”สุรยุทธ์”เตรียมหารือ ”สิทธิชัย” หลังกลับจากสหรัฐฯ ด้าน ”อรนุช”ประกาศลาเก้าอี้ รมช.พาณิชย์แล้ว ระบุไม่สบายใจที่ต้องทำงานภายใต้บรรยากาศความแตกแยกในเชิงความคิด พร้อมยืนยันไม่เล่นการเมือง ขณะที่ “อารีย์”ยังกอดเก้าอี้แน่น อ้างรอนายกฯมาตัดสิน”สุเทพ” เชื่อจะเป็นแรงกดดันให้รัฐบาลหากยังดื้อ บอกแปลกดีพ่อเป็น มท.1 แต่ลูกชายลงสมัคร ส.ส.ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล แถมย้าย ขรก.ที่แทรกแซงการเลือกตั้งกลับมาได้ดีเก้าอี้ใหญ่ขึ้น ”อภิสิทธิ์” ชี้หากลาออกจะสร้างคุณค่าได้มากกว่าการทำงานต่อไป ส่วนผลโพลชี้ชัด ประชาชนต้องการให้ 3 รมต.ลาออก เหตุกระทบภาพลักษณ์คุณธรรม และจะไม่เลือกผู้สมัคร ส.ส.กลุ่มอำนาจเก่า
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์หลังเดินทางถึง นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เพื่อร่วมประชุมองค์การสหประชาชาติ วานนี้ (23 ก.ย.) ถึงกรณีที่นายสิทธิชัย โภไคยอุดม รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ยื่นใบลาออก หลังจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ระบุว่าเป็น 1 ใน 3 รัฐมนตรีถือหุ้นในบริษัทเกินร้อยละ 5 ซึ่งแม้จะไม่ผิดกฎหมาย แต่ก็ไม่เหมาะสม ว่า เมื่อกลับไปถึงประเทศไทยจะหารือกับนายสิทธิชัยและผู้เกี่ยวข้อง ขณะนี้ขอรวบรวม ข้อมูลต่างๆ ก่อน ส่วนจะปรับคณะรัฐมนตรีหรือไม่นั้น ให้ผู้เกี่ยวข้องเป็นผู้ตัดสินใจ
**อรนุชประกาศลาออก
นางอรนุช โอสถานนท์ รมช.พาณิชย์ เปิดแถลงข่าวและเปิดใจหลังจากที่ ป.ป.ช. ระบุว่า มีนักการเมืองของรัฐบาลชุดนี้ถือหุ้นทำธุรกิจเกินร้อยละ 5 แม้ว่าจะมีบทเฉพาะกาลรองรับในกฎหมายรัฐธรรมนูญว่า ไม่ผิดกฎหมาย แต่เห็นว่าเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม ขณะเดียวกันก็มีการออกมาวิพากษ์วิจารณ์ทั้งกลุ่มการเมืองและประชาชน ดังนั้น จึงตัดสินใจลาออกจากตำแหน่ง รมช.พาณิชย์ โดยจะยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรีเมื่อเดินทางกลับถึงประเทศไทยในช่วงปลายสัปดาห์หน้า เหตุผลสำคัญและได้ไตร่ตรองร่วมกับครอบครัวอย่างรอบคอบแล้ว เห็นว่าหากอยู่ในตำแหน่งดังกล่าวต่อไป ก็อาจจะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์
ทั้งนี้ รู้สึกไม่สบายใจที่จะทำงานต่อไปภายใต้บรรยากาศแตกแยกในเชิงความคิดในขณะนี้ และการทำงานของรัฐบาลชุดนี้จะทำงานเต็มไปด้วยความยากลำบาก
นางอรนุชกล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมาได้ทำงานอย่างไม่ท้อถอยปฏิบัติงานด้วยความอดทน อดกลั้น และทำงานร่วมกันเป็นทีม แต่เมื่อเพื่อนรวมทีมในคณะรัฐมนตรีบางคนออกมาวิพากษ์วิจารณ์ต่อสาธารณะชนอย่างต่อเนื่อง และแม้ว่าตนจะไม่รู้สึกน้อยใจ แต่ก็เห็นว่าควรมีมารยาททางการเมือง จึงได้ตัดสินใจที่จะลาออกจาก ตำแหน่ง รมช.พาณิชย์ และได้แจ้งเหตุผลของการลาออกจากตำแหน่งนี้ต่อ นายเกริกไกร จีระแพทย์ รมว.พาณิชย์ ช่วงเช้าที่ผ่านมา ซึ่งนายเกริกไกร เข้าใจถึงเหตุผลและเข้าใจในความรู้สึกของตน ซึ่งนายเกริกไกรเห็นว่า หากรู้สึกไม่สบายใจ ก็ให้ตัดสินใจเรื่องนี้ทันที นอกจากนี้ยังได้โทรศัพท์ถึงเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเพื่อเรียนให้ท่านนายกรัฐมนตรีทราบแล้วเช่นกัน
ส่วนกรณีที่หลายฝ่ายกำลังโยงความคิดเห็นว่า เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทางการเมืองด้วยนั้น นางอรนุชกล่าวว่า ตนได้อาสาเข้ามารับใช้ประเทศชาติ ด้วยความจริงใจและได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง รมช.พาณิชย์ เมื่อวันที่ 1 ก.พ.ที่ผ่านมา โดยได้รับผิดชอบดูแลกรมต่าง ๆ ประกอบด้วย กรมทรัพย์สินทางปัญญา กรมการประกันภัย ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนเป็นสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และยังได้ดูแลสินค้าภาคการเกษตร เช่น ข้าว มันสำปะหลัง รวมถึงองค์การคลังสินค้า (อคส.) ซึ่งตลอดระยะเวลาการบริหารงานก็สามารถแก้ไขปัญหาเร่งรัดงานต่าง ๆ ของกรมในแต่ละด้านได้เป็นอย่างดี แต่สิ่งที่เป็นห่วงคือ เรื่องการระบายสตอกข้าวของรัฐบาล แต่ก็ยังเชื่อว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์คนปัจจุบันคงจะสามารถแก้ไขได้ และคิดว่าไม่ได้ห่วงงานมากมาย
**รับหารือกับอารีย์แล้วแต่ยังดื้อ
ผู้สื่อข่าวถามว่าในการลาออกครั้งนี้ได้มีการพูดคุยกับนายอารีย์ วงศ์อารยะ รมว.มหาดไทย ซึ่งเป็น 1 ใน 3 ของรัฐมนตรีที่ถือหุ้นเกินร้อยละ 5 และนายอารีย์ ยังไม่ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่ง
นางอรนุชกล่าวว่า ตนได้หารือ กับนายอารีย์แล้ว เพราะนายกรัฐมนตรีสั่งการให้ทั้ง 3 รัฐมนตรีปรึกษาหารือกันก่อน แม้ว่า นายอารีย์ ไม่ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่ง ถือเป็นสิทธิส่วนบุคคล ซึ่งการลาออกของตน ได้พิจารณาอย่างรอบคอบ และไม่ได้ลาออกตามกระแสสังคม หรือตามนายสิทธิไชย โภไคยอุดม รมว. ไอซีที และขอยืนยันว่า แม้ว่าจะลาออกจากตำแหน่งแล้ว ก็ไม่คิดเล่นการเมืองต่อไป เพราะคิดว่าได้อาสาเข้ามาแก้ไขปัญหาให้กับประเทศชาติพอแล้ว แม้จะเข้ามาเป็นรัฐมนตรีก็ไม่ได้รู้สึกว่าเป็นนักการเมือง ซึ่งครอบครัวได้พูดเป็นเสียงเดียวกันให้ลาออก โดยคาดว่า เมื่อนายกรัฐมนตรีเดินทางกลับจากต่างประเทศและตนได้ยื่นใบลาออก การลาออกน่าจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.นี้ เป็นต้นไป
ส่วนกรณีที่นายกรัฐมนตรีจะมีการทักท้วงหรือไม่นั้น ตนไม่ทราบ ขึ้นอยู่กับนายกรัฐมนตรี และได้แจ้งเหตุผลให้กับ รมว.พาณิชย์ทราบแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศที่โรงแรมรอยัลปริ๊นเซส หลานหลวง หลังจากมีข่าวว่า นางอรนุช จะแถลงข่าวการลาออกอย่างเป็นทางการในช่วงเวลา 14.00 น. ทำให้ข้าราชการระดับสูงและอดีตข้าราชการสังกัดกระทรวงพาณิชย์ โดยเฉพาะนายการุณ กิตติสถาพร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งจะเกษียณอายุราชการในวันที่ 30 กันยายน 2550 และ น.ส.อรจิต สิงคาลวณิช อดีตอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และข้าราชการอีกจำนวนมากได้มาฟังการแถลงข่าว และได้มอบดอกไม้ พวงมาลัย เป็นกำลังใจให้กับนางอรนุช โดยข้าราชการหลายคนรวมถึงนักข่าวรู้สึกเสียดายในการลาออก ครั้งนี้ เพราะหลายคนมองว่านางอรนุชเป็นบุคคลที่ทำงานเก่ง และเป็นอดีตข้าราชการกระทรวงพาณิชย์
**อารีย์เสียงแข็งไม่ลาออก
ขณะที่นายอารีย์ วงศ์อารยะ รมว.มหาดไทย 1 ใน 3 รัฐมนตรีที่ ป.ป.ช. ระบุถือครองหุ้นในบริษัทเอกชนเกินร้อยละ 5 กล่าวว่า การประกาศลาออกจากตำแหน่ง ของนายสิทธิชัย โภไคยอุดม ไม่ได้ทำให้รู้สึกกดดันหรือมีแรงเสียดทานแต่อย่างใด โดยยืนยันว่าจะไม่ลาออกจากตำแหน่ง และจะเข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีตามปกติ จะรอให้นายกรัฐมนตรีเดินทางกลับจากสหรัฐอเมริกา เพื่อรับฟังความเห็นจากนายกรัฐมนตรีโดยตรง
“ผมไม่ติดใจกรณีที่นายธีรภัทร เสรีรังสรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เรียกร้องให้ลาออกเพื่อจริยธรรม เพื่อให้นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งผมเข้ามาใหม่ เพราะไม่ได้ยินเรื่องนี้ด้วยหูตัวเอง ส่วนกรณีที่นายธีรภัทรมักถูกมองว่ามีส่วนเชื่อมโยงกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนั้น ไม่ทราบ และไม่สนใจ ขอให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจเรื่องนี้เอง"
** อารีย์จะเป็นตัวสร้างแรงกดดันให้รัฐบาล
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีนายอารีย์ วงศ์อารยะ ยืนยันไม่ลาออกจาก รมว.มหาดไทยว่า เป็นเรื่องน่าหนักใจ ทั้งสำหรับนายอารีย์ คณะรัฐมนตรี และประชาชน โดยในส่วนของนายอารีย์ ต้องกลายเป็นจำเลยของสังคม ที่ต้องคอยตอบคำถามเรื่องการถือครองหุ้นเกินทุกวัน และที่น่าหนักใจสำหรับนายกรัฐมนตรี คือ คนที่เป็นปัญหาจะเป็นแรงกดดันในการทำงาน ขณะที่ประชาชนก็คงคาดหวังอยากจะเห็นบ้านเมืองเป็นไปด้วยความ ราบรื่น ไม่มีอะไรสะดุดติดขัด เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การที่นายอารีย์เป็น รมว.มหาดไทย ยังมีปัญหาเรื่องลูกชายจะลงสมัครรับเลือกตั้งในพรรคการเมือง ซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกับรัฐบาล และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ดังนั้น นายอารีย์ต้องชั่งใจให้มาก
อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวคิดว่านายอารีย์คงต้องการเวลาในการคิดอะไรให้ลึก ๆ เพียงแต่ยังไม่ได้แสดงออกมา แต่หากยิ่งทอดเวลานานออกไปก็ยิ่งเป็นผลลบกับตัวเอง
“ลูกลงสมัคร ส.ส. พ่อเป็น มท.1 ก็ไม่แปลก ถ้าเขาเคร่งครัดแข็งแรงเอาจริง เอาจัง แต่บังเอิญว่าคุณอารีย์ พระศุกร์เข้าพระเสาร์แทรก นอกจากมีปัญหาเรื่องหุ้น ที่คนคลางแคลงใจแล้ว ยังเคยย้ายคนที่เคยแทรกแซงการเลือกตั้งไปได้ไม่นาน ก็ย้ายกลับมาให้เป็นใหญ่เป็นโตด้วยซ้ำ ตรงนี้จะทำให้คนมองว่าอะไรเป็นของจริง อะไรเป็นของเล่น และเรื่องลูกก็เป็นปัญหา ท่านอยู่ฝ่ายไม่เอาทักษิณ แต่ลูกกลับเป็นลูกน้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ตอนนี้พูดอะไรหรือทำอะไรคนก็คงไม่เชื่อ”
ผู้สื่อข่าวถามว่าหากนายอารีย์ยังยืนยันที่จะอยู่ในตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี ควรตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่านายกรัฐมนตรีเป็นสุภาพบุรุษ คงไม่ทำอะไรกดดันใคร นายอารีย์คงต้องตัดสินใจเรื่องนี้ด้วยตัวเอง
**อภิสิทธิ์ชื่นชมสิทธิชัย
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เขียนบทความเรื่อง หุ้นรัฐมนตรี หนึ่งปีรัฐประหาร กับ ผบ.ทบ.ใหม่ ลงใน www.abhisit.org ตอนหนึ่งถึง กรณีที่นายสิทธิชัย โภไคยอุดม ลาออกจากตำแหน่งรมว.ไอซีที ภายหลังจากที่ ป.ป.ช. ระบุรัฐมนตรีถือหุ้นในบริษัทเกินร้อยละ 5 ซึ่งแม้จะไม่ผิดกฎหมาย แต่ก็ไม่เหมาะสม ว่า การตัดสินใจของนายสิทธิชัย เพื่อรักษามาตรฐานของรัฐมนตรี สมควรแก่การชื่นชม เป็นแบบอย่างทางการเมือง เพราะเป็นการแสดงถึงจิตสำนึกโดยไม่มีกฎหมายบังคับ ส่วนตัวไม่เชื่อว่านายสิทธิชัย จะทุจริตหรือแสวงประโยชน์จากอำนาจในช่วงที่มีการ ถือหุ้นอยู่
“ผมเห็นว่าท่านได้ตัดสินใจอย่างถูกต้องแล้ว และแม้ผมจะไม่ได้เห็นด้วยกับหลายสิ่งที่ท่านทำในขณะดำรงตำแหน่ง แต่ท่านเป็นรัฐมนตรีในจำนวนไม่กี่คน ที่รู้ร้อนรู้หนาวกับปัญหาภารกิจในความรับผิดชอบชัดเจน ตั้งแต่ปัญหาธุรกิจ โทรคมนาคม ปัญหา Youtube ฯลฯ ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าคนที่จะเข้ามารับผิดชอบงานของท่านจะกระตือรือร้นเหมือนท่านหรือไม่”
**ชี้3รมต.ออกสร้างคุณค่ามากกว่าอยู่ต่อ
นายอภิสิทธิ์ระบุว่า กฎหมายห้ามรัฐมนตรีถือหุ้นในบริษัทต่าง ๆ เกินร้อยละ 5 มีมาตั้งแต่ปี 2540 แม้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 จะมีบทเฉพาะกาลไว้คุ้มครองรัฐมนตรีในปัจจุบัน แต่รัฐมนตรี จะอ้างว่าไม่รู้กฎหมาย หรือเจตนารมณ์ของกฎหมาย ไม่ได้ โดยเฉพาะเมื่อมีรัฐมนตรีฯ ในรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่ได้ปฏิบัติตามเจตนารมณ์ของกฎหมายเป็นตัวอย่างไปก่อนแล้ว สิ่งที่น่าอัศจรรย์ คือ รัฐมนตรี ที่อยู่ในข่ายเดียวกับนายสิทธิชัย แต่ไม่ตัดสินใจลาออก โดยมีข้ออ้างต่าง ๆ นานา ตนไม่เชื่อว่า หากรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งไม่อยู่ในตำแหน่งแล้ว การบริหารบ้านเมืองจะเดินต่อไม่ได้
”ผมคิดว่าประเทศไทย การเมืองไทยเดินหน้าได้ ไม่มีนักการเมือง หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองคนไหนที่จำเป็นต้องอยู่ในตำแหน่ง ผมไม่เชื่อว่า 3-4 เดือนที่เหลือของรัฐมนตรีที่ยังอยู่จะสร้างผลงานที่มีคุณค่าต่อประเทศ มากกว่าการช่วย รัฐบาลนี้ยกระดับมาตรฐานทางการเมือง ผมไม่คิดว่าการเปิดเผยของ ป.ป.ช. จะเป็นผลพวงของการเล่นเกมการเมือง มีแต่การหย่อนมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรมเท่านั้นที่จะสร้างปัญหาการเมืองให้นายกรัฐมนตรีกับรัฐบาล ผมไม่อยากเห็น การยึดติดกับตำแหน่งเป็นภาระของรัฐบาล เป็นภาระของนายกรัฐมนตรี เป็นภาระของบ้านเมือง ยังไม่สายเกินไปที่จะทบทวนการตัดสินใจ”
**สมัครระบุเป็นบททดสอบอารีย์
นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน (พปช.)กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวเป็นการทดสอบตัวรัฐมนตรีแต่ละคน กรณีของนายอารีย์ วงศ์อารยะ ที่ยังไม่ลาออกนั้น ถือเป็นการทดสอบทั้งตัวรัฐมนตรีเอง และกฎหมายคือรัฐธรรมนูญ หากรัฐธรรมนูญเปิดช่องให้รัฐมนตรีถือหุ้นได้ การตัดสินใจไม่ลาออกของนายอารีย์ ถือเป็นการทดสอบกฎหมายทางหนึ่ง อย่างไรก็ดี เรื่องนี้ต้องดูกันต่อไป โดยฝ่ายกฎหมายควรตรวจสอบเรื่องนี้ด้วย
นายสมัครยังกล่าวถึงถึงกระแสข่าว พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) จะมาเป็นรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงว่า เป็นเรื่องของ พล.อ.สนธิ ไม่ใช่เรื่องของตน
**ผลโพลให้3รัฐมนตรีไขก๊อก
วันเดียวกัน ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง ประชาชนคิดอย่างไรต่อคุณสมบัติของนักการเมืองระดับชาติ และต่อ 3 รัฐมนตรี หลังคำแถลงของ ป.ป.ช. เรื่องการถือหุ้นเกินร้อยละ 5 ในห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัท : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการตัดสินใจของ 3 รัฐมนตรี ภายหลัง ป.ป.ช. ออกมาระบุว่า มีการถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัท เกินกว่าร้อยละ 5 นั้น ประชาชนร้อยละ 46.2 ระบุควรตัดสินใจลาออก ในขณะที่ร้อยละ 28.8 ระบุควรทำงานต่อไป และร้อยละ 25.0 ไม่ระบุความคิดเห็น ทั้งนี้ ประชาชนร้อยละ 48.5 ระบุว่า การถือหุ้นของ 3 รัฐมนตรีดังกล่าว มีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ด้านคุณธรรม ของรัฐบาล ในขณะที่ร้อยละ 35.9 ระบุว่าไม่มีผลกระทบ และร้อยละ 15.6 ไม่ระบุความคิดเห็น
ส่วนสิ่งที่นึกถึงเป็นอันดับแรกเมื่อกล่าวถึงนักการเมืองนั้ นกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 36.9 นึกถึงการทุจริตคอร์รัปชัน โกงบ้านกินเมือง ความไม่ซื่อสัตย์ เชื่อถือไม่ได้ รองลงมาคือร้อยละ 14.8 นึกถึงการเห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตน เห็นแก่ตัว ร้อยละ 9.9 นึกถึงความขัดแย้ง ความวุ่นวาย การแบ่งพรรคแบ่งพวก ร้อยละ 8.6 นึกถึงผู้บริหารประเทศ นายกรัฐมนตรี ผู้นำ และร้อยละ 8.3 ระบุนึกถึงความน่าเบื่อหน่าย ตามลำดับ
สำหรับคุณสมบัติของนักการเมืองที่ต้องการ ผลการสำรวจพบว่า ประชาชนร้อยละ 87.6 เห็นว่าต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต รองลงมาคือ ร้อยละ 74.2 มีความรู้ความสามารถ ร้อยละ 68.7 มีศีลธรรม จริยธรรม ร้อยละ 65.2 เสียสละเพื่อส่วนรวม และร้อยละ 55.6 มีวิสัยทัศน์ในการทำงาน ทั้งนี้ มีตัวอย่างเพียงร้อยละ 18.8 นักการเมืองควรมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของสังคม
นอกจากนี้ ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับคุณสมบัติด้านต่าง ๆ ของนักการเมืองที่จะตัดสินใจเลือก หากวันนี้เป็นวันเลือกตั้งนั้น พบว่า ประชาชนร้อยละ 82.1 จะตัดสินใจเลือกนักการเมืองที่เป็นผู้ชาย ในขณะที่ร้อยละ 17.9 จะเลือกนักการเมืองที่เป็นผู้หญิง โดยร้อยละ 59.3 ระบุจะเลือกนักการเมืองที่มีการศึกษาสูง ในขณะที่ร้อยละ 40.7 ระบุไม่จำเป็นต้องมีการศึกษาสูง และเมื่อพิจารณาคุณสมบัติด้านสถานภาพการสมรสของนักการเมืองที่ตั้งใจจะเลือกตั้ง ผลการสำรวจพบว่า ประชาชนกว่า 2 ใน 3 คือร้อยละ 72.5 ระบุจะเลือกนักการเมืองที่มีครอบครัวแล้ว ในขณะที่ร้อยละ 27.5 ระบุจะเลือกนักการเมืองที่ยังโสด
**ส่วนใหญ่ไม่เลือกนักการเมืองอำนาจเก่า
สำหรับคุณสมบัติด้านบุคลิกในการทำงานของนักการเมืองนั้น ผลการสำรวจพบว่า ร้อยละ 66.1 ระบุจะเลือกนักการเมืองที่มีความเด็ดขาดเข้มแข็ง ในขณะที่ประมาณ 1 ใน 3 คือร้อยละ 33.9 ระบุจะเลือกนักการเมืองที่ประนีประนอม นอกจากนี้ยังพบว่า คุณสมบัติที่สำคัญอีกประการหนึ่งของนักการเมืองที่ประชาชนตั้งใจจะเลือกคือ คุณสมบัติทางการเงินของนักการเมือง ที่ผลการสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่คือร้อยละ 83.8 ระบุไม่จำเป็นต้องร่ำรวย ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 16.2 ที่ระบุว่าจะเลือกนักการเมืองที่ร่ำรวย ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนร้อยละ 44.6 ระบุจะเลือกนักการเมืองที่สนับสนุนการทำงานของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ในขณะที่ร้อยละ 55.4 ระบุจะเลือกนักการเมืองที่ไม่สนับสนุนรัฐบาลชุดปัจจุบัน และประชาชนร้อยละ 73.4 ระบุจะเลือกนักการเมืองรุ่นใหม่ ในขณะที่ร้อยละ 26.6 ระบุจะเลือกนักการเมืองอาวุโส
ในประเด็นความสัมพันธ์กับกลุ่มอำนาจเก่านั้น ผลการสำรวจพบว่า ประชาชนมากกว่าครึ่งหนึ่งคือ ร้อยละ 62.7 ระบุจะเลือกนักการเมืองที่ไม่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มอำนาจเก่า ในขณะที่ประมาณ 1 ใน 3 คือ ร้อยละ 37.3 ระบุจะเลือกนักการเมืองที่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มอำนาจเก่า
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์หลังเดินทางถึง นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เพื่อร่วมประชุมองค์การสหประชาชาติ วานนี้ (23 ก.ย.) ถึงกรณีที่นายสิทธิชัย โภไคยอุดม รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ยื่นใบลาออก หลังจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ระบุว่าเป็น 1 ใน 3 รัฐมนตรีถือหุ้นในบริษัทเกินร้อยละ 5 ซึ่งแม้จะไม่ผิดกฎหมาย แต่ก็ไม่เหมาะสม ว่า เมื่อกลับไปถึงประเทศไทยจะหารือกับนายสิทธิชัยและผู้เกี่ยวข้อง ขณะนี้ขอรวบรวม ข้อมูลต่างๆ ก่อน ส่วนจะปรับคณะรัฐมนตรีหรือไม่นั้น ให้ผู้เกี่ยวข้องเป็นผู้ตัดสินใจ
**อรนุชประกาศลาออก
นางอรนุช โอสถานนท์ รมช.พาณิชย์ เปิดแถลงข่าวและเปิดใจหลังจากที่ ป.ป.ช. ระบุว่า มีนักการเมืองของรัฐบาลชุดนี้ถือหุ้นทำธุรกิจเกินร้อยละ 5 แม้ว่าจะมีบทเฉพาะกาลรองรับในกฎหมายรัฐธรรมนูญว่า ไม่ผิดกฎหมาย แต่เห็นว่าเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม ขณะเดียวกันก็มีการออกมาวิพากษ์วิจารณ์ทั้งกลุ่มการเมืองและประชาชน ดังนั้น จึงตัดสินใจลาออกจากตำแหน่ง รมช.พาณิชย์ โดยจะยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรีเมื่อเดินทางกลับถึงประเทศไทยในช่วงปลายสัปดาห์หน้า เหตุผลสำคัญและได้ไตร่ตรองร่วมกับครอบครัวอย่างรอบคอบแล้ว เห็นว่าหากอยู่ในตำแหน่งดังกล่าวต่อไป ก็อาจจะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์
ทั้งนี้ รู้สึกไม่สบายใจที่จะทำงานต่อไปภายใต้บรรยากาศแตกแยกในเชิงความคิดในขณะนี้ และการทำงานของรัฐบาลชุดนี้จะทำงานเต็มไปด้วยความยากลำบาก
นางอรนุชกล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมาได้ทำงานอย่างไม่ท้อถอยปฏิบัติงานด้วยความอดทน อดกลั้น และทำงานร่วมกันเป็นทีม แต่เมื่อเพื่อนรวมทีมในคณะรัฐมนตรีบางคนออกมาวิพากษ์วิจารณ์ต่อสาธารณะชนอย่างต่อเนื่อง และแม้ว่าตนจะไม่รู้สึกน้อยใจ แต่ก็เห็นว่าควรมีมารยาททางการเมือง จึงได้ตัดสินใจที่จะลาออกจาก ตำแหน่ง รมช.พาณิชย์ และได้แจ้งเหตุผลของการลาออกจากตำแหน่งนี้ต่อ นายเกริกไกร จีระแพทย์ รมว.พาณิชย์ ช่วงเช้าที่ผ่านมา ซึ่งนายเกริกไกร เข้าใจถึงเหตุผลและเข้าใจในความรู้สึกของตน ซึ่งนายเกริกไกรเห็นว่า หากรู้สึกไม่สบายใจ ก็ให้ตัดสินใจเรื่องนี้ทันที นอกจากนี้ยังได้โทรศัพท์ถึงเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเพื่อเรียนให้ท่านนายกรัฐมนตรีทราบแล้วเช่นกัน
ส่วนกรณีที่หลายฝ่ายกำลังโยงความคิดเห็นว่า เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทางการเมืองด้วยนั้น นางอรนุชกล่าวว่า ตนได้อาสาเข้ามารับใช้ประเทศชาติ ด้วยความจริงใจและได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง รมช.พาณิชย์ เมื่อวันที่ 1 ก.พ.ที่ผ่านมา โดยได้รับผิดชอบดูแลกรมต่าง ๆ ประกอบด้วย กรมทรัพย์สินทางปัญญา กรมการประกันภัย ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนเป็นสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และยังได้ดูแลสินค้าภาคการเกษตร เช่น ข้าว มันสำปะหลัง รวมถึงองค์การคลังสินค้า (อคส.) ซึ่งตลอดระยะเวลาการบริหารงานก็สามารถแก้ไขปัญหาเร่งรัดงานต่าง ๆ ของกรมในแต่ละด้านได้เป็นอย่างดี แต่สิ่งที่เป็นห่วงคือ เรื่องการระบายสตอกข้าวของรัฐบาล แต่ก็ยังเชื่อว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์คนปัจจุบันคงจะสามารถแก้ไขได้ และคิดว่าไม่ได้ห่วงงานมากมาย
**รับหารือกับอารีย์แล้วแต่ยังดื้อ
ผู้สื่อข่าวถามว่าในการลาออกครั้งนี้ได้มีการพูดคุยกับนายอารีย์ วงศ์อารยะ รมว.มหาดไทย ซึ่งเป็น 1 ใน 3 ของรัฐมนตรีที่ถือหุ้นเกินร้อยละ 5 และนายอารีย์ ยังไม่ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่ง
นางอรนุชกล่าวว่า ตนได้หารือ กับนายอารีย์แล้ว เพราะนายกรัฐมนตรีสั่งการให้ทั้ง 3 รัฐมนตรีปรึกษาหารือกันก่อน แม้ว่า นายอารีย์ ไม่ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่ง ถือเป็นสิทธิส่วนบุคคล ซึ่งการลาออกของตน ได้พิจารณาอย่างรอบคอบ และไม่ได้ลาออกตามกระแสสังคม หรือตามนายสิทธิไชย โภไคยอุดม รมว. ไอซีที และขอยืนยันว่า แม้ว่าจะลาออกจากตำแหน่งแล้ว ก็ไม่คิดเล่นการเมืองต่อไป เพราะคิดว่าได้อาสาเข้ามาแก้ไขปัญหาให้กับประเทศชาติพอแล้ว แม้จะเข้ามาเป็นรัฐมนตรีก็ไม่ได้รู้สึกว่าเป็นนักการเมือง ซึ่งครอบครัวได้พูดเป็นเสียงเดียวกันให้ลาออก โดยคาดว่า เมื่อนายกรัฐมนตรีเดินทางกลับจากต่างประเทศและตนได้ยื่นใบลาออก การลาออกน่าจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.นี้ เป็นต้นไป
ส่วนกรณีที่นายกรัฐมนตรีจะมีการทักท้วงหรือไม่นั้น ตนไม่ทราบ ขึ้นอยู่กับนายกรัฐมนตรี และได้แจ้งเหตุผลให้กับ รมว.พาณิชย์ทราบแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศที่โรงแรมรอยัลปริ๊นเซส หลานหลวง หลังจากมีข่าวว่า นางอรนุช จะแถลงข่าวการลาออกอย่างเป็นทางการในช่วงเวลา 14.00 น. ทำให้ข้าราชการระดับสูงและอดีตข้าราชการสังกัดกระทรวงพาณิชย์ โดยเฉพาะนายการุณ กิตติสถาพร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งจะเกษียณอายุราชการในวันที่ 30 กันยายน 2550 และ น.ส.อรจิต สิงคาลวณิช อดีตอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และข้าราชการอีกจำนวนมากได้มาฟังการแถลงข่าว และได้มอบดอกไม้ พวงมาลัย เป็นกำลังใจให้กับนางอรนุช โดยข้าราชการหลายคนรวมถึงนักข่าวรู้สึกเสียดายในการลาออก ครั้งนี้ เพราะหลายคนมองว่านางอรนุชเป็นบุคคลที่ทำงานเก่ง และเป็นอดีตข้าราชการกระทรวงพาณิชย์
**อารีย์เสียงแข็งไม่ลาออก
ขณะที่นายอารีย์ วงศ์อารยะ รมว.มหาดไทย 1 ใน 3 รัฐมนตรีที่ ป.ป.ช. ระบุถือครองหุ้นในบริษัทเอกชนเกินร้อยละ 5 กล่าวว่า การประกาศลาออกจากตำแหน่ง ของนายสิทธิชัย โภไคยอุดม ไม่ได้ทำให้รู้สึกกดดันหรือมีแรงเสียดทานแต่อย่างใด โดยยืนยันว่าจะไม่ลาออกจากตำแหน่ง และจะเข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีตามปกติ จะรอให้นายกรัฐมนตรีเดินทางกลับจากสหรัฐอเมริกา เพื่อรับฟังความเห็นจากนายกรัฐมนตรีโดยตรง
“ผมไม่ติดใจกรณีที่นายธีรภัทร เสรีรังสรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เรียกร้องให้ลาออกเพื่อจริยธรรม เพื่อให้นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งผมเข้ามาใหม่ เพราะไม่ได้ยินเรื่องนี้ด้วยหูตัวเอง ส่วนกรณีที่นายธีรภัทรมักถูกมองว่ามีส่วนเชื่อมโยงกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนั้น ไม่ทราบ และไม่สนใจ ขอให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจเรื่องนี้เอง"
** อารีย์จะเป็นตัวสร้างแรงกดดันให้รัฐบาล
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีนายอารีย์ วงศ์อารยะ ยืนยันไม่ลาออกจาก รมว.มหาดไทยว่า เป็นเรื่องน่าหนักใจ ทั้งสำหรับนายอารีย์ คณะรัฐมนตรี และประชาชน โดยในส่วนของนายอารีย์ ต้องกลายเป็นจำเลยของสังคม ที่ต้องคอยตอบคำถามเรื่องการถือครองหุ้นเกินทุกวัน และที่น่าหนักใจสำหรับนายกรัฐมนตรี คือ คนที่เป็นปัญหาจะเป็นแรงกดดันในการทำงาน ขณะที่ประชาชนก็คงคาดหวังอยากจะเห็นบ้านเมืองเป็นไปด้วยความ ราบรื่น ไม่มีอะไรสะดุดติดขัด เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การที่นายอารีย์เป็น รมว.มหาดไทย ยังมีปัญหาเรื่องลูกชายจะลงสมัครรับเลือกตั้งในพรรคการเมือง ซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกับรัฐบาล และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ดังนั้น นายอารีย์ต้องชั่งใจให้มาก
อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวคิดว่านายอารีย์คงต้องการเวลาในการคิดอะไรให้ลึก ๆ เพียงแต่ยังไม่ได้แสดงออกมา แต่หากยิ่งทอดเวลานานออกไปก็ยิ่งเป็นผลลบกับตัวเอง
“ลูกลงสมัคร ส.ส. พ่อเป็น มท.1 ก็ไม่แปลก ถ้าเขาเคร่งครัดแข็งแรงเอาจริง เอาจัง แต่บังเอิญว่าคุณอารีย์ พระศุกร์เข้าพระเสาร์แทรก นอกจากมีปัญหาเรื่องหุ้น ที่คนคลางแคลงใจแล้ว ยังเคยย้ายคนที่เคยแทรกแซงการเลือกตั้งไปได้ไม่นาน ก็ย้ายกลับมาให้เป็นใหญ่เป็นโตด้วยซ้ำ ตรงนี้จะทำให้คนมองว่าอะไรเป็นของจริง อะไรเป็นของเล่น และเรื่องลูกก็เป็นปัญหา ท่านอยู่ฝ่ายไม่เอาทักษิณ แต่ลูกกลับเป็นลูกน้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ตอนนี้พูดอะไรหรือทำอะไรคนก็คงไม่เชื่อ”
ผู้สื่อข่าวถามว่าหากนายอารีย์ยังยืนยันที่จะอยู่ในตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี ควรตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่านายกรัฐมนตรีเป็นสุภาพบุรุษ คงไม่ทำอะไรกดดันใคร นายอารีย์คงต้องตัดสินใจเรื่องนี้ด้วยตัวเอง
**อภิสิทธิ์ชื่นชมสิทธิชัย
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เขียนบทความเรื่อง หุ้นรัฐมนตรี หนึ่งปีรัฐประหาร กับ ผบ.ทบ.ใหม่ ลงใน www.abhisit.org ตอนหนึ่งถึง กรณีที่นายสิทธิชัย โภไคยอุดม ลาออกจากตำแหน่งรมว.ไอซีที ภายหลังจากที่ ป.ป.ช. ระบุรัฐมนตรีถือหุ้นในบริษัทเกินร้อยละ 5 ซึ่งแม้จะไม่ผิดกฎหมาย แต่ก็ไม่เหมาะสม ว่า การตัดสินใจของนายสิทธิชัย เพื่อรักษามาตรฐานของรัฐมนตรี สมควรแก่การชื่นชม เป็นแบบอย่างทางการเมือง เพราะเป็นการแสดงถึงจิตสำนึกโดยไม่มีกฎหมายบังคับ ส่วนตัวไม่เชื่อว่านายสิทธิชัย จะทุจริตหรือแสวงประโยชน์จากอำนาจในช่วงที่มีการ ถือหุ้นอยู่
“ผมเห็นว่าท่านได้ตัดสินใจอย่างถูกต้องแล้ว และแม้ผมจะไม่ได้เห็นด้วยกับหลายสิ่งที่ท่านทำในขณะดำรงตำแหน่ง แต่ท่านเป็นรัฐมนตรีในจำนวนไม่กี่คน ที่รู้ร้อนรู้หนาวกับปัญหาภารกิจในความรับผิดชอบชัดเจน ตั้งแต่ปัญหาธุรกิจ โทรคมนาคม ปัญหา Youtube ฯลฯ ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าคนที่จะเข้ามารับผิดชอบงานของท่านจะกระตือรือร้นเหมือนท่านหรือไม่”
**ชี้3รมต.ออกสร้างคุณค่ามากกว่าอยู่ต่อ
นายอภิสิทธิ์ระบุว่า กฎหมายห้ามรัฐมนตรีถือหุ้นในบริษัทต่าง ๆ เกินร้อยละ 5 มีมาตั้งแต่ปี 2540 แม้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 จะมีบทเฉพาะกาลไว้คุ้มครองรัฐมนตรีในปัจจุบัน แต่รัฐมนตรี จะอ้างว่าไม่รู้กฎหมาย หรือเจตนารมณ์ของกฎหมาย ไม่ได้ โดยเฉพาะเมื่อมีรัฐมนตรีฯ ในรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่ได้ปฏิบัติตามเจตนารมณ์ของกฎหมายเป็นตัวอย่างไปก่อนแล้ว สิ่งที่น่าอัศจรรย์ คือ รัฐมนตรี ที่อยู่ในข่ายเดียวกับนายสิทธิชัย แต่ไม่ตัดสินใจลาออก โดยมีข้ออ้างต่าง ๆ นานา ตนไม่เชื่อว่า หากรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งไม่อยู่ในตำแหน่งแล้ว การบริหารบ้านเมืองจะเดินต่อไม่ได้
”ผมคิดว่าประเทศไทย การเมืองไทยเดินหน้าได้ ไม่มีนักการเมือง หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองคนไหนที่จำเป็นต้องอยู่ในตำแหน่ง ผมไม่เชื่อว่า 3-4 เดือนที่เหลือของรัฐมนตรีที่ยังอยู่จะสร้างผลงานที่มีคุณค่าต่อประเทศ มากกว่าการช่วย รัฐบาลนี้ยกระดับมาตรฐานทางการเมือง ผมไม่คิดว่าการเปิดเผยของ ป.ป.ช. จะเป็นผลพวงของการเล่นเกมการเมือง มีแต่การหย่อนมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรมเท่านั้นที่จะสร้างปัญหาการเมืองให้นายกรัฐมนตรีกับรัฐบาล ผมไม่อยากเห็น การยึดติดกับตำแหน่งเป็นภาระของรัฐบาล เป็นภาระของนายกรัฐมนตรี เป็นภาระของบ้านเมือง ยังไม่สายเกินไปที่จะทบทวนการตัดสินใจ”
**สมัครระบุเป็นบททดสอบอารีย์
นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน (พปช.)กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวเป็นการทดสอบตัวรัฐมนตรีแต่ละคน กรณีของนายอารีย์ วงศ์อารยะ ที่ยังไม่ลาออกนั้น ถือเป็นการทดสอบทั้งตัวรัฐมนตรีเอง และกฎหมายคือรัฐธรรมนูญ หากรัฐธรรมนูญเปิดช่องให้รัฐมนตรีถือหุ้นได้ การตัดสินใจไม่ลาออกของนายอารีย์ ถือเป็นการทดสอบกฎหมายทางหนึ่ง อย่างไรก็ดี เรื่องนี้ต้องดูกันต่อไป โดยฝ่ายกฎหมายควรตรวจสอบเรื่องนี้ด้วย
นายสมัครยังกล่าวถึงถึงกระแสข่าว พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) จะมาเป็นรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงว่า เป็นเรื่องของ พล.อ.สนธิ ไม่ใช่เรื่องของตน
**ผลโพลให้3รัฐมนตรีไขก๊อก
วันเดียวกัน ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง ประชาชนคิดอย่างไรต่อคุณสมบัติของนักการเมืองระดับชาติ และต่อ 3 รัฐมนตรี หลังคำแถลงของ ป.ป.ช. เรื่องการถือหุ้นเกินร้อยละ 5 ในห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัท : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการตัดสินใจของ 3 รัฐมนตรี ภายหลัง ป.ป.ช. ออกมาระบุว่า มีการถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัท เกินกว่าร้อยละ 5 นั้น ประชาชนร้อยละ 46.2 ระบุควรตัดสินใจลาออก ในขณะที่ร้อยละ 28.8 ระบุควรทำงานต่อไป และร้อยละ 25.0 ไม่ระบุความคิดเห็น ทั้งนี้ ประชาชนร้อยละ 48.5 ระบุว่า การถือหุ้นของ 3 รัฐมนตรีดังกล่าว มีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ด้านคุณธรรม ของรัฐบาล ในขณะที่ร้อยละ 35.9 ระบุว่าไม่มีผลกระทบ และร้อยละ 15.6 ไม่ระบุความคิดเห็น
ส่วนสิ่งที่นึกถึงเป็นอันดับแรกเมื่อกล่าวถึงนักการเมืองนั้ นกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 36.9 นึกถึงการทุจริตคอร์รัปชัน โกงบ้านกินเมือง ความไม่ซื่อสัตย์ เชื่อถือไม่ได้ รองลงมาคือร้อยละ 14.8 นึกถึงการเห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตน เห็นแก่ตัว ร้อยละ 9.9 นึกถึงความขัดแย้ง ความวุ่นวาย การแบ่งพรรคแบ่งพวก ร้อยละ 8.6 นึกถึงผู้บริหารประเทศ นายกรัฐมนตรี ผู้นำ และร้อยละ 8.3 ระบุนึกถึงความน่าเบื่อหน่าย ตามลำดับ
สำหรับคุณสมบัติของนักการเมืองที่ต้องการ ผลการสำรวจพบว่า ประชาชนร้อยละ 87.6 เห็นว่าต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต รองลงมาคือ ร้อยละ 74.2 มีความรู้ความสามารถ ร้อยละ 68.7 มีศีลธรรม จริยธรรม ร้อยละ 65.2 เสียสละเพื่อส่วนรวม และร้อยละ 55.6 มีวิสัยทัศน์ในการทำงาน ทั้งนี้ มีตัวอย่างเพียงร้อยละ 18.8 นักการเมืองควรมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของสังคม
นอกจากนี้ ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับคุณสมบัติด้านต่าง ๆ ของนักการเมืองที่จะตัดสินใจเลือก หากวันนี้เป็นวันเลือกตั้งนั้น พบว่า ประชาชนร้อยละ 82.1 จะตัดสินใจเลือกนักการเมืองที่เป็นผู้ชาย ในขณะที่ร้อยละ 17.9 จะเลือกนักการเมืองที่เป็นผู้หญิง โดยร้อยละ 59.3 ระบุจะเลือกนักการเมืองที่มีการศึกษาสูง ในขณะที่ร้อยละ 40.7 ระบุไม่จำเป็นต้องมีการศึกษาสูง และเมื่อพิจารณาคุณสมบัติด้านสถานภาพการสมรสของนักการเมืองที่ตั้งใจจะเลือกตั้ง ผลการสำรวจพบว่า ประชาชนกว่า 2 ใน 3 คือร้อยละ 72.5 ระบุจะเลือกนักการเมืองที่มีครอบครัวแล้ว ในขณะที่ร้อยละ 27.5 ระบุจะเลือกนักการเมืองที่ยังโสด
**ส่วนใหญ่ไม่เลือกนักการเมืองอำนาจเก่า
สำหรับคุณสมบัติด้านบุคลิกในการทำงานของนักการเมืองนั้น ผลการสำรวจพบว่า ร้อยละ 66.1 ระบุจะเลือกนักการเมืองที่มีความเด็ดขาดเข้มแข็ง ในขณะที่ประมาณ 1 ใน 3 คือร้อยละ 33.9 ระบุจะเลือกนักการเมืองที่ประนีประนอม นอกจากนี้ยังพบว่า คุณสมบัติที่สำคัญอีกประการหนึ่งของนักการเมืองที่ประชาชนตั้งใจจะเลือกคือ คุณสมบัติทางการเงินของนักการเมือง ที่ผลการสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่คือร้อยละ 83.8 ระบุไม่จำเป็นต้องร่ำรวย ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 16.2 ที่ระบุว่าจะเลือกนักการเมืองที่ร่ำรวย ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนร้อยละ 44.6 ระบุจะเลือกนักการเมืองที่สนับสนุนการทำงานของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ในขณะที่ร้อยละ 55.4 ระบุจะเลือกนักการเมืองที่ไม่สนับสนุนรัฐบาลชุดปัจจุบัน และประชาชนร้อยละ 73.4 ระบุจะเลือกนักการเมืองรุ่นใหม่ ในขณะที่ร้อยละ 26.6 ระบุจะเลือกนักการเมืองอาวุโส
ในประเด็นความสัมพันธ์กับกลุ่มอำนาจเก่านั้น ผลการสำรวจพบว่า ประชาชนมากกว่าครึ่งหนึ่งคือ ร้อยละ 62.7 ระบุจะเลือกนักการเมืองที่ไม่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มอำนาจเก่า ในขณะที่ประมาณ 1 ใน 3 คือ ร้อยละ 37.3 ระบุจะเลือกนักการเมืองที่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มอำนาจเก่า