ครป.หนุนร่างรัฐธรรมนูญ 50 เพื่อปฏิรูปสังคมไทย “สุริยะใส” เผย ร่าง รธน.สะท้อนรณรงค์ประชามติ คมช.-รัฐบาล สุดห่วย ทำให้ “ทักษิณ” ย่ามใจ ทุ่มเงินเลือกตั้งครั้งหน้า เป็นแกนนำตั้งรัฐบาล ยัน ครป.-กลุ่มพันธมิตรฯ ตรวจสอบร่างประชามติแน่นอน
ที่สำนักงานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) นายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการ ครป. นายพิภพ ธงไชย ที่ปรึกษา ครป. และนายสมศักดิ์ โกศัยสุข ผู้อำนวยการสมัชชาประชาชนเพื่อการปฎิรูปการเมือง (สปป.) ร่วมแถลงข่าว หลังการลงประชามติ ว่า จากนี้ไปถือเป็นโอกาสของพลังปฏิรูป ที่จะได้ร่วมกันเดินหน้าผลักดันการปฏิรูปการเมืองอย่างแท้จริง โดยเฉพาะขั้วอำนาจระหว่าง คมช. กับกลุ่มอำนาจเก่า จะต้องไม่ฉวยโอกาสนำผลการลงประชามติไปอ้างในทางที่เอื้อประโยชน์ทางการเมืองให้กับตนเอง
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าแรงจูงใจ และเป้าหมายของทั้งฝ่ายที่รับร่าง และฝ่ายที่ไม่รับร่าง มีหลายมูลเหตุด้วยกัน คือ ฝ่ายรับ มีทั้งที่ต้องการเดินหน้าสู่การเลือกตั้ง หนีความวุ่นวาย เห็นด้วยกับ คมช. และรัฐบาล ไม่เห็นด้วยกับระบอบทักษิณ เนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญก้าวหน้ากว่าเดิม ในขณะที่ฝ่ายไม่รับร่าง ก็อาจเพราะเนื้อหาสาระของร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ยอมรับการรัฐประหาร 19 ก.ย. ต้องการยืนยันความชอบธรรมของระบอบทักษิณ ไม่เห็นด้วยกับแนวนโยบาย หรือการบริหารงานของรัฐบาลบางด้าน เป็นต้น
“การลงประชามติครั้งนี้ มีสารพัดขบวนการบิดเบือนความหมายที่แท้จริงของการลงประชามติ ประกอบกับเป็นการลงประชามติบนเงื่อนไขที่มีรัฐบาลมาจากการรัฐประหาร ทำให้ความหมายของการลงประชามติคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงที่ควรจะเป็น มีการโยงเรื่องอำนาจเก่า อำนาจใหม่ การรัฐประหาร ปัญหาทางการเมืองแวดล้อม มาผนวกเข้ากับร่างรัฐธรรมนูญ 2550 และยังมีความพยายามที่จะบิดเบือนสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ เช่น ร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ทำลายศาสนาพุทธ เทิดทูนแต่ศาสนาอิสลาม ยกเลิกนโยบายประชานิยมทั้งหมด ล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ ห้ามพ.ต.ท.ทักษิณ กลับประเทศ หรือเล่นการเมือง”
นายสมศักดิ์ กล่าวว่า สปป.และ ครป. ขอเรียกร้องให้ทั้งภาครัฐ และภาคประชาชน เดินหน้าเผยแพร่สาระสำคัญของร่าง รัฐธรรมนูญฉบับนี้อย่างจริงจัง เพื่อให้ประชาชนวงกว้างเห็นความสำคัญ และความหมายที่แท้จริงของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ อย่างไรก็ตาม ตนอยากให้ทุกฝ่ายเคารพผลการลงประชามติ และให้ถือเอาผลการลงประชามติครั้งนี้เป็นบันไดขั้นแรก เพื่อเดินทางสู่การปฏิรูปการเมือง หรือการลดอำนาจรัฐเพิ่มอำนาจประชาชนอย่างแท้จริง ทุกพรรคการเมืองจะต้องจัดทำสัญญาประชาคม ด้วยการนำเสนอนโยบายว่า ด้วยการปฏิรูปการเมืองที่เป็นการต่อยอดจากรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การการทำให้สิทธิเสรีภาพ และการมีส่วนร่วมของประชาชนมีผลในทางปฏิบัติอย่างแท้จริง เพื่อเป็นแนวทางการปฏิรูปสังคมไทยอย่างรอบด้าน
ดังนั้น เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการแต่งตั้ง คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ตามรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 308 โดยคำนึงถึงสัดส่วนจากภาคประชาชน และส่วนต่างๆ อย่างหลากหลาย และสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้กฎหมายลูก และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 อย่างจริงจัง
นอกจากนี้ สปป. ครป. และเครือข่ายภาคประชาชน จะร่วมกันรณรงค์และมีส่วนร่วมในการติดตามตรวจสอบการเลือกตั้งที่จะมาถึงเพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์ยุติธรรม
ด้าน นายสุริยะใส กล่าวว่า ทันทีที่มีการโหวตรับ ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ สะท้อนให้เห็นถึงความบกพร่องในการทำงานของ คมช. และรัฐบาล ซึ่งมุ่งใช้อำนาจของตัวเอง โดยไม่สามารถทำให้ประชาชนเข้าใจในการรับ ไม่รับ ร่างรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้รัฐบาล ยังไม่มีการรณรงค์ และตีแผ่ข่าวสารให้ประชาชนไปลงประชามติอย่างจริงจัง ซึ่งทำให้อิทธิพลของข่าวปล่อยว่า ถ้ารับร่าง จะยกเลิกนโยบายประชานิยม ซึ่งทำให้ประชาชนต้องไม่รับร่าง เพราะเกรงจะไม่มีนโยบายประชานิยม
“ต่อไปการเมืองจะนิ่ง ไม่นิ่ง ขึ้นอยู่กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งจากที่ประชาชนชาวอีสาน และภาคเหนือ ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ เป็นจำนวนมาก ทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ย่ามใจ และจะทุ่มเงินมหาศาล เพื่อลงเลือกตั้งในครั้งหน้า และอาจจะได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล”นายสุริยะใส กล่าว
ขณะที่ นายพิภพ กล่าวว่า การลงประชามติครั้งนี้เป็นมติใหม่ของสังคมไทย เพื่อไม่ให้อำนาจรัฐครอบงำประชาชน ทั้งนี้จากคะแนนเสียงทั้ง 2 ฝ่ายที่รับและไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ สะท้อนว่า ประชาชนต้านทั้งเผด็จการทหาร และกลุ่มทุนเก่า ซึ่งตนอยากให้ทั้ง 2 ฝ่ายมารวมกันเพื่อปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม อย่างไรก็ตาม ครป. สปป. และกลุ่มพันธมิตร จะเดินหน้าตรวจสอบร่างรัฐธรรมนูญอย่างแน่นอน
ที่สำนักงานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) นายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการ ครป. นายพิภพ ธงไชย ที่ปรึกษา ครป. และนายสมศักดิ์ โกศัยสุข ผู้อำนวยการสมัชชาประชาชนเพื่อการปฎิรูปการเมือง (สปป.) ร่วมแถลงข่าว หลังการลงประชามติ ว่า จากนี้ไปถือเป็นโอกาสของพลังปฏิรูป ที่จะได้ร่วมกันเดินหน้าผลักดันการปฏิรูปการเมืองอย่างแท้จริง โดยเฉพาะขั้วอำนาจระหว่าง คมช. กับกลุ่มอำนาจเก่า จะต้องไม่ฉวยโอกาสนำผลการลงประชามติไปอ้างในทางที่เอื้อประโยชน์ทางการเมืองให้กับตนเอง
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าแรงจูงใจ และเป้าหมายของทั้งฝ่ายที่รับร่าง และฝ่ายที่ไม่รับร่าง มีหลายมูลเหตุด้วยกัน คือ ฝ่ายรับ มีทั้งที่ต้องการเดินหน้าสู่การเลือกตั้ง หนีความวุ่นวาย เห็นด้วยกับ คมช. และรัฐบาล ไม่เห็นด้วยกับระบอบทักษิณ เนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญก้าวหน้ากว่าเดิม ในขณะที่ฝ่ายไม่รับร่าง ก็อาจเพราะเนื้อหาสาระของร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ยอมรับการรัฐประหาร 19 ก.ย. ต้องการยืนยันความชอบธรรมของระบอบทักษิณ ไม่เห็นด้วยกับแนวนโยบาย หรือการบริหารงานของรัฐบาลบางด้าน เป็นต้น
“การลงประชามติครั้งนี้ มีสารพัดขบวนการบิดเบือนความหมายที่แท้จริงของการลงประชามติ ประกอบกับเป็นการลงประชามติบนเงื่อนไขที่มีรัฐบาลมาจากการรัฐประหาร ทำให้ความหมายของการลงประชามติคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงที่ควรจะเป็น มีการโยงเรื่องอำนาจเก่า อำนาจใหม่ การรัฐประหาร ปัญหาทางการเมืองแวดล้อม มาผนวกเข้ากับร่างรัฐธรรมนูญ 2550 และยังมีความพยายามที่จะบิดเบือนสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ เช่น ร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ทำลายศาสนาพุทธ เทิดทูนแต่ศาสนาอิสลาม ยกเลิกนโยบายประชานิยมทั้งหมด ล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ ห้ามพ.ต.ท.ทักษิณ กลับประเทศ หรือเล่นการเมือง”
นายสมศักดิ์ กล่าวว่า สปป.และ ครป. ขอเรียกร้องให้ทั้งภาครัฐ และภาคประชาชน เดินหน้าเผยแพร่สาระสำคัญของร่าง รัฐธรรมนูญฉบับนี้อย่างจริงจัง เพื่อให้ประชาชนวงกว้างเห็นความสำคัญ และความหมายที่แท้จริงของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ อย่างไรก็ตาม ตนอยากให้ทุกฝ่ายเคารพผลการลงประชามติ และให้ถือเอาผลการลงประชามติครั้งนี้เป็นบันไดขั้นแรก เพื่อเดินทางสู่การปฏิรูปการเมือง หรือการลดอำนาจรัฐเพิ่มอำนาจประชาชนอย่างแท้จริง ทุกพรรคการเมืองจะต้องจัดทำสัญญาประชาคม ด้วยการนำเสนอนโยบายว่า ด้วยการปฏิรูปการเมืองที่เป็นการต่อยอดจากรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การการทำให้สิทธิเสรีภาพ และการมีส่วนร่วมของประชาชนมีผลในทางปฏิบัติอย่างแท้จริง เพื่อเป็นแนวทางการปฏิรูปสังคมไทยอย่างรอบด้าน
ดังนั้น เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการแต่งตั้ง คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ตามรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 308 โดยคำนึงถึงสัดส่วนจากภาคประชาชน และส่วนต่างๆ อย่างหลากหลาย และสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้กฎหมายลูก และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 อย่างจริงจัง
นอกจากนี้ สปป. ครป. และเครือข่ายภาคประชาชน จะร่วมกันรณรงค์และมีส่วนร่วมในการติดตามตรวจสอบการเลือกตั้งที่จะมาถึงเพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์ยุติธรรม
ด้าน นายสุริยะใส กล่าวว่า ทันทีที่มีการโหวตรับ ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ สะท้อนให้เห็นถึงความบกพร่องในการทำงานของ คมช. และรัฐบาล ซึ่งมุ่งใช้อำนาจของตัวเอง โดยไม่สามารถทำให้ประชาชนเข้าใจในการรับ ไม่รับ ร่างรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้รัฐบาล ยังไม่มีการรณรงค์ และตีแผ่ข่าวสารให้ประชาชนไปลงประชามติอย่างจริงจัง ซึ่งทำให้อิทธิพลของข่าวปล่อยว่า ถ้ารับร่าง จะยกเลิกนโยบายประชานิยม ซึ่งทำให้ประชาชนต้องไม่รับร่าง เพราะเกรงจะไม่มีนโยบายประชานิยม
“ต่อไปการเมืองจะนิ่ง ไม่นิ่ง ขึ้นอยู่กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งจากที่ประชาชนชาวอีสาน และภาคเหนือ ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ เป็นจำนวนมาก ทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ย่ามใจ และจะทุ่มเงินมหาศาล เพื่อลงเลือกตั้งในครั้งหน้า และอาจจะได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล”นายสุริยะใส กล่าว
ขณะที่ นายพิภพ กล่าวว่า การลงประชามติครั้งนี้เป็นมติใหม่ของสังคมไทย เพื่อไม่ให้อำนาจรัฐครอบงำประชาชน ทั้งนี้จากคะแนนเสียงทั้ง 2 ฝ่ายที่รับและไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ สะท้อนว่า ประชาชนต้านทั้งเผด็จการทหาร และกลุ่มทุนเก่า ซึ่งตนอยากให้ทั้ง 2 ฝ่ายมารวมกันเพื่อปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม อย่างไรก็ตาม ครป. สปป. และกลุ่มพันธมิตร จะเดินหน้าตรวจสอบร่างรัฐธรรมนูญอย่างแน่นอน