ผู้จัดการรายวัน-ชาวบางปะกงตื่นโรงไฟฟ้าถ่านหินของอิตัลไทย ล่าสุดเครือข่ายนักศึกษา-กรีนพีซลงพื้นที่ต้านโครงการดังกล่าว หวั่นมลพิษกระทบหนักพื้นที่เชิงอนุรักษ์-ท่องเที่ยวเชิงนิเวศลุ่มน้ำบางปะกง
นายนฤดล นิยมทรัพย์ อดีตประธานสหพันธ์นักศึกษาภาคตะวันออก เปิดเผยถึง ความเคลื่อนไหวของการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่ตำบลเขาดิน อ.บางประกง จ.ฉะเชิงเทราว่า ขณะนี้ทางกลุ่มผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าถ่านหินของบริษัท อิตาเลียนไทย เพาวอร์ จำกัด ยังไม่มีการเคลื่อนไหวหรือเข้ามาทำการชี้แจ้งข้อมูลโรงไฟฟ้าให้ชาวบ้านรับทราบแต่อย่างใด มีเพียงบริษัทที่รับทำรายงานศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอ เข้ามาหาข้อมูลในพื้นที่เท่านั้น
สำหรับโรงไฟฟ้าถ่านหินอิตัลไทย มีกำลังการผลิต 700 เมกะวัตต์ จะใช้ถ่านหินนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าประมาณ 3 ล้านตันต่อปีหรือประมาณ 10,000 ตันต่อวัน โดยการขนถ่ายถ่านหินทางเรือลากจูงทางแม่น้ำบางปะกง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่อนุรักษ์เชิงนิเวศของลุ่มน้ำและวิถีชีวิตของชุมชนริมลุ่มน้ำบางปะกงอย่างแน่นอน
" ในฐานะลูกหลานคนในพื้นที่ ตอนนี้ทำได้เพียงการให้ข้อมูลความรู้กับชาวบ้านถึงผลดีผลเสียหากมีโรงไฟฟ้าหากมาจัดตั้ง อย่างน้อยชาวบ้านจะต้องทราบและต้องเปิดรับฟังความคิดเห็นจากชาวบ้านก่อน ตามสิทธิที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ 2550 เพื่อให้ชาวบ้านได้รับรู้ข้อมูลอย่างครบถ้วน ส่วนจะดำเนินการตั้งโรงไฟฟ้าได้หรือไม่ได้นั้น ต้องเป็นอำนาจของประชาชนเองที่จะตัดสินใจ "นายนฤดลกล่าว
นายธารา บัวคำศรี ผู้ประสานงานกลุ่มกรีนพีซตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า ขณะนี้ทางกรีนพีซ กำลังติดตามสถานการณ์การก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินอย่างใกล้ชิด ซึ่งเวลานี้ทางตัวแทนชาวบ้านที่ไม่เห็นด้วยต่อการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ได้ประสานงานกับกลุ่มกรีนพีซเพื่อข้อมูลถึงผลเสียของโรงไฟฟ้าที่เกิดขึ้นแล้ว
ทั้งนี้ การก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน เกิดขึ้นมาจากแผนกำลังการผลิตไฟฟ้าหรือพีดีพี
ที่รัฐบาลเป็นผู้จัดทำ ซึ่งสวนกระแสกับภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นในเวลานี้ ซึ่งขณะนี้ทางกลุ่มกรีนพีซกำลังอยู่ระหว่างศึกษาว่า หากไม่เอาโรงไฟฟ้าถานหินแล้ว จะมีทางออกให้แก่ประเทศใช้เชื้อเพลิงใดในการผลิตไฟฟ้า
อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 19 ต.ค.นี้ จะเป็นวันที่ยื่นซองประมูลไอพีพี คงจะมีความชัดเจนมากขึ้นว่า จะมีเอกชนรายใดยื่นประมูลก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินบ้าง
ทั้งนี้ มีการรายงานความเคลื่อนไหวล่าสุดระบุว่า ชาวบ้านในบ้านเขาดิน อำเภอบางปะกง ฉะเชิงเทรา ได้เตรียมการเคลื่อนไหวต่อต้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใช้เชื้อเพลิงถ่านหินของบริษัท อิตาเลี่ยนไทย เพาเวอร์ จำกัดหรือไอพีซี ซึ่งเป็นบริษัทลูกของอิตัลไทยแล้ว ซึ่งมีบริษัท ทีม คอนซัลติ้ง จำกัดเป็นผู้ทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม
โดยเมื่อวันที่ 14 ก.ย.ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ของทีม คอมซัลติ้งฯได้ลงพื้นที่ประชุมย่อย เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ และได้มีการแจกเอกสารโฆษณาชวนเชื่อถึงผลดีของการก่อสร้างโรงไฟฟ้าให้แก่ประชาชน แต่กลับได้รับกระแสต่อต้านของประชาชนในพื้นที่
นายนฤดล นิยมทรัพย์ อดีตประธานสหพันธ์นักศึกษาภาคตะวันออก เปิดเผยถึง ความเคลื่อนไหวของการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่ตำบลเขาดิน อ.บางประกง จ.ฉะเชิงเทราว่า ขณะนี้ทางกลุ่มผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าถ่านหินของบริษัท อิตาเลียนไทย เพาวอร์ จำกัด ยังไม่มีการเคลื่อนไหวหรือเข้ามาทำการชี้แจ้งข้อมูลโรงไฟฟ้าให้ชาวบ้านรับทราบแต่อย่างใด มีเพียงบริษัทที่รับทำรายงานศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอ เข้ามาหาข้อมูลในพื้นที่เท่านั้น
สำหรับโรงไฟฟ้าถ่านหินอิตัลไทย มีกำลังการผลิต 700 เมกะวัตต์ จะใช้ถ่านหินนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าประมาณ 3 ล้านตันต่อปีหรือประมาณ 10,000 ตันต่อวัน โดยการขนถ่ายถ่านหินทางเรือลากจูงทางแม่น้ำบางปะกง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่อนุรักษ์เชิงนิเวศของลุ่มน้ำและวิถีชีวิตของชุมชนริมลุ่มน้ำบางปะกงอย่างแน่นอน
" ในฐานะลูกหลานคนในพื้นที่ ตอนนี้ทำได้เพียงการให้ข้อมูลความรู้กับชาวบ้านถึงผลดีผลเสียหากมีโรงไฟฟ้าหากมาจัดตั้ง อย่างน้อยชาวบ้านจะต้องทราบและต้องเปิดรับฟังความคิดเห็นจากชาวบ้านก่อน ตามสิทธิที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ 2550 เพื่อให้ชาวบ้านได้รับรู้ข้อมูลอย่างครบถ้วน ส่วนจะดำเนินการตั้งโรงไฟฟ้าได้หรือไม่ได้นั้น ต้องเป็นอำนาจของประชาชนเองที่จะตัดสินใจ "นายนฤดลกล่าว
นายธารา บัวคำศรี ผู้ประสานงานกลุ่มกรีนพีซตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า ขณะนี้ทางกรีนพีซ กำลังติดตามสถานการณ์การก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินอย่างใกล้ชิด ซึ่งเวลานี้ทางตัวแทนชาวบ้านที่ไม่เห็นด้วยต่อการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ได้ประสานงานกับกลุ่มกรีนพีซเพื่อข้อมูลถึงผลเสียของโรงไฟฟ้าที่เกิดขึ้นแล้ว
ทั้งนี้ การก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน เกิดขึ้นมาจากแผนกำลังการผลิตไฟฟ้าหรือพีดีพี
ที่รัฐบาลเป็นผู้จัดทำ ซึ่งสวนกระแสกับภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นในเวลานี้ ซึ่งขณะนี้ทางกลุ่มกรีนพีซกำลังอยู่ระหว่างศึกษาว่า หากไม่เอาโรงไฟฟ้าถานหินแล้ว จะมีทางออกให้แก่ประเทศใช้เชื้อเพลิงใดในการผลิตไฟฟ้า
อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 19 ต.ค.นี้ จะเป็นวันที่ยื่นซองประมูลไอพีพี คงจะมีความชัดเจนมากขึ้นว่า จะมีเอกชนรายใดยื่นประมูลก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินบ้าง
ทั้งนี้ มีการรายงานความเคลื่อนไหวล่าสุดระบุว่า ชาวบ้านในบ้านเขาดิน อำเภอบางปะกง ฉะเชิงเทรา ได้เตรียมการเคลื่อนไหวต่อต้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใช้เชื้อเพลิงถ่านหินของบริษัท อิตาเลี่ยนไทย เพาเวอร์ จำกัดหรือไอพีซี ซึ่งเป็นบริษัทลูกของอิตัลไทยแล้ว ซึ่งมีบริษัท ทีม คอนซัลติ้ง จำกัดเป็นผู้ทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม
โดยเมื่อวันที่ 14 ก.ย.ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ของทีม คอมซัลติ้งฯได้ลงพื้นที่ประชุมย่อย เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ และได้มีการแจกเอกสารโฆษณาชวนเชื่อถึงผลดีของการก่อสร้างโรงไฟฟ้าให้แก่ประชาชน แต่กลับได้รับกระแสต่อต้านของประชาชนในพื้นที่