบสภา ก็ให้นับค่าใช้จ่ายจากวันยุบสภาเป็นต้นไป
ส่วน ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว. มาตรา 61 เรื่องการติดแผ่นป้ายหาเสียง คณะทำงานฯ เห็นว่า กรณีสถานที่ของเอกชนไม่ควรไปห้ามไม่ให้ติดป้าย แต่ควรกำหนดขนาด หรือจำนวน โดยให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายรวมด้วย สำหรับ ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วย กกต. มาตรา 7 เรื่องกกต. ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินของตนคู่สมรส และบุตร ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อป.ป.ช. คณะทำงานฯเสนอว่า กกต.จังหวัด ควรต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินเหมือน กกต.กลางด้วย มาตรา 14 / 1 ที่ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 20 คน หรือพรรคยื่นคำร้องต่อ กกต.เพื่อสั่งให้ กกต.จังหวัดพ้นจากตำแหน่งได้เนื่องจากขาดคุณสมบัติ โดย กกต.กลางต้องสอบสวนให้เสร็จสิ้นใน 90 วัน คณะทำงานฯ เสนอว่า ควรปรับลดลงมาให้ไม่เกิน 30 วัน เพื่อให้ทันต่อการเยียวยาความเสียหาย
วานนี้ (24 ก.ย.) คณะทำงานอดีต 3 พรรคร่วมฝ่ายค้าน นำโดยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายนิกร จำนง รองหัวหน้าพรรคชาติไทย และนายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ์ ผู้อำนวยการพรรคมหาชน เข้ายื่นข้อเสนอความเห็นร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับ ที่จำเป็นต่อการเลือกตั้ง เพื่อประกอบการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)โดยมี พล.อ.จรัล กุลละวณิชย์ รองประธาน สนช. เป็นผู้รับหนังสือ
นายจุรินทร์ กล่าวว่า 3 พรรคฝ่ายค้านได้พิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ทั้ง 3 ฉบับร่วมกันแล้ว และมีข้อเสนอ 23 ประเด็น เพื่อให้สนช.พิจารณาปรับปรุง อาทิ การสรรหา ส.ว. พบว่า ในร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่ง ส.ว. กำหนดเพียงว่า ให้ได้มาจาก 5 ภาค และให้นิติบุคคลเสนอได้องค์กรละ 1 คน มากองรวมกันแล้วให้ กก.สรรหา 7 คน หยิบจากตรงไหนก็ได้ ซึ่งไม่เหมาะสม จึงเสนอว่า ควรกำหนดสัดส่วนไปเลย โดย ส.ว.สรรหา 74 คน แบ่งเป็นจากภาควิชาการ 15 คน ภาครัฐ 15 คน ภาคเอกชน 15 คน ภาควิชาชีพ 15 คน และภาคอื่น 14 คน
ทั้งนี้ นิติบุคคลเมื่อเสนอชื่อมาแล้วต้องเลือกว่าจะสังกัดกลุ่มใด จากนั้นให้เลือกกันเองให้เหลือ 2 เท่า คือ 148 คน ก่อนที่กก.สรรหา จะสรรหาให้เหลือ 74 คน
ส่วนร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เรื่องการให้ใบแดง ใบเหลือง ที่กำหนดว่า กกต.ต้องทำเป็นหนังสือระบุข้อเท็จจริงให้ชัด คณะทำงานฯ เสนอว่า ควรเพิ่มเรื่องการเปิดเผยเหตุผลการวินิจฉัยให้คู่กรณีรับทราบได้ด้วย อาจเขียนไว้ในส่วนใด หรือเพิ่มไว้ใน พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารก็ได้ เพื่อให้ตรวจสอบได้ เพราะในอดีตมีปัญหาว่า แจกใบแดง ใบเหลืองแล้ว คำวินิจฉัยยังไม่ได้เขียน
ด้าน นายนิกร จำนง กล่าวว่ากรณี ร่าง พ.ร.บ.พรรคการเมือง กรรมการกองทุนสนับสนุนพรรคที่กำหนดว่า ให้มีตัวแทนฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายค้าน ฝ่ายละ 1 คน คณะทำงานฯ ขอเพิ่มตัวแทนพรรคการเมืองที่ไม่มีส.ส.ในสภา 1 คน มาเป็นกรรมการด้วย เพื่อพัฒนาให้พรรคการเมืองทั้งหมดมีส่วนร่วม ขณะที่ พล.อ.จรัล กล่าวว่า จะรับไว้เสนอให้สมาชิก สนช. ส่วนระยะเวลาการพิจารณากฎหมายลูก 3 ฉบับในที่ประชุม สนช. ยังไม่แน่ว่าจะใช้เวลากี่วัน โดยมีผู้สงวนคำแปรญัตติ และสงวนความเห็นไม่มาก แต่ประธาน สนช.ระบุว่า ไม่จำกัดการฟังความเห็น และตนก็เห็นว่า กฎหมายสำคัญอย่าคิดถึงเวลา แต่ควรเปิดอภิปรายเต็มที่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับข้อเสนอ 23 ประเด็นของคณะทำงานอดีต 3 พรรคร่วมฝ่ายค้าน มีประเด็นที่น่าสนใจ อาทิ ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง คณะทำงานฯเสนอให้ตัด มาตรา 43 ที่บัญญัติว่า ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง ช่วยเหลือ สนับสนุนผู้สมัครเลือกตั้ง ส.ว. ซึ่งเป็นเหตุที่อาจนำไปสู่การที่ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคได้ เพราะอาจมีเจ้าหน้าที่ของพรรคบางคน ที่มาทำงานชั่วคราว และไม่ได้เป็นสมาชิกพรรค ไม่ทราบกฎหมายมากนัก หรืออาจมีการกลั่นแกล้งกันได้ นอกจากนี้ มาตรา 72 /1 ที่บัญญัติให้พรรค หรือสมาชิกพรรค ที่ซื้อเวลาประชาสัมพันธ์ทางสื่อ ให้นับค่าใช้จ่ายนั้นเป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งครั้งต่อไป คณะทำงานฯเสนอว่า ควรแก้ไขให้นับ 6 เดือน ก่อนครบวาระสภาในสมัยนั้น และนำมารวมค่าใช้จ่ายจนถึงวันเลือกตั้งด้วย ส่วนกรณียุบสภา ก็ให้นับค่าใช้จ่ายจากวันยุบสภาเป็นต้นไป
ส่วน ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว. มาตรา 61 เรื่องการติดแผ่นป้ายหาเสียง คณะทำงานฯ เห็นว่า กรณีสถานที่ของเอกชนไม่ควรไปห้ามไม่ให้ติดป้าย แต่ควรกำหนดขนาด หรือจำนวน โดยให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายรวมด้วย สำหรับ ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วย กกต. มาตรา 7 เรื่องกกต. ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินของตนคู่สมรส และบุตร ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อป.ป.ช. คณะทำงานฯเสนอว่า กกต.จังหวัด ควรต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินเหมือน กกต.กลางด้วย มาตรา 14 / 1 ที่ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 20 คน หรือพรรคยื่นคำร้องต่อ กกต.เพื่อสั่งให้ กกต.จังหวัดพ้นจากตำแหน่งได้เนื่องจากขาดคุณสมบัติ โดย กกต.กลางต้องสอบสวนให้เสร็จสิ้นใน 90 วัน คณะทำงานฯ เสนอว่า ควรปรับลดลงมาให้ไม่เกิน 30 วัน เพื่อให้ทันต่อการเยียวยาความเสียหาย