ศาลสั่งปล่อยตัวชั่วคราว “มานิตย์-หมอเหวง” หลังภรรยาของทั้งสองยื่นขอประกันตัวจากศาล โดยศาลสั่งหุบปาก และห้ามออกไปก่อความวุ่ยวายอีก ขณะที่ทนายความผู้ต้องหา นปก.เดินหน้ายื่นอุทธรณ์ ขอให้ศาลปล่อยตัวลูกความ ด้านตำรวจสั่งเร่งรัดสำนวนคดี เตรียมส่งฟ้องให้ทันภายใน 48 วันตามกำหนด พร้อมดีเดย์รื้อเวทีสนามหลวงมาเป็นของกลางวันนี้ ส่วนลิ่วล้ออีก 6 คน ตำรวจนำตัวไปฝากขังเป็นผลัดที่สอง และยังไม่ออกหมายจับ นปก.รุ่น 2
วานนี้ (3 ส.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น. ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก นางธิดาโตจิราการ และนางพัชรินทร์ จิตต์จันทร์กลับ ภรรยาของนพ.เหวง โตจิราการ และนายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ 2 ใน 8 แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) ซึ่งถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ตามคำร้องฝากขังของพนักงานสอบสวนกองบัญชาการตำรวจนครบาล ในข้อหามั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง และข้อหาสั่งการหรือยั่วยุปลุกระดมให้กลุ่มบุคคลกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองและขัดขืนคำสั่งเจ้าพนักงาน กรณีนำกลุ่มผู้ชุมนุมก่อความวุ่นวายที่บ้านสี่เสาเทเวศร์ เมื่อคืนวันที่ 22 ก.ค.ที่ผ่านมา ได้ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์เป็นเงินสดคนละ 2 แสนบาท เพื่อขอประกันตัวนายแพทย์เหวง และนายมานิตย์ ออกจากเรือนจำ
นางพัชรินทร์ กล่าวถึงสาเหตุที่ต้องยื่นขอประกันตัวสามีว่า นายมานิตย์ เริ่มประสบปัญหาด้านสุขภาพ เพราะทนต่อสภาพแวดล้อมภายในเรือนจำไม่ไหว ทางแกนนำทั้ง 8 คนจึงหารือร่วมกันและเห็นว่าควรให้สามีของตน และนายแพทย์เหวงซึ่งมีอายุมากแล้วยื่นขอประกันตัวเพื่ออกมาต่อสู้คดีภายนอกเรือนจำ
ต่อมา ศาลได้พิจารณาอนุญาตตามคำร้องขอปล่อยตัว นพ.เหวง โตจิราการ ผู้ต้องหาที่ 6 และนายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ ผู้ต้องหาที่ 9 ในความผิดฐานมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไปใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด ให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิกกระทำการดังกล่าวแล้วไม่เลิก และร่วมกันต่อสู่หรือขัดขวางเจ้าพนักงาน หรือผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานตามกฎหมายในการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย โดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป โดยตีหลักทรัพย์การประกันตัวเป็นเงินสดคนละ 200,000 บาท
ทั้งนี้ ศาลยังได้มีคำสั่งกำหนดเงื่อนไขห้าม ผู้ต้องหาทั้งสองคน ประพฤติตนตามลักษณะในคำร้องขอฝากขังอันนำไปสู่การกระทำความผิด ในทำนองเดียวกันอีก และห้ามให้ข่าวในลักษณะ ยั่วยุ ให้ประชาชนเข้าใจผิด เกิดความแตกแยกมิฉะนั้นจะถอนประกัน
ขณะเดียวกันที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร บรรดาญาติของแกนนำ นปก.ต่างทยอยกันเดินทางเข้าเยี่ยมให้กำลังใจกันตามปกติ โดยในวันนี้มีกลุ่มผู้ขับขี่รถแท็กซี่เอื้ออาทร ประมาณ 50 คน นำดอกกุหลาบเข้าร่วมให้กำลังใจ ส่วนมาตรการรักษาความปลอดภัยนั้น ในวันนี้เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์เข้มงวดเป็นพิเศษ หลังเมื่อวานที่ผ่านมา (2 ส.ค.) มีกระแสข่าวว่า กลุ่มผู้สนับสนุนจะเดินทางมากดดัน หากศาลไม่อนุญาตปล่อยตัว 8 แกนนำ โดยมีการประสานเจ้าหน้าที่คอมมานโด ของกรมราชทัณฑ์ 1 กองร้อย ตรึงกำลังโดยรอบ เพื่อป้องกันเหตุวุ่นวาย พร้อมกำหนดเวลาเยี่ยมแกนนำ นปก.ทั้ง 8 คน เหลือเพียง 2 รอบ ตั้งแต่เวลา 09.30-10.00 น.และเวลา 13.30-14.00 น. เท่านั้น
ต่อมา เมื่อเวลา 15.30 น. นายเจษฎา จันทร์ดี ทนายความผู้รับมอบอำนาจจากนายวีระ มุสิกพงศ์ กับพวกรวม 9 คน ได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอให้ศาลไต่สวนผู้ถูกคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมายและขอให้ศาลมีคำสั่งปล่อยตัวผู้ถูกคุมขังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญามาตรา 90 พร้อมทั้งยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งไต่สวนเป็นการด่วนและขอให้เบิกตัวผู้ถูกคุมขังทั้ง 8 คนจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพเพื่อไต่สวน
โดยคำอุทธรณ์มีเนื้อหารวม 20 หน้า สรุปว่าผู้ถูกคุมขังที่ 1-7 และ 9 ยืนยันไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 2 ส.ค.50 เพราะยังคลาดเคลื่อนกับข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายหลายประการ ผู้ถูกคุมขัง 1-7 และ 9 จึงขออุทธรณ์ 7 ประเด็นดังนี้ 1. การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย โดยดำเนินกระบวนพิจารณาและมีคำสั่งที่ผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 และ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 เพราะไม่ได้มีการไต่สวนผู้ถูกคุมขังตามที่กำหนดไว้ใน ป.วิอาญา ม.90
โดยเมื่อวันที่ 2 ส.ค. ศาลชั้นต้นเพียงสอบถามทนายผู้ถูกคุมขังถึงจำนวนคำร้องที่ยื่นต่อศาลเท่านั้น ไม่ได้เป็นการไต่สวนผู้ถูกคุมขังแต่อย่างใด 2. การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าผู้ถูกคุมขังซึ่งตกเป็นผู้ต้องหาได้ลงลายมือชื่อรับทราบกระบวนพิจารณาของศาลเมื่อวันที่ 25 ก.ค.50 ถึงการขอออกหมายจับนั้น ในข้อเท็จจริงผู้ถูกคุมขังยืนยันว่าในข้อตกลงการเข้าพบพนักงานสอบสวนต่อหน้าศาลจะได้รับการปล่อยตัวไป แต่ต่อมาศาลมีคำสั่งออกหมายขังตามคำร้องของพนักงานสอบสวนจึงถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่สุจริตและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งใช้ศาลเป็นเครื่องมือ
3.การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าการที่ผู้ถูกคุมขังเข้าพบพนักงานสอบสวนเมื่อวันที่ 26 ก.ค.50 นั้นถือว่าได้มีการแจ้งข้อหาให้ทราบแล้วนั้น ผู้ถูกคุมขังยืนยันว่าการเข้าพบพนักงานสอบสวนเป็นไปตามข้อตกลงและตามคำสั่งที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาในการไต่สวนคำร้องขอออกหมายจับเท่านั้น นอกจากนี้ศาลไม่ใช่สถานที่ที่จะใช้เป็นที่รับแจ้งข้อกล่าวหาหรือจับกุมผู้ถูกคุมขังไว้ กรณีนี้จึงเป็นการกระทำไม่ชอบด้วยกฎหมายและขัดต่อข้อบังคับของประธานศาลฎีกา พ.ศ.2548
4.การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคดียังอยู่ระหว่างการฝากขัง ซึ่งจะต้องพิสูจน์กันในชั้นพิจารณาว่าผู้ถูกคุมขังกระทำความผิดหรือไม่ เห็นว่าเมื่อผู้ถูกคุมขังทั้งหมดไม่มีพฤติการณ์หลบหนีหรือไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานหรือก่อเหตุอันตรายอื่นใด จึงแสดงให้เห็นว่าผู้ถูกคุมขังไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิดตามที่พนักงานสอบสวนตั้งข้อกล่าวหาเพื่อขอออกหมายจับแต่อย่างใด กรณีจึงเป็นการนำความเท็จมากล่าวอ้างต่อศาลโดยมีเจตนาให้ต้องถูกคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
5.การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าความผิดที่พนักงานสอบสวนแจ้งมีอัตราโทษสูงเกิน 3 ปี จึงถือเป็นความผิดอาญาร้ายแรงที่ศาลใช้ดุลยพินิจออกหมายขังได้ตาม ป.วิอาญา มาตรา 71 และ 66 นั้น ผู้ถูกคุมขังเห็นว่าข้อกล่าวหาตามที่พนักงานสอบสวนอ้างนั้น กฎหมายบัญญัติอัตราโทษขั้นสูงไม่เกิน 5 ปีเท่านั้น โดยไม่ได้บัญญัติอัตราโทษขั้นต่ำไว้ ประกอบกับพฤติการณ์แห่งคดีไม่ใช่คดีอุกฉกรรจ์ ซึ่งผู้ถูกคุมขังเป็นผู้ที่ทำคุณงามความดีให้แก่ประเทศชาติมานาน ไม่เป็นผู้มีอิทธิพลใดๆ อีกทั้งการชุมนุมดังกล่าวเป็นการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองโดยสงบปราศจากอาวุธอันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนกระทำได้ตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้นความผิดตามข้อกล่าวหาจึงไม่ได้เป็นความผิดร้ายแรงดังที่ศาลวินิจฉัย
6.ประเด็นที่ศาลวินิจฉัยว่าศาลออกหมายขังได้ตาม ป.วิอาญามาตรา 71 และ 66 นั้นผู้ถูกคุมขังยืนยันว่าแม้กฎหมายจะให้ศาลมีอำนาจออกหมายขัง แต่การใช้ดุลยพินิจตาม ป.วิอาญา มาตรา 71 ศาลจะต้องพิจารณาถึงเหตุการณ์ออกหมายจับตามมาตรา 66 ก่อน ซึ่งเมื่อพนักงานสอบสวนยืนยันต่อศาลว่าการชุมนุมไม่ได้เป็นความผิดตามกฎหมายและผู้ถูกคุมขังไม่ได้เป็นผู้กระทำผิด อีกทั้งผู้ถูกคุมขังไม่มีพฤติการณ์หลบหนี หรือไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานหรือก่อเหตุอันตรายอื่นใด จึงแสดงให้เห็นว่าพฤติการณ์ของผู้ถูกคุมขังทั้งหมดไม่มีเหตุขอให้ศาลออกหมายจับได้ตาม ป.วิอาญา มาตรา 66 ดังนั้นคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ควบคุมผู้ถูกคุมขังทั้งหมดจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
และ 7.เมื่อรายงานกระบวนพิจารณาคดีดำที่ พ.1650/2550 ลงวันที่ 25 ก.ค.50 พนักงานสอบสวนอ้างเหตุการณ์ควบคุมตัวว่าจำเป็นต้องพิมพ์ลายนิ้วมือและลงบันทึกประจำวัน โดยพนักงานสอบสวนยังยืนยันข้อเท็จจริงในคำร้องว่าจะขอส่งตัวผู้ถูกคุมขังคืนศาล จึงแสดงให้เห็นว่าไม่มีเหตุจำเป็นหรือพฤติการณ์อื่นใดที่จะควบคุมตัวผู้ถูกคุมขังทั้งหมดไว้ในระหว่างการสอบสวนอีกต่อไป ดังนั้นการคุมขังหลังจากที่ได้ดำเนินการพิมพ์ลายนิ้วมือและลงบันทึกประจำวันแล้วจึงเป็นการคุมขังที่เกินกว่าความจำเป็นตามพฤติการณ์แห่งคดีในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 87 วรรคแรก
ด้วยเหตุผลข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายดังกล่าว ผู้ถูกคุมขังจึงขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งกลับคำสั่งศาลชั้นต้น โดยให้เพิกถอนหมายขังที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และมีคำสั่งให้ออกหมายปล่อยตัวผู้ถูกคุมขังทั้งหมดเป็นการด่วนต่อไปทันที โดยไม่ต้องไต่สวนผู้ถูกคุมขังทั้งหมดอีกตาม ป.วิอาญา มาตรา 90 อย่างไรก็ตาม ศาลได้รับคำร้องไว้เพื่อดำเนินการส่งศาลอุทธรณ์พิจารณาต่อไป
นายจรัล ดิษฐาอภิชัย หนึ่งในแกนนำ นปก.ที่ได้รับการประกันตัวไปก่อนหน้านี้ เผยว่า เมื่อศาลชั้นต้นยกคำร้องก็ต้องยื่นอุทธรณ์ต่อไป ซึ่งเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย และตนได้ติดต่อกับนายนัทธี จิตสว่าง อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เพื่อประสานขอไม่ให้แยกคุมขังแกนนำทั้ง 8 คน แต่จะจัดให้คุมขังในแดนไหนก็ได้ และต้องปฏิบัติต่อผู้ต้องขังให้ดี เพราะแกนนำทั้ง 8 คน เป็นผู้ต้องหาทางการเมือง และตราบใดที่ศาลยังไม่ตัดสิน ก็ถือว่ายังเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่
วันเดียวกัน ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล พล.ต.ต.เจตน์ มงคลหัตถี รอง ผบช.น. หัวหน้าคณะพนักงานสอบสวนคดีกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) ก่อเหตุจลาจลที่หน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ ได้เรียกประชุมพนักงานสอบสวนที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบความคืบหน้าทางคดีของ 15 แกนนำ นปก.ที่อยู่ระหว่างฝากขัง พร้อมเร่งรัดให้รวบรวมพยานหลักฐานอย่างแน่นหนาเพื่อดำเนินคดีต่อผู้ร่วมกระทำความผิดที่เหลือ โดยใช้เวลานานกว่า 1 ชั่วโมง
พ.ต.ต.เจตน์ กล่าวว่า ขณะนี้พนักงานสอบสวนกำลังรวบรวมพยานหลักฐานพร้อมตรวจสอบพฤติกรรมของกลุ่มผู้ชุมนุมที่เหลือ แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะมีการออกหมายจับใครเพิ่มเติมอีกหรือไม่ โดยจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนกระบวนการยุติธรรมกับแกนนำ 15 รายที่ถูกจับกุมก่อนหน้านี้ก่อน ซึ่งต้องให้แล้วเสร็จภายใน 28 ส.ค.นี้ ตามเวลาที่กำหนดไว้เพื่อสรุปสำนวนคดีส่งให้อัยการพิจารณาเสร็จสิ้น ภายใน 48 วัน อย่างไรก็ตาม ในการยื่นฝากขังครั้งที่สองกับแกนนำ นปก.ทั้งสองชุด นั้นพนักงานสอบสวนจะคัดค้านการประกันตัวแน่นอน
“ตำรวจมีพยานหลักฐานชัดเจนที่จะดำเนินคดีต่อผู้ชุมนุมที่ก่อการจลาจลอยู่แล้ว แต่ยังไม่ดำเนินการออกหมายจับใครในตอนนี้ ซึ่งการออกหมายจับต้องพิจารณาไปตามพยานหลักฐานว่า หากสาวไปถึงใคร ก็ต้องดำเนินคดี ตอนนี้ต้องเร่งดำเนินการในส่วนของแกนนำที่ถูกจับกุมก่อนหน้านี้ให้เสร็จสิ้นก่อน ส่วนคนอื่นนั้นสั่งการให้พนักงานสอบสวนเดินหน้ารวบรวมพยานหลักฐานให้ได้มากที่สุดก่อน"พล.ต.ต.เจตน์ กล่าว
สำหรับการรื้อเวทีปราศรัยบริเวณท้องสนามหลวงนั้น พล.ต.ต.เจตน์ กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้าไปเจรจากับกลุ่มผู้ชุมนุมแล้วว่าเป็นหลักฐานส่วนหนึ่งในการดำเนินคดีซึ่งผู้ชุมนุมก็เข้าใจและยอมที่จะรื้อเวทีดังกล่าว ในวันที่ 4 ส.ค. โดยสั่งการให้พนักงานสอบสวนได้บันทึกภาพเวทีปราศรัยไว้แล้วเพื่อใช้เป็นหลักฐานไม่น่ามีปัญหาอะไร และหากผู้ชุมนุมจะขออนุญาตตั้งเวทีปราศรัยใหม่ ก็สามารถทำได้แต่ต้องทำหนังสือผ่าน กทม.เพื่อความถูกต้องและคงต้องรอให้เสร็จสิ้นกิจกรรมวันแม่ 12 ส.ค.ไปก่อน
พล.ต.ต.จุตติ ธรรมโนวานิช รอง ผบช.น.ในฐานะ พนักงานสอบสวนกองบัญชาการตำรวจนครบาล ได้ยื่นคำร้องขออำนาจศาลฝากขังครั้งที่สอง 6 ผู้ต้องหาม็อบแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) ได้แก่ นายนพรุจ วรชิตวุฒิกุล อายุ 37 ปี แกนนำกลุ่มพิราบขาว 2006 นายบรรธง สมคำ อายุ 32 ปี นายวีระยุทธ เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา อายุ 44 ปี นายศราวุฒิ หลงเส็ง อายุ 25 ปี นายวีระศักดิ์ เหมะธุริน อายุ 57 ปี และนายวันชัย นาพุทธา อายุ 39 ปี ผู้ชุมนุมในกลุ่ม นปก. ที่ถูกจับกุมไปก่อนแกนนำทั้ง 9 คน โดยท้ายคำร้อง พนักงานสอบสวนยังขอคัดค้านการประกันตัว เพราะเกรงว่าผู้ต้องหาอาจหลบหนีหรือไปก่อเหตุอันตรายอื่นๆ หรือทำลายพยานหลักฐาน ข่มขู่พยาน ซึ่งผู้ต้องหาเหล่านี้อยู่ในกลุ่มแกนนำ นปก.ที่อาจไปร่วมชุมนุมปลุกระดมประชาชนทำให้เกิดความวุ่นวายได้
ต่อมาเมื่อเวลา 16.30 น. ที่ เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ ได้นำหมายปล่อยตัวจากศาลอาญาไปทำการปล่อยตัว นายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ และนพ.เหวง โตจิราการ สองแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) โดยทั้งคู่มีสีหน้ายิ้มแย้มโบกมือทักทาย และยกมือไหว้ขอบคุณกลุ่มญาติที่มารอรับ และกลุ่มผู้สนับสนุนอีกประมาณ 30 คนที่นำช่อดอกไม้มาให้กำลังใจ
นายมานิตย์ กล่าวให้สัมภาษณ์สั้นๆ ว่า จะขอต่อสู้คดีให้ถึงที่สุด ส่วนที่ขอประกันตัวออกมาเพียงแค่ 2 คน เพราะเป็นมติของกลุ่ม นปก.เนื่องจากต้องการให้พวกตนที่มีปัญหาด้านสุขภาพ ออกมาต่อสู้คดีนอกเรือนจำ สำหรับแกนนำที่เหลือจะยังไม่ประกันตัวเนื่องจากเชื่อว่าตัวเองเป็นผู้ต้องหาปลอม เพราะไม่ได้เซ็นรับทราบข้อกล่าวหา ส่วนตนยังมีอาการป่วยอยู่ ขอไปพักรักษาตัวสักระยะก่อนจะกลับมาร่วมหาแนวทางต่อสู้คดีต่อไป
ด้าน นพ.เหวง กล่าวให้สัมภาษณ์สั้นๆ เช่นกัน เนื่องจากเกรงว่าจะละเมิดอำนาจศาล โดยระบุจะเดินหน้าสร้างสรรค์ประชาธิปไตยต่อไป ส่วนจะดำเนินการอย่างไรต่อไปนั้น ขอปรึกษากับแนวร่วม นปก.อีกครั้ง ขณะนี้ตนป่วย มีอาการเป็นไข้หวัดและเจ็บคอ ส่วนทิศทางการต่อสู้ทางคดีต่อไปนั้น ยังคงให้นายมานิตย์ ดูและเรื่องข้อกฎหมาย ส่วนตนจะดูข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นการแบ่งหน้าที่ตามความถนัดของแต่ละคน
วานนี้ (3 ส.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น. ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก นางธิดาโตจิราการ และนางพัชรินทร์ จิตต์จันทร์กลับ ภรรยาของนพ.เหวง โตจิราการ และนายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ 2 ใน 8 แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) ซึ่งถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ตามคำร้องฝากขังของพนักงานสอบสวนกองบัญชาการตำรวจนครบาล ในข้อหามั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง และข้อหาสั่งการหรือยั่วยุปลุกระดมให้กลุ่มบุคคลกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองและขัดขืนคำสั่งเจ้าพนักงาน กรณีนำกลุ่มผู้ชุมนุมก่อความวุ่นวายที่บ้านสี่เสาเทเวศร์ เมื่อคืนวันที่ 22 ก.ค.ที่ผ่านมา ได้ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์เป็นเงินสดคนละ 2 แสนบาท เพื่อขอประกันตัวนายแพทย์เหวง และนายมานิตย์ ออกจากเรือนจำ
นางพัชรินทร์ กล่าวถึงสาเหตุที่ต้องยื่นขอประกันตัวสามีว่า นายมานิตย์ เริ่มประสบปัญหาด้านสุขภาพ เพราะทนต่อสภาพแวดล้อมภายในเรือนจำไม่ไหว ทางแกนนำทั้ง 8 คนจึงหารือร่วมกันและเห็นว่าควรให้สามีของตน และนายแพทย์เหวงซึ่งมีอายุมากแล้วยื่นขอประกันตัวเพื่ออกมาต่อสู้คดีภายนอกเรือนจำ
ต่อมา ศาลได้พิจารณาอนุญาตตามคำร้องขอปล่อยตัว นพ.เหวง โตจิราการ ผู้ต้องหาที่ 6 และนายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ ผู้ต้องหาที่ 9 ในความผิดฐานมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไปใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด ให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิกกระทำการดังกล่าวแล้วไม่เลิก และร่วมกันต่อสู่หรือขัดขวางเจ้าพนักงาน หรือผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานตามกฎหมายในการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย โดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป โดยตีหลักทรัพย์การประกันตัวเป็นเงินสดคนละ 200,000 บาท
ทั้งนี้ ศาลยังได้มีคำสั่งกำหนดเงื่อนไขห้าม ผู้ต้องหาทั้งสองคน ประพฤติตนตามลักษณะในคำร้องขอฝากขังอันนำไปสู่การกระทำความผิด ในทำนองเดียวกันอีก และห้ามให้ข่าวในลักษณะ ยั่วยุ ให้ประชาชนเข้าใจผิด เกิดความแตกแยกมิฉะนั้นจะถอนประกัน
ขณะเดียวกันที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร บรรดาญาติของแกนนำ นปก.ต่างทยอยกันเดินทางเข้าเยี่ยมให้กำลังใจกันตามปกติ โดยในวันนี้มีกลุ่มผู้ขับขี่รถแท็กซี่เอื้ออาทร ประมาณ 50 คน นำดอกกุหลาบเข้าร่วมให้กำลังใจ ส่วนมาตรการรักษาความปลอดภัยนั้น ในวันนี้เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์เข้มงวดเป็นพิเศษ หลังเมื่อวานที่ผ่านมา (2 ส.ค.) มีกระแสข่าวว่า กลุ่มผู้สนับสนุนจะเดินทางมากดดัน หากศาลไม่อนุญาตปล่อยตัว 8 แกนนำ โดยมีการประสานเจ้าหน้าที่คอมมานโด ของกรมราชทัณฑ์ 1 กองร้อย ตรึงกำลังโดยรอบ เพื่อป้องกันเหตุวุ่นวาย พร้อมกำหนดเวลาเยี่ยมแกนนำ นปก.ทั้ง 8 คน เหลือเพียง 2 รอบ ตั้งแต่เวลา 09.30-10.00 น.และเวลา 13.30-14.00 น. เท่านั้น
ต่อมา เมื่อเวลา 15.30 น. นายเจษฎา จันทร์ดี ทนายความผู้รับมอบอำนาจจากนายวีระ มุสิกพงศ์ กับพวกรวม 9 คน ได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอให้ศาลไต่สวนผู้ถูกคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมายและขอให้ศาลมีคำสั่งปล่อยตัวผู้ถูกคุมขังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญามาตรา 90 พร้อมทั้งยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งไต่สวนเป็นการด่วนและขอให้เบิกตัวผู้ถูกคุมขังทั้ง 8 คนจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพเพื่อไต่สวน
โดยคำอุทธรณ์มีเนื้อหารวม 20 หน้า สรุปว่าผู้ถูกคุมขังที่ 1-7 และ 9 ยืนยันไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 2 ส.ค.50 เพราะยังคลาดเคลื่อนกับข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายหลายประการ ผู้ถูกคุมขัง 1-7 และ 9 จึงขออุทธรณ์ 7 ประเด็นดังนี้ 1. การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย โดยดำเนินกระบวนพิจารณาและมีคำสั่งที่ผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 และ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 เพราะไม่ได้มีการไต่สวนผู้ถูกคุมขังตามที่กำหนดไว้ใน ป.วิอาญา ม.90
โดยเมื่อวันที่ 2 ส.ค. ศาลชั้นต้นเพียงสอบถามทนายผู้ถูกคุมขังถึงจำนวนคำร้องที่ยื่นต่อศาลเท่านั้น ไม่ได้เป็นการไต่สวนผู้ถูกคุมขังแต่อย่างใด 2. การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าผู้ถูกคุมขังซึ่งตกเป็นผู้ต้องหาได้ลงลายมือชื่อรับทราบกระบวนพิจารณาของศาลเมื่อวันที่ 25 ก.ค.50 ถึงการขอออกหมายจับนั้น ในข้อเท็จจริงผู้ถูกคุมขังยืนยันว่าในข้อตกลงการเข้าพบพนักงานสอบสวนต่อหน้าศาลจะได้รับการปล่อยตัวไป แต่ต่อมาศาลมีคำสั่งออกหมายขังตามคำร้องของพนักงานสอบสวนจึงถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่สุจริตและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งใช้ศาลเป็นเครื่องมือ
3.การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าการที่ผู้ถูกคุมขังเข้าพบพนักงานสอบสวนเมื่อวันที่ 26 ก.ค.50 นั้นถือว่าได้มีการแจ้งข้อหาให้ทราบแล้วนั้น ผู้ถูกคุมขังยืนยันว่าการเข้าพบพนักงานสอบสวนเป็นไปตามข้อตกลงและตามคำสั่งที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาในการไต่สวนคำร้องขอออกหมายจับเท่านั้น นอกจากนี้ศาลไม่ใช่สถานที่ที่จะใช้เป็นที่รับแจ้งข้อกล่าวหาหรือจับกุมผู้ถูกคุมขังไว้ กรณีนี้จึงเป็นการกระทำไม่ชอบด้วยกฎหมายและขัดต่อข้อบังคับของประธานศาลฎีกา พ.ศ.2548
4.การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคดียังอยู่ระหว่างการฝากขัง ซึ่งจะต้องพิสูจน์กันในชั้นพิจารณาว่าผู้ถูกคุมขังกระทำความผิดหรือไม่ เห็นว่าเมื่อผู้ถูกคุมขังทั้งหมดไม่มีพฤติการณ์หลบหนีหรือไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานหรือก่อเหตุอันตรายอื่นใด จึงแสดงให้เห็นว่าผู้ถูกคุมขังไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิดตามที่พนักงานสอบสวนตั้งข้อกล่าวหาเพื่อขอออกหมายจับแต่อย่างใด กรณีจึงเป็นการนำความเท็จมากล่าวอ้างต่อศาลโดยมีเจตนาให้ต้องถูกคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
5.การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าความผิดที่พนักงานสอบสวนแจ้งมีอัตราโทษสูงเกิน 3 ปี จึงถือเป็นความผิดอาญาร้ายแรงที่ศาลใช้ดุลยพินิจออกหมายขังได้ตาม ป.วิอาญา มาตรา 71 และ 66 นั้น ผู้ถูกคุมขังเห็นว่าข้อกล่าวหาตามที่พนักงานสอบสวนอ้างนั้น กฎหมายบัญญัติอัตราโทษขั้นสูงไม่เกิน 5 ปีเท่านั้น โดยไม่ได้บัญญัติอัตราโทษขั้นต่ำไว้ ประกอบกับพฤติการณ์แห่งคดีไม่ใช่คดีอุกฉกรรจ์ ซึ่งผู้ถูกคุมขังเป็นผู้ที่ทำคุณงามความดีให้แก่ประเทศชาติมานาน ไม่เป็นผู้มีอิทธิพลใดๆ อีกทั้งการชุมนุมดังกล่าวเป็นการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองโดยสงบปราศจากอาวุธอันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนกระทำได้ตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้นความผิดตามข้อกล่าวหาจึงไม่ได้เป็นความผิดร้ายแรงดังที่ศาลวินิจฉัย
6.ประเด็นที่ศาลวินิจฉัยว่าศาลออกหมายขังได้ตาม ป.วิอาญามาตรา 71 และ 66 นั้นผู้ถูกคุมขังยืนยันว่าแม้กฎหมายจะให้ศาลมีอำนาจออกหมายขัง แต่การใช้ดุลยพินิจตาม ป.วิอาญา มาตรา 71 ศาลจะต้องพิจารณาถึงเหตุการณ์ออกหมายจับตามมาตรา 66 ก่อน ซึ่งเมื่อพนักงานสอบสวนยืนยันต่อศาลว่าการชุมนุมไม่ได้เป็นความผิดตามกฎหมายและผู้ถูกคุมขังไม่ได้เป็นผู้กระทำผิด อีกทั้งผู้ถูกคุมขังไม่มีพฤติการณ์หลบหนี หรือไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานหรือก่อเหตุอันตรายอื่นใด จึงแสดงให้เห็นว่าพฤติการณ์ของผู้ถูกคุมขังทั้งหมดไม่มีเหตุขอให้ศาลออกหมายจับได้ตาม ป.วิอาญา มาตรา 66 ดังนั้นคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ควบคุมผู้ถูกคุมขังทั้งหมดจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
และ 7.เมื่อรายงานกระบวนพิจารณาคดีดำที่ พ.1650/2550 ลงวันที่ 25 ก.ค.50 พนักงานสอบสวนอ้างเหตุการณ์ควบคุมตัวว่าจำเป็นต้องพิมพ์ลายนิ้วมือและลงบันทึกประจำวัน โดยพนักงานสอบสวนยังยืนยันข้อเท็จจริงในคำร้องว่าจะขอส่งตัวผู้ถูกคุมขังคืนศาล จึงแสดงให้เห็นว่าไม่มีเหตุจำเป็นหรือพฤติการณ์อื่นใดที่จะควบคุมตัวผู้ถูกคุมขังทั้งหมดไว้ในระหว่างการสอบสวนอีกต่อไป ดังนั้นการคุมขังหลังจากที่ได้ดำเนินการพิมพ์ลายนิ้วมือและลงบันทึกประจำวันแล้วจึงเป็นการคุมขังที่เกินกว่าความจำเป็นตามพฤติการณ์แห่งคดีในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 87 วรรคแรก
ด้วยเหตุผลข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายดังกล่าว ผู้ถูกคุมขังจึงขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งกลับคำสั่งศาลชั้นต้น โดยให้เพิกถอนหมายขังที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และมีคำสั่งให้ออกหมายปล่อยตัวผู้ถูกคุมขังทั้งหมดเป็นการด่วนต่อไปทันที โดยไม่ต้องไต่สวนผู้ถูกคุมขังทั้งหมดอีกตาม ป.วิอาญา มาตรา 90 อย่างไรก็ตาม ศาลได้รับคำร้องไว้เพื่อดำเนินการส่งศาลอุทธรณ์พิจารณาต่อไป
นายจรัล ดิษฐาอภิชัย หนึ่งในแกนนำ นปก.ที่ได้รับการประกันตัวไปก่อนหน้านี้ เผยว่า เมื่อศาลชั้นต้นยกคำร้องก็ต้องยื่นอุทธรณ์ต่อไป ซึ่งเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย และตนได้ติดต่อกับนายนัทธี จิตสว่าง อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เพื่อประสานขอไม่ให้แยกคุมขังแกนนำทั้ง 8 คน แต่จะจัดให้คุมขังในแดนไหนก็ได้ และต้องปฏิบัติต่อผู้ต้องขังให้ดี เพราะแกนนำทั้ง 8 คน เป็นผู้ต้องหาทางการเมือง และตราบใดที่ศาลยังไม่ตัดสิน ก็ถือว่ายังเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่
วันเดียวกัน ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล พล.ต.ต.เจตน์ มงคลหัตถี รอง ผบช.น. หัวหน้าคณะพนักงานสอบสวนคดีกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) ก่อเหตุจลาจลที่หน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ ได้เรียกประชุมพนักงานสอบสวนที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบความคืบหน้าทางคดีของ 15 แกนนำ นปก.ที่อยู่ระหว่างฝากขัง พร้อมเร่งรัดให้รวบรวมพยานหลักฐานอย่างแน่นหนาเพื่อดำเนินคดีต่อผู้ร่วมกระทำความผิดที่เหลือ โดยใช้เวลานานกว่า 1 ชั่วโมง
พ.ต.ต.เจตน์ กล่าวว่า ขณะนี้พนักงานสอบสวนกำลังรวบรวมพยานหลักฐานพร้อมตรวจสอบพฤติกรรมของกลุ่มผู้ชุมนุมที่เหลือ แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะมีการออกหมายจับใครเพิ่มเติมอีกหรือไม่ โดยจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนกระบวนการยุติธรรมกับแกนนำ 15 รายที่ถูกจับกุมก่อนหน้านี้ก่อน ซึ่งต้องให้แล้วเสร็จภายใน 28 ส.ค.นี้ ตามเวลาที่กำหนดไว้เพื่อสรุปสำนวนคดีส่งให้อัยการพิจารณาเสร็จสิ้น ภายใน 48 วัน อย่างไรก็ตาม ในการยื่นฝากขังครั้งที่สองกับแกนนำ นปก.ทั้งสองชุด นั้นพนักงานสอบสวนจะคัดค้านการประกันตัวแน่นอน
“ตำรวจมีพยานหลักฐานชัดเจนที่จะดำเนินคดีต่อผู้ชุมนุมที่ก่อการจลาจลอยู่แล้ว แต่ยังไม่ดำเนินการออกหมายจับใครในตอนนี้ ซึ่งการออกหมายจับต้องพิจารณาไปตามพยานหลักฐานว่า หากสาวไปถึงใคร ก็ต้องดำเนินคดี ตอนนี้ต้องเร่งดำเนินการในส่วนของแกนนำที่ถูกจับกุมก่อนหน้านี้ให้เสร็จสิ้นก่อน ส่วนคนอื่นนั้นสั่งการให้พนักงานสอบสวนเดินหน้ารวบรวมพยานหลักฐานให้ได้มากที่สุดก่อน"พล.ต.ต.เจตน์ กล่าว
สำหรับการรื้อเวทีปราศรัยบริเวณท้องสนามหลวงนั้น พล.ต.ต.เจตน์ กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้าไปเจรจากับกลุ่มผู้ชุมนุมแล้วว่าเป็นหลักฐานส่วนหนึ่งในการดำเนินคดีซึ่งผู้ชุมนุมก็เข้าใจและยอมที่จะรื้อเวทีดังกล่าว ในวันที่ 4 ส.ค. โดยสั่งการให้พนักงานสอบสวนได้บันทึกภาพเวทีปราศรัยไว้แล้วเพื่อใช้เป็นหลักฐานไม่น่ามีปัญหาอะไร และหากผู้ชุมนุมจะขออนุญาตตั้งเวทีปราศรัยใหม่ ก็สามารถทำได้แต่ต้องทำหนังสือผ่าน กทม.เพื่อความถูกต้องและคงต้องรอให้เสร็จสิ้นกิจกรรมวันแม่ 12 ส.ค.ไปก่อน
พล.ต.ต.จุตติ ธรรมโนวานิช รอง ผบช.น.ในฐานะ พนักงานสอบสวนกองบัญชาการตำรวจนครบาล ได้ยื่นคำร้องขออำนาจศาลฝากขังครั้งที่สอง 6 ผู้ต้องหาม็อบแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) ได้แก่ นายนพรุจ วรชิตวุฒิกุล อายุ 37 ปี แกนนำกลุ่มพิราบขาว 2006 นายบรรธง สมคำ อายุ 32 ปี นายวีระยุทธ เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา อายุ 44 ปี นายศราวุฒิ หลงเส็ง อายุ 25 ปี นายวีระศักดิ์ เหมะธุริน อายุ 57 ปี และนายวันชัย นาพุทธา อายุ 39 ปี ผู้ชุมนุมในกลุ่ม นปก. ที่ถูกจับกุมไปก่อนแกนนำทั้ง 9 คน โดยท้ายคำร้อง พนักงานสอบสวนยังขอคัดค้านการประกันตัว เพราะเกรงว่าผู้ต้องหาอาจหลบหนีหรือไปก่อเหตุอันตรายอื่นๆ หรือทำลายพยานหลักฐาน ข่มขู่พยาน ซึ่งผู้ต้องหาเหล่านี้อยู่ในกลุ่มแกนนำ นปก.ที่อาจไปร่วมชุมนุมปลุกระดมประชาชนทำให้เกิดความวุ่นวายได้
ต่อมาเมื่อเวลา 16.30 น. ที่ เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ ได้นำหมายปล่อยตัวจากศาลอาญาไปทำการปล่อยตัว นายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ และนพ.เหวง โตจิราการ สองแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) โดยทั้งคู่มีสีหน้ายิ้มแย้มโบกมือทักทาย และยกมือไหว้ขอบคุณกลุ่มญาติที่มารอรับ และกลุ่มผู้สนับสนุนอีกประมาณ 30 คนที่นำช่อดอกไม้มาให้กำลังใจ
นายมานิตย์ กล่าวให้สัมภาษณ์สั้นๆ ว่า จะขอต่อสู้คดีให้ถึงที่สุด ส่วนที่ขอประกันตัวออกมาเพียงแค่ 2 คน เพราะเป็นมติของกลุ่ม นปก.เนื่องจากต้องการให้พวกตนที่มีปัญหาด้านสุขภาพ ออกมาต่อสู้คดีนอกเรือนจำ สำหรับแกนนำที่เหลือจะยังไม่ประกันตัวเนื่องจากเชื่อว่าตัวเองเป็นผู้ต้องหาปลอม เพราะไม่ได้เซ็นรับทราบข้อกล่าวหา ส่วนตนยังมีอาการป่วยอยู่ ขอไปพักรักษาตัวสักระยะก่อนจะกลับมาร่วมหาแนวทางต่อสู้คดีต่อไป
ด้าน นพ.เหวง กล่าวให้สัมภาษณ์สั้นๆ เช่นกัน เนื่องจากเกรงว่าจะละเมิดอำนาจศาล โดยระบุจะเดินหน้าสร้างสรรค์ประชาธิปไตยต่อไป ส่วนจะดำเนินการอย่างไรต่อไปนั้น ขอปรึกษากับแนวร่วม นปก.อีกครั้ง ขณะนี้ตนป่วย มีอาการเป็นไข้หวัดและเจ็บคอ ส่วนทิศทางการต่อสู้ทางคดีต่อไปนั้น ยังคงให้นายมานิตย์ ดูและเรื่องข้อกฎหมาย ส่วนตนจะดูข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นการแบ่งหน้าที่ตามความถนัดของแต่ละคน