ผู้จัดการรายวัน - บล.ทรีนิตี้ ส่งสัญญาณเทกโอเวอร์กิจการบล.ไอ วี โกลบอล หวังเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดและฐานลูกค้า ขณะที่ "กิมเอ็งฯ-ซิกโก้" ใกล้ปิดดีล สวนทางดีล "ไซรัส-ซีมิโก้" ที่ต้องเลื่อน หลังภาวะตลาดดีขึ้นทำให้ต้นทุนซื้อกิจการเพิ่มขึ้น ระบุสาเหตุโบรกเกอร์แห่ครบรวมกิจการหวังโยกเงิน ซ้อนแผนสั่งจ่ายปันผลเต็มก้อนหวังถอนทุนคืน ด้านบิ๊กไซรัส เผยรุกตปท.จับมือพันธมิตรสิงคโปร์เปิดสาขาที่ดูไบ หวังดึงเงินตะวันออกกลางเข้ามาลงทุนหุ้นไทย เชื่อครึ่งปีหลังพลิกขาดทุนเป็นกำไรหลังภาวะตลาดหุ้นดีขึ้น
แหล่งข่าวผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กล่าวถึง สถานการณ์ของบริษัทหลักทรัพย์ในช่วงที่ใกล้จะมีการเปิดเสรีค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหลักทรัพย์ และค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ว่า บริษัทหลักทรัพย์หลายแห่งต้องเร่งปรับตัวหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มช่องทางการหารายได้ให้มากขึ้น จากปัจจุบันที่รายได้ส่วนใหญ่มาจากด้านค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหลักทรัพย์
โดยแนวทางการปรับตัวรูปแบบหนึ่งที่มีสัญญาณให้เห็นในช่วงที่ผ่านมา คือ การควบรวมกิจการของบริษัทหลักทรัพย์ เพื่อขยายฐานลูกค้าและเพิ่มส่วนแบ่งการตลาด (มาร์เกตแชร์) มากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมามีกระแสข่าวการควบรวมกิจการของ บล. ซีมิโก้ และบล.ไซรัส แต่ยังมีข้อมูลบางอย่างไม่สามารถตกลงกันได้ ทำให้ต้องเลื่อนแผนการรวมกิจการออกไปก่อน ขณะที่การควบรวมกิจการระหว่างบล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) กับบล.ซิกโก้ คาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็วๆ นี้ และล่าสุดได้มีกระแสข่าวบล.ทรีนิตี้ สนใจที่จะเข้าไปเทกโอเวอร์กิจการของบล.ไอ วี โกลบอล จำกัด (มหาชน) (เดิมบล.อินเทลวิชั่น)
"แนวโน้มการควบรวมกิจการบล. อาจจะมีออกมาเป็นระลอก โดยประเด็นสำคัญในการซื้อบริษัท เนื่องจากบล.มีเงินสดสูงเกินความจำเป็น หากานำไปลงทุนในพอร์ตลงทุนอาจจะมีความเสี่ยง แม้ว่าจะสามารถสร้างผลตอบแทนได้ดี ขณะที่การเข้าซื้อกิจการบล. นอกจากเป็นการเพิ่มมาร์เกตแชร์แล้ว ยังเป็นการโยกเงินออกจากบริษัท ซึ่งแม้ว่าในขั้นตอนซื้อจะมีราคาสูงแต่บริษัทสามารถทำให้ต้นทุนในการซื้อต่ำลงได้จากการอนุมัติให้มีการจ่ายเงินปันผลคืนนั้นคือวิธีการหนึ่งที่นอกเหนือจากบริษัทหลักทรัพย์ที่จะควบรวมกิจการเลือกที่จะทำแล้วบริษัทในธุรกิจอื่นก็นิยมทำในลักษณะเดียวกัน"
อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากการซื้อบริษัทด้วยต้นทุนต่ำด้วยกลยุทธ์การให้จ่ายเงินปันผลคืนในสัดส่วนที่สูงแล้ว รายรับที่จะได้จากการขายใบอนุญาตที่ทับซ้อนกันยิ่งทำให้ต้นทุนในการซื้อกิจการของบริษัทที่มีเงินทุนเพียงพอต่ำลงไปอีก
แหล่งข่าวเจ้าหน้าที่การตลาดบริษัทหลักทรัพย์ ซิกโก้ กล่าวว่า ช่วงที่ผ่านมามีกระแสข่าวการควบรวมระหว่างบริษัทกับบล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) อยู่ค่อนข้างมาก ทำให้พนักงานจำนวนหนึ่งเริ่มมีการหันไปเจรจาเพื่อขอย้ายไปทำงานให้กับบริษัทหลักทรัพย์อื่นเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดการควบรวม โดยเฉพาะเรื่องของการปลดพนักงาน เนื่องจากหลังการควบรวมจะมีการทับซ้อนกันในหลายกรณี
ทั้งนี้ การควบรวมกิจการของบริษัทหลักทรัพย์เชื่อว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้ถือหุ้นใหญ่เดิมต้องการถอนเงินลงทุนคืน เนื่องจากหากเปิดเสรีจะทำให้บริษัทหลักทรัพย์ขนาดเล็กที่มีอยู่จำนวนมากในปัจจุบันต้องประสบภาวะไม่สามารถแข่งขันได้อย่างแน่นอน โดยมีกระแสข่าวออกมาโดยตลอดว่าบริษัทหลักทรัพย์หลายแห่งสนใจที่จะขายใบอนุญาตโดยเฉพาะด้านนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์เพราะเชื่อว่าจะไม่สามารถแข่งขันได้เมื่อเปิดเสรีค่าคอมมิสชั่นขึ้นในอนาคต
**ไซรัสยันยังไม่จำเป็นต้องควบ
นายทรงศักดิ์ โชคอุดมมั่น ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์(บล.) ไซรัส จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทได้ทำธุรกิจร่วมกับกลุ่มแม็คมิเลี่ยนซึ่งเป็นสถาบันการเงินจากสิงคโปร์ค์โดยการจัดตั้งบริษัทหลักทรัพย์เพื่อทำธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ที่ดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ในช่วงไตรมาส1/50 โดยบล.ไซรัสถือหุ้นในสัดส่วน 4-5% ของทุนจดทะเบียนรวม 11 ล้านเหรียญสหรัฐฯหรือใช้เงินลงทุนจำนวน 5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ
ทั้งนี้การที่ไปตั้งบริษัทหลักทรัพย์ที่ดูไบนั้นเนื่องจากเมืองดังกล่าวเป็นศูนย์กลางการลงทุนของตะวันออกกลาง และมีแนวโน้มว่าตลาดการลงทุนจะคึกคักขึ้นต่อเนื่อง ขณะเดียวกันหากกลุ่มลูกค้าที่ดูไบสนใจลงทุนในตลาดหุ้นไทย บริษัทก็จะได้ลูกค้าจากส่วนนี้เพิ่มขึ้นด้วย
"บริษัทเริ่มขยายการลงทุนออกไปต่างประเทศบ้างแล้ว โดยจัดตั้งโบรกเกอร์ที่ดูไบ ในไตรมาส1/50 ซึ่ง นายอนุชา สิหนาทกถางกุล รองประธานกรรมการ บล.ไซรัส เป็นผู้ติดต่อกับทางกลุ่มแม็คมิเลี่ยนให้ ซึ่งเราก็มองว่าเป็นจังหวะดีที่จะขยายการลงทุนออกไปต่างประเทศ โดยดูไบถือเป็นเมืองที่ตลาดการลงทุนคึกคัก และถ้าลูกค้ากลุ่มนี้สนใจลงทุนในหุ้นไทย "นายทรงศักดิ์กล่าว
สำหรับผลการดำเนินงานในช่วงในครึ่งปีหลังนั้น บริษัทคาดว่าจะสามารถพลิกกลับมามีกำไรได้หลังจากภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทยเริ่มปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับที่ผ่านมาบริษัทได้ลดต้นทุนการดำเนินงานลงอย่างต่อเนื่อง ด้วยการปิดสาขาที่อำเภอหาดใหญ่ลง รวมทั้งปรับรูปแบบสาขาที่จังหวัดภูเก็ตเป็นสาขาออนไลน์ เป็นต้น
นอกจากนี้บริษัทมีกำไรจากพอร์ตการลงทุนระยะสั้นรวมแล้วประมาณ 4 ล้านบาท และได้รับผลตอบแทนจากพอร์ตการลงทุนที่ลงผ่านบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) ด้วย ซึ่งผลตอบแทนก็อยู่ในระดับสูง โดยในปีนี้บริษัทคาดว่าจะมีส่วนแบ่งการตลาด(มาร์เก็ตแชร์) ในปีนี้ไว้ที่ 1.2% จากขณะนี้ที่มี 0.8-0.9% โดยมาร์เกตแชร์ที่เพิ่มขึ้นเกิดจากบริษัทจะเน้นเพิ่มสัดส่วนผู้ลงทุนสถาบัน ซึ่งที่ผ่านมาลูกค้าดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มจากระดับ 8-9% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมดมาอยู่ที่ 10% กว่าของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมด โดยขณะนี้มีบลจ.ที่ส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์อย่างสม่ำเสมอกับบล.ไซรัสจำนวน 3-4 ราย จากทั้งหมดที่มีลูกค้าบลจ.อยู่9 ราย
นายทรงศักดิ์ กล่าวถึงกระแสการควบรวมกิจการระหว่าง บล.ไซรัส กับ บล.ซีมิโก้ ว่าเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้ถือหุ้น โดยดูจากภาวะตลาดหุ้นโดยรวมที่เริ่มกลับมาคึกคักนั้น ยังไม่เห็นความจำเป็นที่ต้องควบรวมกิจการกัน เพราะหากมีการควบรวมกันจริงก็มีเรื่องต้นทุนเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งยังต้องลดพนักงานบางส่วนลงอีก ซึ่งดูแล้วอาจยังไม่ใช่จังหวะที่เหมาะสมในการควบรวมกิจการกัน
แหล่งข่าวผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กล่าวถึง สถานการณ์ของบริษัทหลักทรัพย์ในช่วงที่ใกล้จะมีการเปิดเสรีค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหลักทรัพย์ และค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ว่า บริษัทหลักทรัพย์หลายแห่งต้องเร่งปรับตัวหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มช่องทางการหารายได้ให้มากขึ้น จากปัจจุบันที่รายได้ส่วนใหญ่มาจากด้านค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหลักทรัพย์
โดยแนวทางการปรับตัวรูปแบบหนึ่งที่มีสัญญาณให้เห็นในช่วงที่ผ่านมา คือ การควบรวมกิจการของบริษัทหลักทรัพย์ เพื่อขยายฐานลูกค้าและเพิ่มส่วนแบ่งการตลาด (มาร์เกตแชร์) มากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมามีกระแสข่าวการควบรวมกิจการของ บล. ซีมิโก้ และบล.ไซรัส แต่ยังมีข้อมูลบางอย่างไม่สามารถตกลงกันได้ ทำให้ต้องเลื่อนแผนการรวมกิจการออกไปก่อน ขณะที่การควบรวมกิจการระหว่างบล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) กับบล.ซิกโก้ คาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็วๆ นี้ และล่าสุดได้มีกระแสข่าวบล.ทรีนิตี้ สนใจที่จะเข้าไปเทกโอเวอร์กิจการของบล.ไอ วี โกลบอล จำกัด (มหาชน) (เดิมบล.อินเทลวิชั่น)
"แนวโน้มการควบรวมกิจการบล. อาจจะมีออกมาเป็นระลอก โดยประเด็นสำคัญในการซื้อบริษัท เนื่องจากบล.มีเงินสดสูงเกินความจำเป็น หากานำไปลงทุนในพอร์ตลงทุนอาจจะมีความเสี่ยง แม้ว่าจะสามารถสร้างผลตอบแทนได้ดี ขณะที่การเข้าซื้อกิจการบล. นอกจากเป็นการเพิ่มมาร์เกตแชร์แล้ว ยังเป็นการโยกเงินออกจากบริษัท ซึ่งแม้ว่าในขั้นตอนซื้อจะมีราคาสูงแต่บริษัทสามารถทำให้ต้นทุนในการซื้อต่ำลงได้จากการอนุมัติให้มีการจ่ายเงินปันผลคืนนั้นคือวิธีการหนึ่งที่นอกเหนือจากบริษัทหลักทรัพย์ที่จะควบรวมกิจการเลือกที่จะทำแล้วบริษัทในธุรกิจอื่นก็นิยมทำในลักษณะเดียวกัน"
อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากการซื้อบริษัทด้วยต้นทุนต่ำด้วยกลยุทธ์การให้จ่ายเงินปันผลคืนในสัดส่วนที่สูงแล้ว รายรับที่จะได้จากการขายใบอนุญาตที่ทับซ้อนกันยิ่งทำให้ต้นทุนในการซื้อกิจการของบริษัทที่มีเงินทุนเพียงพอต่ำลงไปอีก
แหล่งข่าวเจ้าหน้าที่การตลาดบริษัทหลักทรัพย์ ซิกโก้ กล่าวว่า ช่วงที่ผ่านมามีกระแสข่าวการควบรวมระหว่างบริษัทกับบล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) อยู่ค่อนข้างมาก ทำให้พนักงานจำนวนหนึ่งเริ่มมีการหันไปเจรจาเพื่อขอย้ายไปทำงานให้กับบริษัทหลักทรัพย์อื่นเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดการควบรวม โดยเฉพาะเรื่องของการปลดพนักงาน เนื่องจากหลังการควบรวมจะมีการทับซ้อนกันในหลายกรณี
ทั้งนี้ การควบรวมกิจการของบริษัทหลักทรัพย์เชื่อว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้ถือหุ้นใหญ่เดิมต้องการถอนเงินลงทุนคืน เนื่องจากหากเปิดเสรีจะทำให้บริษัทหลักทรัพย์ขนาดเล็กที่มีอยู่จำนวนมากในปัจจุบันต้องประสบภาวะไม่สามารถแข่งขันได้อย่างแน่นอน โดยมีกระแสข่าวออกมาโดยตลอดว่าบริษัทหลักทรัพย์หลายแห่งสนใจที่จะขายใบอนุญาตโดยเฉพาะด้านนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์เพราะเชื่อว่าจะไม่สามารถแข่งขันได้เมื่อเปิดเสรีค่าคอมมิสชั่นขึ้นในอนาคต
**ไซรัสยันยังไม่จำเป็นต้องควบ
นายทรงศักดิ์ โชคอุดมมั่น ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์(บล.) ไซรัส จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทได้ทำธุรกิจร่วมกับกลุ่มแม็คมิเลี่ยนซึ่งเป็นสถาบันการเงินจากสิงคโปร์ค์โดยการจัดตั้งบริษัทหลักทรัพย์เพื่อทำธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ที่ดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ในช่วงไตรมาส1/50 โดยบล.ไซรัสถือหุ้นในสัดส่วน 4-5% ของทุนจดทะเบียนรวม 11 ล้านเหรียญสหรัฐฯหรือใช้เงินลงทุนจำนวน 5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ
ทั้งนี้การที่ไปตั้งบริษัทหลักทรัพย์ที่ดูไบนั้นเนื่องจากเมืองดังกล่าวเป็นศูนย์กลางการลงทุนของตะวันออกกลาง และมีแนวโน้มว่าตลาดการลงทุนจะคึกคักขึ้นต่อเนื่อง ขณะเดียวกันหากกลุ่มลูกค้าที่ดูไบสนใจลงทุนในตลาดหุ้นไทย บริษัทก็จะได้ลูกค้าจากส่วนนี้เพิ่มขึ้นด้วย
"บริษัทเริ่มขยายการลงทุนออกไปต่างประเทศบ้างแล้ว โดยจัดตั้งโบรกเกอร์ที่ดูไบ ในไตรมาส1/50 ซึ่ง นายอนุชา สิหนาทกถางกุล รองประธานกรรมการ บล.ไซรัส เป็นผู้ติดต่อกับทางกลุ่มแม็คมิเลี่ยนให้ ซึ่งเราก็มองว่าเป็นจังหวะดีที่จะขยายการลงทุนออกไปต่างประเทศ โดยดูไบถือเป็นเมืองที่ตลาดการลงทุนคึกคัก และถ้าลูกค้ากลุ่มนี้สนใจลงทุนในหุ้นไทย "นายทรงศักดิ์กล่าว
สำหรับผลการดำเนินงานในช่วงในครึ่งปีหลังนั้น บริษัทคาดว่าจะสามารถพลิกกลับมามีกำไรได้หลังจากภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทยเริ่มปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับที่ผ่านมาบริษัทได้ลดต้นทุนการดำเนินงานลงอย่างต่อเนื่อง ด้วยการปิดสาขาที่อำเภอหาดใหญ่ลง รวมทั้งปรับรูปแบบสาขาที่จังหวัดภูเก็ตเป็นสาขาออนไลน์ เป็นต้น
นอกจากนี้บริษัทมีกำไรจากพอร์ตการลงทุนระยะสั้นรวมแล้วประมาณ 4 ล้านบาท และได้รับผลตอบแทนจากพอร์ตการลงทุนที่ลงผ่านบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) ด้วย ซึ่งผลตอบแทนก็อยู่ในระดับสูง โดยในปีนี้บริษัทคาดว่าจะมีส่วนแบ่งการตลาด(มาร์เก็ตแชร์) ในปีนี้ไว้ที่ 1.2% จากขณะนี้ที่มี 0.8-0.9% โดยมาร์เกตแชร์ที่เพิ่มขึ้นเกิดจากบริษัทจะเน้นเพิ่มสัดส่วนผู้ลงทุนสถาบัน ซึ่งที่ผ่านมาลูกค้าดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มจากระดับ 8-9% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมดมาอยู่ที่ 10% กว่าของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมด โดยขณะนี้มีบลจ.ที่ส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์อย่างสม่ำเสมอกับบล.ไซรัสจำนวน 3-4 ราย จากทั้งหมดที่มีลูกค้าบลจ.อยู่9 ราย
นายทรงศักดิ์ กล่าวถึงกระแสการควบรวมกิจการระหว่าง บล.ไซรัส กับ บล.ซีมิโก้ ว่าเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้ถือหุ้น โดยดูจากภาวะตลาดหุ้นโดยรวมที่เริ่มกลับมาคึกคักนั้น ยังไม่เห็นความจำเป็นที่ต้องควบรวมกิจการกัน เพราะหากมีการควบรวมกันจริงก็มีเรื่องต้นทุนเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งยังต้องลดพนักงานบางส่วนลงอีก ซึ่งดูแล้วอาจยังไม่ใช่จังหวะที่เหมาะสมในการควบรวมกิจการกัน