กกต.ส่งทีมสอบสวนลงพื้นที่บุรีรัมย์เพิ่มเติม หลังพบแจกเงินคว่ำ รธน. คุยได้พยานแล้ว เตรียมส่งอัยการฟ้องศาลเพื่อให้เป็นเยี่ยงอย่างเร็วๆ นี้ เลขาฯ กกต.เผย “กทม.-พิจิตร-ชัยนาท” หลักฐานชัดติดสติกเกอร์ไม่รับร่าง รธน.แล้วเอาต้นขั้วไปรับเงิน ด้าน “โฆษก กมธ.ยกร่างฯ” แฉซ้ำ บุรีรัมย์ยึดบัตรประชาชนเพื่อไม่ให้ไปลงประชามติ ด้าน “มท.1” สั่งตำรวจล่าสติกเกอร์ฉาว ระบุเข้าข่ายผิด กม. ส่วน ทรท.ไม่หยุดนัดปราศรัยท้องสนามหลวง 15 ส.ค. อ้างถูกใส่ร้ายจ่ายเงินล้มร่าง รธน.
ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) วานนี้ (9 ส.ค.) กกต. ร่วมกับสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ และ ผู้บริหารบริษัท ทศท.คอร์เปอร์เรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท ทรูคอร์เปอร์เรชั่น ร่วมกันแถลงข่าวถึงการรายงานผลการนับคะแนนการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ (อย่างไม่เป็นทางการ) โดย นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต. ยืนยันว่า กกต.พร้อมที่จะจัดการลงประชามติแล้ว เพราะหลังจากที่ร่วมประชุมเพื่อเตรียมงานครั้งสุดท้ายทุกฝ่ายก็ยืนยันให้ความร่วมมือ อย่างเต็มที่ โดยการรายงานผลจะทำควบคู่กันสองระบบคือ รายงานโดยเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยลงคะแนน โทรฯรายงานผ่านระบบโต้ตอบโทรศัพท์อัตโนมัติ และรายงานผ่านเจ้าหน้าที่ตำรวจ
“มั่นใจว่าการรายงานผลจะทราบผลได้ไม่เกิน 6 ชั่วโมงหลังเริ่มนับคะแนน และภารกิจนี้ถือเป็นภารกิจสำคัญของ กกต. มั่นใจว่า ตอนนี้มีการเตรียมการ เรื่องการลงประชามติไปถึง 99 เปอร์เซ็นต์แล้ว”
นายอภิชาต ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมถึงการตรวจสอบการซื้อเสียงคว่ำร่างรัฐธรรมนูญว่า ได้ส่งชุดสืบสวนสอบสวนลงพื้นที่ใน จ.บุรีรัมย์เพิ่มเติมแล้ว เพราะเป็นพื้นที่หลักที่พบการจ่ายเงินคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ โดยจากที่ลงพื้นที่มีความชัดเจนว่า ใครเป็นคนจ่ายเงิน แต่ขณะนี้ต้องการพยานบุคคลที่เป็นคนกลาง เพื่อให้คดีมีความ สมบูรณ์สามารถส่งให้อัยการฟ้องศาลได้เร็วๆ นี้ โดยในจังหวัดอื่นๆ ก็พบบ้างประปรายยังไม่มีความชัดเจนเท่าบุรีรัมย์ แต่ส่วนตัวก็เห็นว่าเป็นเรื่องปกติ ที่มีความเห็นแตกต่าง ถ้าไม่ได้ผิดกฎหมายก็สามารถรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญได้
“ถ้ามีการซื้อเสียงคว่ำร่างรัฐธรรมนูญไปทุกอำเภออย่างนี้ก็น่ากลัว แต่ก็มั่นใจว่าจะมีประชาชนเดินทางมาออกเสียงประชามติเกิน 60 เปอร์เซ็นต์”
ส่วนกรณีที่มีการสัญญาว่าจะให้เงินหลังจากการลงประชามติเสร็จสิ้น นายอภิชาต กล่าวว่า การสัญญาว่าจะให้ก็ถือว่าผิดกฎหมายแล้ว ขณะนี้ทุกฝ่าย ได้ร่วมมือกันที่จะทำให้ประชามติในครั้งนี้เกิดความโปร่งใส และปลอดจากการซื้อเสียง มากที่สุด ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร และข้าราชการได้แทรกซึมไปทุกพื้นที่เพื่อจับตาและดำเนินการเอาผิดทางกฎหมายกับผู้ทุจริตให้ได้ เพราะหากประชามติครั้งนี้โปร่งใสก็จะทำให้การเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในปลายปีนี้ บริสุทธิ์ยุติธรรมมากขึ้น ดังนั้น เป็นหน้าที่ทุกฝ่ายต้องให้ความอดทนต่อแรงกดดันต่างๆ
ด้าน นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต. กล่าวว่า ได้ส่งเจ้าหน้าที่สืบสวน ส่วนกลางลงไปหาเบาะแสที่ จ.บุรีรัมย์ โดยขณะนี้มีพยานบุคคลที่สามารถจะดำเนินคดีได้แล้ว ซึ่งเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวนจะลงพื้นที่เพื่อรวบรวมข้อมูลหลักฐานทั้งหมดส่งให้อัยการนำฟ้องศาลโดยเร็วที่สุด เพราะต้องการให้เป็นเยี่ยงอย่าง และป้องกันไม่ให้มีการกระทำในลักษณะนี้อีก และเป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่าการทำงานของ กกต.ชุดนี้ไม่ได้ปล่อยปละละเลย
นอกจากนี้ ยังได้ส่งเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวนลงไปในภาคกลางด้วย เช่น พิจิตร ชัยนาท และโดยเฉพาะ กทม. ก็เป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่มีความชัดเจนเรื่องหลักฐาน เพราะมีการสัญญาว่าจะให้เงินหลังจากที่คนขับรถแท๊กซี่ไปรับสติ๊กเกอร์ในสถานที่ต่างๆ และนำต้นขั้วไปรับเงิน โดยเฉพาะสติ๊กเกอร์ที่มีข้อความว่า “รับผู้โดยสารได้ แต่ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ” ซึ่งต้องลงไปสืบหาว่าต้นตอมาจากที่ใด หากได้พยานบุคคลมายืนยันก็สามารถดำเนินคดีได้
นายปกรณ์ ปรียากร โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า การเคลื่อนไหวคว่ำร่างรัฐธรรมนูญเป็นสิทธิที่จะทำได้ แต่ขณะนี้มีความพยายามเคลื่อนไหวนอกรูปแบบเพื่อขัดขวางประชาชนไม่ให้ไปลงประชามติ โดยไม่ได้ให้ข้อมูลเนื้อหาของรัฐธรรมนูญ ซึ่งตนได้รับรายงานมาจากคนใกล้ชิด ที่เป็นข้าราชการเกษียณว่าที่ภาคอีสานอาทิ จ.บุรีรัมย์ อุดรธานี และภาคเหนือ เช่น จ.เชียงรายว่า มีความพยายามในการเคลื่อนไหวล้มร่างรัฐธรรมนูญอย่างหนักอีกระลอก โดยใน จ.บุรีรัมย์ มีการเคลื่อนไหวที่หนักที่สุด โดยทำใน 3 รูปแบบคือ 1.ใช้เงิน 300 บาทเพื่อให้ประชาชนอยู่กับบ้านไม่ต้องไปลงประชามติ หรือไปลงประชามติได้ แต่ต้องกาในช่องที่ไม่เห็นชอบ
2.แจกเสื้อแดงเพื่อแสดงให้เห็นว่ามีบุคคลที่เป็นกลุ่มก้อนที่ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ และวิธีที่ 3.เป็นวิธีที่หนักที่สุดคือยึดบัตรประจำตัวประชาชน ไม่ให้ประชาชนออกไปใช้สิทธิ ซึ่งการกระทำแบบนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่เลวร้ายมาก จากเดิมที่ กกต. บอกว่าไม่มีข้อมูล แต่ครั้งนี้ กกต.จังหวัด ได้เตรียมนำหลักฐานไปสืบสวนหาตัวผู้กระทำผิดเองแล้วด้วย
ส่วนความเคลื่อนไหวของการปลุกระดมให้มีการคว่ำรัฐธรรมนูญที่ กทม. ตนไม่กังวลมาก เนื่องจากประชาชนในกรุงเทพฯศึกษาและเข้าใจเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มาเป็นอย่างดี แต่ก็มีคำเตือนมาจากคนต่างจังหวัดเมื่อตนลงพื้นที่ เขาแสดงความเป็นกังวลมาว่า การที่รัฐบาลประกาศให้วันที่ 20 ก.ค. เป็นวันหยุดราชการจะทำให้เกิดวันหยุดยาวแทนที่คนจะไปลงประชามติกลับกลายเป็นไปพักผ่อนแทนโดยเฉพาะคนในกรุงเทพฯ
นายปกรณ์ กล่าวว่า อย่างไรก็ตามไม่กังวลกลุ่มไทยรักไทยจะรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นเรื่องของทางการเมือง อย่างไรก็ตามหากจะเคลื่อนไหว ก็ขอให้ช่วยให้ข้อมูลประชาชนในเรื่องเนื้อหาของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ด้วย และอยากฝากให้ช่วยพิจารณาด้วยว่าถ้ามีการคว่ำรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นผลที่ตามมาจะเป็นอย่างไร การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นหรือไม่เพราะถ้าไม่มีการเลือกตั้งนักการเมืองก็จะว่างงานกันต่อ
ส่วนกรณีที่นายสมศักดิ์ เทพสุทิน แกนนำกลุ่มมัชฌิมาออกมาเปิดเผยว่า มีอดีตส.ส.ในไทยรักไทยจ่ายเงินช่วยในการเคลื่อนไหวคว่ำร่างรัฐธรรมนูญนั้น นายปกรณ์ กล่าวว่า ถ้ามีการทำแบบนี้จริงก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ทำผิดกฎหมายประชามติ เป็นความผิดร้ายแรงถ้ามีเรื่องแบบนี้จริงก็ต้องทำการสอบสวนให้ชัดเจนเช่นกัน
นายอารีย์ วงศ์อารยะ รมว.มหาดไทย ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่มีการแจกเงิน ให้ติดสติกเกอร์คว่ำร่างรัฐธรรมนูญ ที่ด้านหลังรถแท็กซี่ใน กทม. ว่า ได้มอบหมายให้ กทม. และกองบัญชาการตำรวจนครบาล ร่วมกันตรวจสอบข้อมูล โดยขอความร่วมมือจากประชาชน หากพบเบาะแส สามารถแจ้งได้ที่เจ้าหน้าที่
“ขณะนี้กำลังตรวจสอบอยู่ คงจะขอความร่วมมือกับผู้ติดสติกเกอร์ เพราะการดำเนินการลักษณะดังกล่าว อาจเข้าข่ายผิดกฎหมาย ทั้งนี้ ยังไม่ถึงขั้นเจรจากับกลุ่มผู้ประกอบการรถแท็กซี่ คงปล่อยให้ กทม.ดำเนินการ”
ส่วนการลงประชามติในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ นายอารีย์ ให้ความมั่นใจว่า ประชาชนสามารถไปออกเสียงประชามติได้ กระทรวงมหาดไทยจะอำนวยความสะดวก โดยเฉพาะในพื้นที่ล่อแหลม เจ้าหน้าที่เตรียมแผนไว้แล้ว
ส่วนที่ระบุว่าจังหวัดใดมีผู้ออกมาใช้สิทธิลงประชามติเกินร้อยละ 60 จะให้รางวัลผู้ว่าราชการจังหวัดนั้น นายอารีย์ กล่าวว่า พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี จะเป็นผู้มอบรางวัล อาจจะเป็นในรูปโล่ประกาศเกียรติคุณ ส่วนพื้นที่ที่มีปัญหา เช่น จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ใช่จังหวัดเป้าหมายที่จะใช้เกณฑ์ดังกล่าวมาวัดผล ทุกคนเข้าใจดี
“เวลานี้ประชาชนมีความเข้าใจเรื่องการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มากขึ้น ซึ่งถือเป็นผลงานของกระทรวงมหาดไทย และสมาชิกอาสาสมัครพัฒนาประชาธิปไตย (อสพป.) ที่ไม่ใช่มีแต่ปริมาณ แต่มีคุณภาพควบคู่ไปด้วย”
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี แกนนำกลุ่มไทยรักไทย แถลงว่าในวันที่ 15 ส.ค.นี้จะมีการจัดปราศรัยใหญ่ที่ท้องสนามหลวง ซึ่งเป็นการรณรงค์ชี้แจงเหตุผลการไม่รับร่างรัฐธรรมนูญของกลุ่มไทยรักไทย แต่ไม่ได้เป็นการชี้นำการลงประชามติ และยืนยันว่าไม่เกี่ยวข้องกับกลุ่ม นปก.อย่างแน่นอน เชื่อว่าจะได้รับอนุญาตจากทาง กทม.
สำหรับคนที่จะขึ้นปราศรัยนั้นเบื้องต้นจะมีนายจาตุรนต์ ฉายแสง นายสุธรรม แสงประทุม และนายอดิศร เพียงเกษ ทั้งนี้หากรัฐบาลและคมช.มีความจริงใจและอยากเห็นการลงประชามติที่โปรงใส ไม่ใช่การลงประชามติแบบแอ๊บแบ๊ว ก็ควรให้การสนับสนุนงานนี้ นอกจากนี้เรายังจะมีการจัดขบวนรถแห่ไปตามท้องถนน ในกรุงเทพฯในวันที่ 18 ส.ค. รวมทั้งแจกเอกสาร ใบปลิว และซีดี ชี้แจงเหตุผลที่ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญด้วย ขณะที่ในต่างจังหวัดนั้นจะมีในวันที่ 16 ส.ค. เช่น ที่จังหวัดนครราชสีมา
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีกระแสข่าวการจ่ายเงินให้ประชาชนคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ นพ.สุรพงษ์ กล่าวว่า เป็นความพยายามใส่ร้ายป้ายสีกลุ่มไทยรักไทย เราจำเป็นต้องขอติดป้ายประชาสัมพันธ์ ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องมีค่าใช้จ่าย ในการขอใช้สถานที่ หรือเป็นค่าใช้จ่ายให้กับอาสาสมัครที่ไปเดินแจกใบปลิวเท่านั้น อย่างไรก็ตาม กลุ่มไทยรักไทยมองว่าการประชาสัมพันธ์เนื้อหารัฐธรรมนูญนั้น วันนี้พูดกันน้อยมาก เวทีดีเบตหลายเวทีถูกยกเลิกไปโดยไม่ทราบสาเหตุ ดังนั้นในวันที่ 11 ส.ค. เวลา 10.00 น. นายจาตุรนต์ จะพูดปาฐกถาเรื่องรัฐธรรมนูญที่สถาบันปรีดีพนมยงค์ เพื่อสื่อสารให้ประชาชนรู้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์
ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) วานนี้ (9 ส.ค.) กกต. ร่วมกับสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ และ ผู้บริหารบริษัท ทศท.คอร์เปอร์เรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท ทรูคอร์เปอร์เรชั่น ร่วมกันแถลงข่าวถึงการรายงานผลการนับคะแนนการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ (อย่างไม่เป็นทางการ) โดย นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต. ยืนยันว่า กกต.พร้อมที่จะจัดการลงประชามติแล้ว เพราะหลังจากที่ร่วมประชุมเพื่อเตรียมงานครั้งสุดท้ายทุกฝ่ายก็ยืนยันให้ความร่วมมือ อย่างเต็มที่ โดยการรายงานผลจะทำควบคู่กันสองระบบคือ รายงานโดยเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยลงคะแนน โทรฯรายงานผ่านระบบโต้ตอบโทรศัพท์อัตโนมัติ และรายงานผ่านเจ้าหน้าที่ตำรวจ
“มั่นใจว่าการรายงานผลจะทราบผลได้ไม่เกิน 6 ชั่วโมงหลังเริ่มนับคะแนน และภารกิจนี้ถือเป็นภารกิจสำคัญของ กกต. มั่นใจว่า ตอนนี้มีการเตรียมการ เรื่องการลงประชามติไปถึง 99 เปอร์เซ็นต์แล้ว”
นายอภิชาต ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมถึงการตรวจสอบการซื้อเสียงคว่ำร่างรัฐธรรมนูญว่า ได้ส่งชุดสืบสวนสอบสวนลงพื้นที่ใน จ.บุรีรัมย์เพิ่มเติมแล้ว เพราะเป็นพื้นที่หลักที่พบการจ่ายเงินคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ โดยจากที่ลงพื้นที่มีความชัดเจนว่า ใครเป็นคนจ่ายเงิน แต่ขณะนี้ต้องการพยานบุคคลที่เป็นคนกลาง เพื่อให้คดีมีความ สมบูรณ์สามารถส่งให้อัยการฟ้องศาลได้เร็วๆ นี้ โดยในจังหวัดอื่นๆ ก็พบบ้างประปรายยังไม่มีความชัดเจนเท่าบุรีรัมย์ แต่ส่วนตัวก็เห็นว่าเป็นเรื่องปกติ ที่มีความเห็นแตกต่าง ถ้าไม่ได้ผิดกฎหมายก็สามารถรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญได้
“ถ้ามีการซื้อเสียงคว่ำร่างรัฐธรรมนูญไปทุกอำเภออย่างนี้ก็น่ากลัว แต่ก็มั่นใจว่าจะมีประชาชนเดินทางมาออกเสียงประชามติเกิน 60 เปอร์เซ็นต์”
ส่วนกรณีที่มีการสัญญาว่าจะให้เงินหลังจากการลงประชามติเสร็จสิ้น นายอภิชาต กล่าวว่า การสัญญาว่าจะให้ก็ถือว่าผิดกฎหมายแล้ว ขณะนี้ทุกฝ่าย ได้ร่วมมือกันที่จะทำให้ประชามติในครั้งนี้เกิดความโปร่งใส และปลอดจากการซื้อเสียง มากที่สุด ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร และข้าราชการได้แทรกซึมไปทุกพื้นที่เพื่อจับตาและดำเนินการเอาผิดทางกฎหมายกับผู้ทุจริตให้ได้ เพราะหากประชามติครั้งนี้โปร่งใสก็จะทำให้การเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในปลายปีนี้ บริสุทธิ์ยุติธรรมมากขึ้น ดังนั้น เป็นหน้าที่ทุกฝ่ายต้องให้ความอดทนต่อแรงกดดันต่างๆ
ด้าน นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต. กล่าวว่า ได้ส่งเจ้าหน้าที่สืบสวน ส่วนกลางลงไปหาเบาะแสที่ จ.บุรีรัมย์ โดยขณะนี้มีพยานบุคคลที่สามารถจะดำเนินคดีได้แล้ว ซึ่งเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวนจะลงพื้นที่เพื่อรวบรวมข้อมูลหลักฐานทั้งหมดส่งให้อัยการนำฟ้องศาลโดยเร็วที่สุด เพราะต้องการให้เป็นเยี่ยงอย่าง และป้องกันไม่ให้มีการกระทำในลักษณะนี้อีก และเป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่าการทำงานของ กกต.ชุดนี้ไม่ได้ปล่อยปละละเลย
นอกจากนี้ ยังได้ส่งเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวนลงไปในภาคกลางด้วย เช่น พิจิตร ชัยนาท และโดยเฉพาะ กทม. ก็เป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่มีความชัดเจนเรื่องหลักฐาน เพราะมีการสัญญาว่าจะให้เงินหลังจากที่คนขับรถแท๊กซี่ไปรับสติ๊กเกอร์ในสถานที่ต่างๆ และนำต้นขั้วไปรับเงิน โดยเฉพาะสติ๊กเกอร์ที่มีข้อความว่า “รับผู้โดยสารได้ แต่ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ” ซึ่งต้องลงไปสืบหาว่าต้นตอมาจากที่ใด หากได้พยานบุคคลมายืนยันก็สามารถดำเนินคดีได้
นายปกรณ์ ปรียากร โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า การเคลื่อนไหวคว่ำร่างรัฐธรรมนูญเป็นสิทธิที่จะทำได้ แต่ขณะนี้มีความพยายามเคลื่อนไหวนอกรูปแบบเพื่อขัดขวางประชาชนไม่ให้ไปลงประชามติ โดยไม่ได้ให้ข้อมูลเนื้อหาของรัฐธรรมนูญ ซึ่งตนได้รับรายงานมาจากคนใกล้ชิด ที่เป็นข้าราชการเกษียณว่าที่ภาคอีสานอาทิ จ.บุรีรัมย์ อุดรธานี และภาคเหนือ เช่น จ.เชียงรายว่า มีความพยายามในการเคลื่อนไหวล้มร่างรัฐธรรมนูญอย่างหนักอีกระลอก โดยใน จ.บุรีรัมย์ มีการเคลื่อนไหวที่หนักที่สุด โดยทำใน 3 รูปแบบคือ 1.ใช้เงิน 300 บาทเพื่อให้ประชาชนอยู่กับบ้านไม่ต้องไปลงประชามติ หรือไปลงประชามติได้ แต่ต้องกาในช่องที่ไม่เห็นชอบ
2.แจกเสื้อแดงเพื่อแสดงให้เห็นว่ามีบุคคลที่เป็นกลุ่มก้อนที่ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ และวิธีที่ 3.เป็นวิธีที่หนักที่สุดคือยึดบัตรประจำตัวประชาชน ไม่ให้ประชาชนออกไปใช้สิทธิ ซึ่งการกระทำแบบนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่เลวร้ายมาก จากเดิมที่ กกต. บอกว่าไม่มีข้อมูล แต่ครั้งนี้ กกต.จังหวัด ได้เตรียมนำหลักฐานไปสืบสวนหาตัวผู้กระทำผิดเองแล้วด้วย
ส่วนความเคลื่อนไหวของการปลุกระดมให้มีการคว่ำรัฐธรรมนูญที่ กทม. ตนไม่กังวลมาก เนื่องจากประชาชนในกรุงเทพฯศึกษาและเข้าใจเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มาเป็นอย่างดี แต่ก็มีคำเตือนมาจากคนต่างจังหวัดเมื่อตนลงพื้นที่ เขาแสดงความเป็นกังวลมาว่า การที่รัฐบาลประกาศให้วันที่ 20 ก.ค. เป็นวันหยุดราชการจะทำให้เกิดวันหยุดยาวแทนที่คนจะไปลงประชามติกลับกลายเป็นไปพักผ่อนแทนโดยเฉพาะคนในกรุงเทพฯ
นายปกรณ์ กล่าวว่า อย่างไรก็ตามไม่กังวลกลุ่มไทยรักไทยจะรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นเรื่องของทางการเมือง อย่างไรก็ตามหากจะเคลื่อนไหว ก็ขอให้ช่วยให้ข้อมูลประชาชนในเรื่องเนื้อหาของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ด้วย และอยากฝากให้ช่วยพิจารณาด้วยว่าถ้ามีการคว่ำรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นผลที่ตามมาจะเป็นอย่างไร การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นหรือไม่เพราะถ้าไม่มีการเลือกตั้งนักการเมืองก็จะว่างงานกันต่อ
ส่วนกรณีที่นายสมศักดิ์ เทพสุทิน แกนนำกลุ่มมัชฌิมาออกมาเปิดเผยว่า มีอดีตส.ส.ในไทยรักไทยจ่ายเงินช่วยในการเคลื่อนไหวคว่ำร่างรัฐธรรมนูญนั้น นายปกรณ์ กล่าวว่า ถ้ามีการทำแบบนี้จริงก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ทำผิดกฎหมายประชามติ เป็นความผิดร้ายแรงถ้ามีเรื่องแบบนี้จริงก็ต้องทำการสอบสวนให้ชัดเจนเช่นกัน
นายอารีย์ วงศ์อารยะ รมว.มหาดไทย ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่มีการแจกเงิน ให้ติดสติกเกอร์คว่ำร่างรัฐธรรมนูญ ที่ด้านหลังรถแท็กซี่ใน กทม. ว่า ได้มอบหมายให้ กทม. และกองบัญชาการตำรวจนครบาล ร่วมกันตรวจสอบข้อมูล โดยขอความร่วมมือจากประชาชน หากพบเบาะแส สามารถแจ้งได้ที่เจ้าหน้าที่
“ขณะนี้กำลังตรวจสอบอยู่ คงจะขอความร่วมมือกับผู้ติดสติกเกอร์ เพราะการดำเนินการลักษณะดังกล่าว อาจเข้าข่ายผิดกฎหมาย ทั้งนี้ ยังไม่ถึงขั้นเจรจากับกลุ่มผู้ประกอบการรถแท็กซี่ คงปล่อยให้ กทม.ดำเนินการ”
ส่วนการลงประชามติในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ นายอารีย์ ให้ความมั่นใจว่า ประชาชนสามารถไปออกเสียงประชามติได้ กระทรวงมหาดไทยจะอำนวยความสะดวก โดยเฉพาะในพื้นที่ล่อแหลม เจ้าหน้าที่เตรียมแผนไว้แล้ว
ส่วนที่ระบุว่าจังหวัดใดมีผู้ออกมาใช้สิทธิลงประชามติเกินร้อยละ 60 จะให้รางวัลผู้ว่าราชการจังหวัดนั้น นายอารีย์ กล่าวว่า พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี จะเป็นผู้มอบรางวัล อาจจะเป็นในรูปโล่ประกาศเกียรติคุณ ส่วนพื้นที่ที่มีปัญหา เช่น จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ใช่จังหวัดเป้าหมายที่จะใช้เกณฑ์ดังกล่าวมาวัดผล ทุกคนเข้าใจดี
“เวลานี้ประชาชนมีความเข้าใจเรื่องการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มากขึ้น ซึ่งถือเป็นผลงานของกระทรวงมหาดไทย และสมาชิกอาสาสมัครพัฒนาประชาธิปไตย (อสพป.) ที่ไม่ใช่มีแต่ปริมาณ แต่มีคุณภาพควบคู่ไปด้วย”
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี แกนนำกลุ่มไทยรักไทย แถลงว่าในวันที่ 15 ส.ค.นี้จะมีการจัดปราศรัยใหญ่ที่ท้องสนามหลวง ซึ่งเป็นการรณรงค์ชี้แจงเหตุผลการไม่รับร่างรัฐธรรมนูญของกลุ่มไทยรักไทย แต่ไม่ได้เป็นการชี้นำการลงประชามติ และยืนยันว่าไม่เกี่ยวข้องกับกลุ่ม นปก.อย่างแน่นอน เชื่อว่าจะได้รับอนุญาตจากทาง กทม.
สำหรับคนที่จะขึ้นปราศรัยนั้นเบื้องต้นจะมีนายจาตุรนต์ ฉายแสง นายสุธรรม แสงประทุม และนายอดิศร เพียงเกษ ทั้งนี้หากรัฐบาลและคมช.มีความจริงใจและอยากเห็นการลงประชามติที่โปรงใส ไม่ใช่การลงประชามติแบบแอ๊บแบ๊ว ก็ควรให้การสนับสนุนงานนี้ นอกจากนี้เรายังจะมีการจัดขบวนรถแห่ไปตามท้องถนน ในกรุงเทพฯในวันที่ 18 ส.ค. รวมทั้งแจกเอกสาร ใบปลิว และซีดี ชี้แจงเหตุผลที่ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญด้วย ขณะที่ในต่างจังหวัดนั้นจะมีในวันที่ 16 ส.ค. เช่น ที่จังหวัดนครราชสีมา
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีกระแสข่าวการจ่ายเงินให้ประชาชนคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ นพ.สุรพงษ์ กล่าวว่า เป็นความพยายามใส่ร้ายป้ายสีกลุ่มไทยรักไทย เราจำเป็นต้องขอติดป้ายประชาสัมพันธ์ ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องมีค่าใช้จ่าย ในการขอใช้สถานที่ หรือเป็นค่าใช้จ่ายให้กับอาสาสมัครที่ไปเดินแจกใบปลิวเท่านั้น อย่างไรก็ตาม กลุ่มไทยรักไทยมองว่าการประชาสัมพันธ์เนื้อหารัฐธรรมนูญนั้น วันนี้พูดกันน้อยมาก เวทีดีเบตหลายเวทีถูกยกเลิกไปโดยไม่ทราบสาเหตุ ดังนั้นในวันที่ 11 ส.ค. เวลา 10.00 น. นายจาตุรนต์ จะพูดปาฐกถาเรื่องรัฐธรรมนูญที่สถาบันปรีดีพนมยงค์ เพื่อสื่อสารให้ประชาชนรู้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์