ป.ป.ช.จัดเวทีระดมความเห็นทำยุทธศาสตร์ป้องกันและปราบปรามการทุจริต “ปานเทพ” วอนทุกฝ่ายช่วยกันกวาดล้างทุจริตให้หมดสิ้นแผ่นดินไทย เทิดไท้องค์ราชัน “กล้านรงค์” ชี้สื่อที่เป็นองค์กรตรวจสอบทำงานไม่เต็มที่ เพราะเจอฟ้องหมิ่นประมาท และฟ้องแพ่งเรียกค่าเสียหาย “จรัญ” ย้ำสังคมไทยถูกครอบงำด้วยระบบธนบัตรนิยม ชี้หากได้ผู้นำฉ้อฉลประเทศชาติล่มจมเหมือนถูกผีปอบเข้าสิง
วานนี้ (23ก.ค.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จัดการสัมมนาการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต โดยมี นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี กล่าวบรรยายพิเศษเรื่อง “การสร้างจิตสำนึกและคุณธรรมในสังคมไทย” และคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะตัวแทนนายกรัฐมนตรี รวมทั้งตัวแทนจากภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประมาณ 500 คน
นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธาน ป.ป.ช. กล่าวว่า ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น ซับซ้อน และมีมากขึ้นเป็นขบวนการ หาก ป.ป.ช. ยังจมอยู่ในวิธีการเดิมๆ คงทำให้การป้องกันและปราบปรามการทุจริตสำเร็จได้ยาก ดังนั้น ต้องดำเนินยุทธศาสตร์และการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ ได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย
ทั้งนี้ การป้องกันและปราบปรามการทุจริต คือ ภารกิจหลักของชาติที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันและยึดเป็นวาระแห่งชาติ ตามคำปฏิญาณที่ว่า "เราจะช่วยกันดำเนินการล้างทุจริตให้สิ้นแผ่นดินไทย เพื่อเทิดไท้องค์ราชัน" โดยจะทำด้านการป้องกันและปราบปรามคู่ขนานกันไป จะต้องปลูกฝังจิตสำนึก สร้างทัศนคติ ค่านิยม ในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต ส่งเสริมคนดีให้ปรากฏในสังคมอย่างเป็นรูปธรรม และน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมายึดถือ และเห็นว่าปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นเกิดจากปัญหาด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และทัศนคติ อีกทั้งการถูกแทรกแซงและปัญหาความยากจนของประเทศ
*** สื่อถูกทำลายการตรวจสอบ
นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการ ป.ป.ช. กล่าวในการสัมมนาว่า ในปัจจุบันองค์กรการตรวจสอบถูกแทรกแซง อาทิ สื่อมวลชนถูกแทรกแซง โดยการซื้อสื่อ หรือสกัดไม่ให้ทำข่าวเชิงสืบสวนโดยการใช้กฎหมายหมิ่นประมาท ซึ่งแท้จริงแล้วกฎหมายดังกล่าวใช้ปกป้องคุ้มครองคนดี แต่ในขณะเดียวกัน มีการนำกฎหมายดังกล่าวมาปิดปาก สกัดการตรวจสอบ โดยฟ้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่ง ฟ้องร้องหมิ่นประมาททางอาญา ขณะที่นักวิชาการหลายคน ที่ทำวิจัยเรื่องการคอร์รัปชั่นในหน่วยงานต่างๆ เมื่อผลออกมาไม่มีผู้ใดคัดค้าน แค่เวลาพิมพ์ผลงานด้านการวิจัยออกไปกลับถูกฟ้องหมิ่นประมาทเช่นกัน ทำให้กระบวนการตรงจุดนี้หยุดลง
ปัญหาที่สำคัญสำหรับการปราบปรามการทุจริตอีกประการหนึ่งคือ การขาดการประสานงานการทำงานอย่างจริงจัง อยากย้ำว่า การปราบการทุจริตไม่ใช่ภารกิจของ ป.ป.ช. อย่างเดียว รัฐบาล กระทรวง ทบวง กรม มีหน้าที่ป้องกันและปราบปรามการทุจริตในหน่วยงานของตนเอง หากไม่ดำเนินการผู้บังคับบัญชาต้องรับผิดทางวินัย เพราะฉะนั้นหากมีการประสานงานกันอย่างมีประสิทธิภาพ งานด้านการปราบปรามการทุจริตจะได้ผลอย่างชัดเจน
“ป.ป.ช. กับรัฐบาลได้ร่วมกันกำหนดให้การปราบปรามการทุจริตเป็นวาระแห่งชาติ คำว่า วาระคือ เวลาที่กำหนดของชาติในการป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชั่นอย่างจริงจัง ถึงเวลาที่ต้องปราบปรามการทุจริตกันอย่างจริงจังและเด็ดขาด”นายกล้านรงค์ กล่าว และว่า การแก้ปัญหาการทุจริตต้องมีกฎหมายที่เป็นเครื่องมือในการจัดการคนที่กระทำผิดและต้องมีคนที่บังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ กล้ายืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง ยกตัวอย่างตนเองวันนี้เป็นกรรมการ ป.ป.ช. หากทำงานดีที่สุดคือเสมอตัว แต่หากผิดพลาดนิดเดียว ติดลบ ศาลจำเป็นต้องลงโทษ
นายจรัญ ภักดีธนากกุล ปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวในการสัมมนาว่า ขอเสนอให้นำทรัพย์สินต่างๆ ที่ติดตามได้จากการทุจริตขณะนี้ มาใช้ในกองทุนป้องกันและปราบปรามการทุจริตเพียง 50 เปอร์เซ็นต์ก็เพียงพอ ทั้งนี้ การป้องปรามการทุจริต พบปัญหาที่สำคัญคือ ความรุ่งเรืองของวัตถุนิยมแบบสุดโต่ง และพบความเสื่อมถอยทางคุณธรรม กลายเป็นสังคมธนบัตรนิยม แข่งกันที่จำนวนเงิน ว่าใครมีเงินมากกว่ากันโดยไม่สนใจว่าได้เงินมาอย่างไร ท่ามกลางระบบธนบัตรนิยมสุดโต่ง สังคมไทยประสบปัญหาเสื่อมถอยทางด้านศีลธรรม และคุณธรรม
ปัญหาต่อมาคือ สังคมไทยพบความความอ่อนล้าของระบบตรวจสอบของผู้ใช้อำนาจรัฐ ที่ผ่านมามีการพัฒนาระบบตรวจสอบให้ซื่อตรงโปร่งใส แต่ที่ผ่านมาดูเหมือนถูกสกัดกั้นอย่างเงียบๆ ยกตัวอย่าง ก่อนหน้าที่จะมีการยึดอำนาจ กฎหมาย ป.ป.ช. กำหนดว่าเรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่นเกี่ยวกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ต้องมีการร้องทุกข์จากผู้เสียหายจึงจะสามารถดำเนินการได้ แต่แท้จริงแล้วผู้เสียหายเหล่านั้นคือ หน่วยงานของรัฐซึ่งถูกอำนาจทางการเมืองครอบงำอยู่ เพราะฉะนั้นอย่างหวังว่ากระบวนการทำงานตรวจสอบการทุจริตจะทำได้ ในปัจจุบันนี้ได้มีการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวแล้ว และในอนาคตจะมี กฎหมาย เกี่ยวกับการตรวจสอบ ทยอยออกมาอีกหลายระลอก
“คนที่เป็นผู้ใหญ่ในบ้านเมือง คนที่เป็นผู้นำองค์กร เป็นตัวสำคัญๆ ผมอยากใช้คำพูดที่ว่า เป็นตัวร้าย ถ้าเราได้ผู้ใหญ่ที่ฉ้อฉลทุจริต คิดเห็นแต่ประโยชน์ส่วนตัว ครอบครัว พรรคของตัว โดยไม่คำนึกถึงความถูกต้องชอบธรรมในบ้านเมือง คนพวกนี้ทำลายชาติ ถ้าเป็นคนธรรมดา สมาชิกตัวเล็กๆ ไม่มีปัญหา เพราะไม่มีอำนาจทำอะไรได้มากนัก แต่หากเป็นผู้นำประเทศ ประเทศจะเหมือนถูกผีปอบเข้าสิง เขมือบหมดประเทศชาติ มีเท่าไรไม่พอ หากนายกรัฐมนตรีมีความเที่ยงธรรมแล้ว รัฐมนตรี ปลัดกระทรวงหน้าไหนจะกล้ารับสินบน คนชั่วร้ายแอบทำได้ไม่มาก สำคัญที่คนตัวใหญ่ และมีไม่มาก ไม่กี่ตัวในบ้านเมืองเรา ถ้าผู้ใหญ่ในบ้านเมืองทุกคนยึดมั่นในเรื่องสุจริตธรรม เรื่องคอร์รัปชั่นไม่เหลวแหลกขนาดนี้”ปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าว
ปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวต่อว่า ป.ป.ช.ต้องหาทางเชื่อมต่อกับหน่วยงานด้านปราบปรามการฟอกเงิน และได้รับการสนับสนุนเครื่องมือในการพิสูจน์หลักฐานที่แยบยลกว่าอาชญากรรมทั่วไป และควรให้ ป.ป.ช. มีอำนาจดำเนินคดีกับผู้ให้สินบน แม้ไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐอีกด้วย
วานนี้ (23ก.ค.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จัดการสัมมนาการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต โดยมี นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี กล่าวบรรยายพิเศษเรื่อง “การสร้างจิตสำนึกและคุณธรรมในสังคมไทย” และคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะตัวแทนนายกรัฐมนตรี รวมทั้งตัวแทนจากภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประมาณ 500 คน
นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธาน ป.ป.ช. กล่าวว่า ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น ซับซ้อน และมีมากขึ้นเป็นขบวนการ หาก ป.ป.ช. ยังจมอยู่ในวิธีการเดิมๆ คงทำให้การป้องกันและปราบปรามการทุจริตสำเร็จได้ยาก ดังนั้น ต้องดำเนินยุทธศาสตร์และการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ ได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย
ทั้งนี้ การป้องกันและปราบปรามการทุจริต คือ ภารกิจหลักของชาติที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันและยึดเป็นวาระแห่งชาติ ตามคำปฏิญาณที่ว่า "เราจะช่วยกันดำเนินการล้างทุจริตให้สิ้นแผ่นดินไทย เพื่อเทิดไท้องค์ราชัน" โดยจะทำด้านการป้องกันและปราบปรามคู่ขนานกันไป จะต้องปลูกฝังจิตสำนึก สร้างทัศนคติ ค่านิยม ในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต ส่งเสริมคนดีให้ปรากฏในสังคมอย่างเป็นรูปธรรม และน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมายึดถือ และเห็นว่าปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นเกิดจากปัญหาด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และทัศนคติ อีกทั้งการถูกแทรกแซงและปัญหาความยากจนของประเทศ
*** สื่อถูกทำลายการตรวจสอบ
นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการ ป.ป.ช. กล่าวในการสัมมนาว่า ในปัจจุบันองค์กรการตรวจสอบถูกแทรกแซง อาทิ สื่อมวลชนถูกแทรกแซง โดยการซื้อสื่อ หรือสกัดไม่ให้ทำข่าวเชิงสืบสวนโดยการใช้กฎหมายหมิ่นประมาท ซึ่งแท้จริงแล้วกฎหมายดังกล่าวใช้ปกป้องคุ้มครองคนดี แต่ในขณะเดียวกัน มีการนำกฎหมายดังกล่าวมาปิดปาก สกัดการตรวจสอบ โดยฟ้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่ง ฟ้องร้องหมิ่นประมาททางอาญา ขณะที่นักวิชาการหลายคน ที่ทำวิจัยเรื่องการคอร์รัปชั่นในหน่วยงานต่างๆ เมื่อผลออกมาไม่มีผู้ใดคัดค้าน แค่เวลาพิมพ์ผลงานด้านการวิจัยออกไปกลับถูกฟ้องหมิ่นประมาทเช่นกัน ทำให้กระบวนการตรงจุดนี้หยุดลง
ปัญหาที่สำคัญสำหรับการปราบปรามการทุจริตอีกประการหนึ่งคือ การขาดการประสานงานการทำงานอย่างจริงจัง อยากย้ำว่า การปราบการทุจริตไม่ใช่ภารกิจของ ป.ป.ช. อย่างเดียว รัฐบาล กระทรวง ทบวง กรม มีหน้าที่ป้องกันและปราบปรามการทุจริตในหน่วยงานของตนเอง หากไม่ดำเนินการผู้บังคับบัญชาต้องรับผิดทางวินัย เพราะฉะนั้นหากมีการประสานงานกันอย่างมีประสิทธิภาพ งานด้านการปราบปรามการทุจริตจะได้ผลอย่างชัดเจน
“ป.ป.ช. กับรัฐบาลได้ร่วมกันกำหนดให้การปราบปรามการทุจริตเป็นวาระแห่งชาติ คำว่า วาระคือ เวลาที่กำหนดของชาติในการป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชั่นอย่างจริงจัง ถึงเวลาที่ต้องปราบปรามการทุจริตกันอย่างจริงจังและเด็ดขาด”นายกล้านรงค์ กล่าว และว่า การแก้ปัญหาการทุจริตต้องมีกฎหมายที่เป็นเครื่องมือในการจัดการคนที่กระทำผิดและต้องมีคนที่บังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ กล้ายืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง ยกตัวอย่างตนเองวันนี้เป็นกรรมการ ป.ป.ช. หากทำงานดีที่สุดคือเสมอตัว แต่หากผิดพลาดนิดเดียว ติดลบ ศาลจำเป็นต้องลงโทษ
นายจรัญ ภักดีธนากกุล ปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวในการสัมมนาว่า ขอเสนอให้นำทรัพย์สินต่างๆ ที่ติดตามได้จากการทุจริตขณะนี้ มาใช้ในกองทุนป้องกันและปราบปรามการทุจริตเพียง 50 เปอร์เซ็นต์ก็เพียงพอ ทั้งนี้ การป้องปรามการทุจริต พบปัญหาที่สำคัญคือ ความรุ่งเรืองของวัตถุนิยมแบบสุดโต่ง และพบความเสื่อมถอยทางคุณธรรม กลายเป็นสังคมธนบัตรนิยม แข่งกันที่จำนวนเงิน ว่าใครมีเงินมากกว่ากันโดยไม่สนใจว่าได้เงินมาอย่างไร ท่ามกลางระบบธนบัตรนิยมสุดโต่ง สังคมไทยประสบปัญหาเสื่อมถอยทางด้านศีลธรรม และคุณธรรม
ปัญหาต่อมาคือ สังคมไทยพบความความอ่อนล้าของระบบตรวจสอบของผู้ใช้อำนาจรัฐ ที่ผ่านมามีการพัฒนาระบบตรวจสอบให้ซื่อตรงโปร่งใส แต่ที่ผ่านมาดูเหมือนถูกสกัดกั้นอย่างเงียบๆ ยกตัวอย่าง ก่อนหน้าที่จะมีการยึดอำนาจ กฎหมาย ป.ป.ช. กำหนดว่าเรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่นเกี่ยวกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ต้องมีการร้องทุกข์จากผู้เสียหายจึงจะสามารถดำเนินการได้ แต่แท้จริงแล้วผู้เสียหายเหล่านั้นคือ หน่วยงานของรัฐซึ่งถูกอำนาจทางการเมืองครอบงำอยู่ เพราะฉะนั้นอย่างหวังว่ากระบวนการทำงานตรวจสอบการทุจริตจะทำได้ ในปัจจุบันนี้ได้มีการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวแล้ว และในอนาคตจะมี กฎหมาย เกี่ยวกับการตรวจสอบ ทยอยออกมาอีกหลายระลอก
“คนที่เป็นผู้ใหญ่ในบ้านเมือง คนที่เป็นผู้นำองค์กร เป็นตัวสำคัญๆ ผมอยากใช้คำพูดที่ว่า เป็นตัวร้าย ถ้าเราได้ผู้ใหญ่ที่ฉ้อฉลทุจริต คิดเห็นแต่ประโยชน์ส่วนตัว ครอบครัว พรรคของตัว โดยไม่คำนึกถึงความถูกต้องชอบธรรมในบ้านเมือง คนพวกนี้ทำลายชาติ ถ้าเป็นคนธรรมดา สมาชิกตัวเล็กๆ ไม่มีปัญหา เพราะไม่มีอำนาจทำอะไรได้มากนัก แต่หากเป็นผู้นำประเทศ ประเทศจะเหมือนถูกผีปอบเข้าสิง เขมือบหมดประเทศชาติ มีเท่าไรไม่พอ หากนายกรัฐมนตรีมีความเที่ยงธรรมแล้ว รัฐมนตรี ปลัดกระทรวงหน้าไหนจะกล้ารับสินบน คนชั่วร้ายแอบทำได้ไม่มาก สำคัญที่คนตัวใหญ่ และมีไม่มาก ไม่กี่ตัวในบ้านเมืองเรา ถ้าผู้ใหญ่ในบ้านเมืองทุกคนยึดมั่นในเรื่องสุจริตธรรม เรื่องคอร์รัปชั่นไม่เหลวแหลกขนาดนี้”ปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าว
ปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวต่อว่า ป.ป.ช.ต้องหาทางเชื่อมต่อกับหน่วยงานด้านปราบปรามการฟอกเงิน และได้รับการสนับสนุนเครื่องมือในการพิสูจน์หลักฐานที่แยบยลกว่าอาชญากรรมทั่วไป และควรให้ ป.ป.ช. มีอำนาจดำเนินคดีกับผู้ให้สินบน แม้ไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐอีกด้วย