คตส.ตามอายัดเงิน “โอ๊ค-ยิ่งลักษณ์” เพิ่มอีก 232 ล้านบาท แฉเล่ห์ “ทักษิณ” ยื่นถอนอายัดทรัพย์อ้างพยานถึง 30 ปาก เจอ คตส.ดัดหลังเตรียมรีดแค่ 2-3 ปาก ก็จะรู้ความจริงว่าจะยกคำร้องถอนอายัดหรือไม่ ด้าน “โอ๊ค-เอม” ทำหัวหมอไม่ยอมรับหมายเรียกเก็บภาษีหมื่นล้าน คตส.ส่งคนปิดหมายประจานหน้าบ้าน ยอมส่งบริวารรีบเซ็นรับหมาย ส่วน กทม.ไม่สนคำเตือน คตส.จ่ายเงินซื้อรถดับเพลิงฉาวงวด 2 แล้ว กว่า 7 ร้อยล้านบาท อ้างหากสอบพบทุจริตเรียกเงินคืนได้
ผู้สื่อข่าวรายงานจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ในช่วงบ่าย วานนี้ (14 ส.ค.) มีการประชุมคณะกรรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) เพื่อพิจารณาความคืบหน้าในคดีต่าง ๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบ
ภายหลังการประชุม นายสัก กอแสงเรือง โฆษกคตส. แถลงว่า คตส.มีมติอายัดทรัพย์ในบัญชีเงินฝากในธนาคารและสถาบันการเงินที่ครอบครัวบุตร บริวาร ของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่นจำกัด (มหาชน) เพิ่มเติม เนื่องจากพบว่ามีการเคลื่อนย้ายเงินหลังจากที่คตส.มีมติอายัดทรัพย์ไปก่อนหน้านี้ จำนวน 232 ล้านบาท แบ่งเป็นบัญชีเงินฝากของ น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาว พ.ต.ท. ทักษิณ วงเงิน 202 ล้านบาท ที่มีการนำไปลงทุนในกองทุนเปิดแอสเซทพลัส นิปปอนโกรท ของบริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน แอสเซทพลัส จำกัด และในส่วนของ นายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชายพ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งเป็นแคชเชียร์เชค ธนาคากรุงไทย จำกัด (มหาชน )สาขานานาเหนือ สั่งจ่ายบริษัท ไวท์แอนด์เคส (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 12 ฉบับ เป็นเงิน 30 ล้านบาท
นอกจากนี้นาย วิโรจน์ เลาหะพันธ์ กรรมการคตส. ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการตรวจสอบการซื้อขายหุ้นบริษัทชินคอร์ปอเรชั่นฯ ได้รายงานการประเมินเรียกเก็บภาษีนายพานทองแท้ และน.ส. พิณทองทา ชินวัตร โดยอธิบดีกรมสรรพากรได้ประเมินภาษีของบุคคลทั้งสองเรียบร้อยตั้งแต่วันที่ 3 ส.ค. โดยเรียกเก็บภาษีของนายพานทองแท้ 5,900 ล้านบาทเศษ น.ส.พิณทองทา 5,900 ล้านบาทเศษ โดยมีการคิดเงินเพิ่มถึงวันที่ 31 ส.ค. ซึ่งกรมสรรพากร ได้ส่งหนังสือ แจ้งการประเมินดังกล่าวไปให้บ้านเลขที่ 472 จรัล 69 บางพลัด กทม. แล้ว แต่ปรากฏว่าไม่มีผู้รับ มีการส่งหนังสือกลับคืนมา จากนั้นได้เชิญทนายมารับแทน ก็ไม่มีใครมารับ
ดังนั้นในวันเดียวกันนี้กรมสรรพากรได้เตรียมไปปิดหนังสือประเมินภาษี ที่บ้านเลขที่ดังกล่าว แต่ได้มีคนมาเซ็นรับหนังสือแทน ดังนั้น บุคคลทั้งสองจะต้องยื่นอุทรณ์ภาษีภายใน 30 วัน ซึ่งจะต้องวางเงินประกันในการอุทรณ์เท่าจำนวนทรัพย์ที่ถูกประเมินคือจำนวน 1.1 พันล้านบาท หากไม่มีการอุทรณ์และวางหลักทรัพย์ค้ำประกันใน 30 วัน จะถือว่าเป็นภาษีค้าง อธิบดีกรมสรรพากรมีอำนาจยึดทรัพย์สินแล้วนำมาขายทอดตลาด เพื่อชำระค่าภาษี โดยอาจอายัดทรัพย์ที่เป็นเงิน ในสถาบันการเงิน หรือที่ดินก็ได้ แต่ไม่มีอำนาจไปยึดเงินในต่างประเทศได้ ทั้งนี้ บุคคลทั้งสองจะนำเงินที่ถูก คตส.อายัดทรัพย์มาวางเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน หรือจ่ายเป็นค่าภาษีไม่ได้ เพราะเงินดังกล่าวไม่สามารถทำธุรกรรมใด ๆ ได้ จนกว่าจะมีการพิสูจน์ทรัพย์เป็นที่สิ้นสุด
แหล่งข่าวจากคณะอนุกรรมการพิจารณาคำร้องการพิสูจน์ทรัพย์สิน เพื่อขอให้ยกเลิกการอายัดบุคคลที่คตส.มีมติอายัดทรัพย์ที่มีนายอำนวย ธันธรา กรรมการ คตส.เป็นประธาน เปิดเผยว่า คณะอนุกรรมการฯ ได้พิจารณาคำร้อง เพื่อพิสูจน์ทรัพย์ของ พ.ต.ท. ทักษิณ แล้ว โดยคำร้องดังกล่าวมีความหนาถึง 50 หน้า และยื่นรายชื่อพยานบุคคลถึง 30 คน โดยคณะอนุกรรมการฯ จะเชิญพยานดังกล่าว มาให้ถ้อยคำว่ามีหลักฐานหรือรู้เห็นประเด็นต่างๆ ที่พ.ต.ท.ทักษิณ ได้อ้างมาหรือไม่ ซึ่งเป็นไปได้ว่าอนุกรรมการฯจะเชิญมาให้ปากคำไม่หมด โดยอาจคัดเลือกพยานเพียง 2-3 ราย ก็น่าจะทราบว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ซึ่งหลังจากนี้อนุกรรมการฯ จะพิจารณาคำร้องของคุณหญิง พจมาน ชินวัตร เป็นรายต่อไป
สำหรับโครงการจัดซื้อรถ-เรือ และอุปกรณ์ดับเพลิงของ กทม. ซึ่งถูก คตส.ตรวจสอบการทุจริตล่าสุด นายอนันต์ ศิริภัสราภรณ์ รองปลัด กทม. เปิดเผย ภายหลังการประชุมคณะผู้บริหารกทม. ว่า ได้รายงานความคืบหน้าโครงการจัดซื้อรถ-เรือ และอุปกรณ์ดับเพลิงของกทม.ต่อที่ประชุมผู้บริหารกทม.โดยล่าสุดทางกทม. ได้ทำหนังสือไปยังกระทรวงมหาดไทยในฐานะที่กำกับดูแลกทม.เพื่อขอให้ประสานขอความร่วมมือไปยังสำนักงานอัยการสูงสุด(อสส.)เพื่อขอให้นักกฎหมาย ที่มีความรู้ ความชำนาญ เรื่องการค้าระหว่างประเทศ มาให้คำปรึกษาในการพิจารณา ข้อกฎหมายและข้อสัญญาก่อนการดำเนินการตามสัญญาในแต่ละขั้นตอน รวมทั้งอาจต้องให้คำแนะนำช่วยเหลือแก่ กทม. ในการเจรจากับผู้แทนของบริษัทคู่สัญญา ในกรณีที่จำเป็น เพื่อไม่ให้ทางราชการต้องเสียเปรียบ
นอกจากนี้กทม.ยังได้ยืนยันความเห็นเดิมไปยังกระทรวงมหาดไทยที่ประสงค์ให้มีการนำเรื่องขออนุมัติต่อ ครม. เพื่อขอยกเว้นภาษีขาเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีอื่นๆ ด้วย
นายอนันต์กล่าวอีกว่า ผลการวินิจฉัยของคณะกรรมการ 7 หน่วยงานที่ รมว.มหาดไทย แต่งตั้งนั้นระบุว่าสัญญามีความสมบูรณ์ มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย เว้นแต่จะหาข้อเท็จจริงพิสูจน์ได้ว่าสัญญาเป็นโมฆียะ โดยเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ ตามกฎหมายซึ่งก็คือ คตส.เป็นผู้ชี้ขาดว่ามีการกระทำผิดจริงจึงจะเป็นเหตุให้กทม. ยกเลิกสัญญาได้แต่จากที่ได้หารือไปยัง คตส.หลังจากที่มีการชี้มูลความผิดตาม ป.อาญา ม.157,83 แล้ว คตส.แจ้งว่ายังไม่มีข้อเท็จจริงบ่งชี้ถึงเหตุอันจะทำให้สัญญาไม่สมบูรณ์
ดังนั้น กทม.จึงต้องดำเนินตามสัญญาต่อไป ในกรณีที่ยังไม่อาจพิสูจน์ได้ เหมือนที่คำวินิจฉัยของคณะกรรมการร่วมทั้ง 7 ฝ่ายสรุปไว้ โดยล่าสุดกทม.ได้จ่ายเงิน งวดที่ 2 ซึ่งครบกำหนดในวันที่ 10 ส.ค.2550 จำนวน 16,656,047.89 ยูโร ประมาณ 777,440,548.86 บาทซึ่งธนาคารกรุงไทย ได้ดำเนินการตัดบัญชีของ กทม.เรียบร้อยแล้ว
ด้าน นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวถึงกรณีที่ นายแก้วสรร อติโพธิ กรรมการคตส. ออกมาท้วงติงว่า หากมีการชำระเงินค่าจัดซื้อรถและเรือดับเพลิงให้กับบริษัท สไตเออร์ฯงวดที่ 2 นั้นจะต้องรับผิดชอบเพราะจะเป็นการจ่ายเงินโดยเปล่าประโยชน์และอีกทั้งยังไม่มีการระบุถึงการซื้อไก่ต้มสุกของไทยจริงจึงยังไม่ควรที่จะชำระเงินงวด 2 ว่า ตนเคารพในคำวินิจฉัยของทุกฝ่ายและทุกประเด็นที่มีการท้วงติง แต่เนื่องจากเรื่องดังกล่าวนั้นไม่ได้เกิดจากการตัดสินใจของกทม. โดยตนเพียงอย่างเดียวต้องพิจารณาในแง่กฎหมายด้วย
อย่างไรก็ตามหากในอนาคตผลตรวจสอบพบว่ามีการกระทำทุจริต ในโครงการเท่ากับว่าสัญญาเป็นโมฆียะ สามารถยกเลิกสัญญาในภายหลังได้และเรียกเงินคืนได้ทั้งหมด เนื่องจาก กทม.ได้ทำหนังสือแนบท้ายขอสงวนสิทธิ์ในการ เรียกเงินคืนไว้พร้อมกับการชำระเงินงวดแรกไว้แล้ว
อย่างไรก็ตาม กทม.จะทำหนังสือสอบถามไปยัง คตส.อย่างเป็นทางกาเพราะ คตส.เป็นผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้งหมด และสัญญาการค้า ต่างตอบแทนกทม. ไม่ได้เป็นผู้ลงนามหากแต่เป็นกระทรวงพาณิชย์ที่ผู้รับผิดชอบและหากไม่ได้ทำตามสัญญาการค้าต่างตอบแทนจริงเท่ากับเป็นการผิดสัญญาดังนั้นจะมีผลต่อสัญญาอื่นๆหรือไม่ซึ่งจะได้ถาม คตส.อย่างชัดเจน
ผู้สื่อข่าวรายงานจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ในช่วงบ่าย วานนี้ (14 ส.ค.) มีการประชุมคณะกรรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) เพื่อพิจารณาความคืบหน้าในคดีต่าง ๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบ
ภายหลังการประชุม นายสัก กอแสงเรือง โฆษกคตส. แถลงว่า คตส.มีมติอายัดทรัพย์ในบัญชีเงินฝากในธนาคารและสถาบันการเงินที่ครอบครัวบุตร บริวาร ของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่นจำกัด (มหาชน) เพิ่มเติม เนื่องจากพบว่ามีการเคลื่อนย้ายเงินหลังจากที่คตส.มีมติอายัดทรัพย์ไปก่อนหน้านี้ จำนวน 232 ล้านบาท แบ่งเป็นบัญชีเงินฝากของ น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาว พ.ต.ท. ทักษิณ วงเงิน 202 ล้านบาท ที่มีการนำไปลงทุนในกองทุนเปิดแอสเซทพลัส นิปปอนโกรท ของบริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน แอสเซทพลัส จำกัด และในส่วนของ นายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชายพ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งเป็นแคชเชียร์เชค ธนาคากรุงไทย จำกัด (มหาชน )สาขานานาเหนือ สั่งจ่ายบริษัท ไวท์แอนด์เคส (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 12 ฉบับ เป็นเงิน 30 ล้านบาท
นอกจากนี้นาย วิโรจน์ เลาหะพันธ์ กรรมการคตส. ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการตรวจสอบการซื้อขายหุ้นบริษัทชินคอร์ปอเรชั่นฯ ได้รายงานการประเมินเรียกเก็บภาษีนายพานทองแท้ และน.ส. พิณทองทา ชินวัตร โดยอธิบดีกรมสรรพากรได้ประเมินภาษีของบุคคลทั้งสองเรียบร้อยตั้งแต่วันที่ 3 ส.ค. โดยเรียกเก็บภาษีของนายพานทองแท้ 5,900 ล้านบาทเศษ น.ส.พิณทองทา 5,900 ล้านบาทเศษ โดยมีการคิดเงินเพิ่มถึงวันที่ 31 ส.ค. ซึ่งกรมสรรพากร ได้ส่งหนังสือ แจ้งการประเมินดังกล่าวไปให้บ้านเลขที่ 472 จรัล 69 บางพลัด กทม. แล้ว แต่ปรากฏว่าไม่มีผู้รับ มีการส่งหนังสือกลับคืนมา จากนั้นได้เชิญทนายมารับแทน ก็ไม่มีใครมารับ
ดังนั้นในวันเดียวกันนี้กรมสรรพากรได้เตรียมไปปิดหนังสือประเมินภาษี ที่บ้านเลขที่ดังกล่าว แต่ได้มีคนมาเซ็นรับหนังสือแทน ดังนั้น บุคคลทั้งสองจะต้องยื่นอุทรณ์ภาษีภายใน 30 วัน ซึ่งจะต้องวางเงินประกันในการอุทรณ์เท่าจำนวนทรัพย์ที่ถูกประเมินคือจำนวน 1.1 พันล้านบาท หากไม่มีการอุทรณ์และวางหลักทรัพย์ค้ำประกันใน 30 วัน จะถือว่าเป็นภาษีค้าง อธิบดีกรมสรรพากรมีอำนาจยึดทรัพย์สินแล้วนำมาขายทอดตลาด เพื่อชำระค่าภาษี โดยอาจอายัดทรัพย์ที่เป็นเงิน ในสถาบันการเงิน หรือที่ดินก็ได้ แต่ไม่มีอำนาจไปยึดเงินในต่างประเทศได้ ทั้งนี้ บุคคลทั้งสองจะนำเงินที่ถูก คตส.อายัดทรัพย์มาวางเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน หรือจ่ายเป็นค่าภาษีไม่ได้ เพราะเงินดังกล่าวไม่สามารถทำธุรกรรมใด ๆ ได้ จนกว่าจะมีการพิสูจน์ทรัพย์เป็นที่สิ้นสุด
แหล่งข่าวจากคณะอนุกรรมการพิจารณาคำร้องการพิสูจน์ทรัพย์สิน เพื่อขอให้ยกเลิกการอายัดบุคคลที่คตส.มีมติอายัดทรัพย์ที่มีนายอำนวย ธันธรา กรรมการ คตส.เป็นประธาน เปิดเผยว่า คณะอนุกรรมการฯ ได้พิจารณาคำร้อง เพื่อพิสูจน์ทรัพย์ของ พ.ต.ท. ทักษิณ แล้ว โดยคำร้องดังกล่าวมีความหนาถึง 50 หน้า และยื่นรายชื่อพยานบุคคลถึง 30 คน โดยคณะอนุกรรมการฯ จะเชิญพยานดังกล่าว มาให้ถ้อยคำว่ามีหลักฐานหรือรู้เห็นประเด็นต่างๆ ที่พ.ต.ท.ทักษิณ ได้อ้างมาหรือไม่ ซึ่งเป็นไปได้ว่าอนุกรรมการฯจะเชิญมาให้ปากคำไม่หมด โดยอาจคัดเลือกพยานเพียง 2-3 ราย ก็น่าจะทราบว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ซึ่งหลังจากนี้อนุกรรมการฯ จะพิจารณาคำร้องของคุณหญิง พจมาน ชินวัตร เป็นรายต่อไป
สำหรับโครงการจัดซื้อรถ-เรือ และอุปกรณ์ดับเพลิงของ กทม. ซึ่งถูก คตส.ตรวจสอบการทุจริตล่าสุด นายอนันต์ ศิริภัสราภรณ์ รองปลัด กทม. เปิดเผย ภายหลังการประชุมคณะผู้บริหารกทม. ว่า ได้รายงานความคืบหน้าโครงการจัดซื้อรถ-เรือ และอุปกรณ์ดับเพลิงของกทม.ต่อที่ประชุมผู้บริหารกทม.โดยล่าสุดทางกทม. ได้ทำหนังสือไปยังกระทรวงมหาดไทยในฐานะที่กำกับดูแลกทม.เพื่อขอให้ประสานขอความร่วมมือไปยังสำนักงานอัยการสูงสุด(อสส.)เพื่อขอให้นักกฎหมาย ที่มีความรู้ ความชำนาญ เรื่องการค้าระหว่างประเทศ มาให้คำปรึกษาในการพิจารณา ข้อกฎหมายและข้อสัญญาก่อนการดำเนินการตามสัญญาในแต่ละขั้นตอน รวมทั้งอาจต้องให้คำแนะนำช่วยเหลือแก่ กทม. ในการเจรจากับผู้แทนของบริษัทคู่สัญญา ในกรณีที่จำเป็น เพื่อไม่ให้ทางราชการต้องเสียเปรียบ
นอกจากนี้กทม.ยังได้ยืนยันความเห็นเดิมไปยังกระทรวงมหาดไทยที่ประสงค์ให้มีการนำเรื่องขออนุมัติต่อ ครม. เพื่อขอยกเว้นภาษีขาเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีอื่นๆ ด้วย
นายอนันต์กล่าวอีกว่า ผลการวินิจฉัยของคณะกรรมการ 7 หน่วยงานที่ รมว.มหาดไทย แต่งตั้งนั้นระบุว่าสัญญามีความสมบูรณ์ มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย เว้นแต่จะหาข้อเท็จจริงพิสูจน์ได้ว่าสัญญาเป็นโมฆียะ โดยเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ ตามกฎหมายซึ่งก็คือ คตส.เป็นผู้ชี้ขาดว่ามีการกระทำผิดจริงจึงจะเป็นเหตุให้กทม. ยกเลิกสัญญาได้แต่จากที่ได้หารือไปยัง คตส.หลังจากที่มีการชี้มูลความผิดตาม ป.อาญา ม.157,83 แล้ว คตส.แจ้งว่ายังไม่มีข้อเท็จจริงบ่งชี้ถึงเหตุอันจะทำให้สัญญาไม่สมบูรณ์
ดังนั้น กทม.จึงต้องดำเนินตามสัญญาต่อไป ในกรณีที่ยังไม่อาจพิสูจน์ได้ เหมือนที่คำวินิจฉัยของคณะกรรมการร่วมทั้ง 7 ฝ่ายสรุปไว้ โดยล่าสุดกทม.ได้จ่ายเงิน งวดที่ 2 ซึ่งครบกำหนดในวันที่ 10 ส.ค.2550 จำนวน 16,656,047.89 ยูโร ประมาณ 777,440,548.86 บาทซึ่งธนาคารกรุงไทย ได้ดำเนินการตัดบัญชีของ กทม.เรียบร้อยแล้ว
ด้าน นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวถึงกรณีที่ นายแก้วสรร อติโพธิ กรรมการคตส. ออกมาท้วงติงว่า หากมีการชำระเงินค่าจัดซื้อรถและเรือดับเพลิงให้กับบริษัท สไตเออร์ฯงวดที่ 2 นั้นจะต้องรับผิดชอบเพราะจะเป็นการจ่ายเงินโดยเปล่าประโยชน์และอีกทั้งยังไม่มีการระบุถึงการซื้อไก่ต้มสุกของไทยจริงจึงยังไม่ควรที่จะชำระเงินงวด 2 ว่า ตนเคารพในคำวินิจฉัยของทุกฝ่ายและทุกประเด็นที่มีการท้วงติง แต่เนื่องจากเรื่องดังกล่าวนั้นไม่ได้เกิดจากการตัดสินใจของกทม. โดยตนเพียงอย่างเดียวต้องพิจารณาในแง่กฎหมายด้วย
อย่างไรก็ตามหากในอนาคตผลตรวจสอบพบว่ามีการกระทำทุจริต ในโครงการเท่ากับว่าสัญญาเป็นโมฆียะ สามารถยกเลิกสัญญาในภายหลังได้และเรียกเงินคืนได้ทั้งหมด เนื่องจาก กทม.ได้ทำหนังสือแนบท้ายขอสงวนสิทธิ์ในการ เรียกเงินคืนไว้พร้อมกับการชำระเงินงวดแรกไว้แล้ว
อย่างไรก็ตาม กทม.จะทำหนังสือสอบถามไปยัง คตส.อย่างเป็นทางกาเพราะ คตส.เป็นผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้งหมด และสัญญาการค้า ต่างตอบแทนกทม. ไม่ได้เป็นผู้ลงนามหากแต่เป็นกระทรวงพาณิชย์ที่ผู้รับผิดชอบและหากไม่ได้ทำตามสัญญาการค้าต่างตอบแทนจริงเท่ากับเป็นการผิดสัญญาดังนั้นจะมีผลต่อสัญญาอื่นๆหรือไม่ซึ่งจะได้ถาม คตส.อย่างชัดเจน